ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5402
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หนุมานเรืองฤทธิ์ หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-7-22 07:09




ในแวดวงนักสะสมมักจะพูดกันติดปากว่า เสือหลวงพ่อปานหนุมานหลวงพ่อสุ่น ซึ่งแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถในการปลุกเสกเครื่องรางของขลังแต่ละชนิด ของแต่ละพระเกจิอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญเวทย์วิทยาคมไม่เหมือนกัน และถ้าเป็นเรื่อง หนุมาน แล้วก็คงไม่มีใครเกิน หนุมาน ของพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าที่เรืองเวทย์วิทยาคมอย่างหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี "ขุนกระบี่วานร ฤทธิเกริกไกร หนึ่งในสยาม" คือสมญานามที่คนในวงการพระเครื่องตั้งให้กับ หนุมาน หลวงพ่อสุ่น นับเป็นสุดยอดของขลังหนึ่งในชุดเบญจภาคี ที่นักสะสมใฝ่หาไว้มาครอบครองบูชา




ประวัติความเป็นมา



หลวงพ่อสุ่น มีนามเดิมว่า สุ่น นามสกุล ปานกล่ำ ท่านเป็นชาวนนทบุรี ไม่มีใครคราบว่าท่านอุปสมเมื่อไหร่ แต่ที่ทราบคือท่านมีฉายาว่า "จันทโชติก" ในสมัยที่ท่านเป็นพระลูกวัด ท่านมีจริยวัตรที่ดีงามจนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน จวบจนเจ้าอาวาสมรณะภาพลง ชาวบ้านจึงได้แต่งตั้งท่านขึ้นเป็นพระอธิการเพื่อครองวัดแทน ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน ตั้งแต่หนุ่ม ปลูกต้นรัก และต้นพุดซ้อน ดูแลอย่างดี ด้วยการทำน้ำมนต์รดต้นไม้ทั้งสองเสมอมา แม้จะไม่มีใครรู้ว่าท่านศึกษาเล่าเรียนมาจากไหนเนื่องจากไม่มีใครกล้าเข้าไปสอบถามจนท่านมรณะภาพลงไป แต่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในละแวกนั้นเล่าว่า ท่านกับหลวงพ่อกลิ่นวัดสะพานสูงนั้น รักใคร่กันมาก และมักจะไปมาหาสู่กันเสมอ อีกทั้งท่านยังมีเมตตาต่อผู้ที่มากราบไหว้ ใครเจ็บป่วยมาก็รักษาเยียวยาจนหายเป็นปกติ


การสร้างหนุมานของหลวงพ่อสุ่น



ในสมัยที่ท่านยังเป็นพระลูกวัด ท่านได้นำไม้สองชนิดคือ "ต้นรักซ้อน" และ "พุดซ้อน" มาปลูกไว้ในบริเวณวัด ท่านได้ทำน้ำมนต์รดอยู่ทุกวันจะกระทั่งไม้ทั้งสองนั้นโตได้ที่ และได้ฤกษ์งามยามดี ท่านจึงลงมือขุด โดยทำพิธีพลีก่อนขุด พอเสร็จท่านก็นำไปตากให้แห้งสนิท เมื่อได้ที่แล้วท่านก็ให้ช่างฝีมือแกะสลักหนุมาน เมื่อแกะเสร็จท่านก็รวบรวมหนุมานที่แกะเสร็จทั้งหมดใส่ลงในบาตรของท่าน แล้วเอาผ้าขาวห่อหุ้มภายนอก เก็บไว้ในกุฎิ ครั้นพอถึงวันเสาร์ท่านก็ให้พระลูกวัดลูกศิษย์ของท่านยกเข้าโบสถ์แล้วทำพิธีบวงสรวงบัดพลี เสร็จแล้วท่านจะปิดประตูหน้าต่างลั่นดานโบสถ์ทั้งหมด เพื่อทำการปลุกเสก และจัดเวรยามไม่ให้ไปรบกวนท่าน ซึ่งท่านจะทำการปลุกเสกทุกๆ วันเสาร์ และเอาไปปลุกเสกต่อในกุฎิเช่นนี้ตลอดมา จนกระทั่งครบถ้วนกระบวนวิธี ท่านจึงนำมาแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์
หนุมานของหลวงพ่อสุ่น



มีสองชนิดคือ หนุมานหน้ากระบี่ และหนุมานหน้าโขน ซึ่งหนุมานแต่ละตัวนั้นทำยากมากเพราะต้องใช้ฝีมือช่างที่วิจิตรโดยแท้จริง หนุมานของท่านนั้นดูแล้วมีความเข้มแข็ง แสดงออกถึงความแกล้วกล้า สมเป็นยอดทหาร แต่ของเทียมจะมีลักษณะทรวดทรงต่างๆ ที่แข็งกร้าว ไม่ผึ่งผาย ขาดเอกลักษณ์ สำหรับเนื้อหนุมานนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 เนื้อ คือ เนื้อไม้พุดซ้อน เนื้อไม้รักซ้อน และเนื้องาช้าง (กล่าวกันว่าที่เป็นเนื้องาช้างนั้นเพราะพอนำไม้พุดและไม้รักซ้อนมาแกะจนหมดแล้ว ท่านถึงได้นำงาช้างมาแกะสลัก และมีจำนวนน้อยมาก)
วิธีการพิจารณาดูหนุมานเนื้อไม้


ให้พิจารณาดูจากความแห้งของเนื้อไม้ และหนุมานทุกองค์จะเบา ไม่มีน้ำหนัก เพราะไม้หมดยางแล้ว สำหรับเนื้องาช้างนั้นให้ดูจากความเก่า และความวิจิตรของการแกะ เพราะเนื้องาถ้ามีอายุนานเข้าจะเหลือง แห้งสวยงาม
อิทธิฤทธิ์ของหนุมาน
มีพุทธคุณเน้นไปทางด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม คาถากำกับหนุมานให้ว่า "นะมัง เพลิง โมมังปากกระบอก ยะมิให้ออก อุดธังโธอุด ธังอัด อะสังวิสุโรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห"
แม้หลวงพ่อสุ่นจะมรณภาพเป็นเวลากว่า 70 ปีแล้ว แต่เครื่องรางของขลังที่ท่านสร้างยังคงเป็นที่กล่าวขานเลื่องลือ และยังครองใจนักสะสมจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่เสื่อมคลาย


เหนือสิ่งอื่นใดเครื่องรางของขลังทั้งหลายที่พระเกจิอาจารย์เรืองเวทย์วิทยาคมได้สร้างขึ้น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้คนครอบครองบูชาระลึกและตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดี หาได้มีไว้เพื่อเบ่งอำนาจบารมีไปในทางที่ผิด ของขลังจะดีอยู่ที่เราประพฤติดี ประพฤติชอบด้วยเช่นกัน
-
อ้างอิง : สารานุกรมพระเครื่อง สุดยอดเครื่องรางของขลัง
ขอบคุณเนื้อหา : http://blog.dealfish.co.th/lifestyle/amulet-collect/หนุมานหลวงพ่อสุ่น/


ที่มา..http://men.sanook.com

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-22 07:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-7-22 07:08

ตำนาน หนุมานแกะ หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน จังหวัดนนทบุรี


หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน พระเกจิชื่อดังของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก โดยเฉพาะนักนิยมสะสมพระเครื่อง เหรียญคณาจารย์ และเครื่องรางรุ่นเก่าๆ เหตุเพราะหลวงพ่อสุ่น ถือได้ว่าเป็นต้นตำนานการสร้าง "หนุมาน" มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัย เมตตามหานิยม ปรากฏเเก่ผู้ที่ครอบครองบูชา และ "หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน" นั้น นับเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับการยอม รับและเป็นที่นิยมสะสมไม่แพ้มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ และเขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ซึ่งเป็นที่เลื่องลือและได้รับความนิยมอย่างสูงในวงการทีเดีย

หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ หรือ พระอธิการสุ่น เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิด เกิดไม่ไกลจากวัดศาลากุนนัก แต่ไม่ได้มีการบันทึกประวัติของท่านเก็บไว้ ทราบเพียงเมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน และด้วยศีลาจารวัตรของท่านทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาตั้งแต่พรรษาต้นๆ ที่ยังเป็นพระลูกวัดอยู่ ดังนั้น เมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพ ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อ ท่านก็ได้พัฒนาและบูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรืองสืบมา

ย้อนไปเมื่อครั้งที่หลวงพ่อสุ่นยังเป็นพระลูกวัด ท่านได้ปลูกต้นไม้ไว้ในบริเวณกุฏิ 2 ชนิด คือ ต้นรักและต้นพุดซ้อน และหมั่นดูแลรดน้ำโดยนำน้ำสะอาดมาทำเป็นน้ำมนต์เพื่อรดต้นไม้ทั้งสองทุกครั้งจนเจริญเติบโต กระทั่งเมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส จึงเข้าใจกระจ่างว่า เหตุใดท่านจึงให้ความสนใจดูแลต้นไม้ทั้งสองนี้เป็นพิเศษ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตได้ที่ท่านจึงดูฤกษ์ยามทำพิธีพลีและสังเวยก่อนแล้วลงมือขุดด้วยตัวเอง

จากนั้นนำไปตากแดดจนแห้ง แล้วให้ช่างแกะเป็นรูปหนุมานจนหมด รวบรวมห่อด้วยผ้าขาวใส่บาตรเพื่อปลุกเสกในกุฏิ จนถึงวันเสาร์ซึ่งถือว่าเป็นวันแรง ท่านก็จะเข้าไปปลุกเสกในพระอุโบสถ จนครบถ้วนกระบวนการ จึงเก็บไว้แจกจ่ายบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้ถวายปัจจัยในการบูรณปฏิสังขรณ์วัด

นอกจากหนุมานแกะที่ทำจากต้นรักและต้นพุดซ้อนแล้ว หลวงพ่อสุ่นยังได้แกะหนุมานจากงาช้างด้วย แต่สร้างในรุ่นหลัง ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และสนนราคาค่อนข้างสูงมาก

หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น แบ่งแยกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าโขนและพิมพ์หน้ากระบี่

- พิมพ์หน้าโขน จะเก็บรายละเอียดต่างๆ จนครบถ้วน ทำให้มีความสวยงามและแลดูเข้มขลังยิ่งนัก

- พิมพ์หน้ากระบี่ เป็นแบบเรียบง่าย ไม่ค่อยมีเครื่องเครามากมาย แต่ก็ยังคงความงามในอีกรูปแบบหนึ่ง และแลดูเข้มขลังเช่นกัน

ณ ปัจจุบัน หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น หาดูหาเช่ายากมากทุกเนื้อทุกพิมพ์ ด้วยผู้ที่มีไว้ต่างหวงแหน อีกทั้งสนนราคาสูงเอาการทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีการทำเทียมเลียนแบบสูงอีกด้วย ดังนั้น จึงต้องใช้การพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ถ้าเป็น "เนื้อไม้" ให้นึกถึงสภาพไม้ที่ตากแห้ง ที่นำมาแกะ เมื่อผ่านกาลเวลาเนิ่นนาน เนื้อจะแห้งสนิท และมีน้ำหนักเบา ถ้าผ่านการสัมผัสจะฉ่ำมัน แต่ตามซอกยังคงแห้งอยู่

ส่วน "เนื้องา" ก็ให้ดูความเก่าของงาให้ดี จะออกเป็นสีเหลืองธรรมชาติ ถ้าผ่านการสัมผัสจะฉ่ำมัน สีดูใสและเข้มกว่าส่วนที่ไม่ผ่านการสัมผัส เวลาคนจะทำงาให้เก่าเขาจะเอาด่างทับทิมมาผสมน้ำแช่งาลงไปแล้วนำขึ้นมาขัดจะปรากฏคราบความเก่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่ต้องพินิจพิจารณาให้ดีจึงจะได้ของแท้

คาถากำกับหนุมาน

"นะมัง เพลิง โมมัง ปากกระบอก ยะ มิให้ออก อุดธังโธอุด ธังอัด
อะสังวิสุ โรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห"


คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
โดย ราม วัชรประดิษฐ์



ขอบคุณครับ
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-2-8 05:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้