ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1794
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระพุทธศาสนามีกี่นิกาย และแตกต่างกันอย่างไร ?

[คัดลอกลิงก์]
พระพุทธศาสนามีกี่นิกาย และแตกต่างกันอย่างไร ?
                                       

พระพุทธศาสนามีกี่นิกาย และแตกต่างกันอย่างไร ?
“คำถาม-คำตอบ เรื่องน่ารู้ทางพระพุทธศาสนา”  โดย ผศ.รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ

พระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบของนิกายอื่นๆ อยู่ ๒ นิกายด้วยกัน คือ
     ๑) นิกายหินยาน
     ๒) นิกายมหายาน

นิกายหินยาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายเถรวาท และทักษิณนิกาย เหตุที่เรียกว่า นิกายเถรวาท เพราะพระในนิกายนี้ถือปฏิบัติตามหลักคำสอนที่สืบต่อกันมาโดยพระเถระตั้งแต่ครั้งที่ทำปฐมสังคายนา (สังคายนาครั้งที่ ๑) ซึ่งถือว่าเป็นพระเถระที่ได้มีชีวิตอยู่ทันเห็นพระพุทธเจ้าและได้รักษาคำสอนพระพุทธเจ้าไว้ตามรูปแบบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
     ต่อมานิกายนี้ได้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทักษิณนิกาย แปลว่า นิกายฝ่ายใต้
     หมายความว่า เป็นนิกายของพระภาคใต้

     นิกายหินยานได้แตกสาขาออกมาอีกในเวลาต่อมารวมกันเป็น ๑๘ นิกาย และในปีพุทธศักราช ๒๑๘ ปี หลังจากทำตติยสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้จัดส่งพระธรรมทูตออกไปประกาศพระศาสนา ๙ สายด้วยกัน เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาได้เจริญแพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ที่เห็นเด่นชัด คือ ในประเทศลังการวมทั้งประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีนคือ ลาว เขมร พม่าก็รวมอยู่ด้วย พระพุทธศาสนาที่เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศดังกล่าวมานี้ล้วนเป็นพระพุทธศาสนาประเภทเถรวาททั้งสิ้น




นิกายมหายาน อ่านเพิ่มเติมใน นิกายเซ็น(นิกายฉับพลัน) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายอาจริยวาท เพราะพระในนิกายนี้ถือ เรื่องจิตเดิมแท้เป็นหลัก มีจิตที่กลับคืนสู่ธรรมชาติเป็นอารมณ์ มีคนกล่าวว่า นิกายนี้ พระมีครอบครัวได้ แต่ความจริง คือ ไม่ใช่นิกายเซ็น,  เป็นนิกายที่คนที่แต่งตัวคล้ายพระมีครอบครัวได้ยังมีอยู่ในญี่ปุ่นในปัจจุบัน  ซึ่งที่จริงไม่ใช่พระแต่บรรบุรุษคือคนธรรมดาที่รับใช้พระในวัด  

     ต่อมาสมัยหนึ่งไม่มีพระเหลืออยู่อีก แต่เมื่อชาวบ้านมาวัดก็ต้องการคนทำพิธี ก็เลยขอร้องให้คนวัดนี้ทำพิธีแทนไปพลางๆ นานๆไปก็เลยทำสืบต่อมาเป็นประเพณีและมีการปรับปรุงการแต่งตัวให้คล้ายพระมากขึ้น  จนเหมือนเป็นพระไปเลย และสืบทอดให้กับลูกหลานมาจนปัจจุบัน วัดอื่นๆก็พลอยเห็นดีไปด้วย เลยเอาตัวอย่างตามกันไปหมด มาตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม

     นิกายมหายานได้เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และปัจจุบันได้รับความนิยมกว้างขวางอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีระเบียบปฏิบัติที่ไม่เคร่งครัดมากเกินไป
(หมายเหตุ ในเมืองไทยเรา ก็มีพระพุทธศาสนานิกายมหายานเหมือนกัน และปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ ๑. อนัมนิกาย (ญวน หรือเวียดนาม) และ ๒. จีนนิกาย)

      อย่างไรก็ตาม นิกายทั้งสองนี้ แม้จะมีข้อวัตรปฏิบัติและพิธีกรรมของพระและฆราวาสแตกต่างกันบ้าง
      แต่เมื่อพูดถึงจุดหมายปลายทางแล้วก็มุ่งพระนิพพานเป็นจุดสูงสุดเหมือนกัน และนับถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเช่นเดียวกัน





2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-5 14:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ได้กล่าวไว้แล้วว่า ในเมืองไทยเรานับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยาน และปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น ๒ นิกายคือ
    ๑. มหานิกาย
    ๒. ธรรมยุติกนิกาย

    ซึ่งนิกายทั้งสองนี้เรานิยมเรียกพระแต่ละนิกายว่า พระมหานิกาย พระธรรมยุต นิกายทั้งสองนี้มีวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย จนเกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลยไม่ว่าจะเป็นในด้านวินัยบัญญัติ หลักธรรม ที่สำคัญพระในนิกายทั้งสองยังสามารถปฏิบัติศาสนพิธีร่วมกันได้ โดยยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาร่วมกัน ส่วนในด้านการปกครอง สมเด็จพระสังฆราช (จากนิกายไหนก็ได้) ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นประมุขสูงสุดของคณะสงฆ์

ข้อเพิ่มเติม
นิกายหินยาน นั้นในทางวิชาการเรามักจะไม่ค่อยใช้กัน เพราะถือว่าเป็นคำดูถูกที่นิกายมหายานยัดเยียดให้นิกายหินยาน
    เพราะคำว่า หิน (อ่าน หิ-นะ) หมายถึง ต่ำช้า เลวทราม
    สาเหตุเพราะมุ่งความบริสุทธิ์เฉพาะตัวเป็นหลักก่อนจึงค่อยสอนผู้อื่น
    แต่นักปราชญ์ฝ่ายหินยานก็เลี่ยงเสียใหม่ แปล หิน ว่า เล็ก
    เพราะฉะนั้น หินยาน จึงแปลว่า ยานเล็ก หมายความว่า ขนสัตว์ไปนิพพานได้น้อยกว่า
    ส่วน มหายาน แปลว่า ยานใหญ่ หมายความว่า ขนสัตว์ไปนิพพานได้มากกว่า มหายานท่านว่าอย่างนี้ จะจริงเท็จแค่ไหนก็ต้องปฏิบัติดู

พระพุทธรูปในถ้ำซ็อกคูรัม ประเทศเกาหลีใต้

ประวัติ
ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ได้เกิดความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกัน จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป จึงนำไปสู่การทำสังคายนาพระไตรปิฎก
     ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 นี้เองที่พระพุทธศาสนาแตกออกเป็นหลายนิกายกว่า 20 นิกาย
     และในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้ทรงแต่งสมณทูต 9 สายออกไปเผยแผ่พุทธศาสนา จนกระทั่งพุทธศาสนาแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง


นิกาย
ศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ เถรวาท และมหายาน นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปแบ่งเป็น 3 นิกาย เนื่องจากวัชรยานไม่ยอมรับว่าตนคือมหายาน เนื่องจาก มหายานมีต้นเค้ามาจากท่านโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ส่วนวชิรยานมีต้นเค้ามาจากท่านคุรุปัทสัมภวะ

    ๑. เถรวาท (หรือ 'หินยาน' แปลว่า ยานเล็ก) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำสั่งสอน และ หลักปฏิบัติ จะเป็นไปตามพระไตรปิฎก นับถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทย, ศรีลังกา, พม่า, ลาว และกัมพูชา ส่วนที่นับถือเป็นส่วนน้อยพบทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อสายเขมร), บังกลาเทศ (ในกลุ่มชนเผ่าจักมา และคนในสกุลพารัว) และทางตอนบนของมาเลเซีย (ในหมู่ผู้มีเชื้อสายไทย)

    ๒. มหายาน (ยานใหญ่) หรือ อาจาริยวาท แพร่หลายในสาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ พบเป็นประชาชนส่วนน้อยในประเทศเนปาล (ซึ่งอาจพบว่านับถือร่วมกับศาสนาอื่นด้วย)  ทั้งยังพบในประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน และฟิลิปปินส์ ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน

    ๓. วัชรยาน หรือ มหายานพิเศษ พบมากในเขตปกครองตนเองทิเบตของจีน, ประเทศภูฏาน, มองโกเลีย และสาธารณรัฐคัลมืยคียาในรัสเซีย และเป็นประชากรส่วนน้อยในดินแดนลาดัก รัฐชัมมูและกัษมีร์ ประเทศอินเดีย, เนปาล, ปากีสถาน (ในเขตบัลติสถาน)


อ้างอิง
ศาสนาพุทธ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
th.wikipedia.org/wiki/ศาสนาพุทธ

อ้างอิง
จาก... วารสาร พ.ส.ล. ปีที่๓๙ ฉบับที่ ๒๕๖ กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๔๙  
http://www.thumboon.com/readarticle.php?article_id=71
ขอบคุณภาพจาก http://upload.wikimedia.org/
ที่มา: http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9566.0

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้