ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
หลวงพ่อทองคำ.. กฤดาภินิหารแห่งพระมหาธรรมราชา 'ภูมิพล'
1
2
3
/ 3 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: Metha
หลวงพ่อทองคำ.. กฤดาภินิหารแห่งพระมหาธรรมราชา 'ภูมิพล'
[คัดลอกลิงก์]
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
11
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-31 10:16
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สภาพวัดไตรมิตรวิทยาราม เมื่อครั้งมีนามว่าวัดสามจีนใต้นั้น ในบริเวณวัดเต็มไปด้วยสิ่งสกปรกโสโครก
กุฏิหลายหลังเอียงกระเท่เร่ หอระฆัง ศาลา หอสวดมนต์ หอฉัน หอไตร ปลูกสลับซับซ้อน สูง ๆ ต่ำ ๆ ไม่เป็นระเบียบ ทั้งยังชำรุดทรุดโทรม เก่าคร่ำคร่า ยากที่จะซ่อมแซมแก้ไขให้ดีได้
ที่ของวัดมีผู้เช่าตัดตอนไปปลูกเป็นห้องแถวชั้นเดียวเตี้ย ๆ หลายแถวให้ผู้คนเช่าอาศัยอยู่ ห้องแถวเหล่านี้หลังคาและพื้นชำรุดทรุดโทรม มีน้ำโสโครกขังเฉอะแฉะ มีฝูงเป็ดและสุกรเที่ยวหาอาหารอยู่ระเกะระกะ มีอุจจาระและกลิ่นปัสสาวะตลบอบอวล ผู้เช่าที่มีอาชีพในการทำเส้นหมี่ ก็ตากเส้นหมี่ไว้หน้าห้องแถวเลอะเทอะ ที่มีอาชีพทำขนมก็ทิ้งเศษอาหารไว้เกลื่อน แมลงวันตอมเป็นหมู่ใหญ่ หญิงที่เ่ช่าห้องรวมกันอยู่หลาย ๆ คน มีท่าทางอันน่าสงสัยว่าซ่อนเร้นการกระทำอันผิดศีลธรรม ฯลฯ
ภาพถ่าย ย่านวงเวียนโอเดียนในอดีต
เมื่อแรกอัญเชิญพระสุโขทัยไตรมิตรมาอยู่ที่วัดสามจีนใต้หรือวัดไตรมิตรนั้น วัดยังอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก ยังไม่ได้เริ่มการบูรณะปรับปรุง โบสถ์และวิหารก็เก่าแก่ ไม่เหมาะกับการประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงอัญเชิญพระพุทธรูปปูนปั้นมาประดิษฐานอยู่ข้างพระเจดีย์ โดยปลูกเพิงสังกะีสีไว้พอกันแดดกันฝน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
12
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-31 10:20
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร)
อดีตเจ้าอาวาส วัดไตรมิตรวิทยาราม
พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) เล่าว่า
ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธาธิบดี
เป็นพระเถระอีกรูปหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้วัดท่าซุงได้พัฒนาเจริญรุ่งเรืองมาถึงทุกวันนี้
ท่านเจ้าคุณมรณภาพ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2531
จากนั้นไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ระหว่างนี้ มีผู้มาขอพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้หลายราย รายหนึ่งมาเจรจาขอท่านไปเป็นพระประธาน
วัดพระธาตุช่อแฮ
จังหวัดแพร่
พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร)
ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่
พระวีรธรรมมุนี
เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรในขณะนั้นเห็นว่า พระประธานในวัดไตรมิตรก็มีแล้ว หากให้ท่านไปเป็นพระประธานวัดอื่น จะเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ก็อนุญาตให้ไป แต่สุดท้าย มีเหตุติดขัด ไม่สามารถอัญเชิญไปได้
บางรายมาขอ แต่ขาดแคลนค่าพาหนะ บางรายวางแผนที่จะอัญเชิญท่านไปทางรถไฟ แต่เมื่อวัดขนาดความกว้างความสูงขององค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นปูนปั้น ก็พบว่าส่วนพระเกตุมาลาสูงกว่าสะพานรถไฟ อัญเชิญไปไม่ได้
รายสุดท้าย มีผู้มาติดต่อขอไปเป็นพระประธาน
วัดบ้านบึง (วัดบึงบวรสถิตย์) อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
พระวีรธรรมมุนีก็อนุญาต แต่เมื่อตัวแทนของวัดบ้านบึงมาสำรวจดูองค์พระอีกครั้ง ก็ติว่าท่านไม่งาม ไม่สมที่จะเป็นพระประธาน จึงเปลี่ยนใจไม่รับไป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
13
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-31 10:21
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วิหารทรงไทยจตุรมุข
สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร
ระหว่างปี พ.ศ. 2498 - 2551
พระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ จึงต้องกรำแดดกรำฝนอยู่ในเพิงสังกะสี ข้างพระเจดีย์วัดไตรมิตร ต่อไปอีกเป็นเวลาเกือบ 20 ปี จนกระทั่งปี
พ.ศ. 2497 ทางวัดจึงเริ่มก่อสร้างพระวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปที่อัญเชิญมา เพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นปูชนียวัตถุอันควรแก่การสักการบูชาของพุทธศาสนิกชน พระวิหารที่สร้างขึ้นนี้มี 2 ชั้น ชั้นบนตรงกลางเป็นอาคารทรงไทยจตุรมุข เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
14
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-31 10:21
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระเศียรของพระสุโขทัยไตรมิตรที่ยังมิได้สกัดปูนออก
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498
พระวีรธรรมมุนี พร้อมด้วยคณะกรรมการวัดไตรมิตรวิทยาราม ได้ทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ จากเพิงสังกะสีขึ้นประดิษฐานบนพระวิหารทรงไทยจตุรมุขที่สร้างขึ้นใหม่ ช่างได้ใช้เชือกโอบรอบองค์พระและสอดใต้ฐานทับเกษตร
(ทับเกษตร หมายถึงส่วนบนของฐานที่รองรับพระพุทธรูปปางประทับนั่ง)
รวบเืชือกเป็นสาแหรกขึ้นไปเบื้องพระเศียร ติดรอกและขอสำหรับกว้าน ดำเนินการตั้งแต่ฉันเพลแล้วจนกระทั่งพลบค่ำ ได้พยายามยกองค์พระพุทธรูปเพื่อขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิหารอยู่หลายหน แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ด้วยองค์พระมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการเคลื่อนย้ายก็ยังไม่ทันสมัย สุดท้าย ยกได้สูงเพียงฝ่ามือ เชือกก็ขาดสะบั้นลง องค์พระกระแทกกับพื้นอย่างแรงเสียงดังสนั่น ขณะนั้นเป็นเวลามืดค่ำแล้ว อีกทั้งฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก มีฟ้าคะนอง พระวีรธรรมมุนีเห็นว่าไม่สะดวก จึงให้ยุติไว้แต่เพียงนั้น ทำได้แค่เพียงเคลื่อนย้ายองค์พระมาใกล้พระวิหารเท่านั้น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
15
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-31 10:25
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คืนวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ฝนตกตลอดทั้งคืน
ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่ง ฝนเริ่มขาดเม็ด ท่านเจ้าคุณมีความเป็นห่วงเรื่องงานเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปปูนปั้นที่คั่งค้างอยู่ จึงเดินฝ่าละอองฝนมาสำรวจหน้างานเพื่อหาทางอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานให้สะดวกเรียบร้อย เมื่อมาถึงก็
พบว่า ปูนตรงพระอุระแตกกะเทาะลงมา เห็นรักปิดทองอยู่ชั้นหนึ่ง จึงให้พระภิกษุสามเณรช่วยกันกะเทาะปูนที่ิหุ้มองค์พระนั้นออก
จึงเห็นเป็นทองตลอดทั้งองค์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
16
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-31 10:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในที่สุด พระพุทธรูปทองในศิลาจารึก ที่หายสาปสูญไปจากวัดมหาธาตุกลางกรุงสุโขทัย ด้วยถูกบดบังอยู่ใต้ปูนปั้นเป็นเวลานานหลายร้อยปี ผ่านราชธานีนับแต่สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี มาจนถึงรัตนโกสินทร์ ก็ได้ปรากฏโฉมอีกครั้ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พระมหาธรรมราชาผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยิ่ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
17
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-31 10:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระสุโขทัยไตรมิตร
เมื่อครั้งประดิษฐานบนวิหารทรงไทยจตุรมุข
เมื่อจะอัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิหารและเพื่อให้น้ำหนักในการยกน้อยลง จึงได้คุ้ยเอาดินใต้ฐานทับเกษตรออก ก็พบกุญแจกลสำหรับถอดองค์พระออกเป็นตอน ๆ ได้ 9 แห่ง เพื่อสะดวกในการถอดอัญเชิญขึ้นไปประิดิษฐาน จึงได้ถอดออกเพียง 4 ส่วนคือ พระศอ พระหัตถ์ทั้ง 2 ข้าง พระนาภี สำหรับอีก 5 ส่วนนั้นไม่ได้ถอดออก คงรักษาไว้ให้อนุชนทั้งหลายได้ชมฝีมือช่างสมัยโบราณ กุญแจกลเหล่านี้ ผู้หล่อดั้งเดิมได้ใส่ทองคำสำรองมาให้ครบถ้วน รวมทั้งมุกที่ใส่พระเนตรด้วย
วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2498 นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้มาชมพระพุทธรูปทองคำที่วัดไตรมิตรวิทยาราม เมื่อพิจารณาแล้วจึงระบุว่า เนื้อทองคำที่สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ เป็น
"ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา"
ซึ่งมีค่าสูงยิ่ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
18
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-31 10:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คำเรียกเืนื้อทองดังกล่าว เรียกตามมาตรฐานของทองคำแบบไทยเดิม ที่กำหนดเรียกชนิดทองคำเป็นเนื้อต่าง ๆ เทียบกับมูลค่าของเงิน ทองคำชนิดที่มีความบริสุทธิ์สูงสุด คือ
ทองเนื้อเก้า
หนัก 1 บาท มีค่าเท่ากับเงิน 9 บาท ส่วน
"ขา"
หมายถึงหนึ่งสลึง ดังนั้น
"ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา"
จึงหมายถึงทองคำชนิดที่หนัก 1 บาท มีค่าเท่ากับเงิน 7 บาท 2 สลึง แต่ค่าของเงินเมื่อเทียบกับทองย่อมผันแปรไปตามยุคสมัย ต่อมาคำเรียกทองคำเนื้อต่าง ๆ นี้ จึงไม่ได้แสดงถึงราคาเมื่อเทียบกับเงิน เป็นแต่เพียงแสดงค่าความบริสุทธิ์ของเนื้อทองคำเท่านั้น
ทั้งนี้ ทองคำบริสุทธิ์อย่างทองเนื้อเก้าจะมีความอ่อนตัวมาก ไม่สามารถหล่อเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ได้ โดยทั่วไปการหล่อพระพุทธรูปทองต้องใช้ทองเนื้อรองลงมา จึงจะมีความแข็งแกร่งเพียงพอ ซึ่งทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขาที่ใช้สร้างพระสุโขทัยไตรมิตรก็จัดเป็นทองคำที่มีความบริสุทธิ์สูง จึงเปล่งประกายความสุกปลั่งออกมาอย่างงดงาม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
19
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-31 10:53
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ยอดพระเกตุมาลา
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
เป็นประธานในพิธีสวมพระเกตุมาลา และสมโภชฉลองพระพุทธรูปทองคำ
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499
เมื่ออัญเชิญพระสุโขทัยไตรมิตรขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิหารแล้ว วัดไตรมิตรวิทยารามได้จัดงานฉลองสมโภชในวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ต่อมา พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามพระสุโขทัยไตรมิตรว่า "
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร"
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54553
20
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-31 10:53
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
หรือ
หลวงพ่อทองคำ
ประดิษฐาน ณ วิหารทรงไทยจตุรมุขเป็นเวลายาวนานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 สภาพอาคารได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา กอปรกับมีนักท่องเที่ยวมาสักการบูชาและชื่นชมความงดงามยิ่งใหญ่ของพระพุทธรูปทองคำเป็นจำนวนมาก สถานที่ประดิษฐานจึงคับแคบ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
/ 3 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...