ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4222
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง

[คัดลอกลิงก์]


พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง
เจดีย์ชเวดากองพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น
หนังสือ Guinness Book of Records ได้จัดให้พระเจดีย์ชเวดากองเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในโลก



ประวัติ
ทางการพม่าให้ข้อมูลว่า พระเจดีย์ชเวดากองได้เริ่มสร้างมาเป็นครั้งแรกตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้าทรง ตรัสรู้ หรือเมื่อประมาณ 2,595 ปีมาแล้ว ในสมัยที่ย่างกุ้งยังเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ที่ชื่อว่าเมืองอสิตันชนะหรืออีกชื่อหนึ่งคือเมืองโอกกะละ โดยได้มีพ่อค้าชาวมอญ 2 คนชื่อว่าตผุสสะและภัลลิกะได้เดินทางไปค้าขายยังประเทศอินเดีย ทั้งสองได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งกำลังประทับอยู่ใต้ต้นพระศรีมหา โพธิ์ และได้ถวายภัตตาหารแด่พระองค์ด้วย หลังจากเสวยเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าได้ประทานพระเกศาให้ 8 เส้น เมื่อตผุสสะและภัลลิกะเดินทางกลับ พระราชาแห่งอเชตตะได้ขอแบ่งพระเกศธาตุไป 2 เส้น พญานาคขอไปอีก 2 เส้น เมื่อเดินทางกลับถึงเมืองอสิตันชนะ พระเจ้าโอกกะละปะก็ได้ทรงประกอบพิธีต้อนรับพระเกศธาตุอย่างยิ่งใหญ่ และได้ทรง คัดเลือกสถานที่บนเขาสิงฆุตตระนอกประตูเมืองอสิตันชนะให้เป็นที่สร้างพระ เจดีย์เพื่อบรรจุพระเกศธาตุ แต่ขณะที่กำลังทำการขุดดินก่อสร้างนั้น ก็ได้ค้นพบ พระบริโภคเจดีย์ของอดีตพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆอีก 3 พระองค์ด้วย คือไม้ธารพระกร ภาชนะสำหรับใส่น้ำ และสบง จึงได้บรรจุของทั้งหมดนี้ในพระเจดีย์พร้อมกับพระเกศธาตุด้วย แต่ก่อนที่จะบรรจุ ก็ค้นพบด้วยว่า พระเกศธาตุกลับมี 8 เส้นดังเดิม พระเกศธาตุได้บรรจุไว้ภายในเจดีย์ทอง เงิน ดีบุก ทองแดง ตะกั่ว หินอ่อน และเหล็กตามลำดับ เสร็จแล้วจึงสร้างเจดีย์อิฐสูงประมาณ 66 ฟุตครอบไว้ภายนอก จากนั้นก็มีการสร้างเจดีย์ครอบองค์เดิมในรัชสมัยของกษัตริย์ต่าง ๆ รวมถึง 7 ครั้งด้วยกัน เจดีย์ชเวดากอง พม่าโดย ในสมัยพระนางเชงสอบูแห่งกรุงหงสาวดีก็ได้ทรงบริจาคทองคำถึง 40 กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับน้ำหนักของพระองค์ในการก่อสร้างพระเจดีย์ที่มีรูปร่างเหมือนใน ปัจจุบันเป็นครั้งแรก ส่วนพระเจ้าธรรมเจดีย์ซึ่งครองราชย์ต่อจากพระนางเชงสอบู ก็ได้บริจาคทองในการก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นน้ำหนักเท่ากับน้ำหนักของพระองค์ และพระมเหสีรวมกันด้วย ทั้งยังได้ทรงสร้างจารึกเล่าประวัติของพระเจดีย์ชเวดากองเป็นภาษาพม่า มอญและบาลีไว้ด้วย


สถาปัตยกรรม
ปัจจุบันพระเจดีย์มีความสูง 326 ฟุต เส้นรอบวง 1,420 ฟุต สูงกว่าระดับน้ำทะเล 190 ฟุต ประดับด้วยแผ่นทองคำ 4 หมื่นแผ่น รวมน้ำหนักทอง 8 ตัน สำหรับฉัตรซึ่งครอบยอดเจดีย์ ก็มีการซ่อมแซมหรือสร้างขึ้นใหม่มาเป็นระยะๆ ฉัตรเก่าสร้างในสมัยพระเจ้ามิน ดงในปี ค.ศ. 1871 สูง 33 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลาง 18 ฟุต ขณะนี้ก็ยังตั้งไว้ให้ประชาชนได้ชมอยู่ ครั้งล่าสุดได้มีการสร้างฉัตรขึ้นใหม่เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมานี้เอง โดยประดับเพชรพลอยรวมถึง 4,351 เม็ดรวม น้ำหนัก 2,000 กะรัต เพชรเม็ดใหญ่ที่สุดบนยอดฉัตรมีฐานกว้าง 2 ฟุต ยาว 1 ฟุต 10 นิ้ว และหนัก 76 กะรัต นอกจากนี้ พระเจดีย์ชเวดากองก็ยังมีวัตถุที่มีคุณค่าทางศาสนา ศิลปะ ประวัติศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ระฆังที่พระเจ้าสิงคุทรงสร้างไว้ (Singhu)



ทรงสร้างไว้เมื่อปีค.ศ. 1778 หล่อด้วยปัญจโลหะ คือทอง เงิน ทองแดง ตะกั่วและสังกะสี สูง 8 ฟุต หนัก 23 ตัน ในปี ค.ศ. 1824 พม่าได้ทำสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งแรกและอังกฤษได้ยึดเจดีย์ชเวดากองได้และ ได้ขนทรัพย์สินแก้วแหวนเงินทองไปหลายอย่าง รวมทั้งได้คิดที่จะขนย้ายระฆังใบนี้กลับไปอังกฤษด้วย แต่ระหว่างการเดินทางเรือที่ขนระฆังจมลงที่แม่น้ำย่างกุ้ง ต่อมาพม่าจึงทำการกู้ระฆังใบนี้ด้วยตนเองและนำมาติดตั้งไว้ที่เจดีย์ชเวดา กองได้เช่นเดิม ซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของประชาชนพม่าโดยทั่วไปมาจนทุกวันนี้ นอกจากนั้นก็ยังมีพระพุทธรูปสลักจากหยกทั้งก้อน ซึ่งได้มาจากรัฐคะฉิ่นในปีค.ศ. 1999 ในโอกาสที่ได้สร้างฉัตรใหม่ และยังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งได้นำเมล็ดมาปลูกจากพุทธคยาเมื่อ 79 ปีก่อน และของมีค่าอื่น ๆ อีกมากมาย



มองลงไปจากลานพระเจดีย์ชเวดากอง สิ่งที่สะดุดตาก็คือจะเห็นพระเจดีย์ทองรูปทรงใกล้เคียงกับชเวดากองอีกองค์ หนึ่งแต่เล็กกว่าซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลไปนักและควรนำมากล่าวถึงในที่นี้ เจดีย์องค์นี้ก็คือเจดีย์ Naungdawgyi ซึ่งมีความหมายว่าพี่ชาย ตามตำนานกล่าวว่า เป็นสถานที่ซึ่งพระเจ้าโอกกะละปะ และสองพี่น้องคือตปุสสะและภัลลิกะได้นำพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐาน ไว้ชั่วคราวในขณะที่กำลังทำการก่อสร้างพระเจดีย์ชเวดากองอยู่ และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ได้ใช้ช้างในพิธีอัญเชิญพระเกศธาตุจากเจดีย์ Naungdawgyi ไปประดิษฐาน ณ พระเจดีย์ชเวดากองเป็นการถาวรสืบต่อมา แต่เดิมยังมีทางเชื่อมระหว่างพระเจดีย์ทั้งสองนี้ แต่ปัจจุบันได้ปิดทางเชื่อมดังกล่าวไปแล้ว

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-14 10:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


การสักการะพระเจดีย์
ทางเข้าพระเจดีย์ชเวดากองมีทั้ง 4 ทิศ แต่ทางเข้าใหญ่คือทางทิศใต้ซึ่งมีสิงห์นั่งสองตัวสูง 30 เมตรเฝ้าทางเข้าอยู่ เมื่อเข้าไปถึงที่ทำการของคณะกรรมการบริหารชเวดากอง ก็จะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าไปในห้องเพื่อถอดรองเท้าแล้วผู้แทนคณะกรรมการ เจดีย์ฯซึ่งจะทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ก็จะนำไปขึ้นลิฟต์ซึ่งจะขึ้นถึงลาน ใหญ่ของพระเจดีย์เลย ขณะที่ประชาชนต้องขึ้นบันไดเลื่อนไกลหน่อย เมื่อขึ้นไปถึงลาน มัคคุเทศก์ก็จะนำไปที่ศาลาเพื่อจุดธูปเทียนไหว้พระ ถวายดอก ไม้และจตุปัจจัยบำรุงเจดีย์ แล้วเซ็นหนังสือในสมุดเยี่ยม หลังจาก นั้นก็เดินพาไปดูของหรือสถานที่สำคัญต่าง ๆ รอบลาน ซึ่งจะมีวิหารใหญ่ 4 เจดีย์ชเวดากอง ตอนกลางคืนทิศ ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้าที่มีมาแล้วทั้ง 4 พระองค์คือ พระกักกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสปะ และพระโคตมะองค์ปัจจุบันให้ประชาชนได้กราบไหว้ทำบุญด้วยรวมถึงการไปตีระฆัง สิงคุที่เล่ามาแล้วด้วย 3 ครั้ง นอกจากนั้นก็มีการหยุดที่ลานอธิษฐานซึ่งเชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และเท่าที่ทราบก็เคยมีคนใหญ่คนโตของไทยไปตั้งจิตอธิษฐานจนประสบความสำเร็จมา หลายท่านแล้ว และก็ยังมีอีกจุดหนึ่งบนลานซึ่งเขาทำจุดให้ยืนไว้ซึ่งจะทำให้มองเห็นประกาย เพชรบนยอดฉัตรได้ด้วยตาเปล่า ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือจะมีพระพุทธรูปและสัตว์สัญลักษณ์ประจำวันเกิด ตั้งอยู่รอบ ๆ ลานเป็นคู่ ๆ ด้วย โดยเชื่อกันว่าการสรงน้ำพระพุทธรูปและสัตว์เหล่านี้ จะสร้างความบริสุทธิ์และความสุขความเจริญแก่ผู้สรงน้ำ โดยจะรดน้ำด้วยขันเล็ก ๆ ที่มีจัดเตรียมไว้ให้เป็นจำนวนเท่าอายุ +1 แต่สำหรับ คนแก่ ๆ ที่อายุ 60-70 ไปแล้วก็อาจจะย่นย่อลง เหลือ 5 ขันก็ได้ ซึ่งหมายถึงพระรัตนะไตรรวมกับบิดามารดานั่นเอง สัตว์ประจำวันเกิดของพม่าคือ

วันอาทิตย์ - ครุฑ อยู่ที่ทิศตะวันออกเฉียง เหนือของลานเจดีย์

วันจันทร์ - เสือ อยู่ทิศตะวันออก

วันอังคาร - สิงห์ อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้

วันพุธ (เช้า) - ช้างงา อยู่ทิศใต้

วันพุธ(กลางคืน) - ช้างไม่มีงา อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

วันพฤหัสบดี - หนู อยู่ทิศตะวันตก

วันศุกร์ - หนูตะเภา (บางคนเชื่อว่าเป็น กระต่ายหูสั้น) อยู่ทิศเหนือ

วันเสาร์ - พญานาค อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้

ที่จริงแล้วยังมีทางขึ้นไปชั้นบนของพระเจดีย์ได้อีกและมีเจดีย์เล็ก ๆ ล้อมรอบบนชั้นต่าง ๆ ถึง 150 องค์ด้วยกัน แต่ทางขึ้นชั้นบนจะเปิดเฉพาะในวันสำคัญจริง ๆ เท่านั้น และจะอนุญาตเฉพาะผู้ชายที่กรรมการวัดเห็นชอบเท่านั้น มีข้อควรเตือนอีกประการหนึ่งสำหรับผู้ที่ประสงค์จะไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดา กองก็คือ เนื่องจากทุกคนที่ขึ้นไปจะต้องถอดรองเท้า จึงควรจะไปในเวลาไม่เช้า ๆ ก็เย็น ๆ บ่ายคล้อยแล้ว เพราะพื้นลานล้วนเป็นหินอ่อนและกระเบื้องซึ่งจะร้อนจัดมากทีเดียวในขณะที่มี แดด นอกจากนั้นพระเจดีย์ชเวดากองก็ยังเปิดจนถึง 4 ทุ่มด้วย จะอย่างไรก็ตามถึงแม้ท่านจะต้องขึ้นไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองในตอนเที่ยง วัน ก็ยังคุ้มค่าเพราะจะได้เห็นสิ่งที่สวยงามมากมายและที่สำคัญก็คือยังได้อิ่ม บุญอีกด้วย.



ที่มา..http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=611.0
น่าไปครับ
ขอบคุณครับ
จะมีทริปไปชะเวดากอง หรือเปล่าหน่อ
จะไปเมื่อไหร่ครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้