|
ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่นานถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน
ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตกคือ
ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาสสวนมิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่
พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่
เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวงที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้
แม้การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕
เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใดๆ
เกร็ดประวัติศาสตร์ของการสถาปนาและการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดโพธิ์ แห่งนี้
บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๑ และที่ ๓ ขุนนาง เจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่
ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่างวังหลวง ช่างวังหน้า
และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ
ได้ทุ่มเทผลงานสร้างสรรค์พุทธสถานและสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ในวัดพระอารามหลวง
ด้วยพลังศรัทธาตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์
สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก)
ที่รวบรวมเอาภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กันอย่างไม่รู้จบสิ้น
จักรพันธุ์ โปษยกฤต จิตรกรชื่อดังของไทยกล่าวไว้ในหนังสือ
“โบสถ์วัดโพธิ์” เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า
“ศิลปศาสตร์ในวัดโพธิ์ จึงเสมือนโอฆะแห่งวิชา
ที่สามารถตักตวงได้ ยังประโยชน์แก่กุลบุตร กุลธิดา
ให้อุดมสมบูรณ์อลังการด้วยปัญญาอยู่มิรู้เหือดแห้ง”
* หมายเหตุ : อักขรวิธีตามต้นฉบับ
พระพุทธรูปเก่าแก่ที่พระระเบียงรอบพระอุโบสถ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
หนังสือชุดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ :
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, สุเชาวน์ พลอยชุม เรียบเรียง, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑. http://www.dharma-gateway.com/
http://mahamakuta.inet.co.th/
http://www.mbu.ac.th/
http://www.watpho.com/
กระทู้ในบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13344
...........................................................................................
ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=29889
|
|