ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระองค์ที่ ๒ : สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 10:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จัดสมณทูตไทยไปลังกาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

ในยุคที่ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงเป็นมหาสังฆปรินายกนี้เอง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้จัดสมณทูต
ออกไปสืบข่าวพระศาสนา ณ ลังกาทวีป เป็นครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์  
หลังจากที่ว่างเว้นการติดต่อกันมาเป็นเวลานานกว่า ๕๐ ปี
นับแต่คณะพระสงฆ์ไทยครั้งกรุงศรีอยุธยา
ที่มีพระวิสุทธาจารย์เป็นประธาน  ออกไปเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๘ เป็นครั้งหลังสุด
สาเหตุที่โปรดเกล้าฯ ให้จัดสมณทูตออกไปลังกาครั้งนี้
ดังมีรายละเอียดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร ดังนี้

“เมื่อปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๕๒
แต่ในปลายรัชกาลที่ ๑ มีพระภิกษุชาวลังกาชื่อพระวลิตรภิกษุรูป ๑ กับสามเณร ๒ รูป
เข้ามาจากเมืองนครศรีธรรมราชมาถึงกรุงเทพฯ
โปรดให้วลิตรภิกษุกับสามเณรชื่อ รัตนปาละ
ไปอยู่ในสำนักสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดมหาธาตุ สามเณรอีกรูป ๑ ชื่อ หิธายะ
ให้ไปอยู่ในสำนักสมเด็จพระวันรัตน์วัดพระเชตุพน

ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ สามเณรลังกาทั้ง ๒ รูป ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุสยามวงศ์
เพราะถือว่าเป็นวงศ์เดียวกับพระสงฆ์ในลังกาทวีป ซึ่งได้รับอุปสมบท
แต่พระอุบาลีที่ออกไปในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศครั้งกรุงเก่า
จึงโปรดให้สามเณรทั้ง ๒ นี้เป็นนาคหลวงบวชในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
และพระราชทานนิตยภัตไตรปีสืบมา

ครั้นมาถึงปีระกา เบญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖
มีพระลังกาเข้ามาถึงกรุงเทพฯ อีกรูป ๑ ชื่อพระศาสนวงศ์
อ้างว่าพระมหาสังฆนายกในลังกาทวีปให้เชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาถวายแด่
สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา แต่ไม่มีสมณสาสน์หรือสำคัญอันใดมา

ครั้นไต่ถามถึงการพระศาสนาในลังกาทวีป
พระศาสนวงศ์ก็ให้การเลื่อนเปื้อนไปต่างๆ
ซ้ำมาเกิดรังเกียจไม่ปรองดองกันกับพระลังกาที่เข้ามาอยู่แต่ก่อน
วัตรปฏิบัติก็ไม่น่าเลื่อมใสด้วยกันทั้ง ๒ รูป
จึงเป็นเหตุให้ทรงแคลงพระราชหฤทัยว่าจะมิใช่พระที่ได้รับอุปสมบทมาแต่ลังกาทวีป

12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 10:15 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทรงพระราชดำริว่าพระสงฆ์ในลังกาทวีป
ก็เป็นสมณวงศ์อันเดียวกันกับพระสงฆ์ในสยามประเทศ
เคยมีสมณไมตรีต่อกันมาแต่ครั้งกรุงเก่า แต่เริดร้างมาเสีย
เพราะเกิดเหตุศึกสงคราม ไม่ได้ไปมาหาสู่ถึงกันช้านาน

บัดนี้กรุงสยามก็ได้ประดิษฐานพระนครรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
มีอิสระมั่นคงแล้ว แลได้ข่าวว่าลังกาทวีปเสียแก่อังกฤษ
การพระศาสนาแลศาสนวงศ์ในลังกาทวีปจะเป็นอย่างไร
ควรจะสืบสวนให้ทราบความจริงไว้

จึงทรงเผดียงสมเด็จพระวันรัตน์ (มี) วัดราชบูรณะ กับพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี)
ให้จัดหาพระภิกษุสงฆ์ทั้งฝ่ายคณะใต้แลคณะเหนือ
จะมีองค์ใดศรัทธาออกไปยังลังกาทวีปบ้าง

สมเด็จพระวันรัตนจัดได้พระวัดราชบูรณะ ๕ รูป คือ
พระอาจารย์ดีรูป ๑ พระอาจารย์เทพรูป ๑ พระแก้วรูป ๑ พระคงรูป ๑ พระห่วงรูป ๑
พระพุทธโฆษาจารย์จัดได้พระวัดมหาธาตุ ๔ รูป คือ พระอาจารย์อยู่รูป ๑ พระปรางรูป ๑
พระเซ่งรูป ๑ พระม่วงรูป ๑ รวมพระสงฆ์ไทย ๙ รูป

ครั้งนั้นพระรัตนปาละ พระหิธายะชาวลังกา ซึ่งเข้ามาอุปสมบทในกรุงเทพฯ
ทราบว่าพระสงฆ์สมณทูตไทยจะออกไปลังกา
ถวายพระพรลาจะออกไปเยี่ยมญาติโยมของตนด้วย
โปรดให้ไปกับสมณทูต พระสงฆ์ที่จะไปจึงรวมเป็น ๑๐ รูปด้วยกัน”


สมณทูตคณะนี้ ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๓๕๗
เนื่องจากเรือเกิดชำรุด ต้องติดค้างอยู่ที่นครศรีธรรมราชเป็นเวลา ๑๑ เดือน
จากนครศรีธรรมราชเดินบกไปขึ้นเรือที่เมืองตรัง
ออกเดินทางจากเมืองตรังเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๓๕๘
ถึงเกาะลังกา เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๕๙ สมณทูตไทยอยู่ในลังกา ๑๒ เดือน
จึงเดินทางกลับ ออกเดินทางจากลังกาเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๓๖๐
มาพักอยู่ที่เกาะหมาก (ปีนัง) ๔ เดือน ถึงกรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๓๖๑

ในการจัดสมณทูตไปลังกาครั้งนี้ แม้ว่าจะมิได้โปรดเกล้าฯ ให้
สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) เป็นผู้จัดการเรื่องต่างๆ โดยตรงเนื่องจากทรงชราภาพ
แต่ก็คงเป็นที่ทรงปรึกษาในการนี้ด้วยพระองค์หนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย
เพราะทรงเป็นพระมหาเถระรัตตัญญูอยู่ในเวลานั้น
ทั้งทรงทันรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยามาด้วย
จึงคงจะทรงทราบธรรมเนียมแบบอย่างทางคณะสงฆ์มาเป็นอันดี
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-29 10:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอวสานกาล

ในตอนปลายอายุของท่านซึ่งทรงพระชราทุพพลภาพมากขึ้น  
ทรงโปรดรับสั่งให้ สมเด็จพระพนรัตน (มี)   วัดเลียบหรือวัดราชบุรณะ
รับพระราชภาระในตำแหน่งหน้าที่บริหารแทน เช่น  ได้ทรงคัดเลือกสมณทูตไทย  
เพื่อไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังลังกาทวีป  ฯลฯ  ดังความตอนหนึ่งที่กล่าวมาแล้ว

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลานานถึง ๒๓ ปี
นับว่ายาวนานกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ที่เคยมีมาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์  
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๓๗ ก็สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๕๙
ตรงกับวันพุธ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด อัฐศก เวลา ๒ โมงเช้า ในรัชกาลที่ ๒
ทรงมีพระชนมายุเท่าใดไม่ปรากฏชัด ด้วยไม่พบดวงชะตาเหมือนสังฆราชองค์อื่นๆ  

แต่มีหลักฐานสันนิษฐานว่าอายุอ่อนกว่า สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น)  กรุงธนบุรี  
แต่แก่กว่า สมเด็จพระพนรัตน วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน)
ถ้าประมาณว่าอ่อนกว่าสมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) ๒ ปี แก่กว่าสมเด็จพระพนรัตน ๒ ปี  
ประมาณปีเกิดในปีกุน จุลศักราช ๑๐๙๓ พุทธศักราช ๒๒๗๔  

ถ้าเช่นนั้นเมื่อเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระชนมายุ ๖๓ พรรษา
เมื่อสิ้นพระชนม์ได้ ๘๖ พรรษา ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ ๒๓ ปี  
ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงสันนิษฐานว่า คงมีพระชนมายุเกิน ๘๐ พรรษา

    

รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
หนังสือชุดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ :  
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์, สุเชาวน์ พลอยชุม เรียบเรียง, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.  
http://www.dharma-gateway.com/
http://www.mbu.ac.th/
http://mahamakuta.inet.co.th/


.......................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=44311

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้