ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระองค์ที่ ๘ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
1
2
3
4
/ 4 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: kit007
พระองค์ที่ ๘ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
31
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 11:44
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-6-7 11:46
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
ทรงประทับหน้าใบเสมาพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงฉายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ
• การศึกษาปริยัติธรรมในวัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหารได้ส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลีมาตั้งแต่เริ่มมีวัดนี้
โดยเฉพาะในยุคที่
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงครองวัด
กล่าวกันว่าทรงเน้นให้ศึกษาอย่างเข้มงวด
จนกระทั่งว่าศิษยานุศิษย์ของพระองค์สามารถสนทนาภาษาบาลีได้เพราะ
ทรงจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาบาลีแก่พระภิกษุสามเณรภายในวัด
อย่างแตกฉานเพื่อให้สามารถอ่านคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฯลฯ
ได้จากต้นฉบับใบลาน หลังจากนั้น เป็นต้นมา
วัดบวรนิเวศวิหารก็ได้เป็นสดมภ์หลักในการตรวจชำระคัมภีร์ใบลานภาษาบาลี
แล้วจัดพิมพ์ออกมาในรูป
พระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา
ฯลฯ
ออกมาเผยแผ่ไปทั่วประเทศ ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานของคณะศิษยานุศิษย์
ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทั้งนั้น
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
มีการกล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
ระหว่างทรงผนวช ในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร เล่ม ๑ หน้า ๒๒ ว่า
ทรงทำนุบำรุงการเรียนพระปริยัติธรรมให้รุ่งเรือง
ทรงบอกพระปริยัติธรรมเอง มีภิกษุสามเณรเป็นศิษย์เข้าแปลในสนามหลวง
ได้เป็นเปรียญประโยคสูงถึงประโยค ๙ ก็มีหลายรูป พระสำนักอื่นมาขอเรียนบ้างก็มี
ทรงเป็นหลักอยู่ในการไล่หนังสือพระองค์หนึ่ง
ครั้งนั้น พระเปรียญพูดมคธได้คล่อง
มีพระลังกาเข้ามาจึงต้องทรงมีหน้าที่เป็นผู้รับรองในราชการ
มีคณะไว้สำหรับพระลังกาที่วัด
วัดบวรนิเวศวิหารเคยมีชื่อเสียงโด่งดังด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมมาก
สามเณรสา ปุสฺสเทโว
หรือ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
ในกาลต่อมา
ผู้สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ถึง ๒ ครั้ง ก็เคยอยู่วัดแห่งนี้
ครั้งแรกเมื่อสอบได้เปรียญ ๙ ประโยค ยังเป็นสามเณรสา ที่วัดราชาธิวาสวิหาร
ครั้งที่ ๒ มาสอบได้เปรียญ ๙ ประโยคอีกครั้ง ที่วัดบวรนิเวศวิหารนี้เอง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
32
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 11:46
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ผู้ทรงเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาและภาษาบาลี
ก็เคยทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร
ระหว่างทรงครองวัดในฐานะเจ้าอาวาส
พระองค์ก็ทรงจัดพิมพ์ตำรับตำราภาษาบาลีมากมาย
ระยะหลังมีประชาชนจำนวนมากมีศรัทธาเลื่อมใสเข้ามาบวช
อยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารระยะสั้นตลอดทั้งปี
เนื่องจากวัดบวรนิเวศวิหารรับภาระในการจัดอบรมหลักสูตรนวกะระยะสั้น
เสียเป็นส่วนมาก ดังนั้นเสนาสนะจึงค่อนข้างจำกัด
ในที่สุด วัดบวรนิเวศวิหารจึงหันมาเน้นให้การศึกษาอบรมแก่ผู้บวชระยะสั้น
ทั้งในพรรษาและนอกพรรษา ปริมาณผู้สอบเปรียญบาลีสูงๆ ได้จึงลดลงมาก
พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ประดิษฐาน ณ ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร
แต่ในยุคสมัยที่
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบันทรงครองวัด พระองค์ได้ทรงแต่งตั้ง
พระพรหมมุนี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ. ๙)
เป็นผู้อำนวยการสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อดูแลการศึกษาพระปริยัติธรรม
และก็มีพระภิกษุสามเณรสอบเปรียญธรรมได้ทุกๆ ปีไม่เคยขาด
โดยมีวัดธรรมยุตอีกประมาณ ๙ วัดขึ้นกับสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
อาทิ
วัดดวงแข, วัดเขมาภิรตาราม, วัดบวรมงคล, วัดตรีทศเทพ,
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม, วัดบุรณศิริมาตยาราม
ฯลฯ
นอกจากนั้น ในยุคสมัยของพระองค์ยังมีผู้สอบเปรียญ ๙ ประโยคได้
ขณะยังเป็นสามเณรและได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็นนาคหลวง
อุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง จำนวน ๒ รูป คือ
สามเณรปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ และสามเณรฉัตรชัย มูลสาร
โดย
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์
และจัดงานมุทิตาเนื่องในวันประสูติของพระองค์แก่สามเณรทั้งสองรูป
พระแท่นที่บรรทมสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
33
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 11:48
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทัศนียภาพวัดบวรนิเวศวิหาร
• วัดบวรนิเวศวิหารกับงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
วัดบวรนิเวศวิหารได้เป็นที่มั่นที่สำคัญ
ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งปริยัติและปฏิบัติ
ในฝ่ายปฏิบัตินั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสร้างวัดอีกวัดหนึ่ง
คู่กับวัดบวรนิเวศวิหาร คือ
“วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร”
ไว้เป็นสถานที่สำหรับฝึกวิปัสสนาจารย์โดยเฉพาะ
ในกรณีที่ศิษยานุศิษย์ของพระองค์ประสงค์จะฝึก
ต่อมา วัดบรมนิวาสแห่งนี้ยังกลายเป็นวัดที่พระวิปัสสนาจารย์รุ่นแรกๆ
อาทิ
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
เป็นต้น
ได้มาพำนักอาศัยและศึกษาเพิ่มเติม
จนกลายเป็นพระวิปัสสนาจารย์สายวัดป่าที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ
ด้วยเหตุนี้พระป่าสายธรรมยุตจึงยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ว่า
เป็นผู้วางรากฐานการปฏิบัติสายพระป่าไว้อย่างมั่นคง
เพราะทรงเน้นศิษยานุศิษย์ของพระองค์ที่อยู่วัดบวรนิเวศวิหาร
และอยู่ที่วัดบรมนิวาสให้มีศีลสิกขาอย่างเคร่งครัดก่อนจะลงมือปฏิบัติ
หมายความว่ามีความรู้ปริยัติที่ถูกต้องก่อนลงมือปฏิบัตินั่นเอง
ส่วนฝ่ายปริยัตินั้น วัดบวรนิเวศวิหารก็มีการอบรมทั้งพระนวกะ
และผู้ประสงค์จะศึกษาภาษาบาลีระยะยาวอยู่ทุกๆ ปี
ปัจจุบันนี้ วัดบวรนิเวศวิหารยังขยายการเผยแผ่ไปยังต่างประเทศ
โดย
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
ทรงกระตุ้นให้เกิดการแปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
เป็นภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นมากมาย ทำให้หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษา
มีการเผยแผ่ไปยังต่างประเทศด้วย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
34
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-7 11:49
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตำราที่พระองค์ทรงบุกเบิกให้แปลเป็นภาษาอังกฤษนั้นมีจำหน่ายที่
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
นอกจากนั้น วัดบวรนิเวศวิหารยังเป็นที่ตั้งสำนักงานของ
มูลนิธิแผ่นดินธรรม
ซึ่งผลิตรายการธรรมะออกเผยแผ่พุทธธรรม
ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๐๖.๓๐-๗.๐๐ น. และทุกวันพฤหัสบดี
เวลา ๑๔.๐๐-๑๔.๓๐ น. ทางโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๕
อีกทั้งยังเป็นสำนักงานที่ตั้งของ
ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมและพิทักษ์พระพุทธศาสนาอีกด้วย
น้ำพุด้านข้างพระตำหนักเพ็ชร
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
หมายเหตุ : โปรดติดตามอ่าน
๑. ประวัติและความสำคัญของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=21082
๒. ประวัติมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=20842
๓. วัดประจำรัชกาลที่ ๖ : วัดบวรนิเวศวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19342
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
หนังสือชุดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ :
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์)
วัดบวรนิเวศวิหาร, สุเชาวน์ พลอยชุม เรียบเรียง, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
http://www.dharma-gateway.com/
http://mahamakuta.inet.co.th/
http://www.mbu.ac.th/
http://www.watbowon.org/
http://www.watbowon.com/
กระทู้ในบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13428
.....................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=26031
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
35
#
โพสต์ 2014-6-7 18:53
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
1
2
3
4
/ 4 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...