ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1792
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สังขาร (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-6-27 08:13



ธรรมบรรยายอบรมสมาธิ
ณ วัดป่าคลองกุ้ง อ.เมือง จ.จันทบุรี
เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๖
โดย

พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


   

"สังขาร" แปลว่า "ความปรุงแต่ง"
เราจำเป็นจะต้องเีรียนรู้ในเรื่องของสังขารให้รู้แ้จ้งเห็นจริง
และรู้เท่าทันมันด้วย

"สังขารโลก" ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ
ความปรุงแต่งอันนี้เกิดแล้วย่อมเสื่อมไป

"สังขารธรรม" ได้แก่ ตัวเราเอง คือ ธาตุ ขันธ์ อายตนะ
เกิดแล้วก็เสื่อมไปเช่นเดียวกัน  ฉะนั้นเมื่อเรามีให้รีบใช้ให้เกดประโยชน์เสีย
มิฉะนั้นมันจะกลับมาฆ่าเราเอง

"สังขารธรรม" ก็อาศัยความปรุงแต่งส่งอาหารไปเลี้ยง
เช่น ข้าวก็บำรุงธาตุดิน พริก บำรุงธาตุไฟ
ขิง ข่า กระเทียม ไพล บำรุงธาตุลม

สังขารนี้แบ่งออกเป็นสอง คือ รูปธรรม กับ นามธรรม
ถ้าเราไม่ดัดแปลงแก้ไขมัน ก็เป็น "ธรรม" อยู่เฉยๆ
ถ้าเราตกแต่งขัดเกลา มันก็สูงขึ้น ดีขึ้น
เหมือนก้อนดินที่เรารู้จักใช้ ก็อาจมาทำเป็นหม้อหุงข้าวต้มแกงได้
สูงขึ้นกว่าหม้อก็ทำเป็นกระเบื้องสำหรับมุงหลังคา
ถ้าเราเคลือบสีด้วยก็ยิ่งมีราคาขึ้นอีก  
ทั้งนี้แล้วแต่ใครจะมีปัญญารู้จักดัดแปลงของนั้นๆก็จะมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม

"ตัวเรา" เปรียบเหมือนต้นไม้
"ความยึดถือ" คือ เถาวัลย์

ถ้าเรายินดีในรูป มันก็มัดตา
ยินดีในเสียงมันก็มัดหู ฯลฯ
ยินดีในธัมมารมณ์ มันก็มัดใจ
เมื่อเราถูกมันมัดทั้งหมด เราก็ต้องตาย
บางคนตายไม่ทันใจ ยังต้องมัดคอตัวเองก็มี

"ผู้ไม่มีความยึดถือ"
ย่อมจะเข้าถึง "พุทธะ" มีอายุยืนไม่ตาย
พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานมาตั้งสองพันกว่าปี
คนก็ยัง "สาธุ สาธุ" อยู่
พระองค์ไม่ตอ้งการในวัตถุหรืออามิสใดๆ ตอบแทนเลย
นอกจาก "ปฏิบัติบูชา"

เหมือนกับตัวอาตมาเอง ก็ไม่อยากได้อะไรเป็นส่วนตัวเลย
นอกจากจะมุ่งให้คนอื่นดีแท้ๆ
ต้องการให้เขาทำจิตใจให้เป็นสมบัติของเขาเอง

คนที่ไม่ทำหัวคันนาไว้ให้ดี น้ำก็จะพัดเข้านาพังหมด
เรียนแล้วไม่ปฏิบัติ ไม่มีเครื่องมือพอ กิเลสมาตึงเดียวก็ล้มพินาศหมด
จึงให้หมั่นหัดทำไว้บ่อยๆ จะได้เป็นนิสัย ตัวก็เบา ใจก็เบา
ใครมาบอกบุญก็ไม่หนักอกหนักใจ ไม่กลัวยากกลัวจน

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-27 08:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
"พรหม ๔ หน้า" คือ "เมตตา" ได้แก่ "ปฐมฌาณ"
"กรุณา" ได้แก่ "ทุตยฌาณ"
"มุทิตา" ได้แก่ "ตติยฌาณ"
"อุเบกขา" ได้แก่ "จตุตถฌาณ"
แต่เหล่านี้ก็เป็นเพียงกระพี้หรือเปลือก
ต้องทำให้สุดยอดถึงจะถึงแก่น คือ  "พระนิพพาน"

ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมสำเร็จที่ใจ ไม่ใช่ปฏิบัติที่ภายนอก
คือ ตา หู จมูก ปาก มือ เท้า ศีล บริสุทธิ์ก็พ้นทุกข์กาย
สมาธิ พ้นทางวาจาไม่ต้องพูดพล่าม สงบปากสงบคอ
ปัญญา พ้นทุกข์ใจ

"ความยึดถือ" เป็นเหตุให้เกิดทุกข์โทษภัย
ผู้ไม่มีปัญญาย่อมเห็นสังขารเป็นตัวเป็นตนและยึดถือไว้ไม่ปล่อยวาง

"สติ" คือ ตัว "มรรค"
จะอยู่ในอารมณ์ดีหรือชั่วก็ตาม ขอให้มีสติอยู่เป็นใช้ได้


จิตที่พ้นโลก คืออยู่เหนือเหตุเหนือผล หมายถึงอารมณ์ ๕ ด้วย

ร่างกาย เป็นผู้ไม่รับทุกข์รับสุขอะไรกับเราด้วยเลย
ตัวจิตผู้เดียวเป็นผู้รับ เหมือนคนที่เอามีดไปฟันเขาตาย
เขาจะไม่จับมีดลงโทษ แต่เขาจะต้องจับคนที่ฆ่าไป

"กายสุข" ระงับเวทนา "ใจสุข" ระงับนิวรณ์

   

คัดลอกจากหนังสือ
แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม

โดย ชมรมกัลยาณธรรม
ลี ธมฺมธโร. แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑.
กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมการพิมพ์, ๒๕๕๒. หน้า ๘๕-๘๙
                                                                                       
.......................................................................

ที่ีมา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=43829

กราบๆๆ สาธุๆๆ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้