ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
~ หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง ~
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
... 14
/ 14 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: kit007
~ หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง ~
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
21
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-27 12:47
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ท่านบอกว่าในหัวอกเหมือนจะมีอะไร แต่ภายหลังได้พิจารณากลับมา และเมื่อท่านพระอาจารย์สิงห์ได้อธิบายให้ท่านทราบในภายหลังว่า การครั้งนี้เป็นนิมิต เนื่องจากบุพเพสันนิวาสท่านและสุภาพสตรีผู้นั้นเคยเป็นเนื้อคู่เกี่ยวข้องกันต่อมาช้านาน เคยบำเพ็ญบารมีคู่กันมาโดยเฉพาะเมื่อภายหลัง หลวงปู่ได้สารภาพถึงความในใจที่ตั้งปรารถนาพุทธภูมิ ท่านพระอาจารย์สิงห์ก็อธิบายว่า เธอผู้นั้นก็คงได้ปรารถนา บำเพ็ญบารมีคู่กันมาเช่นกัน
ท่านก็เลยเล่าว่า ครั้งหนึ่ง หลวงปู่อีกองค์หนึ่งก็เช่นกัน ระหว่างที่มากรุงเทพฯเดินบิณฑบาตอยู่แถววัดสระปทุม ได้พบสตรีคนหนึ่ง นั่งรถสามล้อผ่านไป
(สมัยนั้นในกรุงเทพฯมีรถสามล้อเป็นยานพาหนะด้วย-----ผู้เขียน)
ท่านบอก เพียงตาสบตาเท่านั้น ความรู้สึกมันปล๊าบไปทั้งตัว แทบจะวิ่งตามเขาไป คราวนั้นพระเถระผู้ใหญ่ต้องให้สติและขังท่านไว้ในโบสถ์ พิจารณาดับความรู้สึกกันอยู่นาน ด้วยการเจริญอสุภะจึงสำเร็จ คราวนั้นหลวงปู่องค์นั้นท่านก็เล่าว่า ไม่รู้จักผู้หญิงคนนั้นมาก่อน แล้วก็ไม่รู้ว่าเขาอยู่ที่ไหนด้วยซ้ำ เขาจะไปที่ไหน อย่างไร ก็ไม่ทราบ แต่ใจมันวิ่งเตลิดตามเขาไป พิจารณาแล้วก็ได้ความเช่นกัน ว่าเป็นคู่ที่เคยมีบุพเพสันนิวาสกันมาแต่ชาติก่อน อำนาจกรรมนั้นจึงมาประจักษ์ แต่หากว่าบุญบารมียังมีในเพศพรหมจรรย์ ท่านจึงปลอดภัยไปจากกรรมนี้ได้
สำหรับกรณีของหลวงปู่ก็เช่นกัน แต่ของท่านนั้น เนื่องจากเป็นการปรารถนาพุทธภูมิเคียงคู่กันมา จึงมีอำนาจรุนแรงมาก และเนื่องจากว่า ฝ่ายหญิงมิได้พบกันแล้วก็ห่างกันไปแบบในกรณีของหลวงปู่องค์นั้น ต้องพบประจันหน้ากันอีกหลายครั้ง เนื่องด้วยผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้คุ้นเคยกันประหนึ่งญาติ และมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาหลายชั้น ตั้งแต่ครั้งบิดามารดา ต้องพบเห็นกัน ไม่ใช่ว่าเป็นการพบกันแล้วก็ผ่านจากไป เช่นนั้นอาจจะเป็นกรณีที่ง่ายหน่อย แต่การนี้หลังจากพบครั้งแรกแล้วนั้น ก็ยังต้องเห็นกันอีก กรณีจึงแตกต่างจากพระเถระครูบาอาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐานองค์อื่น ในชาตินี้ นอกจากที่ว่า ชั้นบิดามารดารู้จักคุ้นเคยกันประหนึ่งญาติพี่น้อง อาจจะเคยเห็นกันในสมัยวัยเด็ก แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายหญิงได้ถูกส่งตัวเข้ามารับการศึกษาในพระนครเสียตั้งแต่ยังเด็ก ได้รับการศึกษาชั้นสูง จึงแทบมิได้พบหน้ากันอีก เมื่อมาพบฝ่ายหญิงนั้น ท่านอยู่ในเพศบรรพชิตแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งเป็นกุลสตรีแสนสวย เป็นรอยแห่งอดีตที่มาพบพานกัน
ความจริงท่านไม่เคยเล่าถึงรูปลักษณ์ของ
“รอยอดีต”
ของท่าน แต่บังเอิญผู้เขียนเกิดทราบขึ้นมาเอง
วันนั้นเป็นเวลาที่มีการสนทนาธรรมกัน และหลวงปู่กำลังเทศนาอธิบายถึงแรงกรรม โดยเฉพาะกรรมเกี่ยวกับบุพเพสันนิวาส ที่พระเณรจะต้องประสบและจะต้องมีกำลังใจอย่างมากที่จะเอาชนะให้ได้ในที่สุด สุดท้ายวันนั้นท่านได้ยกกรณีของท่านขึ้นมาว่า องค์ท่านเองยังแทบเป็นลม ฝ่ายท่านนั้นพระเถระต้องเข้าประคองฝ่ายหญิงเป็นลม ญาติผู้ใหญ่และมารดาต้องเข้าประคอง ขณะฟังไม่ทราบว่าเพราะอะไร ผู้เขียนรู้สึกสว่างวาบขึ้นในใจ เข้าใจนึกถึงชื่อเธอขึ้นมา กราบเรียนท่านโดยเอ่ยชื่อเธอ...ว่าใช่ไหมสุภาพสตรีท่านนั้น
หลวงปู่ค่อนข้างจะตกใจที่ทำไมศิษย์เกิดรู้จักขึ้นมาได้ แต่ท่านก็อึ้งและยอมรับว่าเข้าใจถูกแล้ว ฉะนั้นการพรรณนารูปร่างลักษณะของเธอ ซึ่งผู้เขียนเผอิญรู้จัก และมีความเคารพนับถือ...นับถือในอัจฉริยะของเธอ จึงเป็นการบรรยายจากผู้เขียนฝ่ายเดียว หลวงปู่ท่านมิได้เล่ารายละเอียดเหล่านั้น ผู้เขียนเพียงแต่ช่วยวาดภาพให้ท่านผู้อ่านได้นึกถึงเรื่องและเข้าใจตามไปด้วยเท่านั้น ว่าเป็นการยากลำบากและต้องการพลังใจอันเด็ดเดี่ยวเพียงใด ที่หลวงปู่ท่านจะสามารถตัดกระแสความผูกพันจากรอยอดีต โดยเฉพาะผู้ที่เป็นคู่บารมีมาสำหรับการปรารถนาพุทธภูมิ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
22
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-27 12:48
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“รอยอดีต”
ของท่านเป็นกุลสตรีที่ได้รับการศึกษามาอย่างดี จบการศึกษาชั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนสตรีที่มีชื่อทางภาษาต่างประเทศ นาน ๆ เมื่อกลับไปเยี่ยมบ้าน ก็กลับไปแบบหญิงสาวสมัยใหม่ รูปสวย นัยน์ตาโตงาม มีคนหลายคนที่เล่าว่า เวลาที่เห็นเธอกลับไปเยี่ยมบ้านนั้น เสมือนหนึ่งเห็นเทพธิดาล่องลอยอยู่ในฟ้า ขี่ม้าเก่ง แต่งตัวสวย แบบสาวชาวกรุงแท้ ผมสวย หน้าสวย
ความจริงแล้ว เจ้าแม่นางกวยมารดาของท่านนั้น ก็เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่มากในเรื่องแต่งตัวงาม ผมของท่านจะจับหย่ง ใช้ขี้ผึ้งจับจอนให้งดงาม เป็นที่เลื่องลือกันทั้งหมู่บ้าน และมีชาวบ้าน มีเพื่อนบ้านใกล้เคียง ผู้ที่เป็นหญิงสาวมักจะมาขอเรียนการทำผมที่ทำไมจึงจะสวยได้อย่างเจ้าแม่นางกวย กลายเป็นที่พูดกันว่า ท่านเป็นประหนึ่งผู้ทำผมให้กับหญิงสาวทั้งหมู่บ้าน แต่นั้นก็เป็นแบบผมในสมัยของท่าน
กุลสตรีท่านนี้ เป็นแบบสาวสมัยใหม่ ผมงามแบบผมท่าน ขี่ม้าเก่ง และไม่ได้แต่งตัวแบบหญิงสาวชนบท สวมกางเกงขี่ม้าใส่รองเท้าท็อปบู๊ต ต่อมาภายหลัง หลังจากที่ต้องจากกันแล้ว เมื่อเธอกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร เธอก็ได้มามีชื่อเสียงอย่างมาก และเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับผู้ที่รักหนังสือทั้งหลาย เข้าใจว่า ผู้ที่มีอายุประมาณ ๕๐ ปีขึ้นไปนั้นจะต้องเคยได้ยินชื่อของเธอมามาก
หลวงปู่จึงเล่าภายหลังว่า ท่านรู้สึกเหมือนกับว่า หัวอกแทบจะระเบิด อกกลัดเป็นหนอง แต่ใจหนึ่งก็คิดมุ่งมั่นว่า จะต้องบำเพ็ญเพศพรหมจรรย์ต่อไป
ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เข้าใจในความรู้สึกของหลวงปู่ผู้เป็นศิษย์ใหม่ได้ดี ท่านจึงจัดการพาตัวหลวงปู่รีบจากหล่มสักมาโดยเร็วที่สุดหลวงปู่กล่าวว่า ไม่ใช่เป็น การพาตัว มาอย่างธรรมดา แต่เป็น
การควบคุมนักโทษ
ผู้นี้ให้หนีออกมาจากมารที่รบกวนหัวใจแต่โดยเร็ว
http://www.dharma-gateway.com/mo ... ouis-hist-04-02.htm
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
23
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-27 12:48
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พรรษาที่ ๗-๘ พ.ศ. ๒๔๗๔- ๒๔๗๕ ในกองทัพธรรม
พ.ศ. ๒๔๗๔ จำพรรษา วัดป่าบ้านเหล่างา ต.บ้านเหล่างา จ.ขอนแก่น
พ.ศ. ๒๔๗๕ จำพรรษา วัดป่าศรัทธารวม ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา
หลวงปู่กล่าวว่า เป็นการเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่บังเอิญเจ้าภาพที่หล่มสักนั้นได้นิมนต์ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ไปร่วมในงานศพในครั้งนั้นด้วย หากไม่มีพระเถระช่วยให้สติปรับปรุงแถมยังคอยควบคุมตัว ท่านว่า ไม่ทราบว่าจะรอดพ้นปากเหยี่ยวปากกามาได้หรือไม่ ท่านได้เห็นจริงในตอนนั้นว่า มาตุคามเป็นภัยแก่ตนอย่างยิ่ง เมื่อพระอานนท์กราบทูลถามสมเด็จพระพุทธองค์ว่า ควรปฏิบัติต่อมาตุคามเช่นใด พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า
“ไม่ควรมอง ถ้าจำเป็นจะต้องมอง ก็ไม่ควรพูดด้วย ถ้าจำเป็นจะต้องพูดด้วย ก็ให้ตั้งสติ”
ท่านตรัสบอกขั้นตอนปฏิบัติต่อมาตุคามเป็นลำดับ ๆ ไป แต่นี่หลวงปู่เพียงโดนขั้นแรก
มอง
ก็ถูกเปรี้ยงเสียแล้ว ถ้าเป็นนักมวยก็ขึ้นเวทียังไม่ทันจะเริ่มต่อย ก็ถูกน็อค
ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม นี้เป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่นต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น ที่ พระญาณวิศิษฏ์ ท่านได้เห็นพระรุ่นน้องแสดงกิริยาดูน่ากลัวว่าจะพ่ายแพ้อำนาจของกิเลส ถ้าเป็นนักสู้ ก็เป็นนักสู้ที่ยินยอมจะให้เขายกกรีธาพาเข้าสู่ที่ประหารชีวิตแต่โดยดี ไม่พยายามฝืนต่อสู้แต่อย่างใด
ท่านจึงควบคุมนักโทษ
"ซึ่งเป็นนักโทษหัวใจ"
ผู้นั้น รีบหนีออกจากหล่มสักโดยเร็ว ออกมาจากสถานที่เกิดเหตุคือเมืองหล่มสักโดยเร็วที่สุด เที่ยววิเวกลงมาตามป่าตามเขา และเร่งทำตบะความเพียรอย่างหนัก
ท่านพระอาจารย์สิงห์สนับสนุนให้หลวงปู่อดนอน อดอาหาร เพื่อผ่อนคลายความนึกคิดถึงมาตุคาม ให้เร่งภาวนาพุทโธ...พุทโธถี่ยิบ และนั่งข่มขันธ์ แต่ความกลับกลายเป็นโทษ เคราะห์ดีท่านไม่ตามนิมิต ซึ่งแทนที่จะยอมสิโรราบตามเคราะห์กรรมที่มีอยู่เช่นนั้น เพราะเคยมีกรรมต่อกันมาเช่นนั้น ทำให้พอเห็นก็มืออ่อนเท้าอ่อน ยอมตายง่าย ๆ ท่านกลับเข้าหาครู เชื่อครู เล่านิมิตถวาย ท่านพระอาจารย์สิงห์ท่านได้โอกาส จึงได้อบรมกระหน่ำเฆี่ยนตีทันควัน
ท่านกล่าวว่า ตัวท่านผ่านเหตุการณ์อันน่าสยดสยองมาได้แล้ว ท่านหลวงปู่มองย้อนกลับไป จึงได้คิดว่า ผู้ที่มีญาณซึ่งสามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ในอดีตก็ดี หรือภาพอนาคตก็ดี หากผู้ล่วงรู้อดีต อนาคตนั้น ไม่มีคุณธรรมมั่นคงแข็งแรงก็อาจจะเป็นผลเสียได้ อยู่ดี ๆ เกิดไปรู้ว่า เคยชอบเคยรักกับใครก็จะลำเอียงไปตามนั้น ถ้าไปพบว่ามีเรื่องผูกพันกัน โกรธกัน ไปรู้เข้า ก็จะยุ่งแน่ ดังเช่นเกิดญาณรู้อยู่ คนนั้นเคยมาข่มเหงเรา ฆ่าเรา พอรู้เข้าในชาตินี้ กลับอยากจะอาฆาตเตรียมตัวที่จะไปข่มเหงเขา ฆ่าเขาตอบแทนเรื่อย ๆ นี่แหละท่านถึงไม่ให้ปุถุชนคนกิเลสหนาปัญญาหยาบได้ล่วงรู้ถึงอดีต รู้ถึงอนาคต ด้วยจิตยังมีริษยาอาฆาตโกรธแค้นต่อกันอยู่
ช่วงระยะเวลาเหล่านั้น ระหว่างท่านพระอาจารย์มั่นกำลังหลบจากเขตอีสานขึ้นไปวิเวกอยู่ทางภาคเหนือในเขตจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้จัดตั้งกองทัพธรรมสั่งสอนประชาชนทางภาคอีสานให้รู้จักหลักพระพุทธศาสนาที่แท้จริง เพื่อให้เลิกถือผีไท้ ผีฟ้า ผีปู่ตา กลับมารับพระไตรสรณาคมน์ให้มากขึ้น พระกัมมัฏฐานท่านมาชุมนุมกันที่วัดป่าบ้านเหล่างานั้นมาก
ในปี ๒๔๗๔ มีพระเถระมาจำพรรษาอยู่ด้วยกันหลายท่านหลายองค์ นอกจากองค์ท่านแล้ว ยังมีหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ด้วย
พระมหาปิ่น ปัญญาพโล
ครั้นต่อมาในปี ๒๔๗๕ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน ป.ธ. ๕) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง พระเทพเวที เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ได้มีบัญชาเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ให้พระกัมมัฏฐานที่มีอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น เดินทางไปที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสั่งสอนประชาชนร่วมกับข้าราชการ ดังนั้น ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ป.ธ. ๕ ซึ่งเป็นน้องชายท่านพระอาจารย์สิงห์ จึงได้นำพระจรไปด้วยหลายรูป มี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เดินทางร่วมไปด้วย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
24
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-27 12:49
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในปี ๒๔๗๕ นั้นเอง พันตำรวจตรีหลวงชาญนิยมเขต กองเมือง ๒ ได้ถวายที่ดินยกกรรมสิทธิ์ให้พระกัมมัฏฐานสร้างวัดมีเนื้อที่ ๘๐ ไร่ จึงได้ลงมือสร้างวัดขึ้นในที่แปลงนี้ ตั้งชื่อว่า
“วัดป่าสาลวัน”
จนถึงทุกวันนี้
ได้มีการอบรมศีลธรรมให้แก่ประชาชน จนประชาชนเกิดความเลื่อมใสและตั้งตนอยู่ในพระไตรสรณาคมน์ ถือวัดป่าสาลวันเป็นจุดศูนย์กลางปฏิบัติกัมมัฏฐานและเป็นสถานที่ชุมนุมประจำ ครั้นเมื่อจะเข้าพรรษาก็ให้แยกย้ายพระไปวิเวกจำพรรษาในวัดต่าง ๆ ที่ไปตั้งขึ้น ตัวท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ไปจำอยู่ที่ศูนย์กลางคือ วัดป่าสาลวันนี้ แต่ท่านได้มอบหมายให้ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโลไปตั้งวัดกัมมัฏฐานอีกวัดหนึ่ง ที่ข้างกรมทหาร ต. หัวทะเล อ. เมือง จ. นครราชสีมาให้ชื่อว่า วัดป่าศรัทธารวม
ณ ที่นี้ หลวงปู่ก็ได้ไปจำพรรษาร่วมอยู่ที่วัดป่าศรัทธารวมด้วย พรรษานี้พระกัมมัฏฐานในสายของท่านพระอาจารย์มั่นก็มาอยู่ด้วยกันมากเป็นพิเศษ เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพระอาจารย์ภูมี ฐิตธัมโม ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นอาทิ มีท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นหัวหน้าที่จะเทศน์อบรม โดยมีท่านองค์อื่น ๆ เป็นผู้ช่วยเหลือในการเทศน์อบรมประชาชนด้วย
แม้กับหมู่พวกพระเณร หลวงปู่หลุยท่านจะไม่ค่อยพูด ชอบอยู่องค์เดียวโดยหากระต๊อบเล็ก ๆ ทำแคร่พักอยู่ที่ชายป่าห่างจากหมู่เพื่อน แต่เวลาท่านพูดคุยกับญาติโยม ญาติโยมมักจะชอบใจสำนวนโวหารของท่านมาก ด้วยท่านเป็นกันเอง
ท่านได้เขียนบันทึกไว้หลายแห่งที่แสดงกุศโลบายของท่านในการเอาใจประชาชนว่าเพื่อจะให้ญาติโยมเข้าใจ หรือมีน้ำใจที่จะชอบฟังธรรมโดยง่าย จะทำพูดคุยธรรมดาให้เขารู้จักคุ้นเคยเป็นกันเองก่อนแล้วจึงจะเทศน์ เมื่อคุ้นเคยเป็นกันเองแล้ว เขาก็จะตั้งอกตั้งใจฟังเทศน์การอบรมเป็นอย่างดี
วิธีการของท่านนี้ ทำให้ท่านเป็นกำลังสำคัญองค์หนึ่ง ที่ช่วยในการเทศนาอบรมประชาชน ท่านได้อยู่จำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์สิงห์ และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ในปี ๒๔๗๔- ๒๔๗๕ นี้
ต่อมาท่านเห็นว่า กองทัพธรรมมีกำลังแน่นหนาเพียงพอแล้ว โดยได้มีครูบาอาจารย์แต่ละองค์ได้ไปสร้างวัดอยู่โดยรอบในจังหวัดนครราชสีมานี้ เช่น พระอาจารย์คำดี ปภาโส หรือ พระครูญาณทัสสี ไปสร้างวัดป่าสะแกราช ที่ อ.ปักธงชัย หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ไปสร้างวัดป่าบ้านใหม่สำโรง ที่ อ. สีคิ้ว ตั้งชื่อว่า วัดป่าสว่างอารมณ์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ไปสร้างวัดป่าบ้านมะรุม อ.โนนสูง เป็นการตั้งวัดเรียงรายกันอยู่โดยรอบ
ออกพรรษาปี ๒๔๗๕ ท่านหลวงปู่ก็ออกธุดงค์ต่อไป แยกจากหมู่เตรียมจะไปทางท่าอุเทน มุกดาหาร และนครพนม ด้วยเห็นว่า กองทัพธรรมมีกำลังเป็นปึกแผ่นแน่นหนาเพียงพอแล้ว หลวงปู่เป็นคนละเอียดลออ เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์องค์ใด ท่านจะมีบันทึกกล่าวถึงครูบาอาจารย์องค์นั้น ๆ อยู่เสมอ ในบันทึกปี ๒๔๗๕ ท่านได้บันทึกเกี่ยวกับท่านพระอาจารย์สิงห์ไว้ว่า
“ท่านพระอาจารย์สิงห์ เกิดปีฉลู วันจันทร์ เดือน ๓ อายุ ๔๔ พรรษา ๒๓ ออกบวชอายุ ๒๑ นับในครรภ์ ๑๐ เดือน
“อาจารย์มหาปิ่นเกิดปีมะโรง เดือน ๔ วันพฤหัสบดี อายุ ๔๑ พรรษา ๑๘ ป.ธ. ๕
สำหรับนิสัย ท่านก็บันทึกไว้เช่นกัน คงจะได้เห็นต่อไปในภายหลังท่านจะบันทึกนิสัยครูบาอาจารย์แต่ละองค์ไว้ด้วย ท่านกล่าวไว้ว่า
“ท่านสิงห์นิสัยเทศน์อธิบายธรรมดี ใจคอกว้างขวางดี เป็นคนสุขุม รักษาความสงบ เยือกเย็นดี เป็นคนหวังดีในศาสนาดี ชอบสันโดษ จิตอุทิศดีในศาสนา จิตอุทิศเฉพาะข้อปฏิบัติ น้ำใจเด็ดเดี่ยว ยกธรรมาธิษฐานล้วน”
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
25
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-27 12:49
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อีกแห่งหนึ่ง ท่านได้บันทึกไว้เป็นเชิงวิจารณ์ว่า
“ท่านอาจารย์สิงห์ กาย วาจา ใจ เป็นอาชาไนย ลักษณะเป็นคนที่ว่องไว ไหวพริบดี น้ำใจเด็ดเดี่ยว ทรมาน คนได้ทุก ๆ ชั้น ทั้งอุบายละเอียด เป็นคนราคจริต เป็นนักพูด ชอบคิดอุบายธรรมต่างๆ ชอบมีหมู่เพื่อนมาก นิสัยพระโมคคัลลาน์ มีความรู้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ข้อวัตรดีทั้งภายในและภายนอก ชอบโอ่โถง อดิเรกลาภมาก ไม่เอาแง่เอางอนแก่พุทธบริษัท ปัญญาเป็นคนทรมาน คน เพ่งประโยชน์ใหญ่ในศาสนา กาย วาจา ใจ ปลาบปลื้มมาก มักพูดตามความรู้ความเห็นของตน มักทรมานคนหนุ่ม ๆ น้อย ๆ บริษัทของท่านเป็นคนแก่นสารในท่ามกลางบริษัท รู้สึกชาติของคนที่จะดีหรือชั่ว ไม่กลัวต่อความตาย รู้จักเหตุผล อดีตอนาคต ปัจจุบัน เป็นคนมั่นในสัมมาปฏิบัติ ฉลาดพูด ฉลาดพลิกจิตสมถวิปัสนา
พรรษาที่ ๙-๑๐ พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๗๗
เดินธุดงค์กับท่านพระอาจารย์เสาร์ และได้วิชาม้างกาย
จำพรรษา ณ ถ้ำบ้านโพนงาม ต. ผักคำภู อ. กุดบาก จ. สกลนคร
เมื่อออกพรรษาปี ๒๔๗๕ แล้ว หลวงปู่เห็นว่า กองทัพธรรมมีกำลังแน่นหนาเพียงพอแล้ว หมู่เพื่อนสหธรรมิกที่อยู่ช่วยท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโมและท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ก็มีอยู่อย่างอุ่นหนาฝาคั่ง แต่ละท่านแต่ละองค์ต่างมีอุบายธรรมช่วยตนเอง และอบรมญาติโยมได้อย่างมั่นคง ส่วนองค์ท่านเองนั้น แม้พวกญาติโยมจะพอใจในการมาฟังธรรม หรือปรับทุกข์ปรับร้อนในปัญหาการครองตนกับท่าน แต่ก็เป็นไปแบบทางโลกอยู่มาก ท่านเล่าว่า เมื่อหวนระลึกถึงตนแล้วก็คิดว่า ยังไม่มีภูมิธรรมที่จะทันหน้าทันตาหมู่เพื่อนได้ ด้วยความเพียรและอุบายยังอ่อนอยู่มาก ท่านจึงคิดจะไปปรารภความเพียรให้ยิ่งขึ้นต่อไป
ท่านออกธุดงค์ต่อไป ทางท่าอุเทน มุกดาหาร และนครพนม ไปพบท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ที่จังหวัดอุบลราชธานี เห็นเป็นโอกาสที่จะได้อยู่ศึกษาอุบายธรรมจากท่าน จึงอยู่ปรนนิบัติรับใช้ ขณะนั้น ท่านรู้สึกว่าตนยังขาดที่พึ่งอยู่มาก ตั้งแต่ท่านพระอาจารย์บุญ อาจารย์องค์แรกของท่านมรณภาพไป ก็คิดจะหาครูบาอาจารย์องค์ใหม่ อย่างท่านพระอาจารย์มั่น ให้ท่านเมตตาสั่งสอนอบรม กระหน่ำฟาดฟันกิเลสให้ แต่ท่านก็เดินธุดงค์หลบหลีกเร้นหมู่ศิษย์ไปทางภาคเหนือโน้นแล้ว ได้อยู่ใกล้ชิดรับการอบรมจากท่านพระอาจารย์สิงห์ แต่ก็ยังไม่จุใจ... มาได้โอกาสพบอาจารย์วิเศษอีกองค์หนึ่ง ท่านจึงยินดียิ่ง
ท่านพระอาจารย์เสาร์ พาท่านเดินธุดงค์รอนแรมมาจากอุบลฯ และมาพักอยู่ที่แบบเขตจังหวัดสกลนคร แล้วจัดให้ท่านแจกไปทำความเพียรที่ถ้ำแห่งหนึ่งในเขตอำเภอกุดบาก
ท่านเล่าถึงถ้ำนั้นว่า ชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำโพนงาม อยู่บนภูเขาตั้งอยู่ระหว่างหมู่บ้าน ๓-๔ หมู่บ้าน คือ บ้านโพนงาม บ้านหนองสะไน และบ้านโพนสวาง อยู่ในเขตตำบลผักคำภู ห่างจากหมู่บ้านไม่กี่กิโลเมตร แต่ในสมัยนั้นยังเป็นป่าเป็นดงพงทึบอยู่ ทางไม่กี่กิโลเมตรก็ดูแสนไกล ท่านพระอาจารย์เสาร์บอกท่านว่า ให้ไปภาวนาที่ในถ้ำบนเขาโน้น ท่านก็แบกกลดขึ้นภูเขาไป
ลานหินบริเวณถ้ำโพนงาม
ท่านเล่าว่า ขณะนั้น ท่านผ่านพรรษา ๘ มาแล้ว และถ้าหากจะนับทั้งพรรษาที่บวชมหานิกาย ๑ พรรษา และที่บวชธรรมยุตคราวแรก ๑ พรรษา โดยไม่มีความเชื่อมั่นว่าเป็นการบวชที่ถูกต้อง จึงขอบวชธรรมยุตซ้ำอีก ก็จะกลายเป็นบวชถึง ๑๐ พรรษาแล้ว ได้ออกธุดงค์ทุกปี แต่ก็เป็นการไปอย่างที่เรียกว่า อยู่ในรัศมีใบบุญของครูอาจารย์ เช่น ๖ พรรษาแรกนั้น ท่านอาจารย์บุญจะนำไปเกือบตลอด มาธุดงค์กับท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านก็ดูแลเช่นกัน ที่ได้ธุดงค์องค์เดียวก็เป็นป่าเขาใกล้ ๆ กับรัศมีครูบาอาจารย์ หรือเป็นป่าโปร่ง ไม่ลึกลับซับซ้อนน่ากลัวเท่าใดนัก
การถูกส่งมาถ้ำโพนงามครั้งนั้นจึงเท่ากับเป็นการสอบไล่ใหญ่ทีเดียว
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
26
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-27 12:50
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ท่านมองเห็นยอดเขา แล้วก็หมายตาไว้...ว่าจะต้องขึ้นไปบนโน้น เขาชี้ให้ดูว่า ถ้ำอยู่ตรงนั้น หมู่ไม้นั้น ลิบ ๆ โน้น...ยอดยาวนั้น...เห็นแต่ยอดไม้สูงแผ่กิ่งก้านต่อเนื่องกันราวกับทะเลสีเขียว ดูไม่ไกลเท่าไร แต่เดินไป...เดินไป พบภูเขาเป็นแท่งหินใหญ่ข้างหน้าอยู่ ไม่มีทางไป ก็ต้องย้อนกลับมาตั้งหลักใหม่ สมัยนั้น ป่ายังเป็น
“ป่า”
รกชัฏ ต้นไม้สูงใหญ่ มืดครึ้ม ทางเดินในป่าก็แทบไม่มี ฝนเพิ่งตกใหม่ ๆ ไม้อ่อนระบัดกลบทางเดินของพรานป่าหมด เคราะห์ดีที่ยังพอมีชาวบ้านช่วยถือมีดพร้าไปด้วย จึงพอตัดฟันกิ่งไม้ แหวกเป็นช่องทางให้เดินขึ้นไปได้
ท่านเล่าว่า ออกเดินทางแต่ฉันจึงหันเสร็จในตอนเช้า กว่าจะขึ้นไปได้ถึงบนถ้ำ ก็ตกบ่าย สภาพภูเขาส่วนใหญ่เป็นหินผาแท่งทึบ บางแห่งก็ดูราวกับเป็นหินเนื้อเดียวกัน แต่เมื่อสังเกตให้ดี จะเห็นว่า เบื้องหลังต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นเบียดเสียดกันนั้นมีชะเงื้อมหินเป็นแผ่นผาวางซ้อนกันอยู่ ระหว่างรอยต่อพลาญหินด้านล่างและเงื้อมผาที่เป็นแผ่นเรียบแผ่ชะโงกอยู่ด้านบนนั้น มีจอมปลวกและเถาวัลย์ต้นไม้เล็ก ๆ ขึ้นอยู่เต็ม แต่ถ้าหากรื้อเถาวัลย์และต้นไม้เล็กพร้อมจอมปลวกออก ตกแต่งพื้นหินให้สะอาดแล้วก็คงพออาศัยเป็นที่ภาวนาทรมานกายได้เป็นอย่างดี
ที่เรียกว่า
ที่ภาวนาทรมานกาย
ก็ด้วยเล็งเห็นว่า ความสูงของเพดาน (ซึ่งถ้าจะรื้อต้นไม้เปิดออกเป็นถ้ำ) นั้น คงเพียงแค่สามารถนอนและนั่งเท่านั้น เวลานั่งศีรษะคงจะพอครือ ๆ กับเพดานถ้ำพอดี เป็นการบังคับให้สติอยู่กับจิต ขืนเผลอขยับตัวแรงไป ศีรษะจะต้องกระแทกกับเพดานหินแน่นอน
บริเวณถ้ำโพนงาม
เฉพาะส่วนที่ชาวบ้านผู้นำทางบอกว่า เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ชื่อ
“ถ้ำโพนงาม”
และเป็นถ้ำที่หลวงปู่เสาร์สั่งให้ท่านมาอยู่ภาวนานั้น เป็นถ้ำใหญ่ยาวต่อเนื่องกันไปไกล แต่พื้นถ้ำซึ่งคงเคยราบเรียบเมื่อมีผู้ธุดงค์ผ่านมาทำความเพียรนั้น บัดนี้เมื่อกาลเวลาล่วงไป และผ่านพ้นมาเพียงฤดูหนึ่งหรือสองฤดู ใบไม้แห้งที่ร่วงทับถมลงมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็กลายเป็นปุ๋ยให้เกิดไม้ใบสีเขียวขจีเกาะกอดอยู่บนพลาญหิน
ท่านจึงให้ชาวบ้านช่วยรื้อพืชสีเขียวออก ส่วนใบไม้แห้งเหล่านั้น ก็ได้อาศัยกิ่งไผ่แขนงไม้บริเวณนั้นที่ชาวบ้านช่วยหักมาให้ รวบเป็นกำใช้แทนไม้กวาด ปัดกวาดออก ไม่นานก็พอเห็นเป็นรูปเป็นร่างว่าพอจะใช้อาศัยเป็นที่สำหรับอยู่ทำความเพียรได้ เขาช่วยตัดไม้ไผ่มาทุบแผ่ออกเป็นฟาก และหาเถาวัลย์บริเวณนั้นมาผูกมัดไม้ฟากให้ติดกัน แล้วจัดทำเป็นแคร่เล็ก ๆ ขนาดพอเป็นที่พักของร่างกายที่กว้างศอกยาววาหนาคืบได้ ยกสูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อย ให้ได้พ้นจากมดตัวแดงแมงตัวน้อยที่มักจะอาศัยพลาญหินเป็นทางสัญจร
ชาวบ้านช่วยจัดทำเสร็จแล้ว ก็รีบลากลับไป บอกว่าเกรงจะไปมืดกลางทางเดี๋ยวจะลำบาก
ท่านถามว่า ลำบากเรื่องอะไร
เขาตอบว่า ลำบากเพราะแถวนี้เจ้าป่าชุมมาก การเดินทางในเวลากลางคืนอันตรายมาก (เจ้าป่า-----เขาพยายามเลี่ยงไม่อยากใช้คาว่า “เสือ” ตรง ๆ -----) เคยคาบชาวบ้านป่าที่ออกมาหาหน่อไม้ หน่อหวายบนเขา เอาไปกินสองสามรายแล้ว
“เจ้าป่า”
พวกนี้ชะล่าใจมาก บางทีถึงกับไปล่าเหยื่อถึงที่ชายป่าทีเดียว เคยมาเอาวัวเอาควายจากในบ้านไปกินก็หลายครั้ง
ท่านว่า ฟังแล้วก็ออกเสียว ๆ อยู่มาก แต่ก็ยังทำใจดีสู้... ชาวบ้านลากลับไปแล้ว ท่านก็รีบจัดบริขารเข้าที่เพื่อเตรียมภาวนา ความจริงบริขารก็มิได้มีมากมายอะไร ผ้าอาบนั้นใช้ได้สารพัดประโยชน์ นอกจากเพื่อการอาบน้ำตามชื่อแล้ว ยังเผื่อเหตุอื่นด้วย ทั้งเช็ดตัว เช็ดบาตร เช็ดฝาบาตร ปัดกวาดแคร่ ปูแคร่ หรือห่อผ้าสังฆาฏิแทนปลอกหมอน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
27
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-27 12:51
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บริเวณถ้ำโพนงาม
ชาวบ้านสัญญาว่า รุ่งขึ้นจะช่วยกันหาบน้ำขึ้นมาให้สัก ๒-๓ ครุ แต่ก็ยังไม่แน่นอนอะไร ฉะนั้นท่านจึงต้องระวังกาน้ำเป็นพิเศษ เพราะเป็นภาชนะอันเดียวที่ใส่น้ำขึ้นเขามา จะต้องใช้ทั้งฉันและล้างหน้า ล้างตัวและล้างเท้า ถ้าปล่อยให้น้ำหกจากกาไปได้จะลำบาก ท่านยังไม่ได้ออกเดินสำรวจหาแหล่งน้ำบนเขา อาจจะมีน้ำฝนหลงเหลืออยู่บนแอ่งหินใดแอ่งหินหนึ่งก็ได้
สมัยนั้น พระธุดงคกัมมัฏฐานแทบจะไม่รู้จักไฟฉาย แม้แต่ไม้ขีด เทียนไข ก็หายาก ท่านว่า พระธุดงคกัมมัฏฐานพึ่งพาแต่แสงไฟธรรมชาติ กลางวันก็อาศัยแสงอาทิตย์ กลางคืนก็แล้วแต่เดือนดาวจะให้ความเมตตาให้แสงสว่างเพียงไร เดือนหงายก็ยังพอเห็นอะไรบ้าง แต่ถ้าเป็นเดือนแรม ก็เรียกว่า มืดสนิท
คืนแรกนั้น ท่านว่า แต่แรกก็ยังดีอยู่ มองธรรมชาติรอบตัวดูมีความสงบสงัด งามอยู่ ต้นไม้ก็สวย ฟ้าก็งาม แต่ไป ๆ ชักสลัวลง...มืดลง คำชาวบ้านที่ว่า
เสือชุม
ก็ดูจะมากระซิบซ้ำซากอยู่ที่ข้างหู...ต้นไม้ดูทะมึนตะคุ่ม ๆ ฟ้าก็มืด ดูสงัดวังเวงอย่างบอกไม่ถูก ได้ยินเสียงเสือคำรามอยู่แต่ไกล ท่านเคยได้ยินครั้งอยู่วัดป่าหนองวัวซอ แต่เสียงนั้นก็ห่างอยู่ และกุฏิก็อยู่ในเขตวัด ไม่ฟังวังเวงเหมือนครั้งนี้ เผอิญคืนนั้นเป็นคืนข้างแรมแก่ ตะวันลับขอบฟ้าเพียงไม่นาน ก็มืดจนมองไม่เห็นอะไร เพียงยื่นมือออกไปข้างหน้า ก็มองไม่เห็นแม้แต่แขนหรือปลายมือของเราเอง ท่านว่า...เข้าใจในครั้งนั้นเลย...คำวลีที่ว่า
“มืดเหมือนเข้าถ้ำ..”
ท่านบันทึกไว้ว่า
“ภาวนาที่ถ้ำโพนงามนั้นดีเหลือที่สุด”
.....ภาวนา....กายเปลี่ยว จิตเปลี่ยว กายวิเวก จิตวิเวก เป็นอย่างไร แทบจะไม่ต้องมีใครมาอธิบายให้ฟัง
กายเปลี่ยว จิตเปลี่ยว..จริงๆ
กายวิเวก จิตวิเวก..จริง ๆ
เสียงสัตว์ป่าร้องในเวลาค่ำคืน ดังแหวกความสงัดขึ้นมาเป็นระยะ ๆ ยิ่งนึกถึงคำของชาวบ้านที่ว่า เสือชุม งูชุม ทำให้ยิ่งรู้สึกถึงความสงัดวังเวงมากยิ่งขึ้น
ท่านเล่าว่า เวลาอยู่ในถ้ำ บนเขา ในป่า อย่าว่าแต่เสียงเสือ เสียงช้าง...เลย แม้แต่เสียงเก้งที่ร้อง เป๊บ เป๊บ ลั่นขึ้นในความสงัดของราวป่า ก็ทำให้สะดุ้งตกใจได้โดยง่าย จิตสะดุ้ง จิตหดเข้า...หดเข้า...แนบแน่นอยู่กับพุทโธที่อาศัยเป็นสรณะที่พึ่ง...รวมลงสู่สมาธิ
ท่านว่า เคราะห์ดีที่อยู่ถ้ำโพนงามรอบแรก ในปี ๒๔๗๖ และ ๒๔๗๗ นั้นไม่เคยพบเสืออย่างจัง ๆ สักที ทั้ง ๆ ที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ส่งท่านมาอยู่ที่นี่ ก็เพื่อให้พบเสือ อาจจะเป็นเพราะระยะนั้นยังนึก “กลัว ๆ” อยู่ ภาวนาไม่อยากให้พบเสือ ถึงจะมาอยู่แดนเสือ จึงไม่ได้พบเสือเลย...กระทั่งต่อมาอีกหลายปีภายหลัง จึงได้พบเสืออย่างจังหน้า...ซึ่งก็แถวถ้ำบริเวณใกล้ ๆ กับถ้ำโพนงามนี้เอง หลังจากที่ได้ธุดงค์วิเวกไปไหนต่อไหนเสีย ๕ - ๖ ปี ทำให้ได้ธรรมอันน่าอัศจรรย์ใจ
ท่านกล่าวภายหลังว่า ความจริงที่กล่าวว่า เคราะห์ดี ที่ไม่ได้เจอเสือในครั้งแรกที่ถ้ำโพนงามนั้น ควรจะเรียกว่า เคราะห์ร้าย มากกว่า เพราะถ้าหากทราบว่าเจอเสือแล้ว...จะเป็นเช่นไร ความกลัวจนถึงที่สุด ทำให้จิตกลับแกล้วกล้าขึ้นจนถึงที่สุดเช่นกัน ใคร ๆ ก็ต้องอยากพบเสือกันทั้งนั้น การไม่ได้พบเสือ จึงกลายเป็น เคราะห์ร้ายของพระกัมมัฏฐานด้วยเหตุนี้
ท่านว่า ออกไปเดินเล่น เห็นรอยเท้าเสือหมาด ๆ เต็มไปหมด จะว่ากลัวหรือจะว่าไม่กลัว ก็บอกไม่ถูก แต่ก็ต้องเอาเท้าไปเกลี่ยรอยเท้าเสือทิ้งเสีย...ไม่อยากเห็นแม้แต่รอยเท้าของมัน. .!
มีงูตัวโต ๆ แต่ก็ต่างคนต่างอยู่ แผ่เมตตาไปโดยรอบ แผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณ ให้ทั้งเทพยดา อารักษ์ อมนุษย์ ส่ำสัตว์ทั้งหลายโดยรอบ ความสงัดวิเวกบริบูรณ์ จิตรวมง่าย บางวันถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง
เมื่อท่านลงจากเขามา ได้ข่าวว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์กลับไปทางนครพนมแล้ว ท่านพอใจความวิเวกที่นั้น จึงกลับขึ้นไปจำพรรษาอยู่ ณ ถ้ำโพนงามนั้นเอง...เป็นพรรษาแรก ณ ที่นั้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๖
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
28
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-27 12:51
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วันหนึ่งไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ได้ยินข่าวว่า มีแม่ชีอภิญญาณสูงอยู่ที่วัดป่าบ้านสองคร ภาวนาเก่งมาก รู้วาระจิตคนอื่น มีหูทิพย์ ตาทิพย์ อย่างเช่นไปฟังพระเทศน์...องค์ไหนไปติดที่ธรรมขั้นไหน ๆ แม่ชีจะรู้หมด บอกได้ถูกหมด ได้ยินว่าชื่อ
แม่ชีจันทร์
และ
แม่ชียอ
เฉพาะ
แม่ชียอ
นั้นตาบอด แต่ทางธรรมะนั้นเลิศมาก และไม่ต้องอาศัยสายตาก็รู้เห็นทุกอย่างหมด
ตาเนื้อ
เสีย ก็ไม่ต้องใช้ ---ใช้แต่
ตาใน
แม่ชีทั้งสองเป็นคนบ้านโพนสวาง ใกล้บ้านหนองบัว ในเขตอำเภอสว่างแดนดิน หลวงปู่ได้ยินเรื่องราวแม่ชีทั้งสองก็สนใจ
พอดีออกพรรษา มีงานฉลองศพที่วัดนั้น หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปด้วย งานนั้น
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
และ
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ก็ไปด้วย เมื่อทั้งสององค์ผลัดกันขึ้นเทศน์ แม่ชีไปฟังด้วย หลวงปู่จึงไปลองซักถามดู ถามว่า ท่านที่ขึ้นเทศน์นี้เป็นอย่างไร
แม่ชีก็บอกให้ฟัง
ท่านแปลกใจว่า แม่ชีทำอย่างไร รู้ได้อย่างไร
แม่ชีก็กราบเรียนวิธีการภาวนาของตนให้ท่านทราบโดยละเอียด ทำให้หลวงปู่ได้อุบายวิธีในทางปฏิบัติจากแม่ชีทั้งสองเป็นหนทางดำเนินในการปฏิบัติธรรมของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐานแบบที่หลวงปู่เทศนาสอนในภายหลัง เรียกวิธีการ
“ม้างกาย”
นี่เอง
“ม้าง”
เป็นภาษาอีสาน แปลว่า แยกออกเป็นส่วน ๆ หรือรื้อออก-----แยกออก เช่น ม้างบ้าน ก็คือ รื้อบ้าน แยกบ้าน ม้างกาย ก็คือ รื้อกาย แยกกายออกเป็นส่วน ทำให้มาก...ทำให้ยิ่ง...จนเป็นอุคคหนิมิต เป็นปฏิภาคนิมิต แล้วดำเนินวิปัสสนา ใช้ปัญญาพิจารณากายต่อไป ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์
ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา
หลวงปู่เล่าว่า พอท่านได้ฟังอุบายวิธี ท่านก็แบกกลดกลับขึ้นเขาไปทันที ไม่ได้รอแม้แต่จะอยู่ต่อไปจนกระทั่งให้งานที่เขานิมนต์มานั้นเสร็จเรียบร้อยเสียก่อน
ท่านบันทึกเล่าไว้ ขณะเมื่ออยู่จำพรรษาที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า ในปี ๒๕๒๕ เป็นเวลาเกือบ ๕๐ ปีต่อมาในภายหลังเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า
“เอาเข้าป่า หัดม้างกายอย่างเต็มที่ จนร่างกายเกิดวิบัติ จนกระดูกคล้าย ๆ ออกจากกัน แม้เราเดินเสียงกรอบแกรบ แต่นานไปหาย มีกำลังทางจิต”
ท่านเล่าว่า การทำความเพียรช่วงนั้น ท่านปฏิบัติไปอย่าง ลืมมืดลืมแจ้ง ลืมวันลืมคืน เลยทีเดียว คิดว่า ผู้หญิงเขาทำได้ ทำไมเราจึงจะทำไม่ได้ จะแพ้ผู้หญิงเขาหรือไร ยิ่งคิดก็ยิ่งเกิดมุมานะ เจริญอิทธิบาท ๔ หัดม้างกายอย่างเต็มสติปัญญาความสามารถ
คล้ายกับกระดูกจะแยกออกจากกัน จะหลุดออกจากกันจริง ๆ เวลาเดินได้ยินเสียงกระดูกภายในกายลั่นดังกรอบแกรบตลอดเวลา บางโอกาสก็นึกสนุก ม้างต้นไม้...แยกออกเป็นส่วน ๆ จนต้นไม้แตก ลั่นดังเปรี๊ยะ...เปรี๊ยะทีเดียว ม้างก้อนหิน ภูเขา.....
ดูจะสนุกที่สุด
“ม้าง”
สิ่งใด สิ่งนั้นก็แทบจะแตกแยกละเอียดลงเป็นภัสม์ธุลี กำหนดใหม่ ให้กายนั้น สิ่งนั้น กลับรวมรูปขึ้นมาใหม่...กำหนดให้ ทำลายลงเป็นผุยผง รวมพึ่บลง ขยายให้ใหญ่ปานภูเขา ย่อให้เล็กลงเหลือแทบเท่าหัวไม้ขีด
สิ่งของ..! บุคคล...! ทำได้คล่องแคล่ว ว่องไว
มันช่างน่าสนุกจริง ๆ ท่านเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดผู้มาฝึกเรียน
“ม้างกาย”
ว่า เมื่อ
“ม้างกาย”
ได้ใหม่ ๆ ก็เกิดอาการ
“ร้อนวิชา”
ลองม้างกายคนที่พบเห็นพบใครก็ลอง
“ม้างกาย”
ดู...ผลพลอยได้ที่ทราบในภายหลังและท่านบันทึกไว้ คือหลังจากม้างกายบุคคลใดแล้ว ท่านจะรู้วาระจิตบุคคลนั้นด้วย....! คิดในใจอย่างไร เคยทำอะไรมา และจะทำอะไรต่อไป.....
จะมีของแถมเป็น ปรจิตวิชชา...อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ...เหล่านี้ตามมา ด้วย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
29
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-27 12:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ระหว่างที่ท่านมาอยู่ถ้ำโพนงามระยะแรก ได้ยินเสียงเทวดาพระอรหันต์สวดมนต์ เผอิญตอนนั้นมีพระและเณรตามมาอยู่ด้วยอีก ๒ องค์ ท่านว่า ได้ยินเสียงสวดมนต์กันทั้ง ๓ องค์ ต่อมาท่านได้กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่น เล่าถวายให้ท่านฟัง ท่านก็รับรองตามที่หลวงปู่ประสบ
การมาอยู่ที่ถ้ำโพนงามนี้ ทำให้ท่านได้เห็นพญานาคเป็นครั้งแรกในชีวิตด้วย ท่านเล่าว่า เป็นเวลาระหว่างที่ท่านกำลังพักผ่อนหลังจากทำความเพียรมาอย่างหนัก จึงออกมาเดินเล่นตามป่าเขา และเล่นพิจารณาการม้างกายไปด้วย ขณะที่ท่านเล่น
“ม้าง”
ต้นไม้ให้แตกเปรี๊ยะปร๊ะ ก็เห็นพญานาคมาเล่นกัน เอาดินตม ดินโคลนมาปาใส่กัน ดินบางก้อนขึ้นไปติดบนยอดยางทีเดียว
รูปร่างพญานาคก็คล้ายกับที่เห็นที่หน้ากลักไม้ขีดไฟ หรือที่เขาปั้นไว้ตามหน้าโบสถ์ บันไดนาค...อะไรเหล่านั้น ท่านว่า ในเวลาที่เขาไม่ได้เนรมิตกายให้เป็นอย่างอื่น เสียดายไม่ได้เรียนถามรายละเอียดอื่นอีก มัวแต่ตื่นเต้นเรียนซักถามเรื่องอื่น จึงไม่ได้เรียนถามให้แน่ใจว่า ระหว่างนั้น...ที่ท่านมองเห็นพญานาคนั้น จิตท่านคงจะละเอียดมาก ควรแก่การเห็นผู้ที่อยู่ในภพภูมิอันละเอียดระดับเดียวกับจิตในขณะนั้นของท่าน
พรรษาที่ ๑๑ พ.ศ.๒๔๗๘ สร้างวัดป่าบ้านหนองผือ
จำพรรษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ. สกลนคร
กุฏิที่ชาวบ้านสร้างถวายพระอาจารย์มั่น
ในปี ๒๔๗๘ หลวงปู่ได้มาพบสถานที่อันเป็นมงคลแห่งหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น
วัดภูริทัตตถิราวาส
หรือ
วัดป่าบ้านหนองผือ
ที่มีชื่อเสียงโด่งดังสำหรับผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานไปทั่วประเทศ ในฐานะที่พระคุณเจ้า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ บิดาแห่งพระกัมมัฏฐาน ได้จำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเป็นเวลาถึง ๕ พรรษาติดต่อกันโดยท่านไม่เคยจำพรรษาอยู่ ณ ที่ใดนานเช่นนั้นมาก่อน
หลวงปู่หลุย ท่านเป็นผู้ที่พบสถานที่แห่งนั้น และก็เป็นที่น่าประหลาดว่า การที่ท่านจะไปอยู่ที่นั่นนั้น มีเหตุมาจากเรื่องเล็ก ๆ เรื่องหนึ่ง กล่าวคือ ในระยะนั้นหลวงปู่กำลังวิเวกอยู่ในแถวอำเภอกุดบาก และพรรณานิคม ปรากฏว่า ชาวบ้านเกิดเป็นโรคเหน็บชา เป็นโรคอัมพฤกษ์กันมาก คือ ไม่เชิงถึงกับเป็นไข้ แต่ต่างคนต่างไม่มีแรง จะทำอะไรก็อ่อนเปลี้ยกันไปทั้งหมู่บ้าน พวกผู้หญิงก็ปานนั้น พวกผู้ชายก็ปานนั้น ไม่สามารถจะทำไร่ทำนากันได้
ด้วยความเมตตาที่เห็นชาวบ้านป่วยไข้ ทั้งขาดแคลนไม่มีเงินจะซื้อจะหายามารักษาพยาบาล หรือบำรุงตนให้หายจากโรคได้ เผอิญท่านระลึกได้ถึงยาตำรับที่เคยมีกล่าวอยู่ในบุพพสิกขา เป็นยาที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ให้ภิกษุอาพาธใช้ ท่านก็เลยทดลองจัดทำขึ้นตามตำรับที่ท่าน เห็น กล่าวไว้ในหนังสือบุพพสิกขาฯ นั้น เรียกกันว่า
ยาน้ำมูตรเน่า
หลังจากทำแล้ว ก็ปรากฏว่าโด่งดังไปทั่วทั้งอำเภอกุดบาก อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมือง เล่าลือกันต่อ ๆ ไปว่า มีพระกัมมัฏฐานมาปักกลดโปรดสัตว์อยู่ ท่านมียารักษาโรคเหน็บชา โรคอัมพฤกษ์ได้ ในระหว่างนั้น ใครมาขอท่านก็แจกกันให้ไปครอบครัวละ ๑ ขวดใหญ่ ใครกินแล้วก็หายจากโรคร้ายกันทั้งนั้น ต่างมีแรงได้ทำไร่ทำนากันเป็นปกติ แถมยังขยันขันแข็ง มีเรี่ยวแรงดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ เลื่องลือกันไปจนถึงบ้านหนองผือ นาใน เพราะที่นั่นมีคนเป็นโรคอัมพาต เหน็บชา กันหลายคนอยู่ จึงพากันชวนกันไปอาราธนานิมนต์ให้ท่านมาโปรดพวกชาวบ้านหนองผือบ้าง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
30
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-3-27 12:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เล่ากันว่า เมื่อตอนที่ยกขบวนกันไปรับท่านมานั้น ปีนเขากันมาจนถึงหมู่บ้านหนองผือ รับมาพร้อมกับหาบหม้อยามาด้วยกับท่านเลย เพราะบ้านหนองผือเป็นหมู่บ้านใหญ่ มีผู้คนหนาแน่น ได้ยินข่าวเรื่องพระธุดงค์มียาวิเศษ ก็ดั้นด้นไปถึงแล้วก็ไปขอยามา ได้มาทีละน้อย มาถึงมากินแล้วก็หาย จะไปเอามาแจกกันก็ไม่ทันอกทันใจ เลยคิดว่าไปนิมนต์ท่านมาจะดีกว่า สถานที่ซึ่งท่านพักอยู่ก่อนทางเขาด้านโน้นทางกุดบากนั้นอยู่ไกล มีอันตรายมาก สมัยนั้นเสือสางค่างแดงมันก็มีมาก ทั้งมีข่าวเรื่องเสือมากินวัวกินควายอยู่ตลอดเวลา ก็เลยไปรับหลวงปู่มา ให้ท่านมาพักอยู่ตรงข้าง ๆ ที่สร้างวัดทุกวันนี้ ฝั่งทุ่งนาที่เรียกว่า วัดภูริทัตตถิราวาส คิดกันว่า แทนที่จะไปเอายามา ก็ไปรับองค์ท่านมาเลย แล้วก็มาทำยาที่บ้านหนองผือนี้เลย การณ์ปรากฏว่าพวกที่เป็นโรคเหน็บชาทั้งหลายพากันหายจากโรคกันหมด การที่ท่านช่วยให้เขาหายจากโรคภัยไข้เจ็บนี้ ทำให้พวกชาวบ้านเริ่มมีศรัทธานับถือท่าน เคารพท่านมากขึ้นถือว่าท่านมาโปรดพวกเขาโดยแท้
ยาหม้อใหญ่นี้เป็นต้นเหตุให้ท่านได้อุบายฝึกทรมานคน กล่าวคือ เมื่อศรัทธาความเชื่อของคนได้บังเกิดขึ้นแล้ว ท่านก็เริ่มอบรมสั่งสอนชาวบ้าน ในเบื้องต้นเริ่มจากการให้ทาน การรักษาศีล การภาวนา....ตามลำดับไป ท่านทุ่มเทช่วยในการรักษาพยาบาลชาวบ้านจนหายจากโรคภัยไข้เจ็บ แล้วก็ยังมาทุ่มเทรักษาชาวบ้านด้วยวิธีการทางดานจิตใจอก ชาวบานหนองผือจึงเกิดความเชื่อมั่นในองค์ท่านอย่างมาก
เมื่อถึงเวลาที่เรากำลังจะจัดทำชีวประวัติของท่านในครั้งนี้ ได้กลับไปสัมภาษณ์พูดคุยกับพวกชาวบ้านหนองผือ ซึ่งเคยเป็นคนหนุ่มคนสาวสมัยที่หลวงปู่ยังไปบ้านหนองผือใหม่ ๆ เคยช่วยท่าน
“เฮ็ด”
แคร่
“เฮ็ด”
กุฏิ และหัดทอผ้าจากท่าน เคยฝึกหัดสวดมนต์ไหว้พระ หัดภาวนาจากท่าน เคยกราบเคยไหว้หลวงปู่ใหญ่มั่น มาแต่ครั้งกระโน้น ปัจจุบันนี้ล้วนเป็นพ่อเฒ่าแม่แก่ ต่างมีอายุมากไปตาม ๆ กัน
พวกเขาคุยให้ฟังว่า
ชาวบ้านหนองผือนี่ ตั้งแต่ตัวเล็กเด็กแดง ผู้เฒ่าผู้ใหญ่ คนทุกรุ่นทุกวัย ท่านได้สอนหมด ต่างก็เชื่อฟังท่าน โดยครั้งแรกท่านสอนการให้ทานก่อน ให้รู้จักการทำบุญสุนทานตามโอกาส ตามเวลาที่มี โอกาสที่มี นั่นคือว่า ถ้านึ่งข้าวสุกทัน....ก็ใส่บาตร ตำพริกทันก็ให้ใส่พริก ถ้าไม่มีก็ตำกับเกลือ ถ้าตำบ่ทันก็ให้เอาลูกมันใส่ เพิ่นสอนไปหมด.... คำให้สัมภาษณ์นี้ก็มาจาก หลวงตาบู่ ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นคนหนุ่ม ยังไม่ได้บวชเรียนแต่อย่างใด แต่จากการที่ได้ใกล้ชิด รับใช้ท่าน ก็เกิดเลื่อมใสศรัทธา บัดนี้ได้บวชแล้ว อยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ นี่เอง หลวงตาบู่ท่านเล่าว่า หลวงปู่หลุยท่านสอนตั้งแต่ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย จนถึงหลาน ถึง เหลน ถึง โหลน
ข้อนี้คงจะจริง เพราะท่านจะ นึกถึง ประชาชนทุกเพศทุกวัย ในคำที่ท่านเทศนาสำหรับวัดต่าง ๆ ในโอกาสงานบุญต่าง ๆ ท่านจะพูดถึง บุตรหลาน บุตรเหลน บุตรโหลน อยู่ตลอด
หลวงตาบู่บอกว่า เพิ่นมีวิธีการสอน เมื่อเพิ่นทุ่มเทให้ชาวบ้านหนองผือนี่อย่างมาก ชาวบ้านก็มีความเคารพท่าน เชื่อฟังท่านด้วย แทบทุกคนก็ได้หายมาจากโรคแล้ว ท่านจะให้ทำอะไร ปฏิบัติตัวเช่นไร ก็เชื่อฟังเป็นอันดี ถือเสมือนว่าท่านเป็นพระมาลัยมาโปรดให้หายเจ็บหายไข้ การงานใดในวัดที่อยากทำ จะสร้างกุฏิศาลา ชาวบ้านก็มาช่วย
เมื่อเราพูดถึงคำว่า
กุฏิ
กับ
ศาลา
นั้น ไม่ได้หมายถึงถาวรวัตถุมากมายอะไร ก็เพียงแต่การที่เอาไม้ไผ่มาตัด ทุบทำเป็นฟากแล้วก็ยกแคร่ขึ้น เอาใบไม้ใหญ่ ๆ มาใส่ ประกับ เข้า โดยใช้ไม้ไผ่มาผ่าเป็นซีกเล็ก ๆ ยาว ๆ แล้วก็เอาใบไม้ไว้ตรงกลาง ประกับหน้า ประกับหลัง ก็สามารถใช้เป็นฝาได้ ส่วนหลังคาก็เกี่ยวหญ้ามามุง อยู่กันเพียงแบบนั้น แต่ก็สามารถเป็นที่เจริญภาวนาได้เป็นอย่างดี
พูดถึงตำรายาหม้อใหญ่ของหลวงปู่นั้น คงจะมีผู้ที่สงสัยว่าจะประกอบด้วยอะไรบ้าง ความจริงในภายหลังในปีหลัง ๆ ท่านก็ได้บันทึกไว้เหมือนกัน จึงจะขอนำมาลงพิมพ์เป็นประวัติไว้โดยรักษาถ้อยคำสำนวนของท่านโดยตลอด ดังนี้
ท่านบันทึกไว้เมื่อ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ที่หัวหิน จังหวัดประจวบดีรีขันธ์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
... 14
/ 14 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...