ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
ความโง่และความสงสัย (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2164
ตอบกลับ: 4
ความโง่และความสงสัย (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-6-11 11:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗
ความโง่และความสงสัย
วันนี้จะขอโอกาสเล่าความโง่และความสงสัยของตน ให้บรรดาท่านผู้ฟังทราบบ้างเป็นบางตอน โดยคิดว่า ทุกคนย่อมมาจากแดนแห่งความโง่และความสงสัยด้วยกัน เพราะบิดามารดาที่สืบสายมาจากบรรพบุรุษผู้ให้กำเนิดสืบทอดกันมา คงเป็นคนมีกิเลสสิ่งที่พาให้โง่เหมือนกัน แม้บรรดาเราทั้งหลายก็คงไม่มีผู้ใดแหวกมาเกิดถูกแดนแห่งความฉลาด และตัดปัญหาความสงสัยได้แต่ผู้เดียว เมื่อเป็นเช่นนั้น ความสงสัยจำต้องมีอยู่ด้วยกัน ฉะนั้นวันนี้จะขอถือโอกาสแก้ไขปัญหาข้อข้องใจของแต่ละท่าน โดยการแสดงธรรมแทนการตอบปัญหา ที่ถามตามแง่แห่งความสงสัยต่าง ๆ กัน นับแต่ปัญหาขั้นเริ่มต้นจนถึงปัญหาขั้นสูงสุด ซึ่งผู้แสดงก็ไม่แน่ใจว่าจะตอบได้หรือไม่ แต่ปัญหาที่แต่ละท่านถามรู้สึกว่าเรียงลำดับกันดี พอจะเป็นแนวทางของการแสดงธรรมแทนการตอบปัญหาได้
ก่อนการปฏิบัติและกำลังปฏิบัติเบื้องต้น ความโง่และความสงสัยจำต้องมีด้วยกันทุกคน เพราะธรรมชาติที่กล่าวนี้ เคยเป็นผู้นำของภพชาติที่สัตว์จะมาเกิดทุกราย การวางรากฐานเบื้องต้นเรายังไม่มีต้นทุนมากมาย พอจะมีความฉลาดมาเป็นผู้นำทุกกรณี เมื่อเป็นเช่นนั้น ความโง่ก็ต้องมีโอกาสนำหน้าเราอยู่โดยดี เรื่องความโง่นี้นั้น ถ้าเรายังไม่เคยอบรมความฉลาดเป็นเครื่องส่องทาง เขาซึ่งครองอำนาจอยู่ภายในใจ จำต้องฉุดลากไปในทางผิดได้เป็นธรรมดา การฝึกหัดอบรมเบื้องต้นเท่าที่เคยปฏิบัติมา รู้สึกมีความสงสัยในธรรมของพระพุทธเจ้า ทั้งปฏิปทาเครื่องดำเนินและผลอันจะพึงได้รับ จะเป็นไปโดยสมบูรณ์ตามธรรมที่ตรัสไว้หรือไม่ นี่เป็นความสงสัยอย่างฝังใจ ในระยะที่มีความสงสัย ใคร่จะปฏิบัติอบรมเพื่อธรรมขั้นสูงจริง ๆ พูดฟังง่าย ๆ ก็คือเพื่อพระนิพพานนั่นเอง
ก่อนที่ยังไม่คิดและสนใจจะปฏิบัติเพื่อพระนิพพานนั้น ความสงสัยดังกล่าวก็ไม่ค่อยปรากฏในใจ คงจะเป็นเพราะเรายังไม่ได้ตั้งเข็มทิศหมุนมาทางนี้ พอบวชในพระศาสนาและได้ศึกษาข้ออรรถข้อธรรม เฉพาะอย่างยิ่งคือพุทธประวัติซึ่งเป็นประวัติของพระพุทธเจ้า เสด็จออกบวชจนได้ตรัสรู้ มรรค ผล นิพพาน อันดับต่อมาก็เป็นประวัติของพระสาวกที่ได้สดับธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว ปลีกตัวออกไปบำเพ็ญเพียรในสถานที่ต่าง ๆ แล้วได้ตรัสรู้ขึ้นมาเป็นองค์พยานของพระพุทธเจ้าและศาสนธรรม เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนมาถึงระยะนี้ เกิดความเชื่อเลื่อมใสขึ้นมาและคิดอยากบำเพ็ญตนให้เป็นเช่นนั้นด้วย
แต่วิธีบำเพ็ญเพื่อเป็นเช่นนั้นจะบำเพ็ญอย่างไร ธรรมคือ ปฏิปทาเครื่องดำเนินซึ่งจะชักจูงจิตใจให้เป็นไปเพื่อธรรมขั้นสูง คือการตรัสรู้เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายนั้น บัดนี้จะสามารถผลิตผลให้เป็นเช่นนั้นได้หรือไม่ หรือจะเป็นโมฆะและกลายเป็นความลำบากแก่ตนผู้ปฏิบัติไปเปล่า ๆ หรืออาจจะมีผลเช่นนั้นอยู่อย่างสมบูรณ์ ตามสวากขาตธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว นี้เป็นความสงสัยเบื้องต้น แต่ความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็ดี พระสาวกตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ก็ดี รู้สึกเชื่อมั่นอย่างเต็มใจตามวิสัยของปุถุชน สิ่งที่เป็นอุปสรรคแก่ตนอยู่ในระยะเริ่มต้นนี้ ก็คือความสงสัยว่า ปฏิปทาที่เราดำเนินตามท่านจะบรรลุถึงจุดที่ท่านบรรลุหรือไม่ หรือว่าทางเหล่านี้จะกลายเป็นขวากเป็นหนามไปเสียหมด หรือจะกลายเป็นอื่นจากนิยยานิกธรรม ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายดำเนินไปตามทางสายนี้แล้ว ถึงแดนแห่งความเกษม นี่เป็นความสงสัยปฏิปทาฝ่ายเหตุ
ฝ่ายผลก็ให้มีความสงสัยว่า เวลานี้มรรคผลนิพพานจะมีอยู่เหมือนครั้งพุทธกาลหรือไม่ ความสงสัยที่ฝังอยู่ภายในใจทั้งนี้ ไม่สามารถจะระบายให้ผู้หนึ่งผู้ใดฟังได้ เพราะเข้าใจว่าจะไม่มีใครสามารถแก้ไขความสงสัยนี้ให้สิ้นซากไปจากใจได้ จึงเป็นเหตุให้มีความสนใจและมุ่งหวังที่จะพบท่านพระอาจารย์มั่นอยู่เสมอ แม้จะยังไม่เคยพบเห็นท่านมาก่อนเลยก็ตาม แต่เคยได้ยินกิตติศัพท์กิตติคุณของท่านฟุ้งขจรมาจากจังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลานานแล้วว่า ท่านเป็นพระสำคัญรูปหนึ่ง โดยมากผู้ที่มาเล่าเรื่องของท่านให้ฟังนั้น จะไม่เล่าธรรมขั้นอริยภูมิธรรมดา แต่จะเล่าถึงขั้นพระอรหัตภูมิของท่านทั้งนั้น
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 11:53
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จึงเป็นเหตุให้มั่นใจว่า เมื่อเราได้ศึกษาเล่าเรียนให้เต็มภูมิคำสัตย์ของตนที่ตั้งไว้แล้ว อย่างไรเราจะต้องพยายามออกปฏิบัติ และไปอยู่สำนักของท่าน และศึกษาอบรมกับท่าน เพื่อจะตัดข้อข้องใจสงสัยที่ฝังใจอยู่ขณะนี้ให้จงได้ ความสัตย์ที่เคยตั้งต่อตนเองนั้น คือฝ่ายบาลีขอให้จบเพียงเปรียญ ๓ ประโยคเท่านั้น ส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชั้นก็ไม่ถือเป็นปัญหา พอสอบเปรียญได้ ๓ ประโยคแล้ว จะออกปฏิบัติโดยถ่ายเดียว จะไม่ยอมศึกษาและสอบประโยคต่อไปเป็นอันขาด นี่เป็นคำสัตย์ที่เคยตั้งไว้ ฉะนั้น การศึกษาเล่าเรียนจึงมุ่งเพื่อเปรียญ ๓ ประโยค แต่จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วอย่างไรก็ไม่ทราบได้ การสอบเปรียญตกอยู่ถึง ๒ ปี ปีที่สามจึงสอบได้ แม้ฝ่ายนักธรรมที่เรียนและสอบยังไม่จบชั้นก็พลอยได้ตามกันไปจนจบชั้น เพราะเรียนและสอบควบกันไป
พอเดินทางไปถึงจังหวัดเชียงใหม่ก็เผอิญท่านพระอาจารย์มั่น ถูกท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ จังหวัดอุดรธานี อาราธนานิมนต์ท่านให้ไปพักจำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ท่านกำลังออกเดินทางออกจากที่วิเวกมาพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ไล่เลี่ยกันกับทางนี้ไปถึง พอได้ทราบว่า ท่านมาพักอยู่วัดเจดีย์หลวงเท่านั้นก็เกิดความยินดีเป็นล้นพ้น ตอนเช้าไปบิณฑบาตกลับมาได้ทราบจากพระเล่าให้ฟังว่า เช้านี้ท่านพระอาจารย์มั่นออกบิณฑบาตสายนี้และกลับมาทางเดิม ดังนี้ก็ยิ่งเป็นเหตุให้มีความสนใจใคร่อยากจะพบเห็นท่านมากขึ้น จะไม่พบซึ่ง ๆ หน้าก็ตาม แต่ขอให้พบเห็นท่านจะเป็นที่พอใจ ก่อนที่ท่านจะออกเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี
พอวันรุ่งขึ้นเช้าก่อนท่านออกบิณฑบาต เราก็รีบไปบิณฑบาตแต่เช้าก่อนท่าน แล้วกลับมาถึงกุฎี ก็คอยสังเกตตามเส้นทางที่ท่านจะผ่านมา ตามที่ได้สอบถามกับพระไว้แล้ว ไม่นานก็เห็นท่านมา จึงรีบเข้าไปในห้องกุฎี แล้วค่อยสอดสายตาออกดูท่านภายในห้องอย่างลับ ๆ ด้วยความหิวกระหายอยากพบท่านมาเป็นเวลานาน ก็ได้เห็นท่านมาจริง ๆ เกิดความเลื่อมใสในท่านขึ้นอย่างเต็มที่ในขณะนั้น ว่าเราไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ทั้งชาติ ได้เห็นพระอรหันต์ในคราวนี้เสียแล้ว ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครบอกว่าท่านพระอาจารย์มั่นเป็นพระอรหันต์ แต่ใจเรามันหยั่งเชื่อแน่วแน่ลงไปอย่างนั้น พร้อมทั้งความปีติยินดี จนขนพองสยองเกล้าอย่างบอกไม่ถูกในขณะที่ได้เห็นท่าน ทั้ง ๆ ที่ท่านก็ไม่ได้มองเห็นเราด้วยตาเนื้อ
คราวนั้นท่านพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงไม่กี่วัน ก็ออกเดินทางมาจังหวัดอุดรธานีกับคณะลูกศิษย์ของท่าน ส่วนเราพยายามเรียนหนังสืออยู่ที่วัดเจดีย์หลวง พอสอบเปรียญได้ก็เข้าไปกรุงเทพฯ เพื่อมุ่งหน้าออกปฏิบัติกรรมฐานตามคำสัตย์ที่ตั้งไว้ แต่ถูกผู้ใหญ่สั่งให้อยู่ที่นั่นด้วยความเมตตา หวังอนุเคราะห์ทางด้านปริยัติ พยายามหาทางหลีกออกเพื่อปฏิบัติตามความตั้งใจและคำสัตย์ที่ตั้งไว้แล้ว เพราะคิดว่าคำสัตย์ได้สิ้นสุดแล้วในขณะที่สอบเปรียญได้ เราจะเรียนและสอบประโยคต่อไปอีกไม่ได้โดยเด็ดขาด ตามปกตินิสัยรักความสัตย์มาก ถ้าได้ตั้งคำสัตย์ลงคราวไหนแล้วจะไม่ยอมทำลายคำสัตย์นั้น แม้ชีวิตก็ไม่รักเท่าคำสัตย์ นี่อย่างไรจะพยายามออกปฏิบัติให้จนได้
เผอิญในระยะนั้น พระผู้ใหญ่ที่เป็นอาจารย์ถูกนิมนต์ไปต่างจังหวัด เราก็พอมีโอกาสปลีกตัวออกจากกรุงเทพฯได้ในเวลานั้น หากว่าท่านยังอยู่ที่นั้นจะหาทางออกยาก เพราะท่านก็เป็นเจ้าบุญเจ้าคุณเหนือกระหม่อมเราอยู่ อาจจะเกรงอกเกรงใจท่าน และหาทางออกได้ยาก พอเห็นเป็นโอกาสดีตอนกลางคืนก็เข้านั่งตั้งสัจจาธิษฐาน ขอบันดาลจากพระธรรม เพื่อเป็นการสนับสนุนความแน่ใจในการออกคราวนี้ เมื่อทำวัตรสวดมนต์เสร็จแล้ว ในคำอธิษฐานนั้นมีความมุ่งหมายว่า ถ้าจะได้ออกปฏิบัติกรรมฐานตามที่ได้ตั้งคำสัตย์โดยความสะดวกด้วย ออกไปแล้วจะได้สมความปรารถนาด้วย ขอให้นิมิตที่แปลกประหลาดแสดงขึ้นในคืนวันนี้ จะแสดงขึ้นทางด้านภาวนาหรือด้านคำฝันก็ได้ แต่ถ้าจะไม่ได้ออกปฏิบัติก็ดี ออกไปแล้วไม่สมหวังก็ดี นิมิตที่แสดงขึ้นมานั้นขอจงแสดงเหตุที่ไม่สมหวังและไม่เป็นที่พอใจ แต่ถ้าเป็นด้วยความสมหวังเมื่อออกไปแล้ว ขอให้เป็นนิมิตที่แปลกประหลาดและอัศจรรย์ยิ่งแสดงขึ้นมาในคืนวันนี้
จากนั้นก็นั่งภาวนาต่อไปก็ไม่ปรากฏว่ามีนิมิตใด ๆ มาผ่านในระยะที่นั่งอยู่เป็นเวลานาน ก็หยุดและพักผ่อน ขณะที่หลับลงไปปรากฏว่า ได้เหาะขึ้นไปบนอากาศสูง และในขณะที่เหาะนั้น ได้เหาะขึ้นจากพระนครหลวง แต่ไม่ใช่พระนครหลวงกรุงเทพฯ เรา จะเป็นนครหลวงอะไรก็ไม่ทราบ กว้างสุดสายหูสายตาและเป็นนครหลวงที่สวยงามมาก เหาะรอบพระนครนั้นสามรอบ แล้วก็กลับลงมา พอกลับลงมาถึงที่ก็ตื่นขึ้นมา เป็นเวลาสี่นาฬิกาพอดี จึงรีบลุกจากที่นอนด้วยความรู้สึกอิ่มเอิบภายในอกในใจ เพราะขณะที่เหาะไปรอบ ๆ พระนครหลวงนั้น ได้เห็นสิ่งที่แปลกประหลาดและอัศจรรย์หลายประการ ซึ่งไม่สามารถจะนำมาพรรณนาให้ฟังโดยทั่วถึงได้
ขณะที่ตื่นขึ้นมาก็ตื่นด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใสและยินดีในนิมิตเป็นอันมาก ทั้งเกิดความคิดขึ้นในเวลานั้นว่า อย่างไรเราต้องสมหวังแน่นอน เพราะนิมิตประเภทอัศจรรย์เช่นนี้ เราไม่เคยปรากฏตั้งแต่กาลไหน ๆ มา เพิ่งจะมาปรากฏในคืนวันนี้เท่านั้น ทั้งสมกับเจตนาที่เราตั้งไว้ในคำอธิษฐานด้วย คืนนี้รู้สึกเป็นของอัศจรรย์ยิ่งในนิมิตของเรา พอฉันจังหันเสร็จก็ถือโอกาสเข้าไปนมัสการกราบลาพระมหาเถระที่เป็นผู้ใหญ่ในวัดนั้น ท่านก็ยินดีอนุญาตให้ไปได้ จากนั้นก็ออกเดินทางมาจังหวัดนครราชสีมา พักจำพรรษาที่อำเภอจักราช เริ่มทำสมาธิภาวนาก็รู้สึกแปลกประหลาดทางด้านจิตใจได้รับความสงบเยือกเย็นขึ้นมาเป็นลำดับ และรู้เห็นจิตใจหยั่งลงสู่ความสงบประจักษ์ใจ
ระยะต่อมาพระผู้ใหญ่จะให้เข้าไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ อีก และท่านอุตส่าห์เมตตาตามมาสั่ง แล้วก็เลยไปต่างจังหวัด ขากลับมาท่านจะให้ไปกรุงเทพฯด้วย เรารู้สึกอึดอัดใจ จากนั้นเราก็เดินทางมาจังหวัดอุดรธานี เพื่อตามหาท่านพระอาจารย์มั่น ใจที่มีความเจริญในทางด้านสมาธิ ก็ปรากฏว่าเสื่อมลงที่บ้านตาดซึ่งเป็นบ้านเกิดของตน การเสื่อมทั้งนี้เนื่องจากการทำกลดคันหนึ่งเท่านั้น และการมาอยู่บ้านตาดก็ยังไม่ถึงเดือนเต็ม จิตรู้สึกเข้าสมาธิไม่ค่อยสนิทดีเหมือนที่เคยเป็นมา บางครั้งเข้าสงบได้ แต่บางครั้งเข้าไม่ได้ พอเห็นท่านไม่ดี จะฝืนอยู่ไปก็ต้องขาดทุน จึงรีบออกจากที่นั้นทันทีไม่ยอมอยู่
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 11:53
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การจากนครราชสีมามาจังหวัดอุดรคราวนี้ จุดประสงค์ก็เพื่อจะมาให้ทันท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์ อุดรธานี แต่ก็มาไม่ทันท่าน เพราะท่านถูกนิมนต์ไปจังหวัดสกลนครเสียก่อน จึงเลยไปพักอยู่ที่วัดทุ่งสว่าง จังหวัดหนองคาย ประมาณสามเดือนกว่า พอถึงเดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ ก็ออกเดินทางจากหนองคายไปจังหวัดสกลนคร และเดินทางต่อไปถึงวัดท่านพระอาจารย์มั่น ที่ตั้งอยู่บ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พอไปถึงวัดพบท่านกำลังเดินจงกรมอยู่เวลาโพล้เพล้ (จวนมืด) ท่านก็ถามว่า “ใครมา” ก็กราบเรียนถวายท่าน จากนั้นท่านก็ออกจากทางจงกรมขึ้นไปบนศาลา เพราะท่านพักอยู่ในห้องบนศาลานั้น ท่านก็ทักทายปราศรัยด้วยความเมตตา และเอ็นดูคนที่แสนโง่ไปหาท่าน และได้แสดงธรรมให้ฟัง
ในบทธรรมที่ท่านแสดงให้ฟังในคืนวันที่ไปถึงทีแรกนั้น จะนำใจความย่อเท่าที่จำได้มาเล่าให้ท่านผู้ฟังทราบ และเป็นบทธรรมที่ฝังลึกอยู่ภายในใจจนบัดนี้ว่า “ท่านมหาก็นับว่าเรียนมาพอสมควร จนปรากฏนามเป็นมหา ผมจะพูดธรรมให้ฟังเพื่อเป็นข้อคิด แต่อย่าเข้าใจว่าผมประมาทธรรมของพระพุทธเจ้านะ เวลานี้ธรรมที่ท่านเรียนมาได้มากได้น้อย ยังไม่อำนวยประโยชน์ให้ท่านสมภูมิที่เป็นเปรียญ นอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อการภาวนาของท่านในเวลานี้เท่านั้น เพราะท่านจะอดเป็นกังวล และนำธรรมที่เรียนมานั้นเข้ามาเทียบเคียงไม่ได้ ในขณะที่ทำใจให้สงบ
ดังนั้นเพื่อความสะดวกในเวลาจะทำความสงบให้แก่ใจ ขอให้ท่านที่จะทำใจให้สงบยกบูชาไว้ก่อน ในบรรดาธรรมที่ท่านได้เรียนมา ต่อเมื่อถึงกาลที่ธรรมซึ่งท่านเรียนมาจะเข้ามาช่วยสนับสนุนให้ท่านได้รับประโยชน์มากขึ้นแล้ว ธรรมที่เรียนมาทั้งหมดจะวิ่งเข้ามาประสานกันกับทางด้านปฏิบัติ และกลมกลืนกันได้อย่างสนิท ทั้งเป็นธรรมแบบพิมพ์ ซึ่งเราควรจะพยายามปรับปรุงจิตใจให้เป็นไปตามด้วย แต่เวลานี้ผมยังไม่อยากจะให้ท่านเป็นอารมณ์กับธรรมที่ท่านเล่าเรียนมา อย่างไรจิตจะสงบลงได้ หรือจะใช้ปัญญาคิดค้นในขันธ์ ก็ขอให้ท่านทำอยู่ในวงกายนี้ก่อน
เพราะธรรมในตำราท่านชี้เข้ามาในขันธ์ทั้งนั้น แต่หลักฐานของจิตยังไม่มี จึงไม่สามารถนำธรรมที่เรียนมาจากตำรา น้อมเข้ามาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ และยังจะกลายเป็นสัญญาอารมณ์คาดคะเนไปที่อื่น จนกลายเป็นคนไม่มีหลัก เพราะจิตติดปริยัติในลักษณะไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า ขอให้ท่านนำธรรมที่ผมพูดให้ฟังไปคิดดู ถ้าท่านตั้งใจปฏิบัติไม่ท้อถอย วันหนึ่งข้างหน้าธรรมที่กล่าวนี้จะประทับใจท่านแน่นอน” เท่าที่จำได้ในวันนั้นก็นำมาเล่าให้ฟังเพียงเท่านี้
เรารู้สึกเกิดความเชื่อเลื่อมใสท่านทันที ที่ได้เห็นองค์ของท่านชัดเจนในคืนวันนั้น พร้อมทั้งความเชื่อในธรรมที่ท่านเมตตาแสดงให้ฟัง และท่านก็อนุเคราะห์รับไว้ให้อยู่ในสำนักของท่านตลอดมา เราก็อยู่กับท่านด้วยความพอใจจนบอกไม่ถูก แต่อยู่ด้วยความโง่เง่าอย่างบอกไม่ถูกอีกเหมือนกัน เฉพาะองค์ท่านรู้สึกมีเมตตา ธรรมานุเคราะห์ทุกครั้งที่เข้าไปหา การบำเพ็ญอยู่กับท่านระยะนั้นก็มีแต่ความเจริญกับความเสื่อมทางภายในใจ ไม่ค่อยสงบอยู่คงที่เป็นเวลานาน พรรษาแรกที่อยู่กับท่านเป็นพรรษาที่ ๙ เพราะ ๗ พรรษาศึกษาทางปริยัติ เริ่มออกปฏิบัติได้ขึ้นมาจำพรรษาที่นครราชสีมา ๑ พรรษา
ในพรรษาแรกที่จำอยู่กับท่านมีแต่เจริญกับเสื่อมทางด้านสมาธิ ออกพรรษาแล้วก็ขึ้นบนเขาประมาณสองเดือนกว่า กลับลงมาหาท่านอีก จิตก็มีเจริญกับเสื่อมอยู่เช่นนั้น โดยพิจารณาหาสาเหตุก็ไม่ทราบว่าเสื่อมเพราะเหตุใด ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจบำเพ็ญอยู่อย่างเต็มกำลัง บางคืนไม่ยอมหลับนอนตลอดรุ่งเพราะกลัวจิตจะเสื่อม ถึงอย่างนั้นก็ยังเสื่อมได้ เฉพาะอย่างยิ่งเวลาจิตเริ่มก้าวเข้าสู่ความสงบ ความเพียรก็ยิ่งรีบเร่ง เพราะกลัวจิตจะเสื่อมดังที่เคยเป็นมา แม้เช่นนั้นก็ยังฝืนเสื่อมไปได้ ต่อมาก็เจริญขึ้นอีก แล้วก็เสื่อมลงอีก ความเจริญของจิตนั้นอยู่คงที่ได้เพียงสามวัน จากนั้นก็เสื่อมลงต่อหน้าต่อตา ทำให้เกิดข้อข้องใจและสงสัยเรื่องของความเสื่อมนี้ว่า เสื่อมได้เพราะเหตุใด หรือจะเป็นเพราะเราปล่อยคำบริกรรมภาวนา สติอาจจะเผลอไปได้ในตอนนี้
จึงต้องข้อสังเกตขึ้น แล้วก็ตั้งคำมั่นสัญญาขึ้นอีกว่า ถึงอย่างไรเราจะต้องนำบทบริกรรมมากำกับจิตทุกเวลา ไม่ว่าเข้าสมาธิ ออกสมาธิ ไม่ว่าจะไปที่ไหน อยู่ที่ใด แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัดหรือทำกิจวัตรต่าง ๆ จะไม่ยอมให้สติพลั้งเผลอจากคำบริกรรม คือ พุทโธ เพราะชอบนำเอาบทพุทโธ มาเป็นคำบริกรรมภาวนา คราวนี้เวลาภาวนาจิตสงบลงไป หากว่าความสงบนั้นยังจะนึกคำบริกรรมคือ พุทโธได้อยู่ จะไม่ยอมปล่อยวางคำบริกรรมนั้น แล้วจิตจะเสื่อมไปได้ในทางใดจะต้องรู้กันในตอนนี้ พอตั้งข้อสังเกตและตั้งคำมั่นสัญญาไว้แล้วก็เริ่มบริกรรมภาวนาด้วยบทพุทโธ
เมื่อบริกรรมตามนั้นจิตก็ลงสู่ความสงบได้และได้อย่างรวดเร็ว ต่างจากที่เคยเป็นมา ขณะที่จิตเว้นจากคำบริกรรม จะเว้นเฉพาะขณะที่จิตเข้าสู่ความสงบอย่างสนิท ขณะนั้นจะนึกพุทโธหรือไม่ก็ตาม แต่ความรู้ที่อยู่ในความสงบนั้นปรากฏเป็นพุทโธตายตัวอยู่แล้ว และไม่มีความปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น ตอนนี้หยุดคำบริกรรม พอจิตจะเริ่มขยับตัวถอนขึ้นมา คือ มีอาการกระเพื่อมนิด ๆ ก็รีบจับคำบริกรรมอัดเข้าไปทันที เพื่อให้จิตติดอยู่กับคำบริกรรม ทำเช่นนั้นพร้อมทั้งตั้งความสังเกตว่า จิตจะมีความเสื่อมได้ตอนไหน และทอดอาลัยในความเสื่อมกับความเจริญของจิต จิตจะเสื่อมหรือเจริญไปถึงไหนก็ตาม แต่คำบริกรรมในระยะนี้จะไม่ยอมปล่อยวาง
แม้จิตจะเสื่อมก็ยอมให้เสื่อมไป เพราะการตั้งความอยากไว้ว่าไม่ให้จิตเสื่อมไป แต่ก็เสื่อมไปได้ทั้ง ๆ ที่ไม่อยากให้เสื่อม บัดนี้ความเสื่อมและความเจริญนั้น เราทอดธุระเสียแล้ว จะบังคับจิตให้มีความรู้สึกอยู่กับพุทโธอย่างเดียว เสื่อมกับความเจริญเราจะพยายามให้รู้อยู่กับใจที่มีพุทโธกำกับนี้เท่านั้น ให้รู้กันที่นี่และเห็นประจักษ์กันที่นี่ จะมั่นใจอยู่ที่นี่แห่งเดียว เสื่อมกับเจริญไม่ต้องไปสนใจ ในระยะต่อมาจิตที่เคยเจริญและเสื่อมเป็นลำดับมาก็เลยไม่เสื่อม จึงเป็นเหตุให้รู้เรื่องราวของจิตว่า อ้อ จิตที่เคยเสื่อมบ่อย ๆ นั้น เสื่อมเพราะขาดคำบริกรรม สติคงจะเผลอจากจิตไปในระยะนั้นแน่นอน แต่นั้นมาก็ตั้งคำบริกรรมมาเป็นลำดับ ไปไหนมาไหน อยู่ที่ใดไม่ยอมให้เผลอ เป็นกับตายจะไม่ยอมให้เผลอจากพุทโธ จิตจะเสื่อมไปไหนก็ให้รู้กันที่นี่เท่านั้น ไม่ยอมรับรู้ไปทางอื่น จิตก็เลยตั้งหลักลงได้เพราะคำบริกรรม คือพุทโธ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-11 11:54
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ต่อมาก็เป็นพรรษาที่สองที่ไปอยู่กับท่าน ก่อนจะเข้าพรรษาจิตก็รู้สึกสงบดีและแนบสนิทในทางสมาธิ ความเสื่อมไม่ปรากฏ แต่คำบริกรรมยังไม่ยอมลดละ จนถึงกับนั่งภาวนาได้แต่หัวค่ำตลอดรุ่งโดยไม่เปลี่ยนเป็นอิริยาบถอื่น ในพรรษาที่สองของการไปอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น รู้สึกว่าการนั่งภาวนาตลอดรุ่ง จะถือเป็นสำคัญมากกว่าอิริยาบถอื่นในการบำเพ็ญ ต่อจากนั้นมาก็ค่อยผ่อนลงบ้าง เพราะเห็นว่า ธาตุขันธ์เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ ย่อมมีการชำรุดได้เมื่อไม่รู้จักประมาณ แต่การเร่งความเพียรด้วยวิธีนั่งตลอดรุ่งนี้รู้สึกว่าใจมีกำลังมากกว่าวิธีอื่น ๆ
การรู้เรื่องของทุกขเวทนาที่แสดงขึ้นในขณะนั่งนาน ๆ เช่นนั้น ก็รู้ได้ชัดในระยะนั่งตลอดรุ่งนั้นเอง เพราะทุกขเวทนาที่ปรากฏในระยะนั้น เป็นเวทนาแปลกประหลาดหลายประการ ปัญญาที่จะพิจารณาเพื่อต่อสู้กับทุกขเวทนาก็ทำงานไม่ลดละ จนสามารถเข้าใจในเรื่องเวทนาได้ทุกประเภทในร่างกาย ซึ่งเป็นก้อนทุกข์หมดทั้งร่าง และสามารถสอดรู้ถึงเวทนาของใจ ทั้งเป็นการเสริมสร้างสติปัญญาและความกล้าหาญทางความเพียรได้อีกมากมาย นอกจากนั้นยังมีความกล้าหาญและมั่นใจในอนาคตว่า ทุกขเวทนาที่จะได้แสดงตัวในคราวจะตายนั้น จะต้องเป็นเรื่องของทุกขเวทนาที่กำลังปรากฏและพิจารณารับรู้กันอยู่ในขณะนี้แล จะไม่มีเวทนาตัวไหนจะแปลกประหลาดและต่างหน้าต่างตามาจากที่ไหน ซึ่งจะทำให้เรามีความลุ่มหลงและเผอเรอในเวลาจะตาย จึงเป็นเหตุให้ได้คติขึ้นมาอีกวาระหนึ่ง ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น เมื่อปัญญาพิจารณารอบคอบแล้วก็ดับไปในขณะนั้น จิตก็ลงสู่ความสงบได้อย่างเต็มที่
ในระยะเช่นนี้จะว่าจิตว่างก็ได้อยู่ แต่ว่างในสมาธิ พอจิตถอยออกมา ความว่างก็หายไป จากนั้นก็พิจารณาไปอีกและพิจารณาต่อไปเรื่อย ๆ จนจิตมีความชำนาญในด้านสมาธิ ขอสรุปความให้ย่อลงเพื่อให้พอดีกับเวลา เมื่อสมาธิมีกำลังทางด้านปัญญาก็เร่งพิจารณาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนรู้เห็นชัดและสามารถถอดถอนอุปาทานของกายได้โดยสิ้นเชิง จากนั้นจิตก็จะเริ่มว่าง แต่ยังไม่แสดงความว่างอย่างเต็มที่ ยังมีนิมิตภายในแสดงภาพปรากฏอยู่กับใจ เพราะในระยะนี้ใจว่างจากกายและวัตถุภายอก แต่ยังไม่ว่างจากนิมิตภายในของตัวเอง จนกว่าจะมีความชำนาญโดยอาศัยการฝึกซ้อมไม่ลดละ นิมิตภายในใจก็นับวันจางไป
สุดท้ายก็หมด ไม่ปรากฏนิมิตทั้งภายนอกภายในใจ นั่นท่านก็เรียกว่าจิตว่าง ว่างชนิดนี้เป็นเรื่องว่างประจำนิสัยของจิต ที่มีภูมิธรรมประจำขั้นแห่งความว่างของตน นี่ไม่ใช่ว่างสมาธิ และไม่ใช่ว่างในขณะที่นั่งสมาธิ ขณะที่นั่งสมาธิเป็นความว่างของสมาธิ แต่จิตที่ปล่อยวางจากร่างกายเพราะความรู้รอบด้วยนิมิตภายในก็หมดสิ้นไป เพราะอำนาจของสติปัญญารู้เท่าทันด้วย นี่แลชื่อว่าว่างตามฐานะของจิต เมื่อถึงขั้นนี้แล้วจิตว่างจริง ๆ แม้กายจะปรากฏตัวอยู่ก็สักแต่ความรู้สึกว่ากายมีอยู่เท่านั้น แต่ภาพแห่งกายหาได้ปรากฏเป็นนิมิตภายในจิตไม่ ว่างเช่นนี้แลเรียกว่า ว่างตามภูมิของจิต และมีความว่างอยู่อย่างนี้ประจำ ถ้าว่างเช่นนี้ว่าเป็นนิพพาน ก็เป็นนิพพานของผู้นั้น หรือของจิตชั้นนั้น แต่ยังไม่ใช่นิพพานว่างของพระพุทธเจ้า
ถ้าผู้จะถือสมาธิเป็นความว่างของนิพพาน ในขณะจิตที่ลงสู่สมาธิก็เป็นนิพพานของสมาธิแห่งโยคาวจรผู้ปฏิบัติผู้นั้นเสียเท่านั้น ความว่างทั้งสองประเภทที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เป็นนิพพานว่างของพระพุทธเจ้า เพราะเหตุใด เพราะจิตที่มีความว่างในสมาธิ จำต้องพอใจและติดในสมาธิ จิตที่มีความว่างตามภูมิของจิตจำต้องมีความดูดดื่มและติดใจในความว่างประเภทนี้ จำต้องถือความว่างนี้เป็นอารมณ์ของใจจนกว่าจะผ่านไปได้ ถ้าผู้ถือความว่างนี้ว่าเป็นนิพพาน ก็เรียกว่าผู้นั้นติดนิพพานในความว่างประเภทนี้โดยเจ้าตัวไม่รู้ เมื่อเป็นเช่นนี้ความว่างประเภทนี้จะจัดว่าเป็นนิพพานได้อย่างไร
ถ้าไม่ต้องการนิพพานขั้นนี้ ก็ควรกาง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกตรวจตราดูให้ชัดเจนและละเอียดถี่ถ้วน เพราะความว่างที่กล่าวนี้เป็นความว่างของเวทนา คือสุขเวทนามีเต็มอยู่ในความว่างนั้น สัญญาก็หมายว่าง สังขารก็ปรุงแต่เรื่องความว่างเป็นอารมณ์ วิญญาณก็ช่วยรับรู้ทางภายใน ไม่เพียงจะรับรู้ภายนอก เลยกลายเป็นนิพพานของอารมณ์ ถ้าพิจารณาสิ่งเหล่านี้ให้ชัดและความว่างให้ชัด โดยเห็นเป็นเรื่องของสังขารธรรม คือสิ่งผสมนั่นแล จะมีช่องทางผ่านไปได้ในวันหนึ่งแน่นอน เมื่อพิจารณาตามที่กล่าวนี้ ขันธ์ทั้งสี่และความว่างซึ่งเป็นสิ่งปิดบังความจริงไว้ ก็จะค่อยเปิดเผยตัวออกมาทีละเล็กละน้อย จนปรากฏได้ชัด จิตย่อมมีทางสลัดตัวออกได้
แม้ฐานที่ตั้งของสังขารธรรมที่เต็มไปด้วยสิ่งผสมนี้ ก็ทนต่อสติปัญญาไม่ได้เพราะเป็นสิ่งเกี่ยวโยงกัน สติปัญญาประเภทค้นแร่แปรธาตุจะฟาดฟันเข้าไป เช่นเดียวกับไฟได้เชื้อลุกลามไปไม่หยุด จนกว่าจะขุดรากเหง้าของธรรมผสมนี้ขึ้นได้เสียเมื่อใด เมื่อนั้นจึงจะหยุดการรุกการรบ เวลานี้มีอะไรที่เป็นข้าศึกต่อนิพพานว่างตามแบบของพระพุทธเจ้า คือสิ่งที่ติดใจอยู่ในขั้นนี้และขณะนี้แลเป็นข้าศึก สิ่งที่ติดใจก็ได้แก่ความถือว่าใจของเราว่างบ้าง สบายบ้าง ใสสะอาดบ้าง ถ้าจะเห็นว่าใจมันว่างแต่มันอยู่กับความไม่ว่าง ใจมันเป็นสุข แต่มันอาศัยอยู่กับทุกข์ ใจใสสะอาด แต่มันอยู่กับความเศร้าหมองโดยไม่รู้สึกตัว ความว่าง ความสุข ความใส นั่นแลเป็นธรรมปิดบังตัวเอง เพราะธรรมทั้งนี้คือ เครื่องหมายของภพชาติ
ผู้ต้องการตัดภพชาติจึงควรพิจารณาให้รู้เท่าและปล่อยวางสิ่งเหล่านี้ อย่าหวงไว้เพื่อก่อไฟเผาตัว ถ้าปัญญาขุดค้นลงตรงที่สามจอมกษัตริย์แห่งภพปรากฏอยู่ นั้นแลจะถูกองค์การใหญ่ของภพชาติและจะขาดกระเด็นออกจากใจทันที ที่ปัญญาหยั่งลงถึงฐานของเขาตั้งอยู่ เมื่อสิ่งทั้งนี้สิ้นไปแล้วเพราะอำนาจของปัญญา นั้นแลเป็นความว่างอันหนึ่ง เครื่องหมายของสมมุติใด ๆ จะไม่ปรากฏในความว่างนั้นเลย นี่คือความว่างที่ผิดกับความว่างที่ผ่านมาแล้ว ความว่างประเภทนี้ เราจะว่าเป็นความว่างของพระพุทธเจ้าหรือความว่างของใครนั้น ผู้แสดงไม่สามารถจะเรียนให้ทราบได้ว่าจะควรเป็นความว่างของใคร นอกจากจะเป็นความว่างที่รู้เห็นกันอยู่ด้วยสันทิฏฐิโกของผู้บำเพ็ญเท่านั้น
ความว่างอันนี้ไม่มีกาลสมัย เป็นอกาลิโกอยู่ตลอดกาล ความว่างในสมาธิมีความเปลี่ยนแปลงไปได้ ทั้งด้านความเจริญและความเสื่อม ความว่างในขั้นอรูปธรรม ซึ่งกำลังเป็นทางเดินก็แปรสภาพหรือผ่านไปได้ แต่ความว่างในตนเองโดยเฉพาะนี้ ไม่มีความเปลี่ยนแปลง เพราะตนไม่มีอยู่ในความว่างนั้น และไม่ถือความว่างนั้นว่าเป็นตน นอกจาก ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ เห็นตามเป็นจริงในหลักธรรมชาติแห่งความว่างนั้น และเห็นตามเป็นจริงในสภาวธรรมที่ผ่านมาเป็นลำดับ และที่มีอยู่ทั่วไปเท่านั้น แม้ศีล สมาธิ ปัญญาซึ่งเป็นธรรมเครื่องแก้ไขก็รู้เท่าและปล่อยวางไว้ตามเป็นจริง ไม่มีสิ่งใดจะเข้าไปแฝงอยู่ในธรรมชาติแห่งความว่างในวาระสุดท้ายนั้นเลย
ท่านนักใจบุญทุกท่าน โปรดนำความว่างทั้งสามประเภทนี้ไปพิจารณา และพยายามบำเพ็ญตนให้เข้าถึงความว่างทั้งสามนี้ เฉพาะอย่างยิ่งความว่างในวาระสุดทายซึ่งเป็นความว่างในหลักธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดและสมมุติใด ๆ อาจเอื้อมเข้าไปทำการเกี่ยวข้องได้อีกต่อไป ความสงสัยนับแต่ขั้นต้นแห่งธรรม จนถึงความว่างอย่างยิ่ง จะเป็นปัญหาที่ยุติกันลงได้ ด้วยความรู้ความเห็นของตนเป็นผู้ตัดสินเอง
ดังนั้น ในอวสานแห่งธรรมโดยเริ่มแสดงเรื่องความโง่ของตน ให้ท่านผู้ฟังทุกท่านทราบเป็นลำดับ จนเตลิดมาถึงความว่างในวาระสุดท้าย ซึ่งเป็นธรรมออกจะสุดวิสัยของผู้แสดงที่อธิบายให้ยิ่งไปกว่านั้นอีกไม่ได้ จึงขอยุติลงโดยเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอความสุขความสำราญจงมีแก่ท่านผู้ฟังโดยถ้วนหน้ากันเทอญฯ
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1978&CatID=9
.........................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=45071
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
sriyan3
sriyan3
ออฟไลน์
เครดิต
2969
5
#
โพสต์ 2014-6-24 11:40
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุ ขอบคุณคร้าบ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...