ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
เหตุใดจึงชื่อ “พระไพรีพินาศ” ?
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2566
ตอบกลับ: 6
เหตุใดจึงชื่อ “พระไพรีพินาศ” ?
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-6-5 03:50
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
เหตุใดจึงชื่อ “พระไพรีพินาศ” ?
พระไพรีพินาศ (องค์จริง) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระพุทธรูปศิลาปิดทอง ศิลปะศรีวิชัย ปางประทานพร (คล้ายปางมารวิชัย เพียงแต่หงายพระหัตถ์ขวา)
ประวัติการสร้างไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่ามีผู้นำมาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระผนวช และประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงเชื่อว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอานุภาพกำจัดภัย ให้ผู้ที่คิดร้ายพ่ายแพ้พระบารมี
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-5 03:51
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เรื่องมีอยู่ว่า...เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จออกผนวชเมื่อเจริญพระชนมายุครบตามเกณฑ์ ทรงผนวชได้เพียง ๑๕ วัน ก็เกิดเหตุการณ์ผลัดแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถ รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคตอย่างปัจจุบัน
ตามกฎมณเฑียรบาลแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ (หรือ
“เจ้าฟ้ามงกุฎ”
ในขณะนั้น) ควรจะได้รับราชสมบัติต่อจากรัชกาลที่ ๒ เพราะทรงเป็นพระราชโอรสที่มีพระราชสมภพจากพระอัครมเหสีของรัชกาลที่ ๒ คือ
สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์
มีฐานันดรศักดิ์เป็น
“สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า”
จัดว่าเป็นอันดับสูงสุดในพระบรมวงศานุวงศ์ มีฐานะเป็นรัชทายาท และเวลานั้น ตำแหน่งวังหน้าซึ่งถือเป็นตำแหน่งรัชทายาทก็ยังว่างอยู่ ภายหลังจากที่กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์สิ้นพระชนม์ รัชกาลที่่ ๒ ก็มิได้ทรงตั้งวังหน้าขึ้นใหม่ตลอดรัชกาล แต่ราชสมบัติกลับมิได้ตกแก่เจ้าฟ้ามงกุฎตามที่่กฎมณเฑียรบาลกำหนดไว้
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ผู้กำกับดูแลราชการต่างพระเนตรพระกรรณมีอยู่
๓ พระองค์
คือ
วังหน้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
กำกับดูแลราชการแผ่นดินทั่วไป,
เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี
กำกับกรมวังและมหาดไทย และ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓)
กำกับกรมพระคลังมหาสมบัติ
ครั้นเมื่อวังหน้าสิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีก็เข้ามากำกับดูแลแทน แต่อยู่ได้เพียง ๕ ปี ก็สิ้นพระชนม์อีก จึงเหลือเพียงกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์พระองค์เดียว ที่กำกับดูแลราชการทั้งหลายทั้งปวง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ใกล้เสด็จสวรรคตนั้น ทรงพระประชวรจนตรัสไม่ได้ จึงมิได้ระบุว่าจะมอบราชสมบัติให้แก่ผู้ใด พระราชวงศ์และเสนาบดีทั้งหลายจึงเห็นพ้องกัันให้ทูลเชิญกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสองค์โตอันเกิดจากพระสนมของรัชกาลที่ ๒ คือ
เจ้าจอมมารดาเรียม
ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา เป็น
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
เจ้าฟ้ามงกุฎ
แม้จะมีสิทธิโดยชอบธรรมด้วยเป็นพระราชโอรสองค์โตอันเกิดจากพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ยังอ่อนวัยวุฒิ คุณวุฒิ รวมถึง พระอำนาจบารมีส่วนพระองค์ อีกทั้งถูกคุกคามจากพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายที่สนับสนุนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ โดยเฉพาะจาก
กรมหลวงรักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้าไกรสร)
ลวงให้เสด็จเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง และถูกควบคุมตัวไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเวลาหลายวัน จนกระทั่งเมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว พระองค์จึงได้รับการปล่อยตัวให้เสด็จกลับไปประทับที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส ในปัจจุบัน) ดังเดิม
ความปรากฏในโคลงลิลิตมหามกุฏราชคุณานุสรณ์ คัดมาโดยย่อว่า
เขาเชิญไปวัดแก้ว มรกต อกอา
พัก ณ พระอุโบสถ ต่างเฝ้า
อ้างองค์พระทรงพรต พลุกพล่าน สมฤา
อละหม่านแต่งทหารเข้า แวดล้อมวงรวัง
ประทับขังอุโบสถสิ้น สัปตวาร พ่ออา
ห่างมิตศิษย์บริพาร ผ่อนเฝ้า
คึกคักแต่พนักงาน สนมนิเว สะรักษ์ฤา
คอยพิทักษ์สมศักดิ์เจ้า พระฟ้าประดาผงม
กรมหลวงรักษ์รณเรศ หรือพระองค์เจ้าไกรสร
นี้ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ อันเกิดกับเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นรักษ์รณเรศ และได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมหลวงรักษ์รณเรศ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ด้วยเป็นเจ้านายพระองค์สำคัญที่มีความดีความชอบในการพรากราชสมบัติให้พลัดจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาตกแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-5 03:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อเหตุการณ์ลงเอยเช่นนี้
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ “วชิรญาณภิกขุ”
ในขณะนั้น ทรงรับรู้ถึงความไม่ปลอดภัยของพระองค์เอง จำต้องปลีกตัวหนีห่างจากกิจการที่เกี่ยวกับอาณาจักร จึงตัดสินพระทัยที่จะผนวชอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ต่อไปไม่มีกำหนดเพื่อหลบราชภัย อย่างไรก็ตาม แม้พระองค์จะมิได้เสวยราชย์และดำรงอยู่ในเพศบรรพชิต ก็ยังถูกกรมหลวงรักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้าไกรสร) คุกคามกลั่นแกล้งอยู่ตลอดเวลา
คราวหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ประชุมคณะพระมหาเถระผู้สอบในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกทรงแปลทุกวัน ทรงพระปรีชาสามารถมาก แปลพักเดียวได้ตลอดประโยคไม่มีพลาดพลั้งให้พระมหาเถระต้องทักท้วงเลย วันแรกแปลคัมภีร์ธรรมบทประโยค ๑-๒-๓ วันที่สองเสด็จเข้าแปลคัมภีร์มงคลทีปนีสำหรับประโยค ๔ วันที่สามเสด็จเข้าแปลคัมภีร์บาลีมุตสำหรับประโยค ๕ ปรากฏว่ากรมหมื่นรักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้าไกรสร) ซึ่งกำกับกรมธรรมการได้ถาม
พระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม)
วัดโมฬีโลก ซึ่งเป็นผู้สอบอยู่ด้วยว่า
“นี่จะปล่อยกันไปถึงไหน”
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ก็น้อยพระหฤทัย ด้วยเจตนาจะสนองพระเดชพระคุณเฉลิมพระราชศรัทธา หาได้ปรารถนายศศักดิ์ลาภสักการะอย่างใดไม่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความขุ่นหมองที่เกิดขึ้น ก็ทรงอนุญาตไม่ต้องแปลต่อไปอีก และพระราชทาน
พัดยศสำหรับเปรียญเอก ๙ ประโยค
ให้ ทรงถือเป็นสมณศักดิ์ต่อมา
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส ในปัจจุบัน) นั้น ผู้คนนิยมนับถือพระองค์มาก จนเป็นเหตุให้เกิดคำพูดแสดงความสงสัยว่า ที่คนพอใจไปวัดสมอรายกันมากนั้น เพราะประสงค์จะยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในทางการเมือง เพื่อระงับความสงสัยและข่าวลือต่างๆ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงโปรดให้ทูลเชิญ
“วชิรญาณภิกขุ”
เสด็จมาอยู่เสียใกล้ๆ พระองค์ ซึ่งประจวบเหมาะกับขณะนั้น วชิรญาณภิกขุเองก็ทรงมีฐานะเป็นพระราชาคณะแล้ว แต่ยังไม่ได้ทรงเป็นเจ้าอาวาสครองวัด เพียงแต่ประทับอยู่วัดสมอรายดำเนินกิจการทางสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต
จึงได้ทรงนิมนต์ให้เสด็จมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๓๗๙
ครั้นเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ก็ทรงได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากกรมหลวงรักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้าไกรสร) มากขึ้น จนถึงหาเหตุให้สึก
พระสุเมธมุนี
พระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกล้งใส่บาตรพระธรรมยุตด้วยข้าวต้มให้ร้อนมือที่อุ้มบาตร และเบียดเบียนด้วยประการต่างๆ นาๆ
ในปลายแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ กรมหลวงรักษ์รณเรศต้องราชภัย เพราะความกำเริบเสิบสานและสำเร็จความใคร่บ่าวจนน้ำกามเคลื่อน จึงถูกถอดเป็นไพร่เรียกว่า
“หม่อมไกรสร”
แล้วประหารชีวิตโดยทุบด้วยท่อนจันทน์ ผู้ทำหน้าที่ประหารเคยเป็นข้าในกรมของผู้ถูกประหาร จึงมือไม้สั่น ปรกติทุบทีเดียวก็ตายสนิท แต่นี่เจ้านายตัวจึงทุบพลาด เจ้านายก็เด็ดขาด ตะโกนสั่งจากถุงที่คลุมว่า
ทุบใหม่ ไอ้นี่สอนไม่จำ
...ปรากฏใน
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
ความว่า...
“...เพราะด้วยอ้ายพวกละคร ชักพาให้เสียคน จึงให้ตระลาการค้นหาความอื่นต่อไปให้ได้ความว่า กรมหลวงรักษ์รณเรศ ชำระความของราษฎรมิได้เป็นยุติธรรม ด้วยพวกละครรับสินบนทั้งฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลย แล้วก็คงหักเอาชนะจงได้ แล้วเป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง ชั้นแต่ลอยกระทง ก็ไปลอยกรุงเก่าบ้าง เมืองนครเขื่อนขัณฑ์บ้าง เอาธรรมเนียมที่ในหลวงทรงลอย พวกละครห่มแพรสีทับทิมใส่แหวนเพ็ชรแทนหม่อมห้าม แลเกลี้ยกล่อมขุนนางและกองรามัญไว้เป็นพวกพ้องก็มาก ที่ผู้ใดไม่ฝากตัวก็พยาบาทไว้ ตั้งแต่เล่นละครเข้าแล้ว ก็ไม่ได้บรรทมอยู่ข้างในด้วยหม่อมห้ามเลย บรรทมอยู่แต่ที่เก๋งข้างท้องพระโรงด้วยพวกละคร จึงรับสั่งให้เอาพวกละครแยกย้ายกันไต่ถาม ได้ความสมกันว่า เป็นสวาทไม่ถึงชำเรา แต่เอามือเจ้าละครและมือท่านกำคุยหฐานด้วยกันทั้งสองฝ่าย ให้สำเร็จภาวะธาตุเคลื่อนพร้อมกัน เป็นแต่เท่านั้น
แล้วโปรดให้ตระลาการถามกรมหลวงว่า เป็นเจ้าใหญ่นายโตเล่นการนี้สมควรอยู่แล้วหรือ กรมหลวงรักษ์รณเรศให้การว่า การที่ไม่อยู่กับลูกเมียนั้น ไม่เกี่ยวข้องแก่การแผ่นดิน ถามอีกข้อหนึ่งว่า เกลี้ยกล่อมเจ้านายขุนนางไว้เป็นพรรคพวกมาก จะคิดกบฏหรือ กรมหลวงให้การว่า ไม่ได้คิดกบฏ คิดอยู่ว่า ถ้าสิ้นแผ่นดินไป ก็ไม่ยอมเป็นข้าใคร...”
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-5 03:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ข้อความในพระราชพงศาวดารกล่าวถึงกรมหลวงรักษ์รณเรศว่า
“...แล้วยังมาคิดมักใหญ่ใฝ่สูงจะเป็นวังหน้าบ้าง เป็นเจ้าแผ่นดินบ้าง อย่าว่าแต่มนุษย์เขาจะยอมให้เป็นเลย แต่สัตว์เดียรฉานมันก็ไม่ยอมให้ตัวเป็นเจ้าแผ่นดิน...” จึงโปรดให้ถอดเสียจากกรมหลวง ให้เรียก “หม่อมไกรสร” ลงพระราชอาญาแล้ว ให้ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรมสามค่ำ (ตรงกับวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๑) อายุได้ ๕๘ ปี
เบื้องหลังอันเป็นที่มาของพระนามของพระพุทธรูปที่เรียกว่า
“พระไพรีพินาศ”
เพราะในระยะใกล้ๆ กับเวลาที่ “หม่อมไกรสร”จะถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์นี้เอง พระไพรีพินาศก็ได้เสด็จมาสู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และท้ายที่สุด
“ไพรี”
ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้พินาศลงด้วยประการฉะนี้ และอีกสามปีเศษถัดมา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ ทรงอยู่ในราชสมบัติ ๑๗ ปี
ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเฉลิมพระนามพระพุทธรูปนี้ว่า “พระไพรีพินาศ” โปรดให้สร้างเก๋งประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ที่พระมหาเจดีย์สีทอง วัดบวรนิเวศวิหาร
นอกจาก
“พระไพรีพินาศ”
แล้ว
ภายในพระมหาเจดีย์สีทอง ยังมีพระเจดีย์ศิลาองค์ย่อมประดิษฐานอยู่ มีนามพระราชทานคล้ายคลึงกันว่า “พระไพรีพินาศเจดีย์” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ คงจักได้ทรงโปรดให้สถาปนาขึ้นไว้แต่ครั้งยังทรงพระผนวช และประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร หรือไม่เช่นนั้นก็คงจักทรงโปรดให้สถาปนาขึ้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ แล้วได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการใหญ่คราวหนึ่ง เรียกว่า “งานผ่องพ้นไพรี”
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-5 03:54
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คำบูชาพระไพรีพินาศ
[สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงนิพนธ์คำบูชานี้]
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สุจิรัง ปะรินิพพุโต
คุเณหิ ธะระมาโนทานิ ปาระมีหิ จะ ทิสสะติ
ยาวะชีวัง อะหัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คะโต
ปูเชมิ ระตะนัตตะยัง ธัมมัง จะรามิ โสตถินา ฯ
คำแปล
[พระมหานายก (ฉลอง ชลิตกิจฺโจ) แปลความหมายเป็นภาษาไทย]
สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงเสด็จดับขันธปรินิพพานมาช้านานแล้ว
แต่ก็ยังทรงปรากฏดำรงอยู่ในบัดนี้ โดยพระคุณและพระบารมีทั้งหลาย
ข้าพระพุทธเจ้า ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
บูชาอยู่ซึ่งพระรัตนตรัย ขอประพฤติธรรม โดยสวัสดี เทอญฯ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-5 03:55
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แหล่งที่มาของข้อมูล
- หนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร โดยชลอ ธรรมศิริ และคณะ
- หนังสือพระเกียรติประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม และขจร สุขพานิช, มหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๔๙๒
http://thaprajan.blogspot.com/2012/05/blog-post.html
.........................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=44199
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
7
#
โพสต์ 2014-6-9 09:02
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุ ๆ ๆ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...