3. เหรียญหลวงพ่อวงศ์ ระยอง รุ่น บ้านค่าย สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี 2478
4. เหรียญทรงอาร์มหลวงพ่อวงศ์ ระยอง ฉลองอายุ 80 ปีรุ่นนี้ทีวัดภาพถ่ายเก่าเขียนไว้ว่ารุ่น 4-5
เหรียญทรงอาร์มหลวงพ่อวงศ์ ระยอง ฉลองอายุ 80 ปีรุ่น4 เนื้อทองเเดงกะหลั่ยเงินมีรอยจารด้านหลังองค์พระบล๊อกนิยมสระเอไม่เเตกหลวงพ่อวงศ์จัดสร้างเมื่อ พ.ศ.2480 เป็นบล๊อกนิยม ส่วนภาพล่างเป็นของบล๊อกสระเอเเตกหลวงพ่อดิ่งจัดสร้างเมื่อ พ.ศ.2496 หรือ 2497
การโชว์เหรียญหลวงพ่อวงศ์ ระยอง เเต่ละประเภทนั้นเป็นการโชว์
เพื่อเเนวทางศึกษาเท่านั้นไม่อาจเป็นข้อยุติว่าเป็นเหรียญเเท้เเละเหรียญไม่เเท้ การเช่าซื้อเเละสะสมควรระวังเพราะของเก๊มีทุกรุ่น การเช่าซื้อควรปรึกษาผู้รู้ขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกเหรียญในที่นี้ไม่ไช่เป็นพาณิชย์เเละขอบคุณข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่เเละวัดบ้านค่ายที่ให้ข้อมูล ขอบคุณครับ
ข้อความทั้งหมดท่านสามารถใช้เพื่อทางการศึกษาได้
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://bermudathai.blogspot.com/2012/07/80.html
วิธีดูเหรียญ แท้ ปลอม สร้างเมื่อไร มีเกณฑ์พิจารณาอย่างไร
วิธีดูว่าเหรียญหลวงพ่อมีอายุเท่าไร สร้างในพ.ศ.ไหนตามหลักมาตรฐาน สากลนิยม
ในปัจจุบันนี้ พระเครื่องประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญคณาจารย์รุ่นเก่าๆ โดยเฉพาะเหรียญหลักยอดนิยมในอันดับต้นๆ มีค่านิยมสูงมาก การทำปลอม จึงมีการพัฒนาวิธีการทำได้ใกล้เคียงของแท้มาก เนื่องจากของปลอมนำเหรียญแท้ไปถอดพิมพ์ จึงทำให้ของปลอมมีจุดตำหนิที่ด้านหน้าและด้านหลังของเหรียญ ใกล้เคียงกับของแท้มาก จะแตกต่างกันที่ความชัดของตัวหนังสือ และความชัดของเส้นแตก รูเจาะหูเหรียญ ตลอดจน ขอบข้างของเหรียญ ซึ่งเป็นจุดสำคัญ ในการพิจารณาเหรียญที่สำคัญที่สุด
ท่านจะเห็นได้ว่า ในการซื้อ-ขายเหรียญนั้น ผู้ชำนาญการจะจบลงที่การพิจารณาขอบข้างของเหรียญ ซึ่งเป็นบทสรุปในการพิจารณาว่า แท้หรือไม่ เพราะขอบด้านข้างของเหรียญ ยังไม่สามารถปลอมแปลงได้เหมือน เนื่องจากร่องรอยที่เกิดขึ้นที่ด้านข้างของเหรียญนั้น เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากขั้นตอนการผลิต
อย่างไรก็ตาม การปั๊มตัดข้างเหรียญนั้น แบ่ง ออกเป็น 3 ยุค คือ 1.ยุคประมาณ พ.ศ.2440-พ.ศ.2485 2.ยุคประมาณ พ.ศ.2486-พ.ศ.2499 3.ยุคประมาณ พ.ศ.2500-ปัจจุบัน
1. เหรียญช่วงปี พ.ศ.2440-พ.ศ.2485 นิยมสร้างเหรียญที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา รูปทรงเหรียญทั้งสี่แบบนี้ สามารถแยกกรรมวิธีการสร้างได้เป็น ๒ ชนิด คือ เหรียญปั๊มชนิดข้างเลื่อย และเหรียญปั๊มชนิดข้างกระบอก ซึ่งเหรียญที่มีกรรมวิธีการสร้างทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรายละเอียด คือ เหรียญปั๊มข้างเลื่อย คือ การนำแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของตัวเหรียญ มาทำการปั๊มขึ้นรูปเหรียญ ให้ได้ตามลักษณะรูปทรงของเหรียญ ตามต้องการ จากนั้นนำมาเลื่อยฉลุโลหะส่วนที่เกินออกมาเป็นเหรียญตามรูปทรงนั้นๆ วิธีการนี้จึงเรียกว่า "เหรียญปั๊มข้างเลื่อย" ซึ่งบริเวณด้านข้างของเหรียญจะปรากฏรอยเลื่อยให้เห็นเหรียญปั๊มข้างกระบอก คือ เหรียญปั๊มข้างกระบอกนั้น ส่วนใหญ่โรงงานปั๊มเหรียญจะทำบล็อกกระบอกเป็นรูปทรงกลม และรูปไข่เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการทำกระบอกที่จะนำมาปั๊มเหรียญจะมีวิธีทำที่ไม่ยุ่งยาก และไม่เสียเวลามากนัก แต่เหรียญที่มีข้างกระบอกไม่ได้มีเพียงรูปทรงกลมและรูปไข่เท่านั้น รูปทรงเสมาและรูปทรงอาร์มก็มีเช่นกัน แต่น้อยมาก เนื่องด้วยกรรมวิธีการทำที่ยุ่งยากกว่า
เท่าที่พบในการสร้างเหรียญปั๊มข้างกระบอก รูปทรงอาร์ม และรูปทรงเสมา ในปี พ.ศ.2440-พ.ศ.2485 ก็มีเหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ พิมพ์ขอเบ็ด เหรียญหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก พิมพ์หน้าใหญ่ เป็นต้น
การปั๊มแบบข้างกระบอก คือ การนำแผ่นโลหะมาเลื่อยตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั๊ม เพื่อเข้ากระบอก และทำการปั๊มรูปเหรียญนั้นๆ แผ่นโลหะที่ถูกแรงกระแทกจากการปั๊มขึ้นรูปนั้นขอบด้านข้างจะปลิ้น ไปเบียดกับขอบกระบอก ที่เป็นตัวบังคับดังนั้น ด้านข้างของเหรียญปั๊มชนิดนี้จึงเรียบเนียน เนื่องจากการปั๊มเข้ากระบอก โดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ แต่หากพบรอยเส้นทิวบางๆ ในขอบข้างของเหรียญชนิดนี้ก็อย่าตกใจ เพราะสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการที่ช่างแต่งตัวบล็อกกระบอก ที่จะปั๊มเหรียญไม่เรียบ เวลาปั๊มออกมาจึงมีลักษณะไม่ค่อยเรียบตามตัวบล็อค
2.เหรียญปั๊มข้างตัด (ปั๊มตัดแบบยุคเก่า) การสร้างเหรียญชนิดนี้จะอยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ.2486-พ.ศ.2499 เนื่องจากการสร้างชนิดแบบเก่าที่มีการเข้ากระบอก และแบบเลื่อยขอบ มีความยุ่งยาก และเสียเวลา อีกทั้งในช่วงนี้เริ่มมีวิวัฒนาการในการสร้างเหรียญปั๊มขึ้นมาตลอด เครื่องจักรก็เริ่มมีความทันสมัยขึ้น โรงงานมีการทำตัวตัดขึ้นเพื่อความสะดวกในการตัดเหรียญให้ขาด โดยไม่ต้องมาเลื่อยให้เสียเวลาอีก แต่การปั๊มเหรียญและตัดในยุคนั้น จะแตกต่างกับเหรียญในปัจจุบัน คือ ด้านข้างของเหรียญจะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนัก อีกทั้งเหรียญช่วง พ.ศ.นี้ลักษณะของเหรียญด้านหน้าจะนูนเล็กน้อย แต่ด้านหลังจะเป็นแอ่งกระทะ ซึ่งเกิดจากการปั๊มและตัดเหรียญนั่นเอง ตัวอย่างของเหรียญที่สร้างขึ้นในยุคนี้ เช่น เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง บล็อกยันต์วรรค ปี 2486 เป็นต้น
3.เหรียญปั๊มยุค พ.ศ.2500-ปัจจุบัน
ในยุคนี้มีการพัฒนาตัวตัดด้านข้างเหรียญที่ทันสมัย เพื่อความสะดวกในการตัดเหรียญจำนวนมากๆ การพัฒนาตัวตัดยุคนี้จึงค่อนข้างคมชัด บางครั้งในเหรียญหลวงพ่อเดียวกัน มีตัวตัด ๒ ตัว เนื่องจากการสร้างเหรียญในแต่ละครั้งมีจำนวนมากขึ้น เช่น หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่น ปี พ.ศ.2500 และเหรียญ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อทองคำ และเนื้อเงิน ด้วยเหตุนี้ตัวตัดในยุคนี้จึงค่อนข้างคม เพื่อสะดวกในการตัดเหรียญจำนวนมากๆ
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องเหรียญ สามารถศึกษาข้อมูลได้ในหนังสือ "เปิดตำนานเหรียญ" ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมเหรียญดังทุกยุค ทุกรุ่น ทุกพิมพ์ ที่นิยมในวงการพระเครื่อง รวมทั้งเรื่องของเหรียญเก่า เหรียญแพง เหรียญหายาก ที่ยังไม่มีการทำปลอม โดยจะมีรายละเอียดทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และขอบของเหรียญ
http://bermudathai.blogspot.com/2011/02/blog-post.html
|