ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2314
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

จุดนัดพบ

[คัดลอกลิงก์]
คุณเคยเป็นแบบนี้ไหม...เจอเขาครั้งแรก ความรู้สึกชอบและรักก็เกิดขึ้นทันที


รักแรกพบ....
จุดนัดพบตามหลักพระพุทธศาสนา

โดย ดร.อำนาจ ยอดทอง
อาจารย์ประจำหลักสูตรศาสนากับการพัฒนา
ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

                  คุณเคยไหม เมื่อคุณพบหรือเจอะเจอเขาครั้งแรก แล้วคุณรู้สึกว่า “ผู้หญิงคนนี้แหละใช่เลย” หรือ “ผู้ชายคนนี้แหละใช่เลย” หรือไม่ก็คุณรู้สึกประทับใจอย่างไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อนๆ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้คุณก็เคยพบเจอผู้ชายที่หน้าตาดี หรือผู้หญิงสวยๆ มาตั้งมากมาย แต่ความรู้สึกประทับใจ ชอบใจ หลงรัก หลงใหลและอื่นๆ สุดที่จะบรรยายไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลย ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นเพียงแค่คุณเห็น ได้ยินได้ฟังเขาพูด หรืออบอุ่นใจเมื่ออยู่ใกล้ ทั้งๆ ที่คุณก็เพิ่งรู้จัก เพิ่งเห็นเขาครั้งนี้เป็นครั้งแรกเอง นี่แหละเขาเรียกว่า “ความรักแรกพบ” กำลังมาประสบกับหัวใจของคุณแล้วล่ะ
                   ความรักแรกพบนี้อาจเรียกชื่อต่างๆได้ เช่น รักแรกเจอ รักแรกเห็น รักแรกพบ หรือจะเรียกว่าอะไรก็ตาม ความรักแบบนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร พระพุทธศาสนาจะอธิบายปรากฏการณ์นี้อย่างไรบ้าง
                   ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความรักโดยทั่วไปเสียก่อนตามหลักพระพุทธศาสนา โดยเราจะพิจารณาจากพุทธพจน์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-19 15:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2013-5-19 15:59

                               “ความรักนั้นเกิดด้วยสาเหตุ ๒ ประการ   
                         คือ(๑) ด้วยการอยู่ร่วมกันในชาติปางก่อน
                        (๒) ด้วยการเกื้อกูลกันและกันในปัจจุบัน
                         เหมือนดอกอุบลเกิดในน้ำ



(ขุ. ชา. (ไทย) ๒๗ / ๑๗๔ / ๑๑๑.)


               จากพุทธพจน์บทนี้ เราจะมาพิจารณาสาเหตุข้อแรกเป็นพิเศษ คือ การเคยอยู่ร่วมกันในชาติปางก่อน หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม “ปุพเพสันนิวาส” นั่นเอง หรือบางคนอาจจะเรียกว่า “ฟ้าลิขิต” หรือ “พรหมลิขิต” ก็ตาม หรือสำนวนที่คนไทยมักจะพูดเสมอๆ คือ “ทำบุญร่วมชาติ ตักบาตรร่วมขัน” นี่แหละที่แสดงถึงปุพเพสันนิวาส



                   แล้วปุพเพสันนิวาสที่มีอำนาจทำให้เกิดรักแรกพบนั้น คือ ปุพเพสันนิวาสแบบไหน เนื่องจากบุพเพสันนิวาสมีหลายแบบ บางคนเมื่อพบเจอในชาตินี้เพียงแค่รู้สึกดีด้วย รู้สึกผูกพัน รู้สึกเลื่อมใสเคารพ รู้สึกน่าเกรงขาม รู้สึกเกลียด เป็นต้น แต่จะให้เป็นรู้สึกรัก ประทับใจ อยากใช้ชีวิตคู่ ครองคู่กันได้นั้นกลับไม่มี จะเห็นว่า บางคนจึงเป็นได้แค่ญาติ บางคนจึงเป็นได้แค่เพื่อน บางคนจึงเป็นได้แค่เพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนตาย แต่จะให้เป็นคนรักกลับเป็นไม่ได้ ปุพเพสันนิวาสที่จะทำให้เกิดรักแรกพบมีดังนี้








                   ประการที่หนึ่ง เคยเกิดเป็นคนรัก หรือเป็นสามีภรรยากันในอดีตชาติเท่านั้น



                  หากบุคคลเคยเกิดอยู่ร่วมกันในแบบอื่น เช่น พ่อแม่ บุตรธิดา บริวาร ลูกน้อง หรือเจ้านาย เป็นต้น ผลของการเคยอยู่ร่วมกันนี้ทำให้เพียงรู้สึกดีๆ เลื่อมใส อบอุ่นใจ คุ้นเคย สนิทสนม เป็นต้น เท่านั้นในยามที่แรกพบเห็น น่าแปลกไหมครับ สำหรับคนบางคนเรารู้สึกดีด้วยตั้งแต่แรกเห็น ในขณะที่คนบางคนเรากลับรู้สึกไม่ดี หรือเฉยๆ แม้ว่าเขาจะดูสะดุดตาอย่างไรก็ตาม แต่ความรู้สึกนี้ก็ไม่สามารถทำให้เราเกิดอาการที่เรียกว่า “ปิ๊งรักแรกพบ” ได้ มีแต่คนที่เคยอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยา หรือเคยรักกันเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดรักแรกพบได้




                   จะเห็นได้จากกรณีของเจ้าชายสิทธัตถะในคราวที่พระราชบิดาสุทโธทนะจัดพิธีเลือกคู่นั้น ได้มีเจ้าหญิงที่มีรูปร่างหน้าตาสวยสดงดงามอย่างมากมายมาให้พระองค์เลือก แต่พระองค์กลับไม่เลือกใครเลย จนกระทั่งได้ประสบพบพระเนตรของเจ้าหญิงพิมพา ด้วยอำนาจปุพเพสันนิวาสในอดดีตชาติที่เคยเกิดครองคู่เป็นสามีภรรยากันมาดลบันดาลให้รักแรกพบเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด คนสมัยใหม่อาจเรียกว่า “รักอย่างไม่มีเหตุผล” แต่สำหรับพระพุทธศาสนาถือว่าเป็น “รักแรกที่มีเหตุผลมาจากปุพเพสันนิวาส” นั่นเอง




                   อีกกรณีหนึ่งในอรรถกถาธรรมบทเรื่องของโฆสกเศรษฐี เมื่อเศรษฐีผู้เป็นพ่อเลี้ยงส่งนายโฆสกะให้นำจดหมายไปให้เพื่อนที่เป็นหัวหน้าในอีกหมู่บ้านหนึ่ง เพื่อให้ฆ่าโฆสกะทิ้งเสีย โดยกำชับในจดหมายว่าไปถึงตอนไหหนให้จัดการฆ่าตอนนั้นทันที เมื่อโฆสกะไปถึงหมู่บ้านนั้น ขณะที่นางทาสีบอกต่อลูกสาวนายบ้านว่า ตนเองมารับใช้สายเพราะต้องไปจัดเตรียมห้องให้ลูกชายเศรษฐีชื่อ โฆสกะ




                   เท่านั้นครับ ยังไม่เคยเห็นหน้า เพียงแค่ได้ยินชื่อ ในคัมภีร์อธิบายถึงอาการของความรักแรกพบว่า “เพราะได้ฟังชื่อว่า โฆสกะ ผู้บุตรเศรษฐีนั้น ความรักเชือดเฉือนผิวหนังเป็นต้น จดถึงเยื่อในกระดูก ได้เกิดขึ้นกับลูกสาวนายบ้านนั้นแล้ว” (ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๔๐/๒๔๔-๒๕๕) เป็นไงละครับ ความรักเชือดเฉือนอวัยะทุกส่วนจนถึงเยื่อในกระดูกเชียวนะครับ นี่แหละความรักแรกพบละ บางคนอาจเกิดอาการต่างๆกัน เช่น ปากอ้า ตาค้าง เป็นต้น สุดประทับใจ สุดตื้นตัน สุดรัก สุดคิดถึง กินไม่ได้นอนไม่หลับ หรือเพียงแค่หลับตา ใบหน้าของเธอก็ปรากฏให้เห็นแล้ว เป็นต้น อาการเช่นนี้เรียกว่า “รักปักใจ”






               ประการที่สอง มีคุณธรรมเสมอกัน




               การที่คนบางคนแม้จะเคยเกิดเป็นคู่รัก เคยเป็นสามีภรรยากันมาในอดีตชาติก็ตาม แต่ถ้าหากในชาตินั้นๆ มีคุณธรรม หรือมีความดีงามไม่เสมอกัน แม้เจอกันในชาตินี้ก็แค่เพียงรู้สึกดีๆเท่านั้น แต่จะกลายเป็นรักแรกพบ ได้ครองคู่เป็นสามีภรรยาย่อมไม่เกิดขึ้น เรียกว่า บุญหรือวาสนาไม่ถึง ในกรณีนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า




               “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายหวังที่จะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้ง ๒ ฝ่ายพึงมีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายหวังย่อมได้พบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า”



                                                                 
(องฺ.จตุกฺก (ไทย) ๒๑/๕๖/๙๔
-๙๕)

                  




     จากพุทธพจน์บทนี้จะเห็นว่า ท่านใช้คำว่า “ได้พบ” นั่นก็คือ การที่ผู้ที่เคยเป็นสามีภรรยากันในอดีตชาติมีคุณธรรมเสมอกันจะทำให้เป็นปุพเพสันนิวาสได้พบกัน การพบกันจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เพราะหากมีคุณธรรมต่างกันก็จะไม่มีโอกาสได้พบกัน เช่น คนหนึ่งไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน อีกคนไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือคนหนึ่งไปเกิดในนรก แต่อีกคนไปเกิดในสวรรค์ เป็นต้น หรือหากเกิดเป็นมนุษย์ด้วยกัน คนหนึ่งอาจเกิดเป็นคนจน อีกคนอาจเกิดเป็นคนรวย ซึ่งแตกต่างกันมากจน ไม่มีโอกาสได้พบกัน เมื่อแค่พบยังไม่มีโอกาสได้เกิดขึ้นแล้ว ความรักก็เกิดขึ้นไม่ได้เช่นเดียวกัน แต่สำหรับคนที่มีคุณธรรมทั้ง ๔ ที่เรียกว่า “สมชีวิธรรม” แล้ว ย่อมมีโอกาสได้พบกัน ไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลแค่ไหนก็ตาม ต่างชนชนแค่ไหนก็ตาม ด้วยอำนาจปุพเพสันนิวาสก็จะทำให้ได้พบกัน และที่สำคัญพบกันอย่างเดียวยังไม่พอจะก่อให้เกิดความรักและความประทับใจที่ลึกซึ้งจนถึงเยื่อในกระดูกเลยทีเดียว เรียกว่า “มีรักติดตรึงฝังใจในเมื่อแรกพบ”



                   มีตัวอย่างจากพระนางพิมพาผู้เป็นมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะ จะเห็นว่าเมื่อเจ้าชายไปเกิดเป็นอะไร พระนางจะไปเกิดเป็นคู่ผัวเมียเสมอๆ แม้เมื่อเกิดในชาติสุดท้ายเป็นคนและได้เป็นพระชายาของเจ้าชาย เมื่อเจ้าชายออกบวชและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระนางประทับอยู่ในวังทราบว่า พระพุทธเจ้าดำเนินด้วยพระบาทเปล่า พระนางก็ทำตาม พระพุทธเจ้าทรงผ้ากาสายะ (ผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด) แบบนักบวชสมัยนั้น พระนางก็ทำตาม พระพุทธเจ้าเสวยภัตตาหาร ๒ มื้อ พระนางก็ทำตาม พระพุทธเจ้าบรรทมบนเสื่อผืนเดียว พระนางก็ทำตาม เป็นต้น นั่นคือ พระพุทธเจ้าปฏิบัติตนเช่นไร มีคุณธรรมเช่นไร พระนางก็ทรงกระทำตาม จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมพระนางจึงเกิดเป็นคู่ชีวิตกับพระมหาบุรุษมาทุกภพทุกชาติ



                   ตรงกันข้าม หากมีคุณธรรมต่างกันก็จะไม่ได้เกิดรักแรกพบ และการเป็นคู่ชีวิตสามีภรรยากันก็ไม่เกิดขึ้น ดังปรากฏในอรรถกถาชาดกเรื่อง ฉัททันตชาดก ว่าด้วยพญาช้างฉัททันต์ ซึ่งมีเหตุการณ์ต้นเรื่องกล่าวว่า ขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังแสดงพระธรรมเทศนาให้พุทธบริษัทฟังอยู่นั้น จู่ๆ ก็มีภิกษุณีสาวรูปหนึ่งหัวเราะเสียงดัง เพราะระลึกชาติได้ว่า ตนเองเคยเกิดเป็นภรรยาของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ แต่สักพักก็ร้องให้ออกมาเพราะระลึกได้ว่า ตนเองอิจฉาภรรยาอีกคนจึงคิดฆ่าพระพุทธเจ้าในอดีตชาตินั้น (ดูเพิ่มเติมใน ขุ.ชา.อ. (ไทย) ๖๑/๓๗๐–๔๐๘.) ทำให้ในชาติภพต่อๆไปไม่มีปุพเพสันนิวาสได้เกิดเป็นสามีภรรยากับพระพุทธเจ้าอีกเลย
   
                   
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-19 16:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

http://campus.sanook.com/inlove/read.php?id=225

                   ประการที่สาม เคยอธิษฐานขอให้ได้เกิดเป็นเนื้อคู่ คู่ครอง หรือสามีภรรยากันในชาติต่อๆ ไปในชาติปางก่อน


                   ข้อนี้ก็สำคัญไม่น้อย เพราะบางคนแม้จะมีคุณธรรมไม่เสมอกัน ไม่เท่าเทียมกันก็ตาม แต่เมื่อได้ทำบุญมีจิตใจตั้งมั่นอธิษฐานขอให้เกิดเป็นคู่ชีวิต เป็นสามีภรรยากันในชาติต่อไป แม้จะเกิดในชนชั้นที่แตกต่างกัน เชื้อชาติศาสนาต่างกัน อยู่คนละมุมโลก หรือแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน หรือฟ้ากับเหวเพียงใดก็ตาม ด้วยอำนาจปุพเพสันนิวาสจะชักนำให้เจอกันจนได้ และความรักแรกพบก็จะเข้ามาเคาะประตูหัวใจของคนทั้งสองให้เกิดความรู้สึกรักผูกพันกันอย่างลึกซึ้งได้


                   มีกรณีตัวอย่างที่เข้ากับประเด็นนี้อยู่เรื่องหนึ่ง แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่า เป็นเรื่องที่ผู้เขียนเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกรรมนี่แหละ แต่จำไม่ได้แล้วว่าอ่านตอนไหน เมื่อไหร่ ใครเป็นคนเขียน แม้ผู้เขียนพยายามสืบค้นในคัมภีร์พระพุทธศาสนาจนบัดนี้ก็ยังไม่เจอหลักฐานทางพุทธเลย เป็นเรื่องของพระนางมัลลิกา พระชายาของพระเจ้าปเสนทิโกศล เนื่องจากพระนางได้มีอะไรกับสุนัข ภาษาปัจจุบันก็คือมีเซ็กส์นั่นแหละครับ เหตุที่พระนางต้องมีอะไรกับสุนัข หรืออยากมีอะไรกับสุนัขนั้น เป็นเพราะในอดีตชาติเคยอธิษฐานกับสามีว่าขอเกิดเป็นสามีภรรยากันทุกภพทุกชาติ หลังจากชาตินั้นปรากฏว่าไม่เคยเกิดเป็นคนร่วมชาติกันเลย (คุณธรรมยังไม่เสมอกัน หรือใกล้เคียงกัน) แต่ในชาติที่เกิดร่วมกับพระพุทธเจ้าของเรา พระนางมาเกิดเป็นพระชายามัลลิกา ส่วนสามีเกิดเป็นสุนัข ด้วยปุพเพสันนิวาสที่ได้เคยอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยาและได้อธิษฐานร่วมกันมา ทำให้พระนางต้องมีอะไรกับสุนัขอดีตสามีของตน เรื่องก็มีมาเคร่าๆ เท่านี้ หากท่านผู้รู้ทางพระพุทธศาสนารู้ที่มาของเรื่องนี้ขอความกรุณาแจ้งให้ผู้เขียนทราบด้วย เพราะยังหาที่มาไม่เจอเลย ก็ถือว่านำเรื่องเล่ามาเล่าให้ฟังก็แล้วกันนะครับ



                   ส่วนการอธิษฐานในเรื่องอื่นๆ นั้น ปรากฏว่า ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าของเรา หรือพระสาวกในสมัยพุทธกาล ล้วนสำเร็จมาด้วยคำอธิษฐานทั้งสิ้น เช่น พระมหาโมคคัลลานะและพระสารีบุตร อธิษฐานขอเป็นอัครสาวก หรือพระอัญญาโกญฑัญญะอธิษฐานของเป็นปฐมสาวก เป็นต้น ดังนั้นแรงอธิษฐานย่อมสำคัญไม่น้อยต่อการเกิดรักแรกพบ



http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=movietalk&month=18-10-2007&group=3&gblog=95
               



ประการที่ ๔ การได้ทำบุญร่วมกัน



               การได้เคยทำบุญร่วมกันนี้ไม่ว่าจะเป็นทำบุญโดยอธิษฐานขอเป็นคู่ชีวิตกัน หรือไม่ขอเป็นคู่ชีวิตกันก็ตาม แต่หากมีการอธิษฐาน จะทำให้คนสองคนไม่คลาดแคล้วกัน แต่ถ้าไม่มีคำอธิษฐานนำ ก็จะทำให้เกิดร่วมกันและรักกันยากสักหน่อย เพราะทั้งสองคนจะต้องมีคุณธรรมเสมอกัน หากคนใดคนหนึ่งทำบาปหรือมีบาปมากหน่อยโอกาสที่จะเกิดมาเจอกัน และเกิดรักแรกพบก็เป็นไปโดยยาก มีกรณีตัวอย่างของพระอินทร์ หรือท้าวสักกะ ซึ่งก่อนที่จะไปเกิดเป็นพระอินทร์นั้นเป็นมานพคนหนึ่งชื่อมฆะมานพ มีภรรยา ๔ คน มานพคนนี้กับภรรยาอีก ๓ คนทำบุญร่วมกัน ส่วนภรรยาคนสุดท้ายคิดว่าตนเองเป็นภรรยา เมื่อสามีทำบุญตนย่อมได้บุญด้วย จึงไม่ยอมทำบุญ หมั่นแต่แต่งกายสวยๆให้สามีชม ปรากฏว่า เมื่อทุกคนละจากโลกนั้นไปแล้ว มานพกับภรรยา ๓ คนไปเกิดเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ร่วมกัน ส่วนภรรยาอีกคนไปเกิดเป็นนกกระยาง ด้วยผลของการไม่ยอมทำบุญร่วมกับสามีและภรรยาคนอื่น ๆ จะเห็นได้ว่า ในสังคมไทยปัจจุบัน งานแต่งงานมักจะจัดให้เจ้าบ่าวกับเจ้าสาวทำบุญร่วมกัน หรือหนุ่มสาวบางคนที่อยากเป็นสามีภรรยากันก็มักจะชวนกันไปทำบุญ เรียกว่า “ทำบุญร่วมชาติ ตักบาตรร่วมขัน” ต่อไปภายหน้าจะได้เป็นเนื้อคู่กัน






http://www.got2day.com/?p=823


                   ดังนั้น ปัจจัยอย่างใดอย่าง หรือมากกว่าสองอย่าง หรือทั้งหมดนี้ จึงถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเรามี “รักแรกพบ” ตามหลักพระพุทธศาสนา แล้วคุณล่ะ มีรักแรกพบแบบนี้หรือยัง ถ้ายังไม่มี ไม่แน่ปุพเพสันนิวาสของคุณอาจจะยังมาไม่ถึงก็ได้ครับ



ขอบคุณที่มาบทความ


http://www.oknation.net/blog/buddhistethics/2013/01/18/entry-1


อืม...งั้นคงไม่ใช่ อิอิ
หาใหม่ดีก่าไหว้ครูปีนี้ คนน่าจาเยอะอยู่

ขอบพระคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้