ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3054
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร วัดวังหว้า ~

[คัดลอกลิงก์]

พระมงคลศีลาจารย์ หรือหลวงปู่คร่ำ ยโสธโร

ชาววังหว้าและหมู่บ้านใกล้เคียงเรียกนามท่านว่า”ท่านพ่อคร่ำ”ท่านมีอายุ๑๐๐ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐ พรรษา๘๐นับเป็นพระเถระที่มีพรรษาสูงสุดของเมืองไทย
รูปหนึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ศรัทธาของประชาชนทั่วประเทศ
หลวงปู่คร่ำเป็นพระภิกษุที่มีบุญญาบารมีเป็นที่ปรากฏแก่ประชาชนมาเป็นเวลานานแล้ว
ท่านมีคุณูปการแก่สังคมหลายวงการอย่างกว้างขวาง ทั้งฝ่ายศาสนจักรและ
อาณาจักรทั้งในจังหวัดระยองและจังหวัดอื่นๆและเป็นปูชนียบุคคลที่ได้รับการเคารพและ
คารวะศรัทธาเป็นอย่างสูงจากชาวพุทธทั่วประเทศ
เห็นได้จากงานพุทธาภิเษกที่สำคัญที่จัดในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมือง หลวงปู่จะได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีเกือบทุกครั้ง

เนื่องจากมีผู้ให้ความเคารพศรัทธาหลวงปู่คร่ำจำนวนมากต่างพากันยึดหลวงปู่เป็นสรณะในยามที่ต้องเผชิญกับภาวะ
คับขัน ทั้งยังขอพรบารมีจากท่านช่วยบันดาลใช้ประสบโชคลาภ ประสบความสำเร็จสมปรารถนา
มีความสุขสมหวังในชีวิตจึงมีผู้ให้สมญานามท่านว่า”เทพเจ้าของชาวระยอง”บ้าง”ท่านพ่อแห่งฝั่งทะเลตะวันออก”
บ้าง”เทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก”ฯลฯรวมความว่าหลวงปู่คร่ำเป็นพระที่อยู่ในใจของทุกคน

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-19 09:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติ หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง

กำเนิดหลวงปู่คร่ำมีนามเดิมว่า คร่ำ อรัญวงศ์ ท่านเกิด วันพุธ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา
ตรงกับวันที่๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่บ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โยมบิดาชื่อ
นายครวญ อรัญวงศ์ โยมมารดาชื่อ นางต้อย อรัญวงศ์
หลวงปู่เป็นบุตรคนโต มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน๓คนเป็นชายสองหญิงหนึ่งคือ
๑. นางเลื่อม อรัญวงศ์
๒. นายเกิด อรัญวงศ์
๓. นายทองสุข อรัญวงศ์

ต้นตระกุลของหลวงปู่

ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านวังหว้ามาช้านานหลายชั่วอายุคนมีญาติพี่น้องมากมายหลายสาย
หลายตระกุลครอบครัวของท่านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ในย่านนั้น เฉพาะอย่างยิ่ง
อาชีพทำสวนพริกไทย ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อของอำเภอแกลงในสมัยนั้นเช่นเดียวกับจังหวัดจันทบุรี
ที่มีเขตแดนติดกัน(เดิมอำเภอแกลงขึ้นอยู่กับจันทบุรี)

เล่ากันว่าเมื่อหลวงปู่อายุได้ ๑๕ ปี หลังจากไปเรียนหนังสือที่วัดระยะหนึ่งแล้ว
ก็กลับมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพสวนพริกไทย ดังที่บรรพบุรุษทำกันมา แต่ครั้งนั้นได้เกิดฝนแล้งไปทั่ว
บรรดาสวนพริกไทยในละแวกนั้นทั้งหมดได้พากันเหี่ยวแห้งเฉาตายชาวบ้านแถบหมดตัวไปตามๆกันทุกครัวเรือนครอบครัว
หลวงปู่คร่ำจึงได้เลิกทำสวนพริกไทยและหันไปประกอบอาชีพอื่นตั้งแต่นั้นมา
การศึกษา เมื่อเยาว์วัย หลวงปู่คร่ำเป็นเด็กฉลาดมีไหวพริบปฏิภาณดี
เมื่ออายุได้ประมาณ๑๑ปีโยมบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ตรีเจ้าอาวาสวัดวังหว้า ตำบลวังหว้า
ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน โดยจัดพานดอกไม้ธูปเทียน

เครื่องสักการะนำไปถวายในวันพฤหัสบดี(วันครู)ตามประเพณีการเล่าเรียนและการบวชเรียนของสังคมไทยเราแต่โบราณมา
ในสมัยนั้นต้องเรียนกันตามวัด อาศัยวัดเป็นโรงเรียน มีพระเป็นครูสอน
การเรียนไม่มีหลักสูตรกำหนดไว้ชัดเจนเช่นปัจจุบันแต่พระก็สอนจนลูกศิษย์สามารถอ่านออกและเขียนได้เป็นอย่าง
ดีทั้งอักษรไทยและอักษรขอมซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากตำราต่างๆสมัยก่อนเฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์ทาง
พุทธศาสนาจะเขียนด้วยอักศรขอมทั้งสิ้น ไม่มีหนังสือที่พิมพ์ด้วยอักษรไทยเช่นทุกวันนี้
ผู้ที่เรียนหนังสือจะต้องเรียนภาษาไทยควบคู่ไปกับภาษาขอมด้วยเสมอ

การเรียนของหลวงปู่คร่ำนั้นมิได้เรียนเฉพาะที่วัดวังหว้าเท่านั้นท่านยังไปเรียนต่อกับสมภาร
หลำ ที่วัดพลงช้างเผือก ซึ่งอยู่ใกล้กับตำบลวังหว้าอีกด้วยเรียนอยู่จนอายุได้๑๕ปี
มีความรู้หนังสือดีแล้วจึงได้กลับไปอยู่กับบิดามารดาตามเดิม เพื่อช่วยเหลือครอบครัวประกอบอาชีพต่อไป
สมณเพศ เมื่ออายุครบ๒๐ปีหลวงปู่ได้อุปสมบทที่วัดวังหว้าเมื่อวันจันทร์ แรม ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง
ตรงกับวันที่๑๑มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับฉายาว่า”ยโสธโร”แปลว่าผู้ทรงไว้ซึ่งยศหรือผู้ดำรงยศ
พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูสังฆการบูรพทิศ (ปั้น อินทสโร) เจ้าคณะแขวงแกลงวัดราชบัลลังก์
พระกรรมวาจารย์ คือพระใบฎีกาหลำ ปัญญายิ่ง รองเจ้าคณะแขวงแกลง วัดพลงช้างเผือก
พระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการเผื่อน เจ้าอาวาสวัดวังหว้า
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-19 09:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่คร่ำมุ่งศึกษาด้านพระธรรมวินัยซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของพุทธศาสนาและหลักธรรมของ
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยนั้นวัดวังหว้ายังไม่มีสำนักสอนธรรม
หลวงปู่ต้องไปเรียนที่วัดพลงช้างเผือก และสอบได้นักธรรมตรีและโทเป็นลำดับ
นอกจากเรียนรู้พระธรรมวินัยเป็นพื้นฐานแล้ว ท่านยังศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ
และตำรับยาสมุนไพรจนมีความรู้ความสามารถนำไปใช้บำบัดรักษาช่วยเหลือชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ในสมันที่ยังไม่มีสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลดังเช่นทุกวันนี้ วิชาที่หลวงปู่ชำนาญเป็นพิเศษ คือ
กรรมวิธีต่อและประสานกระดูกอันเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ

มีผู้มารับการรักษาที่วัดวังหว้าเป็นประจำและหายกลับไปทุกคน จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว
การศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคม หลวงปู่ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ
พระครูนิวาสธรรมสาร(หลวงพ่อโต) วัดเขากะโดนและวัดเขาบ่อทอง
ซึ่งหลวงพ่อโตเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐานชำนาญการธุดงควัตร เป็นผู้มีพลังจิตรแก่กล้า
และวิทยาคมขลังเป็นเลิศ
หลวงปู่คร่ำได้ร่ำเรียนด้วยอุตสาหะพากเพียรจนมีความรู้ความชำนาญในวิชาอาคมหลายด้านเมื่อกลับมาที่วัดวังหว้า
ก็ได้ฝึกฝนพลังจิตเจริญสมาธิภาวนาโดยตลอดมิได้ขาด
ในกาลต่อมาหลวงปู่ได้ใช้วิทยาคมที่ได้ฝึกฝนร่ำเรียนมานั้นให้เป็นประโยชน์
ต่อญาติโยมและบุคคลทั่วไปนานัปการจนชื่อเสียงเกียรติคุณขจรไกลไปทั่วเมืองไทยและต่างประเทศ
สิ่งหนึ่งที่หลวงปู่ยึดมั่นโดยตลอดคือ กตัญญุตาการรำลึกถึงคุณของบูรพาจารย์
ทุกปีของหลวงปู่จะประกอบพิธีไหว้ครู ตามหลักปฏิบัติสืบเนื่องมาไม่เคยขาด
จึงส่งผลให้หลวงปู่คร่ำเจริญยิ่ง ด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณตลอดมา
การปกครองและอบรมสานุศิษย์หลังจากหลวงปู่อบรมได้ ๔ พรรษา

พระอธิการเผื่อนเจ้าอาวาสวัดวังหว้าได้มรณภาพลงหลวงปู่คร่ำได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เจ้าอาวาสสืบแทน
หลวงปู่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่พระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆดังนี้
ปี พ.ศ. ๒๔๖๔เป็นเจ้าอาวาสวัดวังหว้า
ปี พ.ศ. ๒๔๗๔เป็นเจ้าคณะหมวดเนินฆ้อ
ปี พ.ศ. ๒๔๗๙เป็นเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ
ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อหลวงปู่สูงอายุขึ้น สุขภาพพลานามัยไม่สมบูรณ์ จึงลาออกจากเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ
มุ่งสร้างเสนาสนะและปฎิสังขรณ์วัดวังหว้าจนเจริญรุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้
หลวงปู่คร่ำได้อบรมสั่งสอนศิษย์ให้ยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร ท่านได้กำหนดระเบียบการปกครองของวัดวังหว้า
ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติและระเบียบคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม รวมทั้งระเบียบต่างๆของทางราชการทุกประการ
กฎระเบียบของวัด ภิกษุสามเณรทุกรูปในวัด ต้องยึดถืออย่างเคร่งครัดต้องตั้งใจเล่าเรียนพระธรรมวินัย
ต้องทำวัตรทุกเช้าเย็น ภายในบริเวณวัดงดเว้นอบายมุขทุกชนิด
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-19 09:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ของดีหลวงปู่

วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังของหลวงปู่คร่ำ มีมากมายหลายอย่าง ทั้งตะกรุดโทน
สีผึ้งเมตรตา ผ้ายันต์ น้ำมันงา และเหรียญแบบต่างๆสิ่งที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของหลวงปู่คร่ำ คือ
ผ้ายันต์พัดโบก ชื่อเต็มว่า”ผ้ายันต์พัดโบกมหาลาภหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง”แบ่งเป็นสองท่อน
ท่อนบนสีแดงท่อนล่างสีขาวประกอบด้วยรูปหลวงปู่และยันต์หลายชนิด
ผ้ายันต์พัดโบกนี้หลวงปู่ทำขึ้นเพื่อป้องกันวาตภัย ทั้งลมและฝนในยามที่มรสุมรุนแรง
จะพัดทำความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนผ้ายันต์พัดโบกจะโบกให้ลมเปลี่ยนทิศทาง
รวมทั้งโบกเอาความชั่วร้ายอื่นๆมิให้กล้ำกรายมาถึงบ้านเรือนของผู้ที่ครอบครองผ้ายันต์นี้ได้



ผ้ายันต์พัดโบก

เป็นยันต์พัดโบกให้ร้านค้าต่างๆโบกนำลาภผลเข้าสู่อาคารร้านค้าอีกด้วยบรรดาบ้านเรือนแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก
เกือบทุกบ้านจะมีผ้ายันต์พัดโบกหลวงปู่คร่ำไว้คุ้มภัยและเป็นมงคลแก่บ้านเรือน
รวมไปถึงกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศไทยก็ปรากฏยันต์พัดโบกของหลวงปู่คร่ำอยู่ทั่วไปแม้แต่ในประเทศ
ลาว ผ้ายันต์พัดโบกหลวงปู่คร่ำยังโบกสะบัดไปถึงเวียงจันทน์
ในประเทศเขมรซึ่งเป็นดินแดนแห่งไสยศาสตร์
ผ้ายันต์พัดโบกของหลวงปู่ก็โบกไปทั่วจากคนไทยที่ไปทำมาค้าขายที่นั่น

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-19 09:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

ตลอดระยะเวลาที่อยู่ภายใต้ร่มกาสาวพัตร์หลวงปู่ปฏิบัติตนสำรวมในศีลอย่างเคร่งครัดได้รับความเคารพนับถือ
และศรัทธาจากสานุศิษย์และมหาชนทั่วประเทศที่เดินทางมานมัสการทุกวัน
หลวงปู่จะนั่งพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้พูดคุยด้วยถ้าพอมีเวลา
ใครขอให้ช่วยทำอะไรถ้าไม่ขัดต่อศีลธรรมและเป็นเรื่องที่ดีงามแล้ว
หลวงปู่ไม่เคยขัดช่วยทุกเรื่องตั้งแต่เริ่มเป็นเจ้าอาวาสเป็นต้นมา ไม่เคยอยู่นิ่งเฉยสร้างวัด
สร้างโรงเรียนหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำบลวังหว้าทุกโรงเรียน
หลวงปู่ได้มีส่วนช่วยก่อสร้างและทะนุบำรุงตลอดเวลา
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูประทวน
พ.ศ. ๒๔๘๑
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท

พ.ศ. ๒๕๓๗
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก

พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่พระมงคลศีลาจารย์
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-19 09:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อาพาธ

เนื่องจากหลวงปู่อายุมาก แต่หลวงปู่ยังปฏิบัติกิจนิมนต์ต่างๆตลอดมา
ต้อนรับสาธุชนจากสารทิศทุกวัน แม้บางวันจะเหน็ดเหนื่อยจนลุกแทบไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้คนมาคอยพบมากมาย
หลวงปู่จะพยายามลุกขึ้นลำให้ศิษย์ประคองออกมาประพรมน้ำมนต์แก่ผู้มากราบไหว้บูชา
จนร่างกายเสื่อมโทรมแพทย์ประจำตัวต้องคอยปรนนิบัติอย่างใกล้ชิด ในที่สุดกรรมการวัดและศิษย์ผู้ใกล้ชิด
มีความเห็นร่วมกันว่าควรให้พักผ่อนให้มาก จึงได้นำไปบำบัดโรคพยาธิในโรงพยาบาล เพื่อพักฟื้นหลายครั้ง
แต่หลวงปู่จะพักในโรงพยาบาลไม่นาน รบเร้าต่อแพทย์และผู้ใกล้ชิดให้ส่งกลับวัดตลอดเวลา
จึงไปๆมาๆระหว่างวัดและโรงพยาบาลโดยตลอด ในที่สุดแพทย์จากดโรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
ตรวจพบว่าหลวงปู่มีเนื้อร้ายที่ลำคอจึงได้นิมนต์ให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
โดยไม่คิดค่ารักษาแต่ประการใด ตลอดระยะเวลาหลายเดือน

มรณภาพในที่สุดแห่งชีวิตที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หลวงปู่ได้ละสังขารถึงแก่มรณภาพ
ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ เวลาประมาณ ๑๔ นาฬิกา ด้วยอาการสงบ ณ. โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
ท่ามกลางความเศร้าโศกอาลัยของสานุศิษย์และสาธุชนทั่วประเทศนับล้านคนที่ได้ทราบข่าว
ต่างหลั่งไหลมากราบไหว้ เคารพศพที่วัดวังหว้าตลอดเวลา ๑๕ วัน ที่บำเพ็ญกุศล
นับเป็นบุญญาบารมีของหลวงปู่โดยแท้


ขอขอบคุณจากหนังสือ
อนุสรณ์พระมงคลศีลาจารย์(หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร)


ที่มา http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=17582
กราบนมัวการหลวงปู่ครับ

กราบนมัสการครับ

ขอบพระคุณข้อมูลครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้