ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3270
ตอบกลับ: 11
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สิ่งที่ควรระวัง

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2014-7-8 08:46

สิ่งที่ควรระวัง

การทำสมาธินี้อาจให้โทษแก่ผู้ปฏิบัติได้ ถ้าผู้ปฏิบัติไม่ใช้ปัญญาและก็ย่อมให้คุณแก่ผู้ปฏิบัติได้มาก ถ้าผู้ปฏิบัติเป็นผู้มีปัญญาสมาธิก็จะส่งจิตไปสู่วิปัสนา

สิ่งที่จะเป็นโทษแก่ผู้ปฏิบัตินั้นก็คือ

การที่ผู้ปฏิบัติหลงติดอยู่ในอัปปนาสมาธิซึ่งเป็นความสงบลึกและมีกำลังอยู่นานที่สุด เมื่อจิตสงบก็เป็นสุขเมื่อเป็นสุขแล้วก็เกิดอุปาทานยึดสุขนั้นเป็นอารมณ์ ไม่อยากจะพิจารณาอย่างอื่นอยากมีสุขอยู่อย่างนั้น เมื่อเรานั่งสมาธินานๆ จิตมันจะถลำเข้าไปง่าย พอเริ่มกำหนดมันก็สงบแล้วก็ไม่อยากจะทำอะไร ไม่อยากออกไปไหน ไม่อยากพิจารณาอะไร อาศัยความสุขนั้นเป็นอยู่อันนี้จึงเป็นอันตรายแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติอย่างนี้
จิตต้องอาศัยอุปจารสมาธิ คือกำหนดเข้าไปสู่ความสงบแล้วพอสมควรก็ถอนออกมา รู้อาการภายนอกดูอาการภายนอกให้เกิดปัญญา


อันนี้ดูยากสักหน่อยหนึ่งเพราะมันคล้ายๆ จะเป็นสังขารความปรุงแต่ง เมื่อมีความคิดเกิดขึ้นมาเราอาจเห็นว่าอันนี้มันไม่สงบ ความเป็นจริงความรู้สึกนึกคิดในเวลานั้นมันรู้สึกอยู่ในความสงบ พิจารณาอยู่ในความสงบแล้วก็ไม่รำคาญ บางทีก็ยกสังขารขึ้นมาพิจารณา ที่ยกขึ้นมาพิจารณานั้นไม่ใช่ว่าคิดเอาหรือเดาเอา มันเป็นเรื่องของจิตที่เป็นขึ้นมาเองของมัน อันนี้เรียกว่าความรู้อยู่ในความสงบ ความสงบอยู่ในความรู้ ถ้าเป็นสังขารความปรุงแต่งจิตมันก็ไม่สงบมันก็รำคาญ แต่อันนี้ไม่ใช่เรื่องปรุงแต่งมันเป็นความรู้สึกของจิตที่เกิดขึ้นจากความสงบ เรียกว่าการพิจารณานี่ปัญญาเกิดตรงนี้

สมาธิทั้งหลายเหล่านี้แบ่งเป็นมิจฉาสมาธิอย่างหนึ่ง คือเป็นสมาธิในทางที่ผิด เป็นสัมมาสมาธิอย่างหนึ่งคือสมาธิในทางที่ถูกต้อง นี้ก็ให้สังเกตให้ดี มิจฉาสมาธิคือความที่จิตเข้าสู่สมาธิเงียบ..หมด...ไม่รู้อะไรเลยปราศจากความรู้ นั่งอยู่สองชั่วโมงก็ได้กระทั่งวันก็ได้แต่จิตไม่รู้ว่ามันไปถึงไหนมันเป็นอย่างไร ไม่รู้เรื่องนี่สมาธิอันนี้เป็นมิจฉาสมาธิ มันก็เหมือนมีดที่เราลับให้คมดีแล้วแต่เก็บไว้เฉยๆ ไม่เอาไปใช้มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรอย่างนั้น ความสงบอันนั้นเป็นความสงบที่หลง คือว่าไม่ค่อยรู้เนื้อรู้ตัว เห็นว่าถึงที่สุดแล้วก็ไม่ค้นคว้าอะไรอีกต่อไปจึงเป็นอันตรายเป็นข้าศึก ในขั้นนั้นอันนี้เป็นอันตรายห้ามปัญญาไม่ให้เกิด ปัญญาเกิดไม่ได้เพราะขาดความรู้สึกรับผิดชอบ


ส่วนสัมมาสมาธิที่ถูกต้อง ถึงแม้จะมีความสงบไปถึงแค่ไหนก็มีความรู้อยู่ตลอดเวลาตลอดเวลา มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์บริบูรณ์..รู้ตลอดกาลนี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่ไม่ให้หลงไปในทางอื่นได้ นี้ก็ให้นักปฏิบัติเข้าใจไว้ให้ดี จะทิ้งความรู้นั้นไม่ได้จะต้องรู้แต่ต้นจนปลายทีเดียวจึงจะเป็นสมาธิที่ถูกต้อง ขอให้สังเกตให้มาก สมาธิชนิดนี้ไม่อันตราย เมื่อเราเจริญสมาธิที่ถูกต้องแล้วอาจจะสงสัยว่ามันจะได้ผลที่ตรงไหน มันจะเกิดปัญญาที่ตรงไหน เพราะท่านตรัสว่าสมาธิเป็นเหตุให้เกิดปัญญาวิปัสสนา สมาธิที่ถูกต้องเมื่อเจริญแล้วมันจะมีกำลังให้เกิดปัญญาทุกขณะ ในเมื่อตาเห็นรูปก็ดี หูฟังเสียงก็ดี จมูกดมกลิ่นก็ดี ลิ้นลิ้มรสก็ดี กายถูกต้องโผฏฐัพพะก็ดี ธรรมารมณ์เกิดกับจิตก็ดี อิริยาบถยืนก็ดีนั่งก็ดีนอนก็ดี จิตก็จะไม่เป็นไปตามอารมณ์แต่จะเป็นไปด้วยความรู้ตามเป็นจริงของธรรมะ

ฉะนั้น การปฏิบัตินี้เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ไม่เลือกสถานที่จะยืนจะเดินจะนั่งจะนอนก็ตาม จิตมันเกิดปัญญาแล้วเมื่อมีสุขเกิดขึ้นมาก็รู้เท่า มีทุกข์เกิดขึ้นมาก็รู้เท่า สุขก็สักว่าสุข ทุกข์ก็สักว่าทุกข์เท่านั้น แล้วก็ปล่อยทั้งสุขและทุกข์ไม่ยึดมั่นถือมั่น




เมื่อสมาธิถูกต้องแล้ว มันทำจิตให้เกิดปัญญาอย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนา มันก็เกิดความรู้เห็นตามเป็นจริง
นี้เรียกว่าสัมมาปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง มีอิริยาบถสม่ำเสมอกัน คำว่าอิริยาบถสม่ำเสมอกันนี้ท่านไม่หมายเอาอิริยาบถภายนอกที่ยืนเดินนั่งนอน แต่ท่านหมายเอาทางจิตที่มีสติสัมปชัญญะอยู่นั่นเอง แล้วก็รู้เห็นตามเป็นจริงทุกขณะคือมันไม่หลง

ความสงบนี้มีสองประการคือ ความสงบอย่างหยาบอย่างหนึ่งและความสงบอย่างละเอียดอีกอย่างหนึ่ง อย่างหยาบนั่นคือเกิดจากสมาธิที่เมื่อสงบแล้วก็มีความสุข แล้วถือเอาความสุขเป็นความสงบ อีกอย่างหนึ่งคือความสงบที่เกิดจากปัญญานี้ ไม่ได้ถือเอาความสุขเป็นความสงบ แต่ถือเอาจิตที่รู้จักพิจารณาสุขทุกข์เป็นความสงบ เพราะว่าความสุขทุกข์นี้เป็นภพเป็นชาติเป็นอุปาทาน จะไม่พ้นจากวัฏฏสงสารเพราะติดสุขติดทุกข์ ความสุขจึงไม่ใช่ความสงบ ความสงบจึงไม่ใช่ความสุข ฉะนั้นความสงบที่เกิดจากปัญญานั้นจึงไม่ใช่ความสุข แต่เป็นความรู้เห็นตามความเป็นจริงของความสุขความทุกข์ แล้วไม่มีอุปาทานมั่นหมายในสุขทุกข์ที่มันเกิดขึ้นมา ทำจิตให้เหนือสุขเหนือทุกข์นั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นเป้าหมายของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

....คนที่ไม่รู้จักสุขไม่รู้จักทุกข์นั้นก็จะเห็นว่าสุขกับทุกข์นั้นมันคนละระดับ มันคนละราคากัน ถ้าผู้รู้ทั้งหลายแล้วท่านจะเห็นว่าสุขเวทนากับทุกขเวทนามันมีราคาเท่าๆ กัน
สาธุ
สาธุครับ
มิจฉาสมาธิ เอาไว้พักจิตคลายเครียดไ้มั๊ยครับ
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-10 23:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
oustayutt ตอบกลับเมื่อ 2014-7-10 20:27
มิจฉาสมาธิ เอาไว้พักจิตคลายเครียดไ้มั๊ยครับ ...

เป็นการพักผ่อนที่ดีมากนะ
รามเทพ ตอบกลับเมื่อ 2014-7-10 23:18
เป็นการพักผ่อนที่ดีมากนะ

ขอบคุณครับ
วันนี้ลองแล้วแทบไม่อยากลุก จนเจ๊นกเรียกไปทำงาน
รับทราบ ขอรับ
สิ่งที่ควรระวัง
จิตต้องอาศัยอุปจารสมาธิ

คือกำหนดเข้าไปสู่ความสงบแล้วพอสมควรก็ถอนออกมา

รู้อาการภายนอกดูอาการภายนอกให้เกิดปัญญา




เพราะท่านตรัสว่าสมาธิเป็นเหตุให้เกิดปัญญาวิปัสสนา

สมาธิที่ถูกต้องเมื่อเจริญแล้วมันจะมีกำลังให้เกิดปัญญาทุกขณะ

ในเมื่อตาเห็นรูปก็ดี หูฟังเสียงก็ดี จมูกดมกลิ่นก็ดี ลิ้นลิ้มรสก็ดี

กายถูกต้องโผฏฐัพพะก็ดี ธรรมารมณ์เกิดกับจิตก็ดี อิริยาบถยืนก็ดีนั่งก็ดีนอนก็ดี

จิตก็จะไม่เป็นไปตามอารมณ์แต่จะเป็นไปด้วยความรู้ตามเป็นจริงของธรรมะ




ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้