ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2024
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ข่มใจของตัวเอง นี่คือพระกรรมฐาน (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

[คัดลอกลิงก์]


ถ้าเราไม่รู้จักยับยั้งตัวเอง ความหยุดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
ในคราวที่เราจะถลำไปสู่ความชั่ว


ในคราวผิดพลาด ตัวอย่างเช่น ในคราวทะเลาะวิวาทกั้น
จะคิดทำทุจริต จะตกไปสู่อบายมุขและจะหันไปสู่ความเป็นคนเลว
เมื่อถึงคราวอย่างนั้น ก็จะต้องรู้จักหยุดข่มใจตัวเองตั้งสติไว้
รู้หนอ... รู้หนอ... นี่มันชั่วอย่าทำ
คิดหนอ... คิดหนอ... อย่าทำ คิดแต่ดี
นี่คือ ข่มใจของตัวเอง นี่คือ พระกรรมฐาน


ฝึกใจเพื่อตนเองให้กลับไปสู่ทางที่ดี ที่ถูกที่ควร
หรือเหมาะสมตามฐานะของตนเองโดยทั่วกัน

ท่านทั้งหลายเอ๋ยโปรดพิจารณาตัวเอง นี่คือ พระกรรมฐานทั้งนั้น
แต่ท่านไม่เคยกำหนดจิต
สติท่านไม่ดีจะหละหลวมเหลาะแหละเหลวไหลชัดเจน
ทมะจึงมีลักษณะเป็นความข่ม หมายความว่า การข่มใจ
ข่มตัวอย่าให้กำเริบเสิบสานจนเกินไป
ตามปกติตัวของเราถ้าปล่อยไปตามอำเภอใจ
ตามยถากรรมก็จะมีความจองหองพองขนขึ้นไปมาก
ทั้งในการกินอยู่ การเที่ยวเตร่
หนักเข้าตัวเองก็จะไม่สามารถปรนเปรอให้แก่ตัวเองได้
กลายเป็นคนมีความเป็นอยู่สูงเกินฐานะ
ผู้ที่เป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นคนอยู่ในอุปการะของคนอื่น
ก็นำความเดือดร้อน อิดหนาระอาใจแก่อุปการะเลี้ยงดู
ก็แม้ว่าเป็นผู้หาเลี้ยงตัวเอง ก็ไม่วายเดือดร้อน
รายจ่ายเกินรายได้ หนักเข้าก็กู้หนี้ยืมสินรุงรังตั้งตัวไม่ติด
ยิ่งถ้าเป็นคนมีครอบครัว ก็จะพากันระส่ำระส่ายไปทั้งครอบครัว

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ท่านจึงสอนให้บำเพ็ญทมะ คือ รู้จักข่มตัว
คือ การเจริญสติข่มตัวเองไว้ มิให้เห่อเหิมเกินฐานะตัวเอง
จะเสียท่าเสียกาลเวลา


คัดลอกจาก...
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12211
สาธุ คับพี่
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้