ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2845
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ฟอกไต"ด้วยหญ้าไผ่น้ำ"

[คัดลอกลิงก์]
ฟอกไต"ด้วยหญ้าไผ่น้ำ"



ปัจจุบันแนวโน้มคนไทยป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ข้อมูลจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ระบุว่าในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีจำนวนผู้ป่วยใหม่ ๑๖๐ คนต่อประชากร ๑ ล้านคนต่อปี และมียอดผู้ป่วยสะสม สูงถึง ๔๒๐ คนต่อประชากร ๑ ล้านคนต่อปี ซึ่งเป็น ตัวเลขที่สูงขึ้นจนน่าตกใจ เพราะหากย้อนกลับไปดูข้อมูล ๕ ปีหลัง พบว่าในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ มีผู้ป่วยใหม่เพียง ๘๓ คนต่อประชากร ๑ ล้านคนต่อปี และมีจำนวนผู้ป่วยสะสม ๒๓๔ คนต่อประชากร ๑ ล้านคนต่อปี และปัจจุบันยังเป็นที่น่าวิตกว่า อัตราการเกิดของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในประเทศไทยที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตนั้น ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้นทุกปี
สมาคมโรคไตนานาชาติจึงได้กำหนดให้ทุกวันพฤหัสบดีที่ ๒ ของ เดือนมีนาคมทุกปี เป็นวันไตโลก มีการรณรงค์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของไต และการดูแลสุขภาพไต ด้วยการคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคไตวายเรื้อรัง ของคนทั่วโลก รวมถึงการรณรงค์ส่งเสริมให้มีการตรวจปัสสาวะและตรวจเลือดดูการทำงานของไตในกลุ่มเสี่ยง เพื่อตรวจหาอาการเบื้องต้นและรับการบำบัดรักษาตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อชะลอการเสื่อมของไต
โรคไตวายเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญคือ เกิดจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ นิ่วในไต กรวยไตอักเสบ รวมถึงอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา และ สารเคมีต่าง ๆ ได้แก่ ยาแก้ปวดกลุ่ม “เอ็นเสด (NSAIDs)” และยาปฏิชีวนะบางตัว เป็นต้น

อาการโรคไตวายเรื้อรัง มักจะแสดงให้เห็นก็ต่อเมื่อการทำงานของไตเหลือเพียงร้อยละ ๑๐ ดังนั้น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระยะแรก มักจะไม่รู้ว่าตัวเองเป็น การวินิจฉัยโรคไตวายเรื้อรังต้องอาศัยการตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อดูการทำงานของไต ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังดังที่กล่าวมาเบื้องต้น รวมถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต ควรได้รับการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อคัดกรองโรคไตวายเรื้อรังอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง แม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ทางสมาคมโรคไตนานาชาติ รณรงค์ให้ได้รับการตรวจทุกคน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไตวายเรื้อรังสูงถึงร้อยละ ๕๐ ขณะที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะมีโอกาสเสี่ยงร้อยละ ๑๐ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรได้รับการตรวจหาอาการเบื้องต้นและรับการบำบัดรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อชะลอการเสื่อมของไต

นอกจากนี้ ควรรู้จักสังเกตอาการตนเองหากพบอาการดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ได้แก่

๑ มีอาการบริเวณหน้าแข้งบวม เท้าบวม รอบตาบวม หน้าบวม กดแล้วเป็นรอยบุ๋ม ซึ่งอาการบวมรอบตา บวมที่หน้า อาจสังเกตได้ง่ายเวลาที่ตื่นนอน ส่วนเท้าบวมอาจพบเมื่อเข้าช่วงบ่าย หรือยืนเป็นเวลานาน ๆ สังเกตได้จากแหวนหรือรองเท้าที่เคยสวมใส่จะคับขึ้น เมื่อใช้นิ้วมือกดที่เท้าหรือหน้าแข้งจะมีรอยบุ๋ม

๒.ความดันโลหิตสูง เป็นอาการสำคัญของโรคไตวายเรื้อรัง โดยเฉพาะรายที่มีความดันโลหิตสูงมานานและควบคุมไม่ได้ เนื่องจากความดันโลหิตสูงโดยตัวมันเองอาจไม่มีอาการหรือมี อาการเล็กน้อย เช่น ปวดหัว มึนงง เป็นต้น ดังนั้นท่านควรได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-4 12:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๓.ปัสสาวะผิดปกติ และมีปริมาณน้อยลง โดยมีอาการ ดังนี้

-ปัสสาวะเป็นเลือด สีน้ำล้างเนื้อหรือขุ่นผิดปกติ ปัสสาวะ จะมีสีเหลืองใส อาจ มีสีเข้มข้นเมื่อดื่มน้ำ น้อยและจางลงเมื่อดื่มน้ำมาก ๆ ถ้ามีปัสสาวะสีแดงคล้ายเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ บ่งบอกว่า อาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ ซึ่งเกิด จากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีนิ่ว ไตอักเสบ หรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ปัสสาวะเป็นเลือดอาจเกิดจากโรคนิ่ว หรือการ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหรือเกิดจากไตอักเสบ เนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ หรือโรคเลือดที่ทำให้มีเลือดออกง่าย

-ปัสสาวะเป็นฟองมากเกินไป ให้สงสัยว่ามีโปรตีนรั่วจากการทำงานของไตผิดปกติ

-ปัสสาวะขัดหรือลำบาก

-ปัสสาวะมีเศษหิน เศษกรวดปะปน

-ปัสสาวะกลางคืนหลังจากหลับไปแล้ว บ่อยกว่าปกติ ซึ่งในคนปกติ เมื่อคนเรานอนหลับ ๖-๘ ชั่วโมง มักจะไม่ตื่นขึ้นมาปัสสาวะ คนเรา สามารถเก็บปัสสาวะไว้ได้ประมาณ ๒๕๐ ซีซี หรือเท่ากับน้ำ ๑ แก้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะเวลากลางคืน แต่ในผู้ที่มีโรคไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถลดการสร้างปัสสาวะได้ในตอน กลางคืน จึงมีปัสสาวะออกมากและลุกขึ้นมาปัสสาวะ โดยทั่วไปท่านอาจตื่นขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน ๑-๒ ครั้ง ถ้าท่านดื่มน้ำก่อนนอน หรืออาจจะเป็นนิสัยตั้งแต่เด็ก แต่ถ้าไม่เคยเป็นมาก่อนควรรีบปรึกษาแพทย์

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังเมื่อ เป็นแล้ว จะเสียชีวิตทุกคนหากไม่ล้างไต ดังนั้น เรื่องจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ป่วยอย่าท้อแท้และหมดกำลังใจที่จะรักษา เพราะถึงแม้ว่าโรคไตวายเรื้อรัง จะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ผู้ป่วยก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตยืนยาวได้ หากได้รับการบำบัดทดแทนไตอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันทำได้ ๓ วิธีคือ
๑ ) การปลูกถ่ายไต เป็นการรักษาที่ดีที่สุด แต่มีข้อจำกัดเนื่องจากขาดแคลนผู้บริจาค
๒ ) การฟอกเลือด และ
๓ ) การล้างไตผ่านทางช่องท้อง

หญ้าไผ่น้ำ (จุ้ยเต็กเฉ้า) มีถิ่นกำเนิดที่มณฑลกวงสี มณฑลกวางตุ้ง และมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน มีผู้นำไปปลูกที่สิงคโปร์ เพื่อเป็นยาทานแก้พิษร้อนใน ต่อมา พบว่าเป็นยาสมุนไพร ที่สามารถขับพิษที่ตกค้างในไต ออกทางปัสสาวะ ทำให้ไตคืนสภาพเป็นปกติ
หญ้าไผ่น้ำ มีลักษณะเป็นใบเรียวกลม ด้านบนของใบมีสีเขียว ด้านหลังของใบเป็นสีบานเย็น มีก้านเป็นข้อ ๆ เลื้อยไปตามพื้นดิน ก้านจะมีขนอ่อนนิด ๆ ควรปลูกในกระถางปากกว้าง ดินลึกประมาณ ๕ นิ้ว ชอบความชุ่มชื้น แดดอ่อน แต่น้ำไม่ขัง หน้าฝนเจริญเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยตัดก้านให้มีความยาว ๓-๔ นิ้ว ปักชำลงในดิน ประมาณ ๒ อาทิตย์ จะมีรากงอกออกมาที่ก้านตามข้อ ดังนั้น การขยายพันธุ์จึงทำได้ง่าย
สรรพคุณหญ้าไผ่น้ำ นอกจากกินแก้ร้อนใน ยังสามารถลดการอับเสบของทางเดินปัสสาวะ แก้พิษงูกัด บำบัดอาการต่อมลูกหมากโต ผู้ที่เริ่มมีอาการของโรคไต โดยค่าของ BUN ในเลือดสูงเกินปกติ หรือ CREATININE สูงเกินค่าที่กำหนด เป็นการส่งสัญญาณให้รู้ว่า จะต้องงดทานเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ถั่วที่มีโปรตีนสูง ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่มียารักษาเพียงรอให้อาการของผู้ป่วย ถึงขั้นอาเจียน ขาบวม ท้องอืด เบื่ออาหาร ท้ายสุดก็ต้องไปฟอกไต ถ้าคนไข้เริ่มมีอาการใหม่ ๆ ให้ทานน้ำต้มหญ้าไผ่น้ำ จะช่วยบรรเทาอาการของโรคไตได้ดี ดังเช่น บุคคลหลาย ๆ ท่าน ที่ทานยานี้แล้ว อาการของไตเสื่อมจะไม่ปรากฏ

วิธีต้มหญ้าไผ่น้ำ
ตัดหญ้าไผ่น้ำประมาณ ๑๐๐ – ๑๕๐ กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อต้ม (ควรเป็นหม้อเคลือบ) เติมน้ำสะอาด ๒ ลิตร ต้มให้เดือดแล้วหรี่ไฟอ่อน ต้มอีกประมาณ ๑ ชั่วโมง แล้วตักเอาหญ้าไผ่น้ำออก จะเห็นน้ำใส ๆ เป็นสีบานเย็นอ่อน ไม่ควรใส่น้ำตาลหรืออย่างอื่น วางทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบรรจุขวดเข้าตู้เย็นทานได้ทุกเวลา วันละ ๓-๔ แก้ว หลังจากทานหญ้าไผ่น้ำแล้ว ประมาณ ๓ เดือน ควรไปเจาะเลือดตรวจค่า ของ * BUN * และ * CREATNINE * ด้วย

จำรัส เซ็นนิล รวบรวม/เรียบเรียง
ขอบคุณครับ
มีประโยชน์มากครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้