ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7415
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตำนานการสร้างพระ ๔ พี่น้อง พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และ พระเหลือ

[คัดลอกลิงก์]
ตำนานการสร้างพระ ๔ พี่น้อง พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และ พระเหลือ

                                        พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกหรือพระมหาธรรมราชา (พญาลิไท) กษัตริย์องค์ที่ 4 ในพระราชวงศ์พระร่วง สมัยกรุงสุโขทัย เป็นผู้สร้างพระพุทธชินราช เมื่อราว พ.ศ. 1900 โปรดให้ช่างสวรรคโลก ช่างเชียงแสน และช่างหริภุญไชย สมทบกับช่างกรุงศรีสัชนาลัย ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 3 องค์ ได้แก่ พระศรีศาสดา พระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ จวบจนถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะจุลศักราช 717 ราว พ.ศ. 1898 ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ เมื่อเททองหล่อเสร็จแล้ว และทำการแกะพิมพ์ออกปรากฏว่า พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา องค์พระสมบูรณ์สวยงามดี ส่วนพระพุทธชินราชนั้นได้หล่อถึง 3 ครั้งก็ไม่เสร็จเป็นองค์พระได้ กล่าวคือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์



พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกจึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง ครั้งนั้นจึงร้อนถึงอาสน์พระอินทร์เจ้าจึงนฤมิตเป็นตาปะขาวลงมาช่วยทำรูปพระ คุมพิมพ์ปั้นเบ้า ด้วยอานุภาพพระอินทราธิราชเจ้าทองก็แล่นรอบคอบบริบูรณ์ทุกประการหาที่ติมิได้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสให้หา "ตาปะขาว" ผู้นั้น แต่ตาปะขาวได้หายตัวไปแล้ว หมู่บ้านและวัดที่ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่า บ้านตาปะขาวหายและวัดตาปะขาวหายต่อมาจนถึงทุกวันนี้ และจากวัดตาปะขาวหายขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 800 เมตร ได้ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการหายตัวไปของตาปะขาว เล่ากันว่ามีผู้พบเห็นว่าท้องฟ้าเปิดเป็นช่องขึ้นไป ชาวบ้านเห็นเป็นที่อัศจรรย์จึงได้สร้างศาลาขึ้นไว้ ณ พื้นดินเบื่องล่างไว้เป็นที่ระลึก เรียกว่า "ศาลาช่อฟ้า" ตราบจนทุกวันนี้




2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-9-11 12:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลังจากสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาแล้ว พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือนำมารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดเล็ก หน้าตัก กว้าง 1 ศอกเศษ เรียกชื่อพระพุทธรูปนี้ว่า “พระเหลือ”เศษทองยังเหลืออยู่อีกจึงได้หล่อพระสาวกยืนอยู่ 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองในการหล่อพระพุทธรูป นำมารวมกันบนชุกชี (ฐานชุกชี) พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นลงบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นมา 1 หลัง อัญเชิญพระเหลือกับสาวกเข้าไปประดิษฐานอยู่ เรียกว่า พระเหลือ


(พระเหลือ )

พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาได้ถูกอันเชิญในรัชกาลที่ ๓ ประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทางวัดจึงได้หล่อองค์จำลองขึ้นแทน



(พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา วัดบวรฯ กทม.)


(พระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก)


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-9-11 12:26 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รัชกาลที่ ๕ ทรงสนพระทัยในความวิจิตรตระการตาแห่งองค์พระพุทธชินราชจึงทรงเสด็จมาเมืองพิษณุโลก เพื่อจะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่ได้มีเหตุอัศจรรย์ เมื่อนำพระพุทธราชลงเรือแล้ว แต่ไม่สามารถอัญเชิญไปได้ ประกอบกับประชาชนชาวเมืองพิษณุโลกต่างพากันร้องไห้แซ่ซ้องไปทั้งเมือง รัชกาลที่ 5 จึงทรงให้อัญเชิญกลับไปไว้ในวิหารดังเดิม แล้วทรงมีรับสั่งให้เททองหล่อพระพุทธชินราชจำลองขึ้นใหม่อีกองค์หนึ่ง แล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม



ที่มา: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10202666407480826&set=a.1521766563591.209011.1217371569&type=1&theater

ที่มา http://board.postjung.com/804490.html


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้