ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระครูพนังศีลวิสุทธิพุทธภักดี วัดศาลาแก้ว นครศรีธรรมราช
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2336
ตอบกลับ: 3
พระครูพนังศีลวิสุทธิพุทธภักดี วัดศาลาแก้ว นครศรีธรรมราช
[คัดลอกลิงก์]
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54671
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-5-29 01:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
พระครูพนังศีลวิสุทธิพุทธภักดี วัดศาลาแก้ว นครศรีธรรมราช
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54671
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-29 01:23
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระครูพนังศีลวิสุทธิพุทธภักดี วัดศาลาแก้ว นครศรีธรรมราช
พระครูพนังศีลวิสุทธิ์พุทธภักดี เกิดวันพุทธ แรม 15 ค่ำเดือน 4 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 25 เดือน มีนาคม พ.ศ.2401 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่
านเป็นบุตรของนายบุญ แก้วนางพูน (ขณะนั้นยังไม่มีนามสกุลใช้) ท่านเกิดที่บ้านศาลาแก้วแขวงเบี้ยซัด(ในปีพ.ศ.2474ยังเป็นหมู่ที่4ตำบลหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช) บิดามารดามีหน้าที่ทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คือ
1.พระครูพนังศีลวิสุทธิ์พุทธภักดี (หวาน)
2.นางเล็ก
3.นายดิษฐ์
4.นางพลอย
เล่ากันว่าเมื่อมารดาท่านได้ตั้งครรภ์ นางพูนมารดาได้ฝันว่ามีคนถือร่มขาวมาส่งให้เมื่อนางพูนรับเอาร่มนั้นไว้แล้วบุคคลนั้นก็จากไป ความฝันนี้หน้าจะถือว่าเป็นบุพนิมิตอันดีแก่และเป็นมงคลแก่ตัวท่านเองและบิดามารดาเพราะถ้าถือตามคำทำนายฝันที่เชื่อกันว่าท่านจะผู้ใดฝันเห็นร่มท่านจะอยู่เย็นเป็นสุขเป็นที่พึ่งพาอาศัยผู้ใหญ่รักใคร่เอ็นดูจะคิดทำงานใดๆจะประสบผลสำเร็จอย่างดี เมื่อพระครูพนังมีอายุ 8-9 เดือน พอรู้จักคลานและหัดพูดบิดามารดาตั้งชื่อว่าหวาน เมื่ออายุ 9-10ขวบ ได้รับการสั่งสอนให้เป็นคนดีมีมารยาทเป็นเด็กว่านอนสอนง่ายไม่ดื้อดึงเกเร อายุได้ 12 ขวบ บิดามารดาได้พาไปศึกษาเล่าเรียนและวิธีโบราณกับ ท่านอาจารย์บุญทอง วัดศาลาแก้ว ท่านได้เล่าเรียนด้วยการเอาใจใส่และปฏิบัติตามคำสั่งอาจารย์เป็นอย่างดี และมีนิสัยใจคอเยือกเย็นโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนฝูงเมื่ออายุได้ 16ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรวัดศาลาแก้ว ท่านได้เล่าเรียนสวดมนต์ตั้งแต่สิบสองตำนานสวดภานยักษ์สวดพระปาติโมกข์และเทศนาเป็นทำนองก็ได้หลายกัณฑ์มีชื่อเสียงคือคาถาพันบั้นต้นบั้นปลายนับว่าหาตัวจับยากเมื่ออายุครบ 20ปี ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ วัดศาลาแก้วจนได้ 7-8 พรรษา เผอิญเจ้าอาวาสวัดสว่างลงทางการจึงแต่งตั้งท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาแก้วรูปต่อมา ท่านได้เทศนาและสั่งสอนทายกและทายิกกาเวลากลางคืนในฤดูเข้าพรรษาเป็นประจำเกือบทุกพรรษา เป็นการปลูกฝังคุณธรรมแก่ชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54671
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-29 01:23
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อท่าน พระครูพนัง มีอายุ32ปี พรรษา16 นั้นท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปัชฌายะ ท่านได้จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือภายในวัดและเปิดสอนนักธรรมขึ้นที่วัดศาลาแก้วด้วย มีผู้สนใจเข้าศึกษามากพอสมควรท่านมีศิษย์ยานุศิษย์มากมายและมีผู้คนเคารพนับถือมากการจัดสร้างอุโบสถ กุฏิ วิหารก็ได้รับความศรัทธาจากชาวบ้านช่วยสร้างความเจริญให้แก่วัดศาลาแก้วเป็นอย่างยิ่ง และอาจมาจากผู้เลื่อมใสศรัทธาท่านมีสาเหตุหนึ่งในการอิจฉาริษยาจนมีการเกล้าหาว่าท่านทำผิดวินัยสงฆ์ถึงขั้นจะต้องมีการสอบอธิกรณ์ในสมัยนั้นถ้าพระภิกษุผู้กระทำผิดเป็นพระผู้ใหญ่เป็นถึงพระอุปัชฌาย์จะต้องส่งตัวไปสอบสวนที่กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับ พระครูบาศรีวิชัยในภาคเหนือ ที่ต้องถูกหาว่ากระทำการช่องสุมกำลังเป็นกบฏกระทำผิดวินัยก็มีการส่งตัวไปสอบสวนชำระความที่กรุงเทพ เช่นเดียวกัน
เล่ากันว่าในชั้นสอบสวนท่านปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดว่าไม่เป็นความจริงและไม่มีพยานแน่ชัด จนฝ่ายกรรมการสงฆ์ต้องให้การพิสูจน์บริสุทธิ์ด้วยการให้ช้างแทง อันเป็นวิธีการโบราณที่ไม่สามารถหาความจริงได้ว่าผิดจริงหรือไม่ถือกันว่าถ้าช้างแทงหรือทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือถึงตายแสดงว่าผิดจริงถ้าช้างไม่ทำอันตรายใดๆแสดงว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ทำนองเดียวกันกับการพิสูจน์ความจริงในศาลไทยสมัยก่อน เช่นการให้ผู้กระทำผิดดำน้ำ เช่นนั้นเล่ากันว่ามีการขุดหลุมนั่งลงได้เพียงสะเอวปรากฏว่าขณะที่ควาญช้างบังคับให้แทงนั้นช้างไม่ยอมแทง แต่กับหมอบตรงหน้าท่านนี่เป็นพิสูจน์ครั้งแรกต่อจากนั้นกรรมการสงฆ์ผู้ชำระได้ทำการเสี่ยงทายโดยการนำผ้า สีขาว สีดำ สีเหลือง
ใส่บาตรจำนวน 3ใบมาเพื่อเสี่ยงทายคือให้ท่านเลือกบาตรเพียง 1ใบ ถ้าได้บาตรที่มีผ้าสีดำท่านต้องลาสิกขาบท ถ้าได้บาตรที่มีสีขาวท่านต้องถือเพศตาปะขาว ถ้าได้บาตรที่มีผ้าสีเหลืองจึงจะครองสมรเพศเป็นพระภิกษุต่อไป ปรากฏการว่าท่านเสี่ยงทายได้ผ้าสีเหลืองคณะกรรมการสงฆ์ได้ลงเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์พุทธภักดี ได้รับการแต่งตั่งให้เป็นเจ้าคณะหรือเจ้าคณะอำเภอหัวไทรด้วยเมื่อท่านได้กลับมาวัดศาลาแก้วท่านได้รับความเคารพถือศรัทธาจากประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้น และชื่อเสียงของท่านเป็นที่กล่าวขานกันทั่วไปและในด้านศักดิ์สิทธ์อีกด้วย และเล่ากันว่า เมื่อ 60-71 ปีมาแล้ว มีจระเข้อาศัยอยู่ในคลองหัวไทรหลายแห่งรวมทั้งบริเวณใกล้ๆ หน้าวัดศาลาแก้วชาวเขาเล่ากันว่าจระเข้ทุกตัวที่ว่ายน้ำผ่านหน้าวัดจะต้องลอยขึ้นมาให้เห็นเป็นการแสดงความเคารพท่านพระครูพนังทุกครั้ง เด็กวัดสมัยพระครูพนังไม่กลัวจระเข้เพราะถ้าท่านบอกให้ขึ้นฝั่งทุกคนต้องเชื่อฟัง มิฉะนั้นจระเข้จะคาบไปกินได้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Metha
Metha
ออฟไลน์
เครดิต
54671
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-29 01:24
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ท่านพระครูพนังมีความเกี่ยวพันกับ อธิการวัดพัทธสีมาด้านส่วนตัว ที่มีความเคารพนับถือท่านเป็นผู้อาวุโสกว่า คือท่านอธิการชูหรือพ่อท่านชูเฒ่า แห่งวัดพัทธสีมา แก่กว่าท่านพระครูพนังราว 18 ปี และพรรษาก็มากกว่า เล่ากันว่ามีครั้งหนึ่งพ่อท่านชูเฒ่าได้ฝากแตงโมไปถวายพระครูพนังที่วัดศาลาแก้ว1ลูก ท่านให้เด็กวัดผ่าแตงโมนั้นแต่ไม่สามารถผ่าได้ ไม่ว่าจะใช้มีดคมขนาดไหน ท่านจึงบอกให้เอาขวานมาผ่าดูก็ยังผ่าไม่ได้ ท่านก็ทราบว่าแตงโมนี้ไม่ใช้ธรรมดาเสียแล้วแต่เป็นแตงโมที่ใช้คาถาอาคม ท่านจึงรับแตงโมไปผ่าเองก็สามารถผ่าออกได้ยังมีคำเล่ากันอีกเรื่องหนึ่งว่าหนังตะลุงหรือมโนราห์ทุกคณะ ที่เดินทางผ่านหน้าวัดศาลาแก้วจะต้องขออนุญาต โดยการตีกลองหรือประโคมเครื่องดนตรีเป็นการบูชาทุกครั้ง มิเช่นนั้นจะต้องปวดท้องอย่างรุนแรงจะต้องมาขอขมาถึงจะผ่านไปได้จึงเป็นที่รู้จักทั่วไปของหมู่ศิลปินดนตรีทุกครั้งที่ผ่านหน้าวัดศาลาแก้ว
อ้างอิง: อุโภประโยชน์ พระหนูแก้ว
รั้งคณะหมวด พิมพ์ชำร่วยในงานศพ พระครูพนัง
วันที่ 25 มิถุนายน 2474
ประวัติพระเกจิอาจารย์เมืองนคร ข้อมูลโดยคุณปาล์มหัวไทร
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...