ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระองค์ที่ ๑ : สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
1
2
/ 2 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: kit007
พระองค์ที่ ๑ : สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
11
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-29 08:20
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
จากเรื่องราวของการสังคายนาครั้งนี้กล่าวได้ว่า
สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
ทรงเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการ
นับแต่ทรงเป็นประธานสงฆ์ ถวายคำแนะนำแด่
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชให้ทรงตระหนักถึงความสำคัญ
ของการธำรงรักษาพระธรรมวินัย ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์
เป็นเหตุให้ทรงพระราชวิริยะอุตสาหะ จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น
และในการทำสังคายนา สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ก็ทรงแสดงพระปรีชาสามารถ
โดยทรงเป็นแม่กองชำระพระสุตตันตปิฎก
ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า การทำสังคายนาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
สมพระราชประสงค์ทุกประการ
โดยการอำนวยการของสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) โดยแท้
นับเป็นพระเกียรติประวัติอีกประการหนึ่งของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น
พระไตรปิฎกฉบับสังคายนาเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ นี้เอง
ที่ได้เป็นแม่ฉบับสำหรับตรวจสอบในการจัดพิมพ์เป็นอักษรไทยครั้งแรก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑
เป็นเล่มหนังสือจำนวน ๓๙ เล่ม ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่งและเพิ่มเติมจนครบบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘
เป็นเล่มหนังสือจำนวน ๔๕ เล่ม เรียกว่า
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ
ดังที่ใช้เป็นแบบอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
12
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-29 08:21
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระกรณียกิจพิเศษ
สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑
และสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ อีก ๒ พระองค์
คือ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ
และสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์
ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
ครั้นทรงผนวชแล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
เสด็จไปประทับอยู่วัดสมอราย (คือวัดราชาธิวาส ในปัจจุบัน)
เพื่อทรงศึกษาสมณกิจในสำนัก
พระปัญญาวิสาลเถร (นาค)
ตลอด ๑ พรรษา แล้วจึงทรงลาผนวช
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
13
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-29 08:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอวสานกาล
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นเวลา ๑๒ ปี
และทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๒๕
ก็สิ้นพระชนม์เมื่อเดือน ๕ ปีขาล จุลศักราช ๑๑๕๖ พุทธศักราช ๒๓๓๗
ในรัชกาลที่ ๑ รวมเวลาอยู่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๒ ปี เช่นกัน
ทรงมีพระชนมายุเท่าใดไม่ปรากฏชัด
ในกฎพระสงฆ์กล่าวถึงพระองค์ว่า
“สมเด็จพระสังฆราชผู้เฒ่า”
จึงน่าจะมีพระชนมายุสูงไม่น้อยกว่า ๘๐ พรรษา
..............................................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=44312
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
1
2
/ 2 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...