ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2502
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตำนานข้าวมธุปายาส

[คัดลอกลิงก์]



มีตำนานเล่าว่า นางสุชาดา ธิดาเศรษฐี ณ หมู่บ้านเสนานี ใกล้ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ปรุงข้าวมธุปายาส ขึ้นเป็นอาหารไปแก้บน เพราะสมปราถนาได้บุตรชายในครรภ์แรก ได้เห็นพระพุทธเจ้า เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ประทับใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทร) ก็เข้าใจพระองค์เป็นเทพยดาเพราะมีลักษณะงาม นางจึงน้อมข้าวมธุปายาสนั้นเข้าไปถวาย ครั้นพระโพธิสัตว์ได้บอกความจริงแก่นางแล้วนางก็ยิ่งมีใจศรัทธา จึงได้ถวายข้าวนั้นทั้งถาด พระโพธิสัตว์ได้นำข้าวมธุปายาสมาแบ่งเป็น ๔๙ ก้อน แล้วฉันจนหมด

จากนั้นจึงนำถาดไปอธิษฐานแล้วลอยไปในแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อเสี่ยงทายเรื่องที่จะสามารถตรัสรู้ได้หรือไม่ ข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาจึงนับว่าเป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่พระโพธิสัตว์จะได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ดังคำกล่าวที่ว่า

นับหกปีที่พระสิทธัตถะ
ฝึกตบะเพียรภาวนามั่น
จวบวิสาขะรุ่งอรุณพลัน
นางสุชาดานั้นเฝ้าพระองค์
ถวายข้าวปายาสด้วยศรัทธา
เสวยแล้วโมทนาดังประสงค์
ลอยถาดทวนสายชลจนจมลง
เสด็จตรงแนวป่าพนาลัย

จึงมีความเชื่อกันว่า ข้าวมธุปายาส เป็นอาหารวิเศษ ผู้ใดมีวาสนาได้กินแล้วจะมีร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย อุดมด้วยสติปัญญา และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-20 22:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การเตรียมของปรุง
1. ของที่ต้องนำมาโขลกตำ ได้แก่ ข้าวอ่อนเจือด้วยน้ำโขลกแล้วคั้น น้ำที่ใช้เป็นน้ำมนต์ถือว่าเป็นสิ่งศิริมงคลและให้ผลทางจิตใจ ชะเอมสดและชะเอมเทศโขลกคั้นเอาน้ำมาเจือในน้ำนม แทนคติว่าแม่โคถูกเลี้ยงในป่าชะเอม (กิ่งชะเอม เมื่อทุบให้แตกใช้ขัดถูฟัน มีสรรพคุณรักษาโรคเหงือก ทำให้ฟันแข็งแรงและบำรุงสายตา)
2. ของที่ต้องนำมาหั่นฝานให้เป็นชิ้นเล็กไ ด้แก่ ผลไม้สด ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม
3. ของที่ต้องนำมาหุงเปียกได้แก่ ประเภทข้าว สาคู ลูกเดือย
4. ของที่ต้องนำมาแช่น้ำให้นิ่มแล้วนึ่งให้สุก ได้แก่ ประเภทถั่ว
5. ของที่ต้องนำมาคั่ว ได้แก่ ถั่วลิสง งา ถั่วลิสงและงาต้องแยกกันคั่ว ไม่นำมาคั่วรวมกัน เพราะของแต่ละอย่างใช้เวลาทำให้สุกไม่เท่ากัน ถั่วลิสงจะสุกช้ากว่างาอย่างนี้กระมังจึงมีสุภาษิตของไทยที่ว่า “กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้” หมายความถึงการทำงานที่ขาดระเบียบ ไม่มีขั้นตอน ไม่รู้จักจัดลำดับความสำคัญ ว่าสิ่งใดควรทำก่อน ทำหลังเป็นเหตุให้งานเสียหายได้
6. ของที่ต้องนำมาคั้นน้ำ ได้แก่ ผลไม้ประเภทส้ม ทับทิม
7. ของที่ต้องนำมากวนให้เหนียวพอเป็นยางมะตูม ได้แก่ น้ำตาลหม้อซึ่งใช้เป็นหลักจริงๆ ส่วนน้ำผึ้ง น้ำอ้อยสด น้ำอ้อยแดง น้ำตาลกรวด น้ำตาลทราย ใส่พอสังเขป
8. น้ำมันที่ใช้กวน ได้แก่ กะทิซึ่งใช้มะพร้าวแก่ขูดแล้วคั้นด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน น้ำนมโค และเนยใช้เจือขณะกวนใส่เพียงนิดหน่อย เรียกว่า ใส่พอเป็นพิธี บางทีกวนกระทะใหญ่โตใช้เนยเพียงช้อนเดียว เมื่อกวนเสร็จจะมีกลิ่นหอมของกะทิและน้ำตาลมากกว่ากลิ่นของนมเนย อันเป็นแบบฉบับขนมอย่างไทยๆ


ขั้นตอนในการใส่ของปรุง “ข้าวทิพย์”
1. เคี่ยวกะทิและน้ำตาลใช้ไฟ ปานกลางอย่าแรงเกินไปจะทำให้น้ำตาลไหม้
2. เมื่อเดือดได้ที่ นำของที่หุงเปียกและนึ่งไว้แล้วได้แก่ ประเภทข้าว และถั่วลงกวน
3. ใส่ผลไม้สดที่หั่นฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ตามความเหมาะสมลงกวนเพื่อทำให้ผลไม้สดลดความชื้น เมื่อกวนเสร็จจะสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่ชื้นหรือขึ้นราง่าย
4. ขณะกวนหากเครื่องปรุงข้นเหนียวหรือแห้งเกินไปสามารถเติมน้ำผลไม้คั้นได้ ตามสมควร
5. เหยาะน้ำนมสด เนย และน้ำนมข้าวอ่อนที่คั้นกับชะเอมพอประมาณ
6. ใส่ผลไม้แห้ง ผลไม้แช่อิ่ม และผลไม้กวน ที่หั่นฝานดีแล้วลงกวนคลุกเคล้าเบาๆ จนส่วนผสมกระจายทั่วกันดี ผลไม้แห้งต่างๆ เมื่อใส่ลงในกระทะแล้วจะใช้เวลากวนอีกเพียงชั่วครู่ เพื่อรักษากลิ่นหอมตามธรรมชาติของผลไม้ไว้
7. เสร็จแล้วยกลงจึงโรยด้วยของที่คั่วสุก ได้แก่ ถั่วลิสงคั่ว งาคั่ว


ลักษณะของข้าวทิพย์เมื่อกวนเสร็จ
-จะมีความเหนียวพอประมาณ เมื่อเย็นสนิทแล้วสามารถนำมาปั้นหรือกดลงพิมพ์เป็นชิ้นได้ ไม่แข็งกระด้าง หอมกลิ่นผลไม้ต่างๆ กะทิ และน้ำตาลมีสีสันของส่วนผสม สามารถมองเห็นเนื้อข้าวสีของผลไม้ และส่วนผสม อื่นๆ ได้ดี มองดูน่ารับประทาน
-สิ่งสำคัญในการกวนข้าวทิพย์ ขณะกวนต้องกวนไปทางเดียวกันคือ วนขวาไปตลอด จนกระทั่งเสร็จ เพื่อให้ขนมมีความเหนียวและกะทิไม่แยกตัวจากน้ำตาล


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-20 22:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


สัดส่วนที่ใช้เครื่องปรุงแต่ละอย่างไม่กำหนดตายตัว
ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ปรุง แต่ส่วนใหญ่จะหนักน้ำตาลหม้อกะทิและข้าว สำหรับขนมปังจืดผึ่งแห้งแล้วนำมาป่นเป็นเกร็ดสำหรับโรย คงเป็นอิทธิพลของขนมตามแบบฝรั่งที่แผ่เข้ามาในสมัยต้นๆ รัชกาล
ในพระราชพิธีกวนข้าวทิพย์ ฟืนที่ใช้ติดไฟเคี่ยวกะทิและกวน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์และไม้พุทราสองอย่างเท่านั้น เชื้อไฟก็ใช้ส่องด้วยแว่นขยายจุดขึ้นเรียกว่า “ไฟฟ้า” เป็นความหมายว่าไฟเกิดจากฟ้า ถือเอาตามคติที่พระอินทร์เป็นผู้ลงมาจุดไฟในเตาให้นางสุชาดานั้นเองผู้กวน
ข้าวทิพย์จะเป็นหน้าที่ของเด็กหญิงพรหมจรรย์ อายุไม่เกิน 12 ปี ทั้งสิ้น

จากประวัติความเป็นมาและกรรมวิธีในการหุงข้าวมธุปายาส ที่พรรณนามาทั้งหมดจึงสรุปมูลเหตะที่ชาวพุทธทั้งหลายกล่าวยำย่อง “มธุปายาส” ว่าเป็น “ข้าวทิพย์” ได้ 3 ประการคือ

1. เป็นของที่มีรสอันโอชะล้ำเลิศและกระทำได้ยากผู้ที่จะสามารถปรุงขึ้นได้ ต้องอาศัยบารมี คือมีความพร้อมทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกายคือบริวารผู้คน และกำลังสติปัญญาล่วงรู้ขั้นตอนในการปรุง เห็นได้ว่ามิใช่วิสัยของคนธรรมดาจะทำได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์
2. เป็นของที่ปรุงขึ้นถวายแด่ผู้มีบุญญาธิการ ผู้ควรสักการะบูชา ปรุงขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น เพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อเทพยดา เป็นต้น รวมความก็คือทั้งผู้ปรุงและผู้รับต่างต้องมีบุญบารมีมากจึงจะกระทำได้
3. เป็นอาหารที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยแล้วสามารถตรัสรู้บรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณได้

ฉะนั้น “ข้าวทิพย์” ก็คือ สมญานามอันเกิดจากความรู้สึกที่ลึกซึ้งในจิตใจว่า เป็นของสูงของวิเศษล้ำค่าหาที่เปรียบมิได้นั้นเอง

ที่มา : madchima.org/by สาระแห่งสุขภาพ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้