ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
จิตรู้แจ้งทวนกระแส : หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1801
ตอบกลับ: 2
จิตรู้แจ้งทวนกระแส : หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-6-3 22:44
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ธรรมโอวาทของ
พระญาณสิทธาจารย์
(หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
วัดถ้ำผาปล่อง ต.บ้านถ้ำ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
คัดลอกเนื้อหาจากพระธรรมเทศนา “หนังสือมรรคปฏิปทา”
งานบำเพ็ญกุศลครบรอบวันมรณภาพปีที่ ๔๔
ของพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
วันที่ ๒๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
(โพสต์ในเว็บพลังจิต โดย paang เมื่อวันที่ ๙ พ.ค. ๒๕๕๐)
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 22:45
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“ผู้ภาวนา ให้น้อม ให้รวม เอาจิตใจดวงผู้รู้อยู่
มารู้อยู่ที่ลมเข้า ลมออก สักเกตไปสู่ดวงจิต
จุดสำคัญท่านต้องการเอาจิตใจดวงผู้รู้อยู่นี้
ธาตุลมนี้ ก็เป็นแต่ให้เป็นทาง เป็นที่สังเกต
จะได้รวม ได้สงบลงสู่ดวงจิตดวงใจดวงที่รู้อยู่นั่นเอง
แต่ว่าถ้ายังจับจุดนี้ไม่ได้ ท่านก็ให้กำหนดลม
ลมเข้าและลมออก หรือท่านให้กำหนด ความรู้สึก ทุกลมเข้าออก
เรียกว่า ดวงจิต ดวงวิญญาณ ดวงผู้รู้ มารู้สึกลมหายใจเข้าออก
เมื่อลมหายใจเข้าและออก ออกและเข้าอยู่ จิตก็มีความรู้สึกอยู่
และบริกรรมภาวนาคำว่า “พุท” ทุกลมหายใจเข้า
และ “โธ” ทุกลมหายใจออกอยู่
รู้จักปล่อยวางเรื่องราวอารมณ์อันเป็นเรื่องภายนอกออกไปให้หมดสิ้น
ตั้งจิตเจตนาในจิต ในใจของตนให้มั่นคงลงไป
เรียกว่าระลึกถึงพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนจิตใจของตน”
การนึกพุทโธ นึกทุกลมหายใจเข้าไป นึกทุกลมหายใจออกมา
เพื่อจะได้ฝึกจิตใจให้อยู่เป็นหนึ่งเสียก่อน
เมื่อพระพุทธเจ้าของเรานั่งภาวนาใต้ร่มไม้โพธิ์พระองค์ก็บริกรรมภาวนา
เมื่อพระองค์นั่งขัดสมาธิเพชรเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ตั้งสัตย์อธิษฐานลงไปว่าการนั่งสมาธิภาวนาในครั้งนี้
พระองค์จะไม่บุกไปมาในที่ใด ๆ จนกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
แม้เลือดเนื้อเชื้อไขจะเหือดแห้งหายไปเหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามที ไม่ยอมลุก
ท่านตั้งใจเด็ดเดี่ยวอย่างนั้น แล้วท่านก็เลือกอุบายภาวนา
ว่าจะนึกอุบายธรรมอันใด พระองค์ก็เลือกได้นึกลมหายใจเข้าออก
เรียกว่า อานาปานสติกรรมฐาน
ลมเข้าไปพระองค์ก็มีสติตามรู้ อันนี้ว่าเป็นลมเข้าไป
ลมออกมาพระองค์ก็มีสติรู้ว่านี้เป็นลมออกมา
ท่านระมัดระวังจิตใจเหมือนกับว่าเป็นพระปิดทวาร
ทวารตาไม่ต้องดู ทวารหูไม่ต้องฟังอย่างอื่น
ฟังแต่ลมหายใจเข้าออกเท่านั้น จมูก ลิ้น กาย ใจ
ระวังจิตไม่ให้แล่นไปที่อื่น เรียกว่าเป็นพระปิดทวาร
ปิดทวารทั้งห้า ปิดทวารทั้งหก ปิดทวารทั้งสิบสอง
พระองค์ภาวนาแน่วแน่จนจิตใจออกไปจากตัวไม่ได้
ภายในปริมณฑลหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
พระองค์เอาจิตใจอยู่ภายในหนังหุ้มเข้าไปได้หมด
จนนานอย่างน้อยก็เรียกว่าเที่ยงคืน ตั้งแต่พลบค่ำจนกระทั่งเที่ยงคืน
จิตใจของพระองค์ก็แน่วแน่เป็นดวงเดียว เป็นสมถกรรมฐานเต็มที่
เป็นสมาธิภาวนาเต็มที่ สมาธิอย่างต่ำสมาธิอย่างกลาง สมาธิอย่างสูง
จิตใจของพระองค์ก็ไม่ไปที่อื่น ภาวนาในใจอยู่
และพระองค์ก็กำหนดรูปนาม จนเห็นแจ้งในหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ละกิเลสตัดกิเลสราคะ โทสะ โมหะให้หมดสิ้นไป
กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด กิเลสมีมากเท่าไรในโลกนี้พระองค์ก็ละได้หมด
ต่อมาก็สอนสาวกสาวิกามีปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้งห้า เป็นต้น
พระองค์แสดงปฐมเทศนาธรรมจุกกัปปวัตนสูตร
แสดง อนัตตลักขณสูตร สองสูตรเท่านั้นแหละ
ปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้งห้าก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันตขีณาสพ
ส่งสาวกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั่วโลก
นั่นคือว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ตั้งใจภาวนาจริง ๆ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-3 22:46
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แม้เราทุกคนขณะนี้ เราก็มาสู่สถานที่วิเวก
สถานที่วิเวกเงียบสงัดในป่าในถ้ำ ในเขา ในที่วิเวกอย่างนี้เรียกว่าหาได้ยาก
เสนาสนสัปปายะ อาหารสัปปายะ บุคคลสัปปายะ ธรรมสัปปายะ
แต่ผู้ภาวนาจริง ๆ นั้น ต้องตั้งจิตตั้งใจด้วย
ตั้งใจให้เด็ดเดี่ยวเหมือนพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระองค์ตั้งสัตย์อธิษฐานลงไป
เอาชีวิตแลกเอา เอาชีวิตเป็นเดิมพัน
ถวายชีวิตจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้
ยอมทำตามปฏิบัติตาม นึกภาวนาพุทโธให้ได้ติดต่อกันไม่ให้ขาด
แล้วให้นึกได้ทุกลมหายใจด้วย ตัวอย่างคือลมหายใจนี้
เมื่อเราคนใดหยุดลมหายใจไปเวลาใดเมื่อใดก็ตาย
ไม่ได้เป็นคนอย่างที่เราทำอยู่ แต่ลมหายใจนี้เป็นอัตโนมัติ
แม้เจ้าตัวหลับมันก็หายใจทดแทนอย่างนั้น
ความจริงลมหายใจไม่ใช่เราสูด มันเป็นปอดเป็นหัวใจเขาทำงานเอง
จงภาวนารวมจิตรวมใจก็ให้ได้เหมือนลมหายใจเข้าออก
ประทังชีวิตมาได้หลายสิบปี เขาก็ยังไม่ตายหนีจากโลกนี้
ผู้ภาวนาทั้งหลาย ต้องรวมจิตใจเข้ามาภายในไม่ให้มันส่ายออกไปภายนอก
สงบกายนี้สงบได้ง่าย คือ รูปร่างกายของเราทุกคน
ถ้าเรานั่งสมาธิเพชร นั่งภาวนาแล้วก็เป็นอันว่ารูปกายก็สงบ สงบเต็มที่
วาจาคำพูดก็เรียกว่าสงบ แต่การสงบจิตนั้นจะต้องภาวนา
ถ้าไม่ภาวนาไม่ดูจิตใจ เราสงบไม่ได้
คือจิตมันมีอารมณ์เก่าแก่ที่ผ่านมาในอดีตชาติบ้าง ก็มาเป็นอารมณ์ในเวลาปัจจุบัน
แล้วยังจะมีอารมณ์อนาคตกาลข้างหน้าด้วย ก็มาเป็นอารมณ์ในปัจจุบันนี้
เมื่อภาวนาแล้วต้องระงับดับหมด อดีตสิ่งใดที่มันล่วงเลยมาแล้วก็ไม่ต้องนึกคิด คิดถึง
ตัดให้มันอยู่ในอดีตล่วงแล้ว อารมณ์ถึง
จงนึกจงน้อมภาวนาพุทโธ ในขณะปัจจุบัน ในขณะนี้ เดี๋ยวนี้
ส่วนจิตนั้นเมื่อย่นย่อเข้ามามี ๒ อาการ
อาการหนึ่งคือจิตใจดวงผู้รู้ อยู่ในตัวคนเราทุกคน
มีจิตใจดวงผู้รู้ครองในสังขารแต่ละบุคคล
จิตใจดวงนี้นั้นเรียกว่าเป็นดวงจิตที่รู้อยู่
มีความรู้สึกอยู่ในตัวในกาย ในจิตในกายนี้
ไม่ว่าเราจะเอามือไปแตะต้องที่ไหนจนปลายผมก็ตาม
ก็มีความรู้สึกเข้าไปถึงจิตใจดวงผู้รู้นี้ นั่นแหละให้สังเกตเข้าไป สู่ดวงจิตที่รู้อยู่
ส่วนต่อจากดวงจิตผู้รู้ออกมาภายนอกท่านให้ชื่อว่า สังขารจิต
จิตปรุง จิตแต่ง จิตคิด จิตนึก คือมันเป็นเงาเป็นกิริยาอาการของจิต
มันต่อออกมาอีก มันงอกออกมา มันรั่วไหลออกมา
อันนี้ท่านให้ละทิ้งคือไม่ให้ตามออกมา มันเข้ามันออกก็ยังมีจิตใจดวงผู้รู้
รู้ว่าจิตเราคิดออกไป เผลอไปลืมไป ไม่ต้องตามไป ละเสียวางเสีย
ให้ทวนกระแสมาอยู่กับดวงจิตที่รู้อยู่ จิตผู้รู้คือว่ามันมีอยู่ตลอดเวลา
กายสบายมันก็รู้ ร่างกายเราสบายวันนี้ เมื่อร่างกายมันไม่สบายมันก็รู้
รู้ว่ากายไม่สบาย เมื่อจิตมันสบายก็รู้ จิตไม่สบายก็รู้ จิตร้อนก็รู้ จิตหนาวก็รู้
นี่แหละท่านให้รวมจิตใจเข้ามาอยู่ภายในนี้ ไม่ต้องตามไปภายนอก
ตามไปภายนอกนั้นไม่มีที่หยุด
เหมือนเราเดินไป เดินไปทั่วโลกในพื้นแผ่นดินนี้ไม่ได้ตาย
ตายก่อนก็ไม่ทั่ว จิตภาวนานี้ ท่านก็ไม่ให้ตามออกไป
ท่านให้ทวนกระแสเข้ามาว่า
จิตใจดวงผู้รู้
ฟังอยู่
ได้ยินเสียงตรงไหนเราก็รู้ว่าอยู่ไหน
สติระลึกได้ที่นั่น สมาธิจิตตั้งมั่นก็ตั้งลงไปที่นี่
ปัญญาความรอบรู้ในกองสังขารก็รอบรู้อยู่ที่นี่
สงบตั้งมั่นอยู่ในตัว ในกาย ในจิต ตรงที่จิตดวงผู้รู้อยู่ที่ไหนก็ที่นั่นแหละ
จนจิตใจดวงนี้สงบระงับ รู้แจ้งเห็นจริงว่า นอกจากจิตใจดวงผู้รู้ภายใน
นอกนั้นออกไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ขึ้นชื่อว่าสังขารทั้งหลาย มีความไม่เที่ยงอย่างนี้
จิตผู้รู้ให้รู้ รู้แล้วอย่าได้หลงใหลไปกับอารมณ์กิเลส
ให้รวมจิตใจเข้าไปที่ตรงนี้ มันจะคิดไปไหน ใกล้ไกลไม่ต้องไปตามมันไป
ตามรู้อยู่กับที่จิตรู้อยู่ จิตรู้ไปไม่เอาละทิ้ง เอาจิตที่รู้อยู่
คำว่าเอาจิตที่รู้อยู่นั้นคือว่ามันมีอยู่แล้ว ความจริงจิตของคนเราจริง ๆ มันไม่ได้ไปไหน
คิดไปปรุงไปอันนั้นเป็นเรื่องสังขาร มันปรุงมันแต่งไปเอง เป็นเรื่องสังขาร
เป็นเรื่องสัญญาอารมณ์ เป็นเรื่องกิเลสที่มันดิ้นรนวุ่นวาย กามตัณหามันไป
เมื่อจิตใจผู้ภาวนาไม่หลงไปตามไป มันก็ดับไปเอง ไม่มีใครส่งเสริมต่อเติมมันก็ดับ
แต่จิตผู้ใดหลงไป ส่งเสริมต่อเติมให้มันก็ไม่มีที่จบที่สิ้น
เป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไม่มีที่จบที่สิ้น ละวางเสีย หยุดเสีย สงบเสียได้
ขณะนี้เวลานี้มันก็มีเท่านี้ นั่งอยู่ก็พุทโธจิตใจดวงผู้รู้อยู่อย่างนี้
ยืนอยู่ก็พุทโธจิตดวงผู้รู้นี้ เดินไปมาก็จิตดวงนี้ มานั่งมานอนก็จิตดวงนี้แหละ
ก็ไม่ต้องหาที่ไหนแล้ว รวมกำลังตั้งมั่นรวมไปในจิตใจดวงผู้รู้อยู่ตลอดเวลา
...............................................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=45319
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...