ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
••• ประวัติตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไทย •••
1
2
/ 2 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: kit007
••• ประวัติตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไทย •••
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
11
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-29 07:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
และมาตรา ๙ ว่า
“สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม”
ตามกฎหมายนี้ สมเด็จพระสังฆราช ในฐานะสกลมหาสังฆปริณายก
ทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยพระองค์เองได้
และในฐานะประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
ย่อมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารคณะสงฆ์และกิจการพระศาสนาทั้งหมด
ต่างกับสมัยแรกที่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่พระมหากษัตริย์
สมัยต่อมามีอำนาจแต่เพียงในนาม
พระประมุขจะใช้อำนาจบัญชาการก็ต้องผ่านสังฆสภา สังฆมนตรี และคณะวินัยธร
อำนาจสมเด็จพระสังฆราชในปัจจุบันเท่ากับอำนาจสังฆนายก ประธานสังฆสภา
และประธานคณะวินัยธร รวมกัน
เพราะองค์กรทั้งสาม คือสังฆสภา คณะสังฆมนตรี คณะวินัยธร
ตามกฎหมายปี ๒๔๘๔ รวมเป็นมหาเถรสมาคม
ตามกฎหมายนี้จึงแยกพิจารณาเป็น ๒ ส่วนคือ
๑. อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก
๒. อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก
เป็นอำนาจในตำแหน่งพระประมุขโดยตรง มี ๒ ประการ คือ
อำนาจบัญชาการคณะสงฆ์กับอำนาจตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
อำนาจบัญชาการ หมายถึงอำนาจที่จะสั่งการใดๆ
อำนาจตราพระบัญชาคือ อำนาจที่จะวางระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติใดๆ ได้
เมื่อมีพระดำริเห็นว่าเป็นการสมควรในการบริหารคณะสงฆ์
กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างกว้างๆ มีข้อจำกัดเพียงว่า
การบัญชาการและการตราพระบัญชานั้น ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย
พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม
หากขัดแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม
ก็ไม่มีผลบังคับ คำสั่งหรือพระบัญชานั้นใช้ไม่ได้
อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
นับเป็นอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหาร
และการปกครองคณะสงฆ์ร่วมกับมหาเถรสมาคม
ซึ่งมีอำนาจออกกฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือออกคำสั่ง
เพื่อให้การปกครองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับกฎหมายและพระธรรมวินัย
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘
มหาเถรสมาคมเป็นสถาบันบริหารการคณะสงฆ์ส่วนกลาง
ซึ่งรวมอำนาจสังฆสภา คณะสังฆมนตรี และคณะวินัยธร ตามกฎหมายเก่าเข้าไว้
อำนาจของสมเด็จพระสังฆราชในตำแหน่งนี้จึงกว้างขวาง
และมีความรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารคณะสงฆ์ร่วมกับมหาเถรสมาคม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
12
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-29 07:42
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เริ่มจากการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สังฆมณฑลไทยมีพระมหาเถระผู้ได้รับการสถาปนา
เป็นสมเด็จพระสังฆราช รวมทั้งหมด ๑๙ พระองค์
ประกอบด้วย
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ๓ พระองค์,
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ๒ พระองค์
และสมเด็จพระสังฆราช ๑๔ พระองค์
ดังต่อไปนี้
๑.
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๗
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๒ ปี สมัยรัชกาลที่ ๑
๒.
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๓๗-๒๓๕๙
ดำรงสมณศักดิ์ ๒๓ ปี สมัยรัชกาลที่ ๑
๓.
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๕๙-๒๓๖๒
ดำรงสมณศักดิ์ ๓ ปีเศษ พระชนมายุ ๗๐ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๒
๔.
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๖๓-๒๓๖๕
ดำรงสมณศักดิ์ ๑ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๙ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๒
๕.
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๖๕-๒๓๘๕
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๙ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๑ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๒-๓
๖.
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
วัดราชบุรณะ ราชวรวิหาร (วัดเลียบ) พ.ศ. ๒๓๘๖-๒๓๙๒
ดำรงสมณศักดิ์ ๕ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๖ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๓
๗.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
(พระองค์เจ้าวาสุกรี สุวณฺณรํสี)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๓๙๖
ดำรงสมณศักดิ์ ๑ ปีเศษ พระชนมายุ ๖๔ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๔
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
13
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-29 07:44
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๘.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๓๕
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๑ เดือนเศษ พระชนมายุ ๘๓ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๕
๙.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๔๒
ดำรงสมณศักดิ์ ๖ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๗ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๕
๑๐.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๔
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๐ ปีเศษ พระชนมายุ ๖๑ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๖
๑๑.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๘๐
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๖ ปีเศษ พระชนมายุ ๗๘ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๖-๗
๑๒.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗
ดำรงสมณศักดิ์ ๖ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๙ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๘
๑๓.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๕๐๑
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๓ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๖ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๘-๙
๑๔.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๕
ดำรงสมณศักดิ์ ๒ ปีเศษ พระชนมายุ ๗๔ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๙
๑๕.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๐๘
ดำรงสมณศักดิ์ ๒ ปีเศษ พระชนมายุ ๙๑ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๙
๑๖.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)
วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๔
ดำรงสมณศักดิ์ ๖ ปีเศษ พระชนมายุ ๗๕ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๙
๑๗.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๖
ดำรงสมณศักดิ์ ๑ ปีเศษ พระชนมายุ ๗๘ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๙
๑๘.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๓๑
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๔ ปีเศษ พระชนมายุ ๙๑ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๙
๑๙.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๕๖
ดำรงสมณศักดิ์ ๒๔ ปีเศษ พระชนมายุ ๑๐๐ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๙
รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์ ชั้นปริญญาตรี คณะพุทธศาสตร์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดย ปลื้ม โชติษฐยางกูร
http://www.dharma-gateway.com/
http://www.mbu.ac.th/
http://mahamakuta.inet.co.th/
......................................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=19521
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
1
2
/ 2 หน้า
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...