ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4860
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระพุทธปฏิมากร หรือพระรอดสงคราม วัดชุมพรรังสรรค์ จ.ชุมพร

[คัดลอกลิงก์]


พระพุทธปฏิมากร หรือ “พระรอดสงคราม”
พระประธานในพระอุโบสถ วัดชุมพรรังสรรค์
พระอารามหลวง ตำบลนางทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร


      

“พระพุทธปฏิมากร” วัดชุมพรรังสรรค์ จ.ชุมพร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุทองสัมฤทธิ์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๒๕ เมตร สูง ๑.๘๔ เมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ เป็นองค์พระพุทธรูปที่รอดพ้นจากความเสียหายอันมาจากภัยของสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงมีชื่อเรียกอีกนามหนึ่งว่า “พระรอดสงคราม”

พระรอดสงคราม พระประธานในพระอุโบสถ สร้างขึ้นโดยพระอธิการเซี้ยน และทายกชื่อทา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ (คริสต์ศักราช ๑๘๙๐) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์โปรดฯ ที่จะจำลองพระพุทธปฏิมาที่มีลักษณะคล้าย พระกัมโพชปฏิมาจำลอง ถึงแม้ว่าพระเศียรของพระพุทธปฏิมาองค์นี้จะมิได้เลียนแบบจากพระพุทธกัมโพชปฏิมาจำลอง จากพระพุทธรูปอยุธยาช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘) ก็ตาม แต่พระวรกายที่ยืดตรงตั้งฉากกับพระเพลา และพระรัศมีเปลวสูง แสดงให้เห็นพุทธลักษณะของพระพุทธปฏิมาในหมวดพระพุทธกัมโพชปฏิมาได้อย่างชัดเจน

มีประวัติความเป็นมาเล่าขานสืบต่อกันมาว่า เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทย ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ วัดชุมพลรังสรรค์ต้องประสบภัยสงครามจากระเบิดที่ทิ้งลงมายังบริเวณวัด พระอุโบสถหลังเก่าได้รับความเสียหายพังจนหมดสิ้น ทว่าด้วยพระพุทธานุภาพอันมหัศจรรย์ขององค์พระพุทธปฏิมากร ซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระอุโบสถ กลับรอดพ้นจากภัยทางอากาศ ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ตราบกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒

ปัจจุบันมี “พระพุทธรูปปฏิมากร” ที่คงเหลืออยู่ ๒ องค์ในประเทศไทย คือพระพุทธปฏิมากรในพระอุโบสถ วัดชุมพรรังสรรค์ และพระพุทธปฏิมากร วัดสร้อยทอง เชิงสะพานพระราม ๖ กรุงเทพมหานคร

วัดชุมพรรังสรรค์ (พระอารามหลวง) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ต.นางทุ่ง อ.เมือง จ.ชุมพร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๓ งาน ๕๐ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๒๒๗๕

อาคารเสนาสนะภายในวัด ประกอบด้วย พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว, กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔๐ หลัง นอกจากนี้มี ฌาปนสถาน หอกลอง โรงครัว เรือนเก็บพัสดุ กุฏิเจ้าอาวาส และเรือนรับรอง ฯลฯ ส่วน ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำพระอุโบสถ ปางมารวิชัย และพระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางสมาธิ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ ฯลฯ

วัดชุมพรรังสรรค์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ผู้สร้างวัด คือ พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง) ในสมัยเมืองชุมพรตกอยู่ในอำนาจของพม่าเข้ายึด ราษฎรตกอยู่ในความลำบาก และทุกขืทรมาน นายซุ้ยได้สมทบกับพวกประมาณ ๓๐ กว่าคน เข้าตีค่ายพม่าได้สำเร็จพวกพม่าหนีข้ามภูเขาหินซอง เมื่อศึกสงบลงปรากฏว่านายซุ้ยได้รับสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็นพระยาเพชรกำแหงสงคราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ราษฎรทั่วไปเรียกท่านว่า พระยาตับเหล็ก เพราะมีอาคมคงกระพันชาตรี ท่านได้สร้างวัดเพื่อเทิดพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นเกียรติประวัติของตนที่ได้ชนะศึกกอบกู้เมืองชุมพร ตลอดทั้งเพื่อเป็นพุทธบูชาท่านได้ขนานนามว่า วัดราชคฤห์ดาวคะนอง
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-3 22:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แต่เนื่องจากวัดตั้งอยู่ในที่ลุ่มและติดกับแม่น้ำท่าตะเภา เมื่อถึงฤดูฝนน้ำหลากเมืองชุมพร พระภิกษุ-สามเณรไม่สามารถอยู่จำพรรษาที่วัดได้ ต้องละทิ้งวัดเพื่อหนีอุทกภัย คณะสงฆ์และราษฎรจึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดท่าเภาเหนือ” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีการก่อสร้างทางรถไฟได้ตัดทางสายใต้ผ่านเมืองชุมพร เนื้อที่วัดได้แยกออกเป็นสองส่วน ทำให้พื้นที่วัดคงเหลือเพียง ๒๒ ไร่ ๓ งาน ๕๐ ตารางวา ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระเบิดลงผิดเป้าหมายมาลงในวัด อาคารเสนาสนะ พระอุโบสถพังพินาศ คงเหลือแต่พระพุทธปฏิมากรภายในอุโบสถเพียงองค์เดียวนามว่า “สมเด็จพระรอดสงคราม” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๘๘ สงครามได้ยุติลง พระปลัดเปี้ยน จนฺทสโร เจ้าอาวาสได้พัฒนาและปฏิสังขรวัด หลังจากที่วัดร้างไปเป็นเวลาถึง ๕ ปี สมัยนั้นการพัฒนาวัดแสนยากลำบากในการหาวัสดุมาก่อสร้างเสนาสนะ ต้องนำไม้จากประเทศพม่าและล่องมาตามแม่น้ำท่าตะเภา พระปลัดเปี้ยน จนฺทสโร ต้องใช้ความพากเพียรและอดทนในการพัฒนาวัดและปฏิสังขรณ์วัด ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ วัดชุมพรรังสรรค์ได้สละที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนศรียาภัย เป็นโรงเรียนรัฐบาล ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด ผู้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียน คือ นางสาวชื่น ศรียาภัย ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งอยู่ถนนพิศิษย์พยาบาล อาคารเรียนจึงว่างลง ท่านเจ้าคุณวิชัยธารโศภณและคณะกรรมการสงฆ์มีมติจัดตั้งโรงเรียนราษฎรภายในวัดชื่อว่า โรงเรียนพุทธยาคมศรียาภัย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คณะสงฆ์ได้เปลี่ยนชื่อจาก วัดท่าเภาเหนือ เป็น “วัดชุมพรรังสรรค์” ปัจจุบันวัดชุมพรรังสรรค์ได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของจังหวัดชุมพร

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ
รูปที่ ๑ พระนุ้ย ขนฺติพโล
รูปที่ ๒ พระวันัยธร (อ่ำ) อริโย
รูปที่ ๓ พระปลัดเปี้ยน จนฺทสโร พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๙๙
รูปที่ ๔ พระธรรมวรนายก พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๑๕
รูปที่ ๕ พระครูพิศาลธรรมโสภณ พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๔๔
รูปที่ ๖ พระครูศรีธรรมนิเทศก์ (จำนันท์ มนาโป) พ.ศ. ๒๕๔๕-ปัจจุบัน



พระครูศรีธรรมนิเทศก์ (จำนันท์ มนาโป)
เจ้าอาวาสวัดชุมพรรังสรรค์ รูปปัจจุบัน


    

ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ    
http://www.m-culture.in.th/album/104461
http://www.m-culture.in.th/moc_new/albu ... %E0%B9%8C/
                                                                                       
.......................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=47625

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้