|
วัดพู... มรดกโลกนอกแผ่นดินกัมพูชา
จำปาสัก
บุญมนัสการวัดพู : ลักษณาการทางวัฒนธรรมที่ผี พราหมณ์ และพุทธอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์
วัดพู คือที่ตั้งของศาสนาสถานฮินดูในเขตลาวตอนล่าง ตั้งอยู่ในพื้นที่ แขวงจำปาสัก สปป.ลาวห่าง จากเมืองปากเซลงไปทางใต้ ตามถนนหมายเลข ๑๓ หรือตามเส้นทางน้ำโขงประมาณ ๔๐ กิโลเมตรเศษ วัดแห่งนี้ เป็นวัดหนึ่งในศาสนาสถานที่สำคัญที่สุด ของสปป.ลาว มาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล และยังคงสามารถดำรงบทบาท ในฐานะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เหนี่ยวรั้ง และเกี่ยวสัมพันธ์ของผู้คน ไว้ด้วยกันอย่างมีนัยสำคัญ มีภูมิทัศน์ที่ผสานกับลักษณะการทางวัฒนธรรม ที่น่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะลักษณะร่วมของประชาชนกับศาสนสถาน ที่ปรากฏในงานบุญมนัสการวัดพู ที่มีขึ้นทุกปีในเดือน ๓ เพ็ง หรือวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือวันมาฆบูชา
สันนิษฐานว่าคำว่า วัดพู น่าจะเป็นชื่อที่ถูกเรียกโดยชาวจำปาสัก เมื่อครั้งพุทธศาสนา เข้ามาใช้สถานที่ศาสนาฮินดู บนที่ราบตีนเขาและเชิงเขาภูเกล้า เป็นพุทธสถาน ซึ่งมีพระสงฆ์ขึ้นมาพำนัก เพื่อวิปัสสนากรรมฐาน หรือประกอบศาสนกิจบนพื้นที่บริเวณ ปราสาทหิน และได้สร้างพระพุทธรูปดินเผา ตบแต่งผิวนอกด้วยปูนโบราณ ตั้งซ้อนอยู่ในตัวอาคารบวงสรวงศิวเทพ ซึ่งเป็นอาคารประธาน ของปราสาทหินบนภู เสมือนจงใจจะใช้ตัวอาคารปราสาทหิน แทนอาคารสิมหรือโบสถ์ นอกจากนั้น ยังสร้างพระพุทธรูป ไว้ตามลานหินบนเขาหลายองค์ รวมทั้งสร้างหอแจกและกุฎิพระสงฆ์ ในระยะต่อมา บริเวณแห่งนี้จึงถูกเรียกว่า วัดพู เพราะเป็นวัด ในพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่บนเขา ต่างแต่ว่า เป็นวัดที่ซ้อนประสาน อยู่ในสถาปัตยกรรมของฮินดูโบราณ ที่หมดบทบาทเชิงไศวนิกายไป จากดินแดนแถบนี้แล้ว
นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่บนภูเขาระดับชั้น ที่มีการสร้างอาคารบวงสรวงศิวเทพ ปราสาทหินด้านทิศตะวันตก ยังมีภาพสลักหินรูปจระเข้ เป็นการสลักหินแบบร่องลึก ที่สามารถจับจระเข้ตัวจริง ไปอัดขังอยู่ในร่องรอยรูปนั้น และฆ่าเพื่อบวงสรวงพิธีกรรมได้ บางคนสันนิษฐานว่า ร่องลึกรูปจระเข้ยังสามารถบังคับคนเข้าไปอยู่ในร่องนั้น ก่อนจะถูกฆ่าสังเวยอะไรบางอย่าง นอกจากนั้น ยังมีภาพสลักรูปหัวช้าง โดยดัดแปลงเสริมแต่ง จากรูปทรงของโขดหินที่ตั้งตระหง่านอยู่แล้ว ปัจุบันช้างสลักตัวนี้ ยังเป็นที่เคารพกราบไหว้ เชิงความเชื่อเหนือเหตุผล ด้วยการนำเอาหญ้าให้ช้างหิน เป็นการบูชาและยังมีแท่นหินสลักรูปอื่นๆ ซึ่งมีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ในศาสนาพราหมณ์ ปัจุบันยังมีความเชื่อทีสืบทอดกันมาว่า บริเวณพื้นที่วัดพู ซึ่งหมายความรวมถึงภูเขาทั้งหมด คือ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่สิงสถิตของผีบรรพชน ชาวเมืองจำปาสัก จึงมีพิธีเลี้ยงผีเจ้าถิ่นทุดปีในเดือน ๖ และเชิญบรรดาผีทั้งหลาย มาเสี่ยงทายขอความสุขุมร่มเย็น ให้บังเกิดแก่ชาวเมืองจำปาสัก โดยถือเป็นหน้าที่ของ เจ้าผู้ครองเมืองจำปาสัก เป็นผู้นำประกอบพิธี ในสมัยเจ้าบุญอุ้ม ณ. จำปาสัก มีอำนาจและมีบทบาทต่อประเทศลาว ท่านจะเป็นผู้นำการเลี้ยงผี ที่เชิงเขาบริเวณปราสาทหินวัดพูเป็นประจำทุกปี
จึงน่าจะกล่าวได้ว่าภูฯ นี้ เป็นสถานที่อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ระหว่างผี พราหมณ์และพุทธศาสนา
จอมเกล้าและน้ำเที่ยงเพิงหินที่มาของความเชื่อและการตั้งชุมชน
ลักษณะทางกายภาพ และภูมิสัณฐานของภูเกล้า ซึ่งตั้งอยู่ห่างแม่น้ำโขงไปทางทิศตะวันตก ๖ กิโลเมตร ที่เรียกว่าภูเกล้า มีธรรมชาติที่ถูกเชื่อมโยง และตีความไปสู่ความเชื่อทางศาสนาพรามณ์ลัทธิไศวนิกาย กลายมาสู่การสร้างเมืองและปราสาทหินดังกล่าว
ภูเกล้าหรือลึงคบรรพต
คำว่า ภูเกล้า เป็นคำที่ชาวลาวลุ่มเรียก ภูเขาที่มีสัณฐานส่วนยอดมีรูปทรงของ การเกล้ามวยผมไว้เป็นกระจุกบนศรีษะ จึงถูกเรียกว่า ภูเกล้า ตราบจนปัจุบัน แต่สำหรับอารยธรรมเขมร ที่มาสร้างเมืองและสร้างปราสาทหินเรียกเขาลูกนี้ว่า ลึงคบรรพต ด้วยลักษณะพิเศษของภูเขา ที่นอกจากจะมีส่วนยอดเป็นปุ่มจอมขนาดใหญ่ มองเห็นเหมือนจอมปลวกที่ตั้งอยู่บนยอดภู แล้ว ยนส่วนยอดของปุ่มใหญ่นั้น จะเป็นลานกว้าง ที่ส่วนกลางของลานหินมีแท่งหินธรรมชาติขาดใหญ่สูง ๑๑ เมตร งอกขึ้นมาจากลานหิน ตั้งกตะหง่านติดเป็นเนื้อเดียวกันกับฐานพื้นแท่งหินหรือจอมๆ นี้มีรูปทรงเป็นแท่งกลม ส่วนยอดสุดโค้งแหลมนิดหน่อยชาว ลาวลุ่มเรียกว่า จอมเกล้า แต่สำหรับอารยธรรมขอมเรียกสิ่งเดียวกันนี้ว่า ลึงคะปาระวะตะ ซึงเป็นที่มาของลึงคบรรพตหรือภูเขาแห่งศิวลึงค์ เมื่อผสานรวมกันกับเบื้องหน้าด้านทิศตะวันออก ของลึงคบรรพตมีแม่น้ำโขงไหลผ่าน จึงถูกตีความว่าเป็นท้องมหาสมุทรอันไพศาล เสริมความเชื่อว่า บริเวณลึงคบรรพตแห่งนี้ เป็นอีกสถานที่สิงสถิตของพระศิวะ และได้กลายเป็นสถานที่เคารพสักการะของ ผู้นัถือศาสนาฮินดูโดยทั่วไป จนส่งผลต่อการสร้างเมืองและสร้างปราสาทหินขึ้น
จอมเกล้า หรือ ลึงคะปาระวะตะ เป็นจุดสูงสุดของภูเกล้าทั้งหมด มีความสูงที่ ๑,๔๑๖ เมตร จากระดับน้ำทะเล มองเห็นได้ก็ต่อเมื่ออยู่ระยะห่างไกลจากเขา เช่น การมองขณะอยู่บนแผ่นดินฝั่งโขง ด้านซ้ายหรือบนแพขนานยนต์ ขณะข้ามกำลังเข้ามแม่น้ำโขง หรือบนถนน จากท่าบักบ้านพะพีนไปยังเมืองจำปาสัก แต่เมื่อเข้าไปใกล้เขตวัดพูแล้วจะมองไม่เห็น ด้วยระยะใกล้ทำให้มุมมองแคบลง ลึงคะปาวะระตะซึ่งเป็นยอดแหลมเล็ก เมื่อเปรี่ยบเทียบกับจอมเกล้าทั้งหมด จึงถูกบดบังมองเห็นได้เพียงส่วนฐานที่มีลักษณะ คล้ายเกล้ามวยผม ซึ่งมีความเชื่อสืบมาแต่โบราณว่า หากใครก็ตาม ได้ขึ้นไปสัมผัสกับลึงคะปาระวะตะบนจอมเก้าได้ จะมีอายุยืนยาวกว่าคนทั้งปวง
ปราสาทหินวัดพูในฐานะฮินดูสถานลัทธิไศวนิกาย
จากความเป็นมาของผู้คนที่เข้ามาอยู่อาศัย และสร้างศาสนสถาน อันสอดผสานไปกับสภาพภูมิประเทศ ทั้งในส่วนของภูเขาที่ราบและแม่น้ำโขง ซึ่งในส่วนของปราสาทหินวัดพู เป็นที่รู้จักกันดีของนักโบราณคดีทั่วโลก ว่ากลุ่มปราสาทหินวัดพู ถือเป็นต้นแบบสำคัญด้านสถาปัตยกรรม ของยุคสมัยอังกอร์วัด ประเทศกัมพูชา ผลจากการศึกษาค้นคว้าพบว่า กลุ่มโบราณสถานเขตวัฒนธรรมบริเวณที่ราบลุ่มจำปาสัก มีจอมเกล้าเป็นจุดศูนย์กลาง แล้วขยายออกไปสู่ด้านทิศตะวันตกของสายภู และทิศตะวันออกจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง
ก่อนหน้านี้ผู้คนทั่วไปต่างเข้าใจว่า กลุ่มสถานโบราณดังกล่าว มีเพียงปราสาทหินเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว ยังมีสิ่งที่น่าสนใจซ่อนอยู่ในกลุ่มปราสาทหินวัดพูหลายอย่าง เช่น ร่องส่งน้ำเชื่อมต่อจากผาหินสู่ตัวปราสาท อาบสรวงศิวลึงค์แล้วไหลไป สู่ผู้คนที่รอรับน้ำไปใช้ เป็นสิริมงคล ก่อนที่จะไหลไปลงรวมกับแม่น้ำโขง ตามลำห้วยสายเล็ก ห้วยแห่งนี้มีชื่อว่า ห้วยสระหัว เพราะผู้คนใช้น้ำที่ผ่านการไหลอาบศิวลึงค์ มาอาบและสระผมตนเองเพื่อเป็นมงคล และยังมีถนนเชื่อมต่อไปยังอังกอร์วัด เขตที่ตั้งชุมชนโบราณ แผนผังเมืองเก่าเสดถาปุระ มีอายุในยุคอังกอร์วัด ตั้งอยู่บนพื้นที่ ๒,๕๐๐ ไร่เศษ และมีที่ตั้งชุมชนโบราณสมัยอังกอร์วัด อยู่ทางทิศใต้ของวัดพูอีกด้วย
ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของปราสาทหินวัดพู ที่แตกต่างจากปราสาทหินหลังอื่น ในสายวัฒนธรรมเขมรก็คือ สถาปนิกผู้ออกแบบก่อสร้างปราสาทหินหลังนี้ ได้ใช้ภูมิปัญญาการจัดวางส่วนประกอบต่างๆ อย่างสอดผสานผสมกลมกลืน ไปกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของภูเกล้า อีกทั้งสามารถตีความสู่มิติด้านความเชื่อทางศาสนา ด้วยการวางผังสิ่งก่อสร้างทั้งหมด ของกลุ่มปราสาท ที่อยู่อาศัยของชุมชน และการปกครองอาณาจักร โดยถือเอาจอมภูเกล้าเป็นแกนกลาง บนพื้นฐานความเชื่อว่าภูเกล้า เป็นสถานทีสิงสถิตของศิวเทพ และแม่น้ำโขงเบื้องหน้า ด้านทิศตะวันออกก็เปรียบเสมือนตัวแทนแห่งมหาสมุทรที่ล้อมรอบ
สภาพของภูเขาที่มีจอมภูรูปศิวลึง และมีแม่น้ำโขงหล่อเลี้ยงเบื้องหน้า มีทุ่งเพียงหรือพื้นราบอยู่ส่วนกลาง จึงสามารถตอบสนองได้ทั้งเงื่อนไข ที่อยู่อาศัยอุดม และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ไปพร้อมกันชาวเมืองโบราณ จึงเมือนได้อยู่อาศัย ภายใต้ร่มเงาและใกล้ชิดศิวเทพอย่างผาสุกกว่าถิ่นใด
เมืองโบราณเก่าแก่ดังกล่าว ตั้งอยู่ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำโขงด้านทิศตะวันอกสุด ของปราสาทหินวัดพู เมืองนี้ถูกสร้างขึ้น ในยุคก่อนสมัยอังกอร์วัด มีหลักฐานซึ่งบ่ง คือโครงสร้างดินเผาจำนวนมากมาย มีกำแพงเมืองซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน จากภาพถ่ายทางอากาศ อาณาเขตเมืองโบราณดังกล่าว กินเนื้อที่ประมาณ ๓.๖ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงดิน ๒ ชั้น นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า เมืองนี้อาจจะถูกสร้างขึ้น เมื่อปลายศริสต์ศตวรรษที่ ๕ ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกแผ่นหนึ่งของ กษัตริย์ผู้ทรงพระนามว่า เทวะนิกะ ค้นพบที่บริเวณบ้านพะนอนเหนือในปัจุบัน ในพื้นที่เดี่ยวกันนั้น ยังได้พบศิลาจารึกอีก ๒ แผ่น เป็นหลักฐานบ่งบอกว่า นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๖ เป็นต้นมา ดินแดนแห่งนี้เป็นนครหลวงของแผ่นดิน พระเจ้ามะเหทะระวรมัน ซึ่งต่อมาพระองค์ ได้ย้ายไปปกครองอขตซำปอไปรกุก อยู่ห่างจากวัดพูไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ๒๔๐ กิโลเมตร
นักค้นคว้าหลายท่าน ให้การสันนิษฐานว่า นครโบราณแห่งนี้คือ นครเสดถาปุระ ซึ่งได้เสียบทบาท ความสำคัญ การเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เพราะว่าบรรดาราชวงค์ได้ขยายอำนาจลงไปทางทิศใต้ และทำการปกครอง กลุ่มดินแดนของพวกขอมทั้งหมด จากนั้นจึงได้ตั้งอังกอร์วัดขึ้นเป็นนครหลวง
กระนั้นบรรดาผู้นำขอมในยุคสมัยต่างๆ ต่อมาก็ได้ลืมรากเหง้าถิ่นกำเนิดของตน ดังปรากฏทุกรัชกาล ของกษัตริย์ขอม จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ (สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์องค์สุดท้าย) ปราสาทหินแห่งนี้ ก็ได้รับการพระราชทานทรัพย์ และส่งช่างมาบำรุงรักษา ต่อเติมปราสาทหินอย่างเป็นปกติอีกด้วย จนพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลแทนศาสนาฮินดู ทั้งใน ดินแดนเขมรและลาวส่วนนี้ ปราสาทหินวัดพูจึงเปลี่ยนบทบาท จากฮินดูสถานกลายสภาพเป็นพุทธสถาน ถูกใช้เป็นศาสนาคารแห่ง พุทธศาสนาสืบต่อมาจนปัจุบัน โดยเฉพาะในตัวปราสาท ที่พุทธศาสนิกชนได้สร้างพระพุทธรูปไว้ด้าน ในแทนศิวลึงค์ เสมือนจะเป็น พุทธอุโบสถ และมีพระสงฆ์ปฎิบัติธรรมอยู่บนภูด้วย บริเวณนี้ทั้งหมดจึงถูกเรียกว่า วัดพู เพราะเป็นวัดทีตั้งอยู่บนภู คือ ภูเกล้านั่นเอง
ท่านบุญฮ่ม จันทะมาด กับท่านเวียงแก้ว สุกสะหวัดดี (๒๐๐๐.๒๘) ได้กล่าวถึงปราสาทหินวัดพู ในงานเขียนชื่อ ไขความลึกลับเก่าแก่ของวัดพูจำปาสัก ว่า จากหลักฐานทางศิลาจารึก เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ ๕-๖ ได้กล่าวถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนภูว่ามีอายุร่วมสมัยเดียวกับเมืองโบราณ แต่ว่าเทวสถานได้พังทลายไปหมดแล้ว ต่อมาจึงได้มีการสร้างเทวสถานขนาดใหญ่ ทับใส่เทวสถานเดิม และมีการต่อเติมเสริมแต่งมาเรื่อยๆ จึงกล่าวได้ว่า ช่วงระยะการสร้างปราสาทหินวัดพู คือระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๓-๑๓ จนครั้งหลังสุด คือปราสาทหินวัดพูที่ยังคงเหลือให้เห็นทุกวันนี้
กลุ่มปราสาทหินวัดพู ได้รับการออกแบบแผนผังบนเส้นแกนตะวันออกตะวันตก จากพื้นราบตัดขึ้นไปตามเชิงภูจนถึงพักชั้นบนสุดมีความสูง ๖๐๗ เมตรจากรระดับน้ำทะเล เป็นที่ตั้งขององค์ปราสาทประธาน และหน้าผาหินทราย ที่มีน้ำไหลรินอยู่ทุกฤดูกาล จึงเชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ตราบปัจุบัน |
|