ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
ทำจิตให้สงบไม่ใช่ของยาก (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1776
ตอบกลับ: 2
ทำจิตให้สงบไม่ใช่ของยาก (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-6-27 08:08
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-6-27 08:09
โอวาทธรรม
ของ
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
การที่เรานั่งทำจิตให้สงบเป็นของไม่ยาก การที่ทำให้ยากเย็นเพราะเข้าใจผิด
ที่เรียกว่า
โมหะ
เห็นผิดสำคัญผิด เรียกว่า
ทิฏฐิมานะ
ศึกษาให้เข้าใจในเรื่องนี้ก็จะรู้ความจริง
เป็นต้นว่า จิตเราไปโน่นจิตเราไปนี่อันนั้นไม่ใช่ความจริง เป็นความสำคัญต่างหาก
ความจริงจิตใจย่อมอยู่กับตัวเสมอไป
การไปนั้นสักแต่ว่าแสง เปรียบเหมือนกับกระบอกไฟฉาย
ตัวไฟจริงอยู่ในกระบอกหรือหัวเทียน ส่วนแสงของมันก็พุ่งไป
แสงกับไฟเป็นคนละอย่าง ไฟมีลักษณะให้ร้อนและมีแสง
ส่วนแสงไม่มีไฟ เพราะไม่มีลักษณะให้ร้อน
จิตใจของเราได้แก่ตัวรู้ ย่อมมีอยู่ทุกขณะลมหายใจ
ความรู้ที่แล่นไปไม่ใช่ตัวจริง
ถ้าเข้าใจผิด จะไปกุมเอาความรู้ ไปเหนี่ยวเอาแสงเข้ามาย่อมไม่ได้
เหมือนคนที่จับแสงไฟ ย่อมไม่ติดมือตนฉันนั้น
ไฟในที่นี้ มีอยู่ ๒ ประเภท
ไฟร้อน
ประเภทหนึ่ง คือ
กิเลสราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา
ไฟเย็น
ประเภทหนึ่ง คือ
ฌานัคคิ
เกิดขึ้นจากความสะสมไว้ซึ่งสมาธิจิต
ถ้าเข้าใจดีในการทำจิตก็จะพบไฟเย็น
ไฟเย็นเปรียบเหมือนกับถ่านไฟฉาย ไฟร้อนเหมือนกับหัวเทียน
เมื่อจิตไม่อยู่กับตัว ไม่ไปไหนเช่นนั้น จะมาทำสมาธิทำไม
ที่มาทำสมาธิกันนั้น คือ ไม่ต้องการใช้แสงไฟที่ร้อน
แสงไฟที่ร้อนย่อมทำให้เกิดโทษในประสาทตา ประสาทหู
ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย
ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้เปรียบเหมือนกับหลอดไฟฟ้า
เส้นประสาทในที่นั้นๆ ก็เปรียบเหมือนกับสายลวดทองแดง
ใช้กระแสไฟผิดย่อมเกิดโทษ
ใช้กระแสไฟถูกแต่ไม่รู้จักดับย่อมสึกหรอ เช่น กร่อน หรือขาด
ประสาทของคนทั้งหลายในโลกย่อมเสียไปเพราะต้องการใช้แสงมากเกินควร
ประสาทตา ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย ย่อมเสียไป
เป็นบ่อเกิดแห่งความโง่และตายเร็ว
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-27 08:10
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ฉะนั้นการทำสมาธิ คือ ต้องการไฟเย็น เหมือนถ่านไฟฉายย่อมเป็นของเย็น
ถ้าคนโง่ก็เห็นว่าไม่มีไฟ เช่น คนบางคนเข้าใจว่า
นั่งหลับตาสงบจิตมันจะโง่ไม่มีปัญญา นั่นเป็นความโง่ของคนที่ว่า
ถ้าคนฉลาดเขาเปิดได้ไฟเย็นใช้ ฉะนั้นใจสงบนิ่งย่อมเกิดแสงสว่างขาว
รัศมีที่เรียกว่า ปภสฺสรํ จิตฺตํ ไฟเย็นย่อมเกิดแสงขาว
แสงที่ขาวนี้ย่อมไม่ให้โทษแก่หลอดไฟ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย
สายลวด คือ เส้นประสาท ที่เรียกว่า จักขุประสาท เป็นต้น
ไฟก็เย็น แสงก็เย็น ย่อมใช้ได้ทั้งใกล้และไกล
อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้น ก็คือ ความฉลาด ได้แก่ แสงเย็นที่ฉายออก
เช่น รอบรู้ในทางตา ดูรูปอะไรรู้เรื่อง เรียกว่า ทิพพจักขุ
ใช้ในทางหู ฟังอะไรรู้เรื่องเข้าใจ เรียกว่า ทิพพโสต
จมูกถูกกลิ่นอะไรก็รู้เรื่อง เข้าใจ ลิ้น กาย จิต ย่อมรู้รอบคอบสว่างไสว
เยือกเย็นเป็นสุข ที่ท่านเรียกว่า ปญฺญาปโชโต แสงสว่าง คือ ปัญญา
เมื่อใครทำได้เช่นนี้ จัดเป็น วิชชาวิปัสสนา คือ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วจากความสงบ
ย่อมรู้ได้ในจักขุประสาท ตากระทบรูป ปัญญาเกิดขึ้น
ในระหว่างย่อมรู้ได้ด้วยปัญญา หูกับเสียงกระทบกัน ปัญญาเข้าแทรก
จมูกกับกลิ่นกระทบกัน ปัญญาเข้าแทรก
ลิ้นกับรสกระทบกัน ปัญญาเข้าแทรก
กายกับสัมผัสกระทบกัน ปัญญาเข้าแทรก ใจกับอารมณ์กระทบกัน ปัญญาเข้าแทรก
ตาไม่ติดรูป รูปไม่ติดตา หูไม่ติดเสียง เสียงไม่ติดหู
จมูกไม่ติดกลิ่น กลิ่นไม่ติดจมูก ลิ้นไม่ติดรส รสไม่ติดลิ้น
กายไม่ติดสัมผัส สัมผัสไม่ติดกาย ใจไม่ติดอารมณ์ อารมณ์ไม่ติดใจ
แยกออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า
ภควา
เป็นตัว
วิปัสสนาญาณ
เป็น
ฉฬงฺคุเปกฺขา
ปล่อยได้ทั้งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก
ใจที่แท้ย่อมอยู่กับความเย็นและความสงบสุข
เปรียบเหมือนไฟเย็นย่อมถาวร ไม่ให้โทษแก่คนทั้งหลาย
คัดลอกจากหนังสือ
แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม
โดย ชมรมกัลยาณธรรม
ลี ธมฺมธโร.
แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑.
พิมพ์ครั้งที่ ๑.
กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมการพิมพ์, ๒๕๕๒. หน้า ๖๐-๖๓
...............................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=43825
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
wind
wind
ออฟไลน์
เครดิต
1953
3
#
โพสต์ 2014-6-28 01:48
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุ อ่านแล้วเห็นภาพ เป็นประโยชน์มากครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...