ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4108
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ขุนแผนอินโดจีน(หลวงพ่อเต๋)

[คัดลอกลิงก์]


ช่วงนี้ กระแสพระขุนแผนหลังยันต์มะ หลวงพ่อเต๋ ทั้งสองพิมพ์มาแรงมาก ทั้งราคาและค่านิยม อาจเป็นเพราะกระแส ตุ๊กตาทองวัดสามง่ามมาแรง ทำให้เกิดความสนใจในพระเครื่องที่มีมวลสารการสร้างโดยใช้ เนื้อหาแบบเดียวกับตุ๊กตาทอง รุ่นแรก หลวงพ่อเต๋
โดยเฉพาะในเว็บพระเครื่องดังๆ หลายต่อหลายเว็บ มีการโพสท์เสนอขายพระขุนแผนหลังยันต์มะ กันหลายสิบองค์ มีทั้งการอ้างเป็นสายตรง หรือเล่นหาพระหลวงพ่อเต๋ มานานแต่ในความเป็นจริงแล้ว พระขุนแผนหลังมะ มีพระฝีมือที่ต้องถือว่าสุดยอดมาก ออกอาละวาดมาเป็นสิบปีแล้ว โดยเฉพาะชุดล่าสุดถือว่าเยี่ยมมากๆ ชนิดที่เรียกว่า
ถ้าไม่เคยพบพระขุนแผนหลังมะของแท้ และจุดพิจารณาชี้ขาด ผมรับรองว่า โดน ครับ


พระขุนแผนหลังมะ จริงๆแล้ว ไม่ได้สร้างในช่วงของสงครามอินโดจีน อย่างที่เซียนพระหลายต่อหลายคนเรียกขานกันว่า พระขุนแผนอินโดจีน เนื่องเพราะว่าการสร้างตุ๊กตาทองหลวงพ่อเต๋ ในครั้งแรกสร้างในระหว่างปี พ.ศ.2493-2494 โดยผู้ที่ไปหามวลสารประเภทดินโป่ง เพื่อเป็นมวลสารหลักในการสร้างตุ๊กตาทองก็คือหลวงตาขวัญ

หลวงตาขวัญ เป็นหลวงตาแก่ๆ อายุเกือบ 90ปี ที่ปัจจุบันย้ายมาจำพรรษาที่วัดสามง่าม ได้ประมาณ 4-5ปี แล้ว แกเล่าให้ผมฟังว่า แกบวชที่วัดสามง่ามประมาณ ปีพ.ศ.2492-2493 หลังจากบวชได้แค่พรรษาเดียว หลวงพ่อเต๋ก็ให้แกไปหาดินโป่ง ตามป่ามาเพื่อที่จะสร้างตุ๊กตาทอง โดยหลวงตาขวัญ ได้เดินทางไปกับพระอีกสองรูป ไปหาดินโป่งตามถ้ำในเขตกาญจนบุรี ดังนั้น ตุ๊กตาทองรุ่นแรก หลวงพ่อเต๋ สร้างกันระหว่าง ปีพ.ศ.2493-2494 ไม่ใช่ยุคอินโดจีนอย่างที่เข้าใจกัน ครับการสร้างตุ๊กตาทอง ของหลวงพ่อเต๋


ในครั้งแรกนั้น เจตนาการสร้างของท่านก็เพื่อ ให้ ช่วยเฝ้าบ้าน เฝ้าวัว ควาย เป็นเป้าหมายหลักแต่เพราะความเฮี้ยนของตุ๊กตาทอง

ทำให้เพื่อนบ้านหลายๆคน ได้พบเห็นว่า มีเด็กวิ่งเล่นอยู่่ในบริเวณบ้านที่เลี้ยงตุ๊กตาทอง ทำให้ในยุคแรกๆ พ่อบ้านอยากเลี้ยง แต่แม่บ้านกลัว ทำให้หลายๆบ้านต้องนำตุ๊กตาทองมาคืนหลวงพ่อเต๋ หรือไม่ก็ให้ต่อกันไป หลายต่อหลายคนอยากได้ตุ๊กตาทองหลวงพ่อเต๋ไปเลี้ยง แต่พอได้ฟังคำพูดเล่าต่อกันมา ก็เลยไม่กล้าเลี้ยงกันหลายคนอย่างเช่นตัวผมเอง ก็ไม่มีตุ๊กตาทองหลวงพ่อเต๋แม้แต่ตนเดียว

ทั้งๆที่พี่สาวผมเป็นครูอยู่วัดสามง่าม ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2518 ผมเคยถามว่าทำไมไม่ขอตุ๊กตาทองหลวงพ่อเต๋มาเลี้ยงบ้างพี่สาวผมตอบว่า
กลัวไม่กล้าเลี้ยง ได้ฟังหลายต่อหลายคนเล่าแล้ว ไม่กล้าด้วยเหตุผลของความเฮี้ยนของตุ๊กตาทองหลวงพ่อเต๋

หลายคนอยากเลี้ยงแต่ไม่สะดวก หรือไม่กล้า ทำให้มี ศิษย์หลวงพ่อเต๋กลุ่มหนึ่ง
มีความคิดดัดแปลงโดยนำดินที่เป็นมวลสารในการสร้างตุ๊กตาทอง มาสร้างเป็นพระเครื่อง


โดยหวังผลทางด้าน ความเฮี้ยนของเถ้ากระดูกของผีตายโหง และมาสร้างเป็น พระขุนแผนหลังยันต์มะ ขึ้น โดยปีที่สร้างนั้น

น่าจะอยู่ในช่วง ปีพ.ศ.2500 เศษ แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นมาอีก ด้วยเหตุที่ว่า

พระขุนแผนหลังมะ มีเถ้ากระดูกผีตายโหงเป็นส่วนผสม แม่บ้านส่วนใหญ่ หรือพ่อแม่ ไม่ต้องการให้นำเข้ามาในบ้าน ทำให้พระขุนแผนหลังมะ ไม่มีใครกล้านำมาใช้ ตั้งแต่สมัยที่หลวงพ่อเต๋ ยังมีชีวิตอยู่ในระหว่างปี พ.ศ.2530

ได้มีการค้นพบพระขุนแผนหลังมะ ที่ใต้ฐานหอระฆัง ซึ่งหลังจากที่พบไม่มีใครทราบว่าเป็นพระของใคร

แม้กระทั่งหลวงพ่อแย้ม ท่านก็ไม่ทราบ ถึงขนาดที่พระเข้าสนามกลาง หนังสือพระเครื่องหลายเล่มต่างก็ยัดเป็น พระหลวงพ่อโหน่ง ต่อมาจึงมีการสืบเสาะจากศิษย์หลวงพ่อเต๋ รุ่นเก่าๆ จึงทราบว่า เป็นพระขุนแผนหลวงพ่อเต๋แต่ในยุคนั้น ก็ไม่ค่อยมีใครสนใจ หลวงพ่อแย้ม

เคยมอบพระขุนแผนหลังมะ ให้กับหลายวัดที่มาขอพระท่าน เพื่อไปแจกแก่ผู้ทำบุญ หลายปีบทีเดียว

จนกระทั่ง มีนักสะสมพระเครื่องสายหลวงพ่อเต่ รุ่นเก่าทราบการพบพระขุนแผนหลังมะเข้า

ต่างก็ทยอยมาเช่าหาเก็บไว้คนละหลายสิบองค์ทีเดียว เรื่องการพบพระขุนแผนหลังมะ ได้หลุดไปเข้าหูชาวสิงคโปร์ และมาเลย์ เข้า

ทำให้มีชาวสิงค์โปร์และมาเลย์ ที่นับถือหลวงพ่อเต่ ต่างก็บินมาเช่าพระขุนแผนหลังมะ ในสมัยที่หลวงพ่อแย้ม

เป็นเจ้าอาวาสกันชนิดทีเรียกว่า ยกปีบ กันเลย ทำให้พระขุนแผนหลังมะนี้ น่าจะอยู่ที่ต่างประเทศมากว่าในเมืองไทย ครับ

ทำให้พระที่เหลือ ถูกนำมาเก็บไว้ในปีบ เก็บตายไว้ตั้งแต่สมัยยุคปลายสมัยหลวงพ่อเต๋ และหลังหลวงพ่อเต่ สิ้นแล้ว ได้มีการนำมาเก็บไว้ใต้ฐานหอระฆังวัดสามง่าม จนทุกคนลืมพระขุนแผนหลังมะกันไปหมด

พระขุนแผนหลังมะ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสีแดง หรือส้ม ถ้าพบสีดำให้ตีเก๊ก่อน พระชุดนี้เพราะเหตุที่เก็บไว้ในปีบ เป็นเวลานับสิบปี และเพราะดินที่ใช้สร้างส่วนใหญ่จะเป็นดินโป่ง ทำให้ มีความละเอียดมาก ดินมีความแห้งแบบเดียวกับดินกรุ ซึ่งถ้าใครเล่นพระกรุเนื้อดินจะได้เปรียบมาก โดยเฉพาะองค์นี้จะเห็นคราบกรุ อยู่ที่บริเวณซอกหลืบขององค์พระ ถือได้ว่าพระองค์นี้ดูง่ายไร้กังวล บริเวณด้านหลังขององค์พระ ที่เห็นขาวๆ เป็นกระดูกของคนตาย ไม่ใช่ขี้เถ้า ซึ่งจะต้องมีชิ้นใหญ่ๆ แทรกอยู่ในเนื้อพระเสมอ

ถ้าเป็นชิ้นเล็กๆกระจายอยู่ทั่วองค์พระ ให้หลีกเลี่ยง เพราะพระเก๊จะเป็นแบบนี้ครับ ที่สำคัญ ถ้าส่องดูที่บริเวณเสี้ยนขาวชิ้นใหญ่ จะเห็นชัดว่าเป็นกระดูก เพราะ จะเห็นเป็นชั้นๆ เหมือนกับ เปลือกหอยที่ถูกทุบให้แตก ครับ





จุดพิจารณาชี้ขาดพระขุนแผนหลังมะจะอยู่ที่ ความแห้งของเนื้อพระและเสี้ยนกระดูก ต้องมีชิ้นใหญ่แทรกอยู่เสมอ

การพิจารณาจาก พิมพ์ทรง ไม่เป็นจุดชี้ขาด เนื่องจากของเก๊ทำได้เกือบ 100%




เครดิต..คนสามง่าม
องค์ที่โชว์สวยจังคับ
ขอบคุณครับ
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-4-28 08:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ไม่ได้ให้นะ
สาธู
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้