ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
อภัยทาน
1
2
/ 2 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: Sornpraram
อภัยทาน
[คัดลอกลิงก์]
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
11
#
โพสต์ 2013-12-14 10:57
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
12
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-3-17 08:42
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-3-17 08:46
เพราะเหตุใด มนุษย์จึงจำเป็นต้องให้อภัยซึ่งกันและกัน
การให้อภัยมีคุณค่าและความสำคัญแก่มนุษย์ในหลายมิติด้วยกัน
กล่าวคือ การให้อภัยเป็นจุดเริ่มของมิตรภาพที่ยั่งยืน
การให้อภัยเป็นหว่านเมล็ดพันธุ์ของมิตรภาพให้งอกงาม
การให้อภัยเป็นการชำระใจ และให้ใจได้พักผ่อน
การให้อภัยเป็นการเคาะสนิมแห่งความเลวร้ายออกจากใจ
และการให้อภัยเป็นการสร้างบารมีขั้นสูงสุด
พระพุทธศาสนาได้ชี้ให้เห็นจุดเด่นของ “การให้” อย่างน้อยสองประการ กล่าวคือ ว่า “ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้” และ “ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา” หลักการเช่นนี้เป็นการให้ความสำคัญแก่ “ผู้ให้” ซึ่งได้รับการยอมรับจาก “ผู้รับ” หรือบุคคลทั่วไปที่แสดงความชื่นชมต่อการให้ แม้จะไม่ได้เป็นผู้รับโดยตรงก็ตาม ฉะนั้น การให้ที่นำไปสู่การผูกมิตร และนำมาซึ่งความสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกันในบรรยากาศของความขัดแย้งกันก็คือ “การให้อภัย” ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ การให้อภัยจึงมีความสำคัญแก่วิถีชีวิต และการดำรงอยู่ของมนุษย์ทั้งในเชิงปัจเจกและสังคมในหลายมิติด้วยกัน คือ
๑. การให้อภัยเป็นจุดเริ่มของมิตรภาพที่ยั่งยืน
“มิตรภาพ” เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่หล่อเลี้ยงมนุษย์ในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข และสามารถทำงาน หรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในทิศทางที่สร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล หรือกลุ่มบุคคลในสังคม สถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็คือ ความสัมพันธ์ของคู่กรณีที่เสื่อมโทรมลงไป ฉะนั้น การขออภัย และการให้อภัยนั้น จึงนำไปสู่การรื้อฟื้นมิตรภาพขึ้นมาใหม่ ด้วยเหตุนี้จึงถือได้ว่าการรื้อฟื้นดังกล่าว จะนำไปสู่แง่มุมในเชิงบวกต่อสัมพันธภาพที่ดีระหว่างมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้นดังคำกล่าวที่ว่า “หากว่าในโลกนี้ โทษไม่มี ความผิดไม่มี และเวรทั้งหลายไม่สงบ บุคคลในโลกนี้พึงเป็นผู้ฉลาดได้อย่างไร” ฉะนั้น ความฉลาด หรือปัญญาจะเกิดขึ้นจากคู่กรณีได้ตระหนักรู้ความผิดพลาดบกพร่องที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
๒. การให้อภัยเป็นหว่านเมล็ดพันธุ์ของมิตรภาพให้งอกงาม
การให้อภัยจัดได้ว่าเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์ของมิตรภาพระหว่างคู่กรณีที่มีความขัดแย้งกันให้งอกเงยและงอกงามขึ้น จะเห็นว่า ในขณะที่คู่กรณีขัดแย้งกันในประเด็นต่างๆ เช่น ข้อมูล ค่านิยม หรือผลประโยชน์ อันจะนำไปสู่การสร้างกำแพงระหว่างกัน ฉะนั้น การให้อภัย หรือการขออภัยจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้คู่กรณีได้มีโอกาสหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความรัก และความรู้สึกที่ดีต่อกัน
๓. การให้อภัยเป็นการชำระใจ และให้ใจได้พักผ่อน
การให้อภัยจัดได้ว่าเป็นการสละอารมณ์ขุ่นมัวที่เกิดภายในใจของเรา และเป็นการพื้นที่ให้อารมณ์ที่เป็นกุศลได้เจริญงอกงามขึ้นภายในใจ จะเห็นการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเก็บความโกรธแค้นไว้นานโดยไม่ยินยอมพร้อมใจที่จะให้อภัยเพื่อนมนุษย์นั้น ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือการ “สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ความโกรธ” อันจะนำไปสู่การให้คุณค่า และราคาของความโกรธแค้นั้นสูงขึ้น เนื่องจากค่าเก็บรักษาอารมณ์ชนิดนี้มีราคาค่างวดที่แพง บิลของโกรธจะประกอบไปด้วยรายการค่าหัวใจเสื่อม ความดันโลหิตพุ่งสูง นอนไม่หลับ เครียด อาจตามมาด้วยมะเร็งและความตายก่อนวัย คิดรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว แพงกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นตอนแรกหลายร้อยเท่า ด้วยเหตุดังกล่าว หากเราสามารถปล่อยวางความโกรธแค้นนี้ได้เร็วเท่าใด ความเสียหายโดยภาพรวมก็ลดลงเท่านั้น และเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถปล่อยวางก็มีเพียงชนิดเดียวคือ การให้อภัย
๔. การให้อภัยเป็นการเคาะสนิมแห่งความเลวร้ายออกจากใจ
สนิมที่มักจะเกาะกัดกินเราอยู่เนืองๆ คือ “สนิมในใจ” กล่าวคือ สนิมในลักษณะนี้เมื่อเกิดขึ้นจะเป็นตัวบั่นทอนศักยภาพทางการคิด การพูด และการกระทำให้เป็นไปในเชิงลบมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าเราจะทำงาน นอน หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ใดก็ตาม มักจะมีภาพของความขุ่นมัวทางใจที่เกิดจากความผิดพลาดของเรา หรือสิ่งที่คนอื่นๆ ทำให้เราไม่สบายใจ ในขณะเดียวกัน เราก็มักจะเก็บอารมณ์แห่งความขุ่นมัวต่างๆ มาปรุงแต่ง มาย้ำคิด ย้ำทำ ผลที่จะเกิดขึ้นตามก็คือ “หัวใจที่ถูกสนิมทางอารมณ์กัดกินอยู่ตลอดเวลา”
๕. การให้อภัยไม่ใช่การสูญเสีย แต่เป็นการ “ได้” อย่างไม่มีขีดจำกัด
บางครั้งเรามักจะคิดว่า “การให้อภัย” เป็นการสูญเสีย เช่น การเสียศักดิ์ศรี เสียหน้า และเสียเปรียบ เนื่องจากเราได้ยอมคู่กรณีที่เคยล่วงละเมิด หรือทำให้เราประสบกับความทุกข์ หรือเจ็บปวดในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว การแสดงออกด้วยการให้อภัยในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็น “การได้อย่างมีขีดจำกัด”
การได้ที่เกิดจากการให้อภัยสามารถประเมินได้จากหลายด้าน กล่าวคือ (๑) ได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้พัฒนา ปรับปรุง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเชิงบวกมากยิ่งขึ้น (๒) ได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้เคยกระทำผิดพลาด (๓) ได้เปิดโอกาสให้ใจของตัวเองได้เรียนรู้ที่จะให้อภัยคนอื่นๆ และผลที่เกิดต่อตัวเองก็คือ การปล่อยวาง ไม่น้อมใจเข้าไปแบกรับความเลวร้าย หรือความขุ่นมัวที่จะเกิดตาม ซึ่งจะทำให้ใจเข้าถึงอิสรภาพอย่างแท้จริง โดยไม่ขึ้นตรงต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่อาจจะส่งผลต่อความทุกข์ หรือปัญหาที่จะเกิดขึ้น (๔) ได้เพื่อน หรือมิตรภาพที่ยั่งยืนจากคนอื่นๆ ในสังคม
๖. การให้อภัยเป็นการสร้างบารมีขั้นสูงสุด
พระพุทธศาสนาถือว่า การให้อภัยเป็นการบำเพ็ญบารมีขั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเรียกการให้ (ทาน) ชนิดนี้ว่า “มหาทาน” เพราะว่าการให้ในลักษณะนี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศมีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ทุกฝ่าย
จะเห็นว่า การให้อภัยเป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปจะทำได้ยากอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากนี่เอง การให้อภัยจึงได้ชื่อว่าเป็นมหาทาน หรือเป็นทานที่ยิ่งใหญ่ และยากต่อการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งแสดงออกหรือกระทำได้ ถึงกระนั้น พระพุทธเจ้าจึงพยายามที่จะย้ำว่า ความดีเป็นสิ่งที่คนดีทำได้ง่าย แต่ความดีเป็นสิ่งที่คนไม่ดีทำได้ยาก ฉะนั้น ตามนัยนี้ คนที่มีพื้นฐานทางจิตใจดีจะสามารถให้อภัยคนอื่นๆ ได้ง่ายกว่า แสดงออกในการที่จะไม่ผูกใจเจ็บได้ง่ายกว่า
ที่มา...
http://www.gotoknow.org/posts/315416
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
13
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-8-3 07:02
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
14
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-8-4 13:51
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
15
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2016-8-22 07:06
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
majoy
majoy
ออฟไลน์
เครดิต
24696
16
#
โพสต์ 2016-8-25 07:48
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
งั้นแต่นี้จะขออภัยแด่ผู้มุ่งร้ายในที่ทำงานแบบเต็มร้อยครับ ที่ผ่านมาแผ่เมตตาให้ แต่ยังมีช่วงเอาคืนบ้าง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
1
2
/ 2 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...