ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2298
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ประวัติกำแพง กรุงเทพ

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติกำแพง กรุงเทพ
                                       


ประวัติการสร้างกำแพงพระนคร
กำแพงด้านใน

                  
พระบรมมหาราชวังแห่งใหม่ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก มหาราช โปรดให้เริ่มลงมือก่อสร้าง เมื่อวันที่  6  พฤษภาคม  พ.ศ.  2325  ในขั้นแรก โปรดให้สร้างพระราชมนเทียร ด้วยเครื่องไม้ และรายรอบพระบรมมหาราชวัง ด้วยเสาระเนียด เป็นการชั่วคราวก่อน  เพื่อให้ทันการพระราชพิธีปราบดาภิเษก เฉลิมพระราชมนเทียรในวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน  พ.ศ.  2325
ปีรุ่งขึ้น พ.ศ. 2326 โปรดให้แก้ไขพระราชมนเทียรสถาน และระเนียด ล้อมรอบพระราชวัง  จากเครื่องไม้ เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน  สร้างป้อมปราการ และประตูรอบพระราชวัง เช่นเดียวกับป้อมปราการพระนคร  พระบรมมหาราชวัง เมื่อสร้างเสร็จแล้วในช่วงหลัง ๆ  มีป้อมรอบกำแพง 17 ป้อม มีผู้รวบรวบชื่อไว้ดังนี้
   1.  ป้อมอินทรรังสรรค์ อยู่มุมกำแพงพระบรมมหาราชวัง ด้านตะวันตกข้างเหนือ ตรงท่าพระ  รื้อทำถนนนอกกำแพงในรัชกาลที่  6
       2.  ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร อยู่ด้านเหนือต่อประตูวิเศษไชยศรี ไปทางตะวันออก
       3.  ป้อมเผด็จดัสกร อยู่มุมกำแพงด้านตะวันออกข้างเหนือ (ตรงข้ามศาลหลักเมือง
     4.  ป้อมสัญจรใจวิง  (สร้างเพิ่มในรัชกาลที่  4) อยู่ด้านตะวันออก ตรงถนนบำรุงเมือง ใต้พระที่นั่งชัยชุมพล
       5.  ป้อมสิงขรขันธ์ อยู่ด้านตะวันออก ใต้ประตูสวัสดิโสภา ตรงวังสราญรมย์
      6.  ป้อมขยันยิงยุทธ (สร้างเพิ่มในรัชกาลที่  4)  อยู่ด้านตะวันออก ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์  ข้างเหนือ
      7.  ป้อมฤทธิรุดโรมรัน (สร้างเพิ่มในรัชกาลที่  4)  อยู่ด้านตะวันออก ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ข้างใต้
      8.  ป้อมอนันตคีรี อยู่ใต้ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์  เหนือมุมกำแพง ด้านตะวันออก ด้านใต้
      9.  ป้อมมณีปราการ อยู่มุมกำแพง ด้านตะวันออก ข้างใต้
      10.  ป้อมพิศาลสีมา อยู่บนกำแพงด้านใต้  ตรงวัดพระเชตุพน  ระหว่างประตูวิจิตรบรรจง กับประตูอนงคารัก
      11.  ป้อมภูผาสุทัศน์  อยู่บนกำแพงด้านใต้  ทิศตะวันตก
     12. ป้อมสัตตบรรพต อยู่มุมกำแพง ด้านตะวันตก ข้างใต้  ริมประตูพิทักษ์บวร (รื้อทำถนนนอกกำแพงในรัชกาลที่  6)
      13.  ป้อมโสฬสศิลา  อยู่บนกำแพงด้านตะวันตก  เหนือประตูอุดมสุดารักษ์
      14.  ป้อมมหาสัตตโลหะ  อยู่บนกำแพงด้านตะวันตก เหนือประตู อุดมสุดารักษ์
       15.  ป้อมทัศนนิกร  (สร้างเพิ่มในสมัยรัชกาลที่  5)  อยู่บนกำแพง ด้านตะวันตก ข้างเหนือ
      16.  ป้อมพรหมอำนวยศิลป์  อยู่ริมลำนำ  เหนือท่าราชวรดิษฐ์  รื้อแล้ว
      17.  ป้อมอินทร์อำนวยศร  อยู่ริมลำน้ำ  ใต้ท่าราชวรดิษฐ์  รื้อแล้ว


(โปรดสังเกต :  ตั้งแต่หมายเลข 1 - 15  ชื่อจะคล้องจองกัน  ตามราชประเพณี  ที่ชอบตั้งชื่อ คล้องจองกัน)
ประตูรอบกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก  มีนามดังนี้

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-10-29 17:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้





        1.  ประตูรัตนพิศาล อยู่ทางด้านตะวันตก  ระหว่างศาลาว่าการต่างประเทศ และพระคลังเก็บเงิน  ปัจจุบันคือประตูที่อยู่ทางด้านท่าช้างวังหลวง
2.  ประตูพิมานเทเวศร์ อยู่ระหว่างศาลาว่าการต่างประเทศ และหอรัษฎากรพิพัฒน์ ปัจจุบัน คือ ประตูที่อยู่หน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร  ถนนหน้าพระลาน
        3.  ประตูวิเศษไชยศรี  อยู่ระหว่างหอรัษฎากรพิพัฒน์ และจวนกลางศาลาพลชาววัง  ปัจจุบันคือประตูเสด็จพระราชดำเนินเข้าออกพระบรมมหาราชวัง  ถนนหน้าพระลาน
    4.  ประตูมณีนพรัตน์  อยู่ถัดประตูวิเศษไชยศรี ไปทางทิศตะวันออก  หรือตรงวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้านเหนือ  ปัจจุบันคือประตูตรงกับท้องสนามหลวง ถนนหน้าพระลาน
     5.  ประตูสวัสดิโสภา  อยู่ตรงหน้าศาลาอยุทธนาธิการ  เยื้องถนนบำรุงเมือง (ถนนกัลยาณไมตรี) ข้างเหนือ ตรงกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้านตะวันออก  ปัจจุบัน คือประตูที่อยู่ตรงกับกระทรวงกลาโหม (ประตูเข้าวัดพระแก้ว)
        6.  ประตูเทวาพิทักษ์ อยู่เหนือพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ใต้ป้อมสิงขรขัณฑ์  ปัจจุบัน คือประตูที่อยู่ตรงกับกระทรวงการต่างประเทศ (วังสราญรมย์)
        7.  ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ อยู่ใต้พระที่นั่งสุทไธสวรรย์  ปัจจุบัน คือ ประตูที่อยู่ตรงข้ามกับสนามไชย  วังสราญรมย์
        8.  ประตูวิจิตรบรรจง  อยู่ข้างวัดพระเชตุพน  ส่วนข้างตะวันออก และข้างในตรงกับพระตำหนักเดิมสวนกุหลาบ
        9.  ประตูอนงคารักษ์ อยู่ตรงวัดพระเชตุพน ต่อจากประตู วิจิิตรบรรจง ไปทางทางตะวันตก   
10.  ประตูพิทักษ์บวร อยู่ด้านสกัดทางใต้ตรงกับถนนมหาราช ข้างในตรงกับถนนสกัด  กำแพงพระบรมมหาราชวัง
        11.  ประตูสุนทรทิศา อยู่ด้านสกัดทางเหนือ ตรงกับถนนแปดตำรวจ
        12.  ประตูเทวาภิรมย์ อยู่ตรงท่าราชวรดิษฐ์
        13.  ประตูอุดมสุดารักษ์ เป็นประตูฉนวน ออกตรงพระที่นั่ง ที่ท่าราชวรดิษฐ์ ข้างในตรงประตูยาตราสตรี
ประตูชั้นในพระบรมมหาราชวังมี  25  ประตู  คือ
        ประตูสุวรรณบริบาล  ประตูพิมานไชยศรี  ประตูเทวราชดำรงศร  ประตูทักษิณสิงหาร  ประตูอุดรสิงหรักษ์ ประตูพิศาลทักษิณ  ประตูกัลยาณวดี  ประตูศรีสุดาวงษ์  ประตูอนงคลีลา  ประตูยาตราสตรี  ประตูศรีสุนทร  ประตูพรหมศรีสวัสดิ์  ประตูพรหมโสภา  ประตูสนามราชกิจ  ประตูดุสิตศาสดา  ประตูสีกรลีลาศ  ประตูแถลงราชกิจ ประตูปริประเวศ  ประตูราชสำราญ  ประตูกมลาศประเวศ  ประตูอมเรศร์สัญจร  พระทวารจักรพรรดิ์ภิรมย์  พระทวารเทวะราชมเหศวร์  พระทวารเทเวศร์รักษา  พระทวารเทวาภิบาล


ทุกวันนี้เหลือซากอยู่  2  ป้อม  คือ ป้อมพระสุเมรุ กับป้อมมหากาฬ




       นอกจากนั้น ยังมีประตูเข้าออกอยู่ระหว่างป้อม เช่น ประตูสามยอด  เป็นประตูใหญ่มีสามยอด  กับประตูเล็ก เรียกประตูช่องกุดเป็นระยะ ๆ  แล้ว ยังมีประตูผีเป็นช่องขนศพ จากในเมืองไปเผานอกเมืองด้วย
      กำแพงพระนครด้านแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เป็นวังหลวงกับวังหน้า จะใช้กำแพงวังเป็นกำแพงป้องกันพระนคร เช่นเดียวกับพระนครศรีอยุธยา
ในเวลาเมื่อทำการสร้างกำแพงพระนครนั้น  พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์จดว่า จะสร้างสะพานช้างข้ามคลองรอบกรุง แต่พระผู้ใหญ่สมัยนั้น ถวายพระพรทักท้วง เลยให้งดไว้ไม่สร้าง ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  กับสมเด็จพระอนุชาธิราช  กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จพระราชดำเนิน ตรวจการก่อสร้าง  ทรงพระราชดำริ จะให้สร้างสะพานข้ามคลอง รอบกรุง ที่ใต้ปากคลองมหานาค
จึงพระพิมลธรรม  วัดโพธาราม  ไปถวายพระพรว่า  ซึ่งจะทรงสร้างสะพานช้างข้ามคูพระนครนั้น อย่างธรรมเนียมแต่โบราณมาไม่เคยมี  แม้มีการสงครามถึงพระนคร ข้าศึกก็จะข้ามมาถึงชานพระนครได้โดยง่าย  อีกประการหนึ่ง แม้นจะแห่กระบวนเรือรอบพระนคร สะพานนั้น ก็จะเป็นที่ขัดขวางอยู่
        ทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย  จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้งดสร้างสะพานช้างเสีย  เป็นแต่ให้ทำท่าช้าง สำหรับช้างข้ามคลองรอบกรุง

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-10-29 17:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้