ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3405
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ชูสามนิ้วสื่อความหมายอะไรใน The Hunger Games

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-6-5 11:53












ตัวอย่างหนังซับไทย The Hunger Games:Catching Fire (เกมล่าเกม 2: แคชชิ่ง ไฟเออร์)
หลังจาก แคตนิส เอฟเวอร์ดีน (Jennifer Lawrence) และพีต้า เมลลาร์ก (Josh Hutcherson)
พิชิตเกมล่าชีวิต นับว่าเป็นการพลิกประวัติศาสตร์ของเกมล่าชีวิตที่ดำเนินต่อเนื่องมาถึง 74 ปีเต็ม
การกระทำของเธอ เป็นการท้าทายอำนาจของ "แคปิตอล" ทำให้ผู้คนในเขตต่างๆ
ได้ตระหนักถึงพลังของตนเอง ซึ่งสร้างความไม่ไพอใจแก่ประธานาธิบดีสโนว์
ดังนั้นจึงได้วางแผนการอันล้ำลึกและโหดเหี้ยมอย่างที่ใครก็คาดไม่ถึง


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 11:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 12:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ภาพยนตร์เรื่องนี้โยนประเด็นชวนให้คิด ให้ถกเถียงแบบไม่ต้องเหนียม
ไม่ต้องแฝง หรือซ่อนปมเอาไว้ในเนื้อหาแบบที่ทำกันมาก่อนหน้านี้

เหตุการณ์ในเรื่องล้วนสะท้อนความบิดเบี้ยวของโครงสร้างทางสังคมในประเทศ (รัฐ) สมมุติที่มี 12 เขตปกครอง(District)


ผู้กำกับภาพยนตร์ แกรี่ รอส (Gary Ross) จงใจฉายภาพความพิลึก พิกล ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังภาพสวยงามและความสมบูรณ์แบบ ของผู้คนในแคปิตอล เมืองหลวง ศูนย์กลางที่ควบคุมปกครองอีก 12 เขต ด้วยพฤติกรรมเวอร์ เฟค ฯลฯ เช่นเดียวกับอาร์ตไดเร็กชั่นของสิ่งปลูกสร้าง เสื้อผ้า หน้า ผม ของผู้คนในเมืองสมบูรณ์แบบแห่งนั้น?
ซึ่งก็ชวนคิดอีกนั่นแหละว่า โลกจริงแท้ที่เราอยู่วันนี้ก็มีระยะห่างจาก แคปิตอล ในภาพยนตร์ไม่มากเท่าไหร่นักแล้วกระมัง (รักที่จะแต่งตัวแบบยูนีค ยูนีคมันซะทุกคนไปเล้ยยย, เสพและอินกับสื่อ เรื่องจริงผ่านจอ เกมเรียลลิตี้ ฯลฯ)


พล็อตเรื่องหลัก (ที่มักถูกค่อนขอดว่าเหมือน BR) นั่นคือ ทั้ง 12 เขตจะมีผู้ถูกเลือก 1 คู่เป็นตัวแทน หรือเรียกว่า Tributes-เครื่องบรรณาการ ไปแข่งกันใน Hunger Games

คนสุดท้ายจากทั้งหมด 24 คนที่เอาชีวิตรอดมาได้หรือเก่งกว่า ฆ่าคนอื่นตายหมดก็จะเป็นผู้ชนะ ได้รางวัลมหาศาล เป็นหน้าเป็นตาของ "เขต" ที่พวกเขาเป็นตัวแทน


ผู้คนทั้ง 12 เขตเกลียดกลัวการถูกเลือก-บังคับให้มาแข่งขัน เสมือนถูกเลือกให้มาตาย แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นรายการถ่ายทอดสดที่คนชอบดู ติดตามกันหน้าสลอน เชียร์กลุ่มพวกของตัวเองอย่างครึกครื้น


ทั้งหลายทั้งปวงของเกม (ซึ่งมีส่วนผสมทั้ง BR, Lost, Survival ฯลฯ) เร้าใจด้วยการเล่นจริง เจ็บจริง ตายจริง แต่ความจริงกึ่งโชว์ที่ผู้ชมติดตรึมนั้น ก็ล้วนเกิดจากการ เซ็ตอัพ มีการวางแผน บริหารจัดการอย่างดี (จุดนี้เองทำให้หลายคนแอบบสะบัดหน้าเหมือนโดนตบเข้าฉาดใหญ่เมื่อพิเคราะห์แล้วเห็นตามว่า เออ..ก่อนหน้านี้ ตรูอินไปกับเกมเรียลลิตี้โชว์ได้ไงฟระ)


หากยังย้อนแย้งไม่พอ การสร้างโจทย์ในเรื่องชวนให้เกิดความเคลือบแคลง ไม่ไว้วางใจในทุกคน ทุกสิ่งกลายเป็นความสนุกในการขบคิดว่า สิ่งที่ตัวละครแต่ละคนทำ หรือปฏิบัติต่อกันนั้น จริงหรือหลอก (รักโปรโมตตามสั่งของโปรดิวเซอร์, สร้างจุดขายให้ได้ใจสปอนเซอร์, พลิกเกมเพื่อดึงเรตติ้ง สร้างแนวร่วม ซื้อใจผู้ชมหมู่มาก)


หากแต่  ประเด็นสำคัญที่สุดจากการชมภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ ที่ผมเลือกคิดได้อย่างสนุกที่สุดนั่นคือ


1. นี่มันเล่นเรื่องโครงสร้างและความเหลื่อมล้ำกันเนื้อๆ เลยนะนั่น


2. การเล่าเรื่องแบบปูพื้นไปสู่ทางเลือกแบบ ขบถ และ ปฏิวัติ ในที่สุด


3. ศิลปะในการจัดความสัมพันธ์ และการหล่อเลี้ยงคนส่วนใหญ่ด้วย "ความหวัง"


4. แบบสำรวจจิตใจ ความมุ่งมั่น ความมุ่งหวัง และการเลือกวิธีเพื่อเดินไปตามความมุ่งหวังนั้น


สำหรับคนที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์ หรือยังไม่ได้อ่านบทวิจารณ์ อ่านเรื่องย่อมาก่อนอาจอึดอัดบ้างเล็กน้อย แต่กับคนที่ชมแล้ว ทั้ง 4 ประเด็นที่เป็นมุมคิดหลักในเรื่องล้วนยืนยันถึงข้อนิยามว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ "รัฐศาสตร์" จังเลย


ความแตกต่าง เหลื่อมล้ำ

ในภาพยนตร์ถูกถ่างอย่างสุดขั้ว 12 เขตทำหน้าที่บำรุงบำเรอเมืองหลวง ในขณะที่ตัวเองมีชีวิตอยู่อย่างเหนื่อยยากแร้นแค้น ต้องก้มหน้ารับชะตาเพราะความเข้มแข็งของศูนย์กลาง อันทรงประสิทธิภาพของ "กำลังอำนาจ"


เมื่อกำลังอำนาจของรัฐ กดทับ เหยียบย่ำมากเท่าไหร่ ปฏิกริยาโต้ตอบ ก็พร้อมที่จะระเบิดตัวเองออกมาไม่ว่าจะในรูป ความคิดกระด้างกระเดื่อง ความพยายามหลุดกรอบ ปฏิเสธที่จะเล่นตามเกมที่ "ส่วนกลางกำหนด" แถมสร้างพลังในการต่อรองของกลุ่ม เขต มากขึ้นอย่างชัดเจน


ขณะที่ Hunger Game เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการปกครอง มอบ (มอมเมา) ความสนุกสนานชวนติดตาม ให้กับผู้คนส่วนใหญ่ จะได้ไม่มามัวคิดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียม คุณประโยชน์อีกประการหนึ่งก็คือ เป็นดัชนีให้ผู้ถืออำนาจปกครอง เช็กเรตติ้งตัวเอง ปรับกลยุทธ์ตามกระแสฮือตามกันของคนในเขตต่างๆ ได้ด้วย


ขณะที่เกมดำเนินไป นางเอกของเรื่อง  "แคทนิส"  ถูกทำให้สงสัยว่า เป้าหมายที่แท้จริงของเธอคืออะไรกันแน่
แค่แข่งในเกมให้ชนะเพื่อแม่และเพื่อน้อง


หรือยกระดับตัวเองให้กลายเป็น ซุปตาร์  กรุยทางไปสู่การปลุกพลังของคนที่ชื่นชอบ เชื่อมั่นในตัวเธอ เพื่อที่จะลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจรัฐอย่างจริงจัง


ตลอดทั้งเรื่อง ชวนให้คิดว่ากำลังดูภาพเสียดสี ล้อเลียนโครงสร้างใกล้ตัว เพียงแต่ แคปิตอล และประธานาธิบดี สโนว์ (รับบทโดยโดนัลด์ ซุทเธอร์แลนด์) เลือกที่จะค่อยๆ เล่น รักษาระยะห่าง และสร้างความแนบเนียนในการ "ปกครอง" ให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้ความควบคุม


ฉากที่ได้ใจผมไปเต็มๆ คือ เมื่อเกมเริ่มไม่ค่อยเป็นไปตามบทที่วางไว้และใช้เครื่องมือต่างๆ ควบคุม "เกมเมคเกอร์" ก็เพิ่มความโหด กดดัน เพิ่มความรุนแรงมากเข้าไปอีก


หากแต่ท่าน "ประธานาธิบดี สโนว์" กลับมองลึกข้ามช็อตไปอีกพร้อมกับข้อแนะนำว่า


แทนที่จะป้อนแต่เฉพาะ "ความกลัว" ลงไปในเกม และส่งมอบใหประชาชนภายใต้การปกครอง สิ่งที่ป้อนไปแล้ว มีประสิทธิผลมากกว่านั่นคือ "ความหวัง" (แต่อย่าปล่อยให้มันเป็นจริง!!!)


อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางภาวะจนตรอก รอรับการกระทำ นางเอก  "แคทนิส" จากเขต 12 ที่ยากไร้ ก็ค่อยๆ สร้างปรากฎการณ์ "ขบถ" เพาะเชื้อความรู้สึก "ต่อต้าน" ขึ้นในใจผู้คนได้ด้วยกลยุทธ์ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องใสซื่อ จริงใจ) ต่างๆ นานา


แทนที่จะสู้เพื่อเอาตัวรอด ทำให้เป็นไปตามเกมของผู้กำหนดเกม "แคทนิส" เลือกวิธีที่แตกต่างและได้ผล ซึ่งดูเหมือนในเบื้องต้น ทั้งผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ต่างก็ใช้ประโยชน์จากแผนของแต่ละฝ่ายได้แบบ win-win


แต่เมื่อ "สัญลักษณ์" ของการต่อสู้ เริ่มชัดเจนและมีเป้าหมาย (อันเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์สำหรับ แคปิตอล) การยกมือขึ้นทำเครื่องหมาย 3 นิ้ว ถูกใจมวลชนที่หันมาเทใจ เอาใจช่วย "แคทนิส" ก็ถือเป็นการจุดประกายสำหรับการ “ปฏิวัติ” ก็สว่างวาบขึ้นทันที






มีคำอธิบายสัญลักษณ์ดังกล่าวว่า หมายถึง
thanks, admiration, and good-bye
ขอบคุณ, ยกย่อง และ ลาก่อน



แต่แล้วพัฒนาการของการใช้สัญลักษณะดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเป็น ปฏิกริยาเพื่อ ขอบคุณ-ยกย่อง ผู้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขัน พร้อมๆ กับผนึกกำลังกันลุกขึ้นสู้ ต่อต้าน ขัดขืน เพื่อที่จะได้ "บอกลา" อำนาจกดขี่เบื้องบนเสียที


The Hunger Games ปิดฉากแรกของภาพยนตร์ (ที่จะมีภาคต่อตามมาแน่นอนในเร็ววันนี้) ด้วยชัยชนะของ "อันเดอร์ด๊อก" พร้อมกับทิ้งปมโรแมนติกระหว่างหนุ่มสาวในคลุมเครือต่อไป


แต่ปมใหญ่ในประเด็น ลุกฮือ-โค่นล้ม ดูเหมือนจะเพิ่มเริ่มต้นเท่านั้น


เห็นไหมครับ ผมตีความมันเป็นเรื่อง "รัฐศาสตร์" ล้วนๆ ได้อย่างสนุกสนานเชียวละ

เร้าใจขนาดนี้ ครบรสชาติ เต็มไปด้วยประเด็นให้เลือกเสพ-ตีความ ซะขนาดนี้ ฟันธงว่าไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง


บางคนอาจเฉยๆ หรือให้คุณค่าไม่เท่ากับ BR หรือหนังไตรภาคในตำนานเรื่องอื่นๆ ...


แต่ผมชอบ และรอชมภาคต่อไปด้วยใจระทึกมากกกกกก จริงๆ ครับ


ที่มา...


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333002371


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้