ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ฆาราวาส

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-4 09:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
      ประวัติขุนพันธรักษ์ราชเดช หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันคือ ขุนพันธ์ ท่านขุน นายตำรวจร่างเล็กที่มีหัวใจเด็ดเดี่ยว เลือดเนื้อและวิญญาญของท่านคือ ผู้พิทักษ์สันติราษฏร์   พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช มีชื่อเดิมว่า บุตร พันธรักษ์ เกิดเมื่อวัดที่ 18 กุมภาพันธ์ 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์

ขุนพันธรักษ์ราชเดช เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกกับบิดา ตั้งแต่ ก ข ก กา ไปจนจบ พออ่านสมุดข่อยได้บ้างจึงได้เข้าเรียนที่วัดอ้ายเขียวกับอาจารย์ปานซึ่งเป็นสมภาร และอาจารย์นามสมภารรูปต่อมา และที่วัดอ้ายเขียวนี้เองท่านได้เรียนกับครูฆราวาสคนหนึ่งด้วย ชื่อนายหีด เป็นชาวอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ซึ่งอาจารย์ปานได้พามาอยู่ที่วัดนี้ เป็นผู้ที่มีความรู้ ใครๆ เรียกกันว่าหลวงหีด นายหีดได้สอนหนังสือไทยแบบใหม่ให้ คือ ใช้แบบเรียนเร็ว เล่ม 1-2-3 จนท่านขุนมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่ในเกณฑ์ดี หลังจากนั้นท่านจึงเข้าสู่การศึกษาระบบโรงเรียน โดยเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากท่านมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่แล้วก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ดังนั้นเมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ได้ 1 วัน ทางโรงเรียนก็เลื่อนชั้นให้เรียนในชั้นประถมปีที่ 2 และวันรุ่งขึ้นก็เลื่อนชั้นให้เรียนชั้นประถมปีที่ 3 เป็นอันว่าท่านเข้าโรงเรียนได้เพียง 3 วัน ได้เลื่อนชั้นถึง 3 ครั้ง เมื่อครั้งเรียนชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวนป่าน มีพระภิกษุอินทร์ รัตนวิจิตร เป็นผู้สอน เรียนอยู่ประมาณ 2 เดือน โรงเรียนนั้นก็ถูกยุบ ท่านจึงเข้าเรียนในชั้นเดิม ที่โรงเรียนวัดพระนคร ตำบลพระเสื้อเมือง (ปัจจุบันคือตำบลในเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีครูเพิ่ม ณ นคร เป็นครูประจำชั้น เรียนจบชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน ในปี พ.ศ.2456 ได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (โรงเรียนเบจมราชูทิศในปัจจุบัน) พอเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ได้ไม่กี่เดือนก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะป่วยเป็นโรคคุดทะราด ต้องพักรักษาตัวปีกว่า เมื่อหายจึงคิดจะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเดิมแต่ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 2 และปีที่ 3 แล้ว จึงเปลี่ยนใจเดินทางเข้าไปศึกษาที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2459 โดยไปอยู่กับพระปลัดพลับ บุณยเกียรติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า ที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) ได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขณะเรียนที่โรงเรียนนี้ได้เรียนวิชามวย ยูโด และยิมนาสติกจากครูหลายคน เช่น ครูย้อย ครูศิริ ครูนก ครูมณี จนมีความชำนาญพอสมควร ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ 8 ในปี พ.ศ.2467 ต่อมาในปี 2468 จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม ขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ 5 ปี สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ.2472

หลังจากจบการศึกษาแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ.2473 เป็นนักเรียนทำการอยู่ 6 เดือน ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2474 ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมืองจังหวัดพัทลุง ที่พัทลุงนี่เองท่านได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงราชการและคนทั่วไป โดยการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสัง หรือเสือพุ่ม ซึ่งเป็นเสือร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง ขุนพันธรักษ์ราชเดชเล่าว่า เสือสังนี้มีร่างกายใหญ่โต ดุร้าย และมีอิทธิพลมาก มาอยู่ในความปกครองของกำนันตำบลป่าพยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง นอกจากนั้นแล้วยังมีคนใหญ่คนโตหลายคนให้ความอุ้มชูเสือสัง จึงทำให้เป็นการยากที่จะปราบได้ แต่ท่านก็สามารถปรามเสือสังได้ในปีแรกที่ย้ายมารับราชการ โดยท่านไปปราบร่วมกับ พลตำรวจเผือก ด้วงชู มี นายขี้ครั่ง เหรียญขำ เป็นคนนำทาง การปราบปรามเสือสังครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ตอนนั้นจเรพระยาศรีสุรเสนา ไปตรวจราชการตำรวจที่พัทลุงพอดี ผู้ปราบเสือสังจึงได้รับความดีความชอบ คือ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบิตร์ พันธรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นร้อยตำรวจตรี พลตำรวจเผือก ชูด้วง เป็นสิบตรี และนายขี้ครั่ง ได้รับรางวัล 400 บาท หลังจากนั้นมาอีก 1 ปี ท่านก็ได้ปราบผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ 16 คน เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เป็นต้น ด้วยความดีความชอบ จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช" และในปี พ.ศ.2478 ได้รับเลื่อนยศเป็นนายร้อยตำรวจโท และในปีนี้ได้อุปสมบทที่วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี (แบน) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชอยู่ได้ 1 พรรษา จึงลาสิกขา

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-4 09:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ในปี พ.ศ.2479 ขุนพันธรักษ์ราชเดชท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจ ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ได้ปราบโจรผู้ร้ายหลายคน การปราบโจรครั้งสำคัญและทำให้ท่านมีชื่อเสียงมากคือ การปราบผู้ร้ายทางการเมืองมีนราธิวาส ในปี     พ.ศ.2481 หัวหน้าโจรชื่อ " อะแวสะดอตาเละ " นัยว่าเป็นผู้ที่อยู่ยงคงกระพัน เที่ยวปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยเท่านั้น ในที่สุดก็ถูกขุนพันธ์ฯ จับได้ ท่านจึงได้รับฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า " รายอกะจ ิ" และได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกในปีนั้นเอง
       พ.ศ.2482 ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับกองเมืองพัทลุง ปี พ.ศ.2485 ย้ายเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ปราบปรามโจรหลายราย รายสำคัญ คือ เสือสาย และเสือเอิบ หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น คือ ในปี พ.ศ.2486 ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดพิจิตร ได้ปฏิบัติหน้าที่มีความดีความชอบเรื่อยมา และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายมากมาย ที่สำคัญคือการปราบ เสือโน้ม หรืออาจารย์โน้ม จึงได้รับพระราชทานยศเป็นพันตำรวจตรี พ.ศ.2489 ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท ได้ปะทะและปราบปรามเสือร้ายหลายคน เช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า ผู้ร้ายในเขตจังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรีชุกชุมมากขึ้นทุกวันยากแก่การปราบปรามให้สิ้นซาก จึงได้ตั้งกองปราบพเศษขึ้น โดยคัดเลือกเอาเฉพาะนายตำรวจที่มีฝีมือในการปราบปรามรวมได้ 1 กองพัน แต่งตั้งให้ พ.ต.ต.สวัสดิ์ กันเขตต์ เป็นผู้อำนวยการกองปราบ และ พ.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นรองผู้อำนวยการ กองปราบพิเศษได้ประชุมนายตำรวจที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2489 เพื่อวางแผนกำจัดเสือฝ้าย แต่แผนล้มเหลว ผู้ร้ายรู้ตัวเสียก่อน ขุนพันธ์ฯ ได้รับคำสั่งด่วนให้สกัดโจรผู้ร้ายที่จะแตกเข้ามาจังหวัดชัยนาท ครั้งนั้นขุนพันธ์ฯ ใช้ดาบเป็นอาวุธคู่มือแทนที่จะใช้ปืนยาว ดาบนั้นถุงผ้าแดงสวมทั้งฝักและด้าม คนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า "ขุนพันธ์ดาบแดง" ฝีมือขุนพันธ์ฯ เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชีพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง 2000 บาท เพื่อไม่ให้ปราบปราม แต่ขุนพันธ์ฯ ไม่สนใจ คงปฏิบัติหน้าที่อย่างดีจนปราบปรามได้สำเร็จ ท่านอยู่ชัยนาท 3 ปี ปราบปรามเสือร้ายต่างๆ สงบลง แล้วได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่อยุธยา อยู่ได้ประมาณ 4เดือนเศษก็เกิดโจรผู้ร้ายชุกชมที่กำแพงเพชร ตอนนั้นเป็นระยะเปลี่ยนอธิบดีกรมตำรวจ และขุนพันธ์ฯ ก็ถูกใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมอาชีพว่าเป็นโจรผู้ร้าย พล.ร.ต.หลวงสังวรยุทธกิจ อธิบดีกรมตำรวจยังเชื่อมั่นว่าขุนพันธ์ฯ เป็นคนดี จึงโทรเลขให้ไปพบด่วน และแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ.2490 ขุนพันธ์ฯ ได้ปรับปรุงการตำรวจภูธรของเมืองนี้ให้มีสมรรถภาพขึ้น และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายต่างๆ ที่สำคัญคือ เสือไกร กับ เสือวัน แห่งอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ฝีมือการปราบปรามของขุนพันธ์ฯยิ่งลือกระฉ่อนไปไกล

     ต่อมาในปี พ.ศ.2491 ทางจังหวัดพัทลุงมีโจรผู้ร้ายกำเริบชุกชุมขึ้นอีก ราษฎรชาวพัทลุงนึกถึงขุนพันธ์ฯ นายตำรวจมือปราบ เพราะเคยประจักษ์ฝีมือมาแล้ว จึงเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจ ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอตัวขุนพันธ์ฯกลับพัทลุงเพื่อช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย กรมตำรวจอนุมัติตามคำร้องขอ ขุนพันธ์ฯ จึงได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุงอีกวาระหนึ่ง ได้ปราบปรามเสือร้ายที่สำคัญๆสิ้นชื่อไปหลายคน ผู้ร้ายบางรายก็หนีออกนอกเขตพัทลุงไปอยู่เสียที่อื่น นอกจากงานด้านปราบปรามซึ่งเป็นงานที่ท่านถนัดและสร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นพิเศษแล้ว ท่านยังได้พัฒนาเมืองพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยปรับปรุงชายทะเลตำบลลำปำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และให้มีตำรวจคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารถรไฟที่เข้าออกเมืองพัทลุง ทำให้เมืองพัทลุงในสมัยที่ท่านเป็นผู้กำกับการตำรวจ มีความสงบสุขน่าอยู่ขึ้นมาก ตำรวจที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เลิกไปเมื่อกรมตำรวจจัดตั้งกองตำรวจรถไฟขึ้น ด้วยความดีความชอบในหน้าที่ราชการ ท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพันตำรวจโทในปี พ.ศ.2493 ท่านอยู่พัทลุงได้ 2 ปีเศษ จนถึง พ.ศ.2494 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2503 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ.2507

     ตลอดชีวิตรับราชการ พล.ต.ต.ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติประวัติในการปราบปรามโจรผู้ร้ายคนสำคัญๆ ของจังหวัดต่างๆ ที่ท่านไปประจำอยู่ จนเป็นที่เลื่องลือของคนทั่วไปและเป็นคนที่ครั่นคร้ามของโจรก๊กต่างๆ นับได้ว่าท่านเป็นนายตำรวจมือปราบคนสำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย และด้วยฝีมือในการปราบปรามนี้เองทำให้ท่านได้รับการเลื่อนยศและตำแหน่งสูงขึ้นเป็นลำดับมา แม้เกษียณแล้วท่านก็ยังสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมืองเสมอมา เช่น ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในสมัยเลือกตั้งปี พ.ศ.2516 เป็นต้น


พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช

   นอกจากเกียรติคุณทั้งในและนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวมาแล้ว ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ยังมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญซึ่งควรกล่าวถึงคือ เป็นนักวิชาการที่สำคัญคนหนึ่ง ท่านเป็นทั้งนักอ่านและนักเขียน ได้เขียนเรื่องราวต่างๆ ลงพิมพ์ในหนังสือและวารสารต่างๆ หลายเรื่อง ขุนพันธ์ฯ เป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มาก เรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์คาถา-อาคมนอกจากนั้นก็มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งประวัติบุคคลและสถานที่ ตำนานท้องถิ่นมวย และเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง ข้อเขียนต่างๆของท่าน เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ในภาคใต้ สองเกลอ ช้างเผือกงาดำ หัวล้านนอกครู ศิษย์เจ้าคุณ มวยไทย เชื่อเครื่อง กรุงชิง เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องกรุงชิงนั้น ท่านเล่าว่าเป็นเรื่องที่ท่านเขียนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันตามพระบรมราชโองการ และต่อมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้ขออนุญาตนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ใน " รูสมิแล " วารสารของมหาวิทยลัยปีที่ 6 ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ.2526 งานเขียนของท่านส่วนมากจะลงพิมพ์ใน สารนครศรีธรรมราช หนังสืองานเดือนสิบวิชชา (วารสารทางวิชาการของวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช) รูสมิแล (วารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และหนังสือที่ระลึกในโอกาสต่างๆ ของโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ

     ในด้านชีวิตครอบครัว ขุนพันธ์รักษ์ราชเดชมีภรรยาคนแรกชื่อเฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุได้ประมาณ 30 ปี ขณะที่รับราชการอยู่ที่จังหวัดพัทลุง มีบุตรด้วยกัน 8 คน ต่อมาภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงได้ภรรยาใหม่ชื่อสมสมัย มีบุตรด้วยกัน 4 คน


อ้างอิงข้อมูล..www.tumsrivichai.com

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-5 08:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติ "อาจารย์เฮง ไพรยวัล" จากจารึกที่เก็บกระดูกอาจารย์เฮง ณ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนไว้ว่า "เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ สิริอายุ ๗๕ ปี"


พื้นเพท่านเป็นคนบ้านหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาท่านเป็น นายตำรวจ หรือผู้ตรวจการณ์คุก โดยบิดาส่งไปเรียนที่ปีนัง สิงคโปร์ แต่เรียนไม่สำเร็จ ท่านเป็นคนชอบเรียนวิชาไสยศาสตร์ ได้ท่องเที่ยวเล่าเรียนมาแต่ทางภาคใต้ ท่านอาจารย์เฮงเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับ พระยาเพชรปรีชา มีเพื่อนฝูงเป็นเจ้าพระยาหลายคน

เมื่อท่านเดินทางกลับมายังภูมิลำเนา คือ จ.พระนครศรีอยุธยา คราวเมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านให้ความสนใจศึกษาตำรับตำราทางไสยศาสตร์ อันว่าด้วยเวทมนตร์คาถา อักขระเลขยันต์ จากจารึกวัดประดู่โรงธรรมอย่างแตกฉาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัย สมเด็จพระพันรัต วัดป่าแก้ว หรือใน รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) นั้น รวบรวมสรรพวิทยาไสยศาสตร์ โดยจารึกไว้ที่ วัดประดู่โรงธรรม นี้อย่างพร้อมสรรพ

ตำรับวัดประดู่โรงธรรม เป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วย เวทมนตร์คาถาและอักขระเลขยันต์ ที่มีปรากฏและเล่าเรียนสืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์เฮงนั้น ท่านเรียนรู้ตาม คำภีร์รัตนมาลา อย่างแตกฉาน และเจนจบมาก

หลังจากที่ ท่านอาจารย์เฮง สึกจากการอุปสมบทแล้ว ท่านกลับมาครองเพศฆราวาส เริ่มปรากฏชื่อเสียงเกียรติคุณกระเดื่องดัง ทางเป็นพระอาจารย์ของท่าน เริ่มต้นด้วยการเป็น อาจารย์สัก ก่อน

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-5 08:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


หลวงปู่สี เล่าว่า ครั้งกบฏบวรเดช ในสมัยรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๗๖) มีนายทหารและข้าราชการมาให้ท่านสักเป็นจำนวนมาก และจากการที่ท่านอาจารย์เฮง ตั้งพิธีสักที่วัดหันตรานั่นเอง

ครั้งนั้น ท่านอาจารย์เฮง จำเป็นต้องอาราธนาพระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์ในพิธีสักนั้นด้วย ในสมัยนั้น (พ.ศ. ๒๔๗๖) ในท้องที่ จ.พระนครศรีอยุธยา หาพระที่สวดพุทธมนต์และพุทธาภิเษกพิธียากมาก ยกเว้น ท่านอาจารย์สี วัดสะแกเท่านั้น เพราะท่านอาจารย์สีเคยลงมาศึกษาอยู่ที่สำนักวัดเลียบ จ.พระนครศรีอยุธยา และมีความเจนจบในเรื่องนี้อยู่

สืบต่อมาเมื่อท่านอาจารย์เฮง จะประกอบพิธีกรรมครั้งใด จำต้องมาอาราธนาท่านอาจารย์สีไปร่วมพิธีทางฝ่ายสงฆ์อยู่เสมอ

โดยพื้นฐานและฐานะของท่านอาจารย์เฮงนั้น จัดว่าเป็นผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง ท่านมีบ้านเป็นหลักแหล่งอยู่ที่ทุ่งหันตรา มีไร่นา และมีบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ที่วังน้อย เมื่อท่านมีลูกศิษย์ลูกหาทางกรุงเทพฯ มากขึ้น เพื่อความสะดวกในการประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา จึงเชิญท่านมาเช่าบ้านอยู่ที่สวนมะลิ และย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวหน้าสมาคม วาย.เอ็ม.ซี.เอ วรจักร จนกระทั่งสงครามมหาเอเชียระเบิด ท่านจึงอพยพขึ้นไปอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ดังเดิม

*** ตอนสมัยที่ท่านเข้ามาพระนครนั้น เป็นสมัยยุคนักเลง และ อั้งยี่เฟื่องฟู... พวกที่คอยขย้ำกันอยู่ในเมืองกรุงก็มี เก้ายอด หลวงพ่อหรุ่น , พวกยันต์แดง อ.เฮง , สามล้อถีบวัดสามจีน และ พวกลูกศิษย์สาย หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พ่อแก้ว คำวิบูลย์

สมัยนั้น อ.เฮง จอดเรืออยู่หน้า

ที่มา..http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=7805
15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-5 08:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัด เชิงเลน (วัดบพิธภิมุข)... สักกันจนตำรวจต้องไปขอร้องให้เลิกสัก..เพราะลูกศิษย์ลูกหาไปเป็นโจรกันเยอะเหลือเกิน ปราบก็ยาก เนื่องจากคงกระพันนั้นเป็นเลิศทีเดียว...
อ.เฮง ท่านเป็นเลิศในหลายๆด้าน ทั้งไสย ทั้งศิลป์ และท่านยังเป็นเพื่อนซี๊ปึก กับ ครูเหม เวชกร... ครั้งนึง ครูเหม ออกปากว่า.. "..หน้าพรหม ไม่มีใครเขียนให้เห็นได้ทั้งสี่หน้า ที่ อ.เฮงคนเดียว ที่เขียนได้.."

ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้มากครับ แต่ขอยกตัวอย่างชิ้นนึงคือเหรียญพรหม4 หน้า อ.เฮง มีหลายรูปแบบ ทั้ง หน้าโล่ห์ ทรงกลม ข้าวหลามตัด... เป็นที่นิยมมานาน ของแท้นั้นหาดูไม่ง่ายนัก...แต่นับวันยิ่งจะสูญหาย และหาคนเป็นได้น้อยลง ...ที่จะว่ากันวันนี้ ก็จะเป็นเหรียญนิยมที่เรียกว่าเหรียญโล่ห์ และรูปนำมาให้ชมกันวันนี้ เป็น "เหรียญโล่ห์เงิน หน้าทอง" ... โดยองค์พรหมจะเป็นทองคำ ยึดติดกับพื้นเหรียญด้วยวิธีตอกตาไก่ และจะมีรอยจารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ที่สำคัญที่ด้านหลัง กึ่งกลางเหรียญจะลงไว้ด้วยยันต์ "จักรเพชร" หรือ "ยันต์ภา" นั่นเอง โดยการผูกยันต์ภาต่อกันเป็นรูปวงกลม โดยรอบจะมี ตารางตรนิสิงเห . เม อะ มะ อุ , นะ ทรงธรณี รวมทั้งยันต์ห้าด้วย...ลงจารไว้อย่างสวยงามทีเดียว

เหรียญพรหม ของท่าน อ.เฮงนั้น หลายท่านเคยตั้งข้อกังขาว่า พิธีจะครบหรือไม่...ยืนยันครับว่า ครบ ท่าน อาจารย์ผูกพิธีทั้งพุทธ และ พาร์ม อย่างครบถ้วน โดยทางพิธีพุทธนั้น มีหลวงปู่สี วัดสะแก เป็นประธานทุกครั้ง

เครื่องรางชุด "พระมหาพรหมธาดา" นี้ มีดีทุกอย่าง อาราธนาอธิษฐานเอาได้เลย ใช้ได้ทางเมตตา และป้องกันตังแบบครอบจักรวาล เป็นมหาอุด คงกระพัน มีเรื่องเหตุเพทภัย ให้อาราธนาดังนี้ "โอม จัตุรพักตรพรหมา นะมามิหัง" แล้วจะรอดปลอดภัยทุกประการ ด้วยจิตที่ยึดมั่น ใจมั่น

replyanchalit wrote on Oct 3, '08
ดูพศ.ปีเกิดของท่านแล้ว เรียกได้ว่ายุคเดียวกับ อาจารย์จาบ สุวรรณ ฆราวาสผู้เป็นอาจารย์สอนกัมมัฏฐานของวัดประดู่ทรงธรรม เลย

อ.เฮง 2428-2502 (ราว 75 ปี)
ก๋งจาบ 2426-2501 (ราว 75 ปี)

อาจารย์เฮง ในปัจจุบันชื่อเสียงโด่งดังกว่า เพราะท่านสร้างเครื่องรางของขลัง ตกทอดมาถึงทุกวันนี้
ส่วน ก๋งจาบ ท่านใช้ความรู้ความสามารถสงเคราะห์ไปตามเรื่องในสมัยนั้น คงมีแค่ว่าท่านเป็นอาจารย์กัมมัฏฐานวัดประดู่ฯ เป็นผู้รักษาหลวงพ่อปานตอนถูกบังฟัน เป็นเพื่อนกับหลวงพ่อปาน เป็นอาจารย์ของพระเกจิในยุคต่อมา เช่นหลวงพ่อเทียมวัดกษัตฯ หลวงพ่อกี๋วัดหูช้าง หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ท่านคงจะไม่ได้สร้างเครื่องรางอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

เหมือนหลวงพ่อสมัยโบราณที่ท่านสร้างเครื่องรางของขลัง ก็จะดังเป็นตำนานมาถึงปัจจุบัน ส่วนท่านที่เก่งเป็นที่นับถือของชาวบ้านแต่ไม่ได้สร้างเครื่องรางอะไรออกมา ก็เงียบหายไปตามกาลเวลา

replyanchalit wrote on Oct 3, '08
อีกบทความนึงครับ...............

ประวัติ อาจารย์เฮง ไพรวัลย์
จากจารึกที่เก็บกระดูกอาจารย์เฮง ณ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนไว้ว่า "เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ สิริอายุ๗๕ ปี พื้นเพท่านเป็นคนบ้านหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาท่านเป็น นายตำรวจ หรือผู้ตรวจการณ์คุก โดยบิดาส่งไปเรียนที่ปีนัง สิงคโปร์ แต่เรียนไม่สำเร็จ ท่านเป็นคนชอบเรียนวิชาไสยศาสตร์ ได้ท่องเที่ยวเล่าเรียนมาแต่ทางภาคใต้ ท่านอาจารย์เฮงเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับ พระยาเพชรปรีชา มีเพื่อนฝูงเป็นเจ้าพระยาหลายคน เมื่อท่านเดินทางกลับมายังภูมิลำเนา คือ จ.พระนครศรีอยุธยา คราวเมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านให้ความสนใจศึกษาตำรับตำราทางไสยศาสตร์ อันว่าด้วยเวทมนตร์คาถา อักขระเลขยันต์ จากจารึกวัดประดู่โรงธรรมอย่างแตกฉาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัย สมเด็จพระพันรัต วัดป่าแก้ว หรือใน รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) นั้น รวบรวมสรรพวิทยาไสยศาสตร์ โดยจารึกไว้ที่ วัดประดู่โรงธรรม นี้อย่างพร้อมสรรพ ตำรับวัดประดู่โรงธรรม เป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วย เวทมนตร์คาถาและอักขระเลขยันต์ ที่มีปรากฏและเล่าเรียนสืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์เฮงนั้น ท่านเรียนรู้ตาม คำภีร์รัตนมาลา อย่างแตกฉาน และเจนจบมาก หลังจากที่ ท่านอาจารย์เฮง สึกจากการอุปสมบทแล้ว ท่านกลับมาครองเพศฆราวาส เริ่มปรากฏชื่อเสียงเกียรติคุณกระเดื่องดัง ทางเป็นพระอาจารย์ของท่าน เริ่มต้นด้วยการเป็น อาจารย์สัก ก่อน หลวงปู่สี เล่าว่า ครั้งกบฏบวรเดช ในสมัยรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๗๖) มีนายทหารและข้าราชการมาให้ท่านสักเป็นจำนวนมาก และจากการที่ท่านอาจารย์เฮง ตั้งพิธีสักที่วัดหันตรานั่นเอง ครั้งนั้น ท่านอาจารย์เฮง จำเป็นต้องอาราธนาพระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์ในพิธีสักนั้นด้วย ในสมัยนั้น (พ.ศ. ๒๔๗๖) ในท้องที่ จ.พระนครศรีอยุธยา หาพระที่สวดพุทธมนต์และพุทธาภิเษกพิธียากมาก ยกเว้น ท่านอาจารย์สี วัดสะแกเท่านั้น เพราะท่านอาจารย์สีเคยลงมาศึกษาอยู่ที่สำนักวัดเลียบ จ.พระนครศรีอยุธยา และมีความเจนจบในเรื่องนี้อยู่ สืบต่อมาเมื่อท่านอาจารย์เฮง จะประกอบพิธีกรรมครั้งใด จำต้องมาอาราธนาท่านอาจารย์สีไปร่วมพิธีทางฝ่ายสงฆ์อยู่เสมอ
โดยพื้นฐานและฐานะของท่านอาจารย์เฮงนั้น จัดว่าเป็นผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง ท่านมีบ้านเป็นหลักแหล่งอยู่ที่ทุ่งหันตรา มีไร่นา และมีบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ที่วังน้อย เมื่อท่านมีลูกศิษย์ลูกหาทางกรุงเทพฯ มากขึ้น เพื่อความสะดวกในการประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา จึงเชิญท่านมาเช่าบ้านอยู่ที่สวนมะลิ และย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวหน้าสมาคม วาย.เอ็ม.ซี.เอ วรจักร จนกระทั่งสงครามมหาเอเชียระเบิด ท่านจึงอพยพขึ้นไปอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๕ การย้ายครอบครัวในครั้งนั้น ท่านซื้อเรือต่อ หรือเรือข้าวขนาดย่อมลำหนึ่ง ติดเครื่องยนต์แล่นขึ้นไปเป็นการสะดวกในการสัญจร ขณะนั้นที่ถนนหนทางอยู่ในสภาพกันดาร การคมนาคมทางน้ำดูจะมีความสำคัญมาก ภายในเรือของท่านใช้เป็นที่อาศัย ซึ่งพร้อมมูลไปด้วยปัจจัยในการดำรงชีวิต อย่างมีความสุขสบาย นึกจะโยกย้ายหรือท่องเที่ยวไป ณ ที่แห่งใด ก็ย่อมได้ตามความประสงค์ เขาว่าท่านเป็นคนร้อนวิชา อยู่ไม่เป็นที่ จึงชอบท่องเที่ยวไปในถิ่นที่ต่างๆ และจะวนเวียนมาจอดที่ต้นสะตือ วัดสะแก เป็นประจำ เป็นสถานที่ที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านจะไปพบหาท่านได้ที่นั่น อาจารย์เฮง อุปสมบท ๒ ครั้ง ครั้งแรกที่วัดสุวรรณคาราราม จ.พระนครศรีอยุธยา เข้าใจว่าท่านคงจะอุปสมบทเมื่ออายุครบบวชตามประเพณี แต่ในครั้งหลังท่านมาบวชอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ท่านบวชที่ วัดพระญาติการาม โดยมี หลวงพ่อกลั่น ธรรมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาศิลปะวิทยายุทธมาจากหลวงพ่อกลั่นหลายแขนงเหมือนกัน เช่น วิชาฝังเข็ม สำหรับวิชา สักยันต์ ๙ เฮ ชาตรีนั้น ทราบมาว่าเมื่อท่านท่องเที่ยวอยู่ทางภาคใต้ เคยศึกษามากับแขกก่อนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็อาจจะมาเรียนเพิ่มเติมกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม อีกก็เป็นได้ การอุปสมบทของท่านอาจารย์เฮงกับหลวงพ่อกลั่นนั้น เข้าใจว่า ท่านบวชเพื่อประสงค์จะศึกษาวิทยายุทธพุทธาคมกับหลวงพ่อกลั่น
วัดพระญาติการาม ในยุคนั้น หลวงพ่อกลั่นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก โดยปกติท่านปรมาจารย์ด้านพุทธาคมนั้นมักจะมีอุปนิสัยห้าวหาญ เด็ดเดี่ยว มั่นคง ไม่โลเล จึงทำด้านอาคมขลัง สำหรับท่านอาจารย์เฮง นอกจากท่านจะมีอุปนิสัยดังกล่าวแล้วอย่างพร้อมมูล ท่านยังมีความเป็นอัจฉริยะ ในด้านการช่างอย่างอัศจรรย์หลายประการ อาทิ การวาดเขียนภาพต่างๆ การแกะสลัก การกลึง เป็นต้น ซึ่งท่านจะได้สัมผัสจากภาพ พระพรหม ซึ่งอัญเชิญมาปรากฏ ณ ที่นี้ ซึ่งเป็นภาพฝีมือท่านอาจารย์เฮง และยังมีมงคลวัตถุในลักษณะต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก เหรียญพรหมรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่อยู่ในแวดวงนักนิยมสะสมเหรียญคงจะพบเห็นอยู่บ่อยๆ เพราะเหรียญพรหมเหรียญนี้ เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดี อีกทั้งในแวดวงพระเครื่องมีการจัดประกวดกันอยู่บ่อยๆ

ที่มา..http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=7805
ประวัติแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม

ฆราวาสผู้เปี่ยมด้วยธรรม




         คุณแม่บุญเรือน กลิ่นผกา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 4 ปีมะเมียขึ้น 15 ค่ำเวลา 11.20 น. หรือตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2437 ท่านได้กำเนิดในครอบครัว ที่มีฐานะค่อนข้างยากจน มีนายยิ้ม กลิ่นผกา เป็นบิดา และมี นางสวน กลิ่นผกา เป็นมารดา สถานที่เกิดอยู่ที่คลองสามวา อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร

         ต่อมาบิดามารดาของท่านได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี อยู่ในละแวกบ้านชาวสวน และมีฐานะเป็นชาวสวนในเวลาต่อมา คุณแม่บุญเรือน ท่านก็ได้เติบโตมาในละแวกบ้านชาวสวน ที่ตำบลบางปะกอกใหญ่นั่นเอง

         นายยิ้ม บิดาของคุณแม่บุญเรือน มีภรรยาทั้งสิ้น 3 คน คนแรกก็ได้แก่ นางสวน มีบุตรด้วยกันสองคน คนโตคือ นางทองอยู่ ได้เสียชีวิตไปนานแล้ว คนที่สองก็ได้แก่ คุณแม่บุญเรือน กลิ่นผกานั่นเอง

         ภรรยาคนที่สอง ชื่อนางเทศ มีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่ นายเนื่อง นางทองคำ และนางทิพย์ ซึ่งทั้งสามคนนี้ ถือเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน
ภรรยาคนที่สาม ไม่มีใครจำชื่อได้ และไม่มีใครยืนยันว่า นายยิ้ม ได้มีบุตรกับภรรยาคนนี้หรือไม่

         การศึกษาเล่าเรียนและชีวิตในครอบครัว

         ชีวิตในวัยเยาว์ คุณแม่บุญเรือน เป็นผู้ได้รับความรักความทะนุถนอมจากบิดามารดา เป็นอันมาก พอเหมาะสมกับฐานะของครอบครัว ท่านได้รับการศึกษาให้รู้ภาษาไทย พออ่านออกเขียนได้ และเชื่อว่าท่านได้รับการฝึกสอน จากบิดามารดา ให้มีความรอบรู้ และ สามารถทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแม่เรือนเป็นอย่างดี พอเหมาะสมกับสมัย เนื่องจากปรากฏต่อมาในภายหลังว่า คุณแม่บุญเรือน มีความสามารถในการทำกับข้าวมีรสอร่อยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริก อาหารจำพวกแกง และ ต้ม ท่านก็สามารถทำได้อย่างดี นอกจากนี้ก็ยังมีความสามารถในการเย็บจักร ตัดเสื้อผ้าได้

         เหล่านี้เป็นความสามารถที่เป็นที่ประจักษ์แก่คนที่รู้จักทุกคน

         ฝึกหัดเป็นหมอนวดและสนใจในงานบุญ

         เมื่ออายุราว ๆ 15 ปี ท่านได้รับการฝึกสอนจากในครอบครัว ให้รู้จักการนวด ซึ่งท่านได้ให้ความสนใจอยู่เป็นอันมาก จนในที่สุด ท่านได้รับครอบวิชาหมอนวด และ ตำราหมอนวด จากปู่ของท่าน คืออาจารย์กลิ่น ซึ่งในขณะนั้นถือว่า เป็นหมอนวดผู้มีชื่อเสียง

         จากการได้รับมอบตำราหมอนวด ทำให้ท่านได้ศึกษาวิธีการนวด จากตำราดังกล่าวจนเกิดความชำนาญ และกลายเป็นแม่หมอผู้มีชื่อเสียงในการนวดต่อมาในภายหลัง

         ขณะเป็นวัยรุ่น ท่านได้รู้จักกับคุณลุงของท่าน คือหลวงตาพริ้ง ซึ่งเป็นพระภิกษุ อยู่ที่วัดบางปะกอก ด้วยความคุ้นเคยกับหลวงตาพริ้ง ผู้เป็นลุงนั่นเอง ท่านได้เริ่มนำอาหารไปถวายอยู่บ่อย ๆ ทำให้ท่านได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้จักธรรมะ และ คุณธรรมในการดำเนินชีวิต ตามแนวคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้เริ่มเลื่อมใสศรัทธา และมีใจรัก ในงานบุญงานกุศลมากขึ้นอันน่าจะถือได้ว่า นี่เป็นปฐมเหตุสำคัญที่ทำให้ท่านบำเพ็ญกรณียกิจเป็นนักบุญในพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา หลวงตาพริ้ง จึงเป็นพระภิกษุที่คุณแม่บุญเรือนมีความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก และวัดบางปะกอกนี้ก็น่าจะเป็นวัดที่ทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จนนำไปสู่การบำเพ็ญภาวนาในเวลาต่อมา

         ชีวิตสมรสและบุตรธิดา

         เมื่อมีอายุพอสมควร ก็ได้ทำการสมรสกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม ซึ่งขณะนั้นเป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลสัมพันธวงศ์ ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาที่ดีตลอดมา แต่ก็ไม่มิบุตรธิดาด้วยกัน และเนื่องจากไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ทำให้คุณแม่ บุญเรือน โตงบุญเติมได้รับอุปการะเด็กหญิงชายอื่นบ้าง แต่มีผู้ที่ท่านรับอุปการะแต่มีอายุได้ 6 เดือนจนเติบใหญ่เป็นเวลายาวนานคนหนึ่งในฐานะบุตรบุญธรรมคือ นางอุไร คำวิเทียน จนกระทั่ง นางอุไร มีอายุ ได้ 19 ปีจึงได้สมรสกับ ร.ต.ท.เต็ม คำวิเทียน นางอุไร กับ ร.ต.อ.เต็ม อยู่กินกันมาจนมีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อว่า นิดา คำวิเทียน นับว่าเป็นหลานยายที่คุณแม่บุญเรือนให้ความเมตตาเป็นอย่างยิ่ง

         ชีวิตสมรสระหว่างคุณแม่บุญเรือน และ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม อยู่กินกันมา จนกระทั่งในปี 2479 ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 42 ปี ส.ต.ท.จ้อย ได้ถึงแก่กรรมลง เนื่องจากได้เข้าไปช่วยดับเพลิง เมื่อครั้งเพลิงไหม้ใหญ่ตลาดน้อย อำเภอบางรัก ต่อจากนั้นมา คุรแม่บุญเรือนก็ได้ครองความเป็นโสด บำเพ็ญงานบุญ และได้ใช้นามสกุล โตงบุญเติม ของสามีตลอดมา และได้อุปการะเลี้ยงดูนางอุไร คำวิเทียน จนกระทั่งอายุ 19 ปี และได้สมรสกับ ร.ต.ท.เต็ม คำวิเทียน ซึ่งขณะนั้นเป็นตำรวจประจำอยู่ที่โรงพักกลาง ดังนั้นจึงมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ที่คุณแม่บุญเรือน ได้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านพักของทางราชการ ที่โรงพักกลาง

         ในระหว่างครองชิวิตร่วมกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม คุณแม่บุญเรือน ได้ประกอบอาชีพตัดเย็บผ้า เป็นการช่วยสามีอีกแรงหนึ่ง และรับรักษาโรคโดยเป็นหมอนวด ซึ่งการเป็นหมอนวดเพื่อรักษาโรคนั้น ท่านทำเป็นการกุศลไม่มีสินจ้าง นอกจากนั้นท่านยังมีความสามารถในการทำคลอด หรือเป็นหมอตำแยแผนโบราณด้วย ซึ่งทำให้ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากในขณะนั้น

         ด้านการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยจักรท่านก็ทำได้อย่างดี จนทำให้ครอบครัวท่านมีฐานะที่มั่นคงพอสมควร ในระหว่างนี้ท่านก็ใช้เวลาในการบำเพ็ญบุญ ถือศีล สวดมนต์ ฟังธรรม ด้วยความเคารพเลื่อมใสอย่างแท้จริง ท่านได้ไปประกอบการบุญที วัดสัมพันธวงศ์ เป็นประจำ และได้เริ่มฝึกหัดวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตั้งแต่มีอายุประมาณ 30 ปี หลัง ส.ต.ท.จ้อย ถึงแก่กรรม ท่านได้ไปพักอยู่ที่โรงเรียนช่างกลสมบุญดี มักกะสันอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่ง นางอุไร คำวิเทียน บุตรบุญธรรม ได้ทำการสมรสแล้ว ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่ บ้านพักของทางราชการ ที่โรงพักกลางต่อไป

         ขณะที่ยังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ ส.ต.ท.จ้อย ด้วยความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้ไปฟังพระสวดมนต์ ฟังธรรมที่วัดสัมพันธวงศ์อยู่บ่อย ๆ ทั้งได้ฝึกหัดทำวิปัสสนากัมมัฐานที่วัดนี้ด้วย ต่อมา ส.ต.ท.จ้อย ผู้เป็นสามี ได้ลาอุปสมบท ที่วัดสัมพันธวงศ์ เป็นเวลา 1 พรรษา ทำให้คุณแม่บุญเรือน ได้มีความใกล้ชิดและผูกพันในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เมื่อสามีสึกออกมาแล้ว คุณแม่บุญเรือน ก็ได้ลาสามีบวชเป็นชีและอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัด สัมพันธวงศ์ ได้พากเพียรพยายามฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้อยู่ปฏิบัติที่ศาลาวัดสัมพันธวงศ์ จนทำให้เกิดความเข้าใจ และ ปลอดโปร่งในธรรมะ รักความสงบประกอบการกุศลต่าง ๆ ช่วยปักหมอนสำหรับธรรมาสน์พระสวดปาฏิโมกข์เป็นต้น

ผลสำเร็จของงานบุญ

         ในระหว่างที่บวชเป็นชีนี่เอง ด้วยความตั้งใจจริง ในการบำเพ็ญเพียร หัดวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทำใจให้สงบระงับ ฝึกใจให้แข็งแกร่งแก่กล้า มองเห็นธรรมอันวิเศษของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังผลให้เป็นที่ทราบในหมู่ผู้ร่วมวิปัสสนาด้วยกัน ว่าคุณแม่บุญเรือนได้สำเร็จแล้วอย่างแท้จริง คือสำเร็จใน จตุตถฌาน หรือ ฌาน4 อันประกอบด้วย

         ปฐมฌาน หมายถึง ฌาน ขั้นแรก มีองค์ 5 คือ ยังมีตรึก เรียกว่า วิตก และ ตรอง เรียกว่า วิจารณ์ เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ ซ้ำยังมีปิติ คือ ความอิ่มใจ มีความสุข คือความสบายใจ เกิดแต่ความวิเวก คือ ความเงียบสงบ ประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปได้ เรียกว่า “ เอกัคตา”

         ทุติยฌาน หมายถึง ฌาน ชั้นสอง ซึ่งละวิตกและวิจารณ์ ในปฐมฌานลงไปได้ คงเหลือแต่ ปิติ และ สุขอันเกิดแก่สมาธิกับเอกัคตา

         ตติยฌาน เป็น ฌาน ชั้นสาม คงเหลือแต่องค์สอง คือละปิติเสียได้ คงเหลือแต่สุขและเอกัคตา

         จตุตถฌาน เป็น ฌานสำคัญชั้น 4 มีองค์ 2 คือละสุขเสียได้กลายเป็น อุเบกขาคือวางเฉย คู่กับเอกัคตา ฌาน 4 จัดเป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าไปในรุปาวจรภูมิ

         ฌานทั้ง 4 นี่แหละที่เชื่อกันว่า แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม ได้บำเพ็ญเพียรฝึกปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ และด้วยเหตุที่ปรากฏต่อมาว่า แม่ชีบุญเรือน มีความเชี่ยวชาญในวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนสามารถจะเข้าวิปัสสนาเมื่อใดก็ได้ และไม่จำเป็นต้องยึดสิ่งมีรูปเป็นอารมณ์ ทั้งอาจเข้าวิปัสสนาโดยลืมตาก็ได้โดยเร็วพลันด้วยเหตุนี้ ทางด้านอรูปฌาน ก็เชื่อว่าท่านสันทัดและบรรลุโดยลักษณะเดียวกัน

         ด้วยความสำเร็จใน จตุตถานนั่นเอง เป็นเหตุให้แม่ชีบุญเรือน เป็นนักเสียสละชั้นยอด มีอารมณ์วางเฉย เป็น อุเบกขา สละความโลภ ความอยากได้ในทรัพย์สินต่าง ๆ อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นคนที่รู้จักแม่ชีบุญเรือนมาก่อนก็ดี หรือเพิ่งจะมารู้จักก็ดี จะทราบคติธรรมข้อหนึ่งว่า “ คนที่จะไปหาท่าน จงไปหาด้วยการเป็นผู้รับ ส่วนท่านเป็นผู้ให้ เป็นผู้เสียสละ เป็นผู้บริการ” ท่านไม่ต้องการสิ่งใดของใคร แม้แต่ดอกไม้ ธูปเทียน ทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทั้งสิ้น

         บรรลุอภิญญา 6

         นอกเหนือจากการสำเร็จใน ฌาน ทั้ง4 แล้ว แม่ชีบุญเรือน ได้เพียรพยายามฝึกจิต และสมาธิอย่างแรงกล้า ทั้งได้ประกอบการบุญอันเป็นอานิสงศ์แห่งชีวิตอย่างสูงส่ง จนกล่าวว่าท่านสำเร็จรอบรู้ใน อภิญญา 6 กล่าวคือ

         1. อิทธิวิธี คือแสดงฤทธิ์ได้ ปรากฏว่าแม่ชีบุญเรือนได้กระทำมาแล้วหลายวิธี เช่น อธิษฐานต้นมะม่วง ต้นเล็ก ๆ ให้ออกดอกได้ภายในคืนเดียว ย่นหนทางยาวให้สั้น เดินตากกลางฝนไม่เปียก เรียกฝนให้ตกได้ ขอให้ฝนหยุดตกได้ เป็นต้น

         2. ทิพโสต หรือที่เรียกว่าหูทิพ แม่ชีบุญเรือน สามารถบอกเล่าเรื่องราวที่คนอยู่ใกล ๆ พูดกัน ให้คนใกล้ชิดท่านฟังได้อย่างถูกต้อง

         3. เจโตปริยญาณ อันได้แก่การกำหนดจิตให้แก่ผู้อื่น ในเวลาที่แม่ชีบุญเรือน สนทนากับใคร ไม่ว่าใครจะคิดหรือจะพูดอะไรกับแม่ชี ท่านก็สามารถทราบได้ด้วย ฌานวิเศษของท่าน

         4. บุพเพนิวาสานุสสติ ได้แก่การระลึกชาติได้ เรื่องนี้แม่ชีบุญเรือนได้เคยเล่าเรื่องราว ชาติภพก่อน ๆ ของท่าน ให้ลูก ๆ และคณะศิษย์ ได้ฟัง รวม 3 ชาติ หากจะว่าไปแล้วเรื่องระลึกชาติ เป็นเรื่องที่พิสูจน์ยาก แต่เห็นว่า แม่ชีบุญเรือนเป็นผู้ยึดมั่นในศีล 5 ละปฏิบัติธรรม เป็นอาจินต์ ก็ทำให้เชื่ออย่างมั่นคงว่าสิ่งที่ท่านพูดนั้นเป็นความจริง

         5. ทิพจักษุ หรือตาทิพย์ การมองเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่พึงประสงค์ แม้ว่าวิ่งนั้นจะอยู่ห่างใกล ต่างบ้านต่างเมืองก็ตาม แต่เรื่องตาทิพย์นี้ แม่ชีบุญเรือน ได้บอกเล่าให้ลูก ๆ ละคณะศิษย์ฟังว่าแม้นว่าท่านจะได้ไว้ แต่ท่านก็คืนให้ไป มิได้นำมาใช้ ทั้งนี้เพราะหากใช้ตาทิพย์แล้ว จะมองเห็นสิ่งปฏิกูลมากมาย ท่านจึงงดเว้นเสีย โดยถือว่าคืนให้ทางธรรม จะมีการนำมาใช้บ้างในยามจำเป็นเท่านั้น
6. อาสวักขยญาณ คือ ทำให้พ้นจาก ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำให้ตนพ้นจากสิ่งอันไม่เป็นมงคลทั้งปวง ผู้พ้นจากอาสวะ ย่อมหมายถึงปราศจาก รัก โลภ โกรธ หลง แม่ชีบุญเรือนได้สำเร็จในข้อนี้ จะเห็นได้จากผู้ที่เดินทางมาหาท่านไม่ว่าจะใกล้หรือไกล จะยากดีมีหรือจน ก็จะได้รับความปรานีเสมอเท่าเทียมกัน

         ความสำเร็จในการบำเพ็ญเพียรครั้งแรก

         การบำเพ็ญเพียร ในพระพุทธศาสนา จนสำเร็จ จตุตถฌาน และ อภิญญาฌาน ปรากฏว่าท่านได้ทำสำเร็จครั้งแรก ตั้งแต่ยังบวชเป็นแม่ชีอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ และ ได้ผลเป็นอิทธฤทธิ์อันเกิดจากการอธิษฐานเป็นครั้งแรกเมื่อราววันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2470 โดยในวันดังกล่าว แม่ชีบุญเรือน ได้กลับไปที่บ้านพักข้าราชการ ที่สถานีตำรวจสัมพันธวงศ์ คืนนั้นเข้านอนไม่หลับจนดึก สามีและบุตรบุญธรรมหลับมีอาการกัดฟันและกรน รู้สึกเกิดธรรมสังเวช และนึกเบื่อ จึงตั้งสัตย์อธิษฐานเข้าไปในศาลา พอสิ้นคำอธิษฐาน ตัวแม่ชีบุญเรือนก็เข้าไปอยู่ในศาลา ดังคำอธิษฐาน โดยที่ตัวท่านเองก็ไม่ทราบว่า ได้ออกจากห้องทางไหน และ เข้าศาลาทางไหน ในครั้งนั้นเพื่อนแม่ชีด้วยกัน ไม่ค่อยจะเชื่อกันนัก จนต่อมา อุบาสิกาฟัก ขอให้อธิษฐานใหม่ และได้ให้นางเล็ก นางคำ นางเทียบ ซึ่งดูเหมือนเป็นเพื่อนแม่ชีดูเป็นพยาน ได้ใส่กลอนประตูหน้าต่างศาลาเสียในคืนวันแรม 1 ค่ำเดือน 6 เวลาดึกสงัดปีเดียวกันนั้นเอง แม่ชีบุญเรือนก็ได้อธิษฐานจากสถานีตำรวจสัมพันธวงศ์เข้าไปศาลาได้เช่นเดียวกับคราวก่อน พวกที่คอยดูก็พากันแปลกใจไปตาม ๆ กัน

         ต่อมา แม่ชีบุญเรือน ได้อธิษฐาน ไปเขาวงพระจันทร์ พบพระผู้วิเศษ ขอพระธาตุท่าน ๆ ก็ให้มา 1 องค์ แล้วได้กลับมาที่เดิมตามคำอธิษฐานพร้อมพระธาตุ การสามารถทำปากิหารย์ดังกล่าวที่ปรากฏขึ้นได้เป็นผลแห่งความสำเร็จครั้งแรก ทำให้ท่านอฺธิษฐานเมื่อเข้าสมาธิ ผ่านที่ปิดล้อม หรือไปที่ ไกล ๆ ได้ชั่วระยะเวลาลัดนิ้วมือเดียว ในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 33 เท่านั้น

การอธิษฐานของคุณแม่บุญเรือน

         1. การอธิษฐานด้วยสัจจวาจา ด้วยความที่แม่ชีเป็นผู้บรรลุ ฌาน 4 และอภิญญา 6 ทำให้วาจาของท่านมีอิทธฤทธิ์ ที่จะพูดหรือสั่งการสิ่งใดในทางที่ชอบเกิดผงได้ เช่น อธิษฐานให้หายโรค ให้ร่ำรวยในทางที่ชอบ ให้ปลอดภัยจากอันตราย หรืออาจอธิษฐานให้เป็นไปตามคำอธิษฐานของท่านได้ เช่น ให้ฝนตก หรือให้ฝนหยุด อธิษฐานถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

         2. อธิษฐานสิ่งของทั่วไป ได้แก่การนำสิ่งของต่าง ๆ มาให้ท่านอธิษฐาน เช่น น้ำ ปูน ไพลเกลือ พริกไทย การอธิษฐานต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่นำไปใช้ได้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น อธิษฐานปูนกินหมาก ให้เป็นยาทิพย์ รักษาโรคให้หาย แก้โรคนา ๆ ชนิด เช่น มะเร็ง วัณโรค โรคไต เป็นต้น

         3. อธิษฐานของพิเศษเป็นครั้งคราว เช่น อธิษฐาน กรวด ทราย กันไฟไหม้ อธิษฐานก้อนหิน ศิลาน้ำ เพื่อใช้ป้องกันภัยบางประการ โดยเฉพาะศิลาน้ำ ใช้แทนของอธิษฐานของท่าน เวลาวายชนม์ไปแล้ว เมื่อใช้ศิลาน้ำใส่ในน้ำ ก็กลายเป็นน้ำอธิษฐาน ไว้รับประทานแก้และป้องกันโรค ทั้งใช้ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ได้ด้วย

         ณ โรงพักกลางนี่เอง ท่านได้ปวารณาตัวในทำนอง ขอช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้พ้นจากโรคร้าย และท่านได้เริ่มแนะนำ สั่งสอนธรรม แก่ผู้เลื่อมใสศรัทธา ท่านได้แสดงความปรารถนาที่จะไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ ราว พ.ศ. 2472 ท่านได้ไปอยู่เชียงใหม่ชั่วคราว

         การไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านไปพำนักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง ท่านได้ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญการบุญ และช่วยเหลือผู้ทุกข์ร้อนของผู้มาขอร้อง และได้ช่วยรักษาโรคด้วยการอธิษฐาน ปูนและน้ำ พริกไทย และสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย เช่นมีอยู่คนหนึ่ง อุจจาระผูกมาเป็นแรมปี ถ่ายอุจจาระไม่ออก รักษาแผนปัจจุบันและแผนโบราณเป็นเวลานานก็ไม่หาย ได้มาหาท่าน คุณแม่บุญเรือนได้อธิษฐานพริกไทยให้รับประทาน 3 เม็ดรุ่งขึ้นปรากฏว่า อุจจาระถ่ายคล่อง หายเป็นปกติ ด้วยการบำเพ็ญตัวที่จังหวัดเชียงใหม่นี่เอง ส่งผลให้ชื่อเสียง และเกียรติคุณของคุณแม่โด่งดังเป็นอันมาก จนมีหนังสือพิมพ์นำท่านไปลงข่าวอยู่หลายครั้ง

        กลับกรุงเทพฯ และย้ายไปอยู่บ้านวิสุทธิกษัตริย์

         ด้วยเหตุที่คุณแม่บุญเรือน ต้องทำการบุญ และอธิษฐานจิตอยู่บ่อยครั้ง ทำให้บรรดาสานุศิษย์เห็นว่าเมื่อกลับจากเชียงใหม่แล้ว จะไปอยุ่ที่โรงพักกลางอีกคงไม่เหมาะสม ทั้งไม่สะดวก เมื่อเวลามีผู้ไปหาบำเพ็ญการบุญกับท่าน เป็นการสมควรที่จะอยู่อย่างเอกเทศ ในที่สุด คุณนายพัธนี ได้ร่วมกับศิษย์ที่ใกล้ชิดช่วยกันเป็นผู้สร้างอาคารหลังเล็กขึ้นมาหลังหนึ่ง ในที่ดินคุณนายพัธนีเอง ณ ถนนวิสุทธิกษัตริย์ อยู่ใกล้กับโรงพิมพ์วิบูลย์กิจ บ้านอยู่ลึกจากถนนไป 2 ถึง 3 เส้น เป็นที่สงัดเงียบ และมีบริเวณกว้างขวางเพียงพอ

         อาคารที่สร้างขึ้นนี้เป็นเรือนไม้มีขนาดพอสมควร มีห้องนอน ห้องพระ ห้องครัว ห้องโถงสำหรับผู้บำเพ็ญการบุญ จะร่วมสวดมนต์จำนวนราว 50 คนได้
เมื่อสร้างเสร็จได้เชิญคุณแม่ให้มาอยู่หลังจากท่านกลับมาจากเชียงใหม่ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านวิสุทธิกษัตริย์ เมื่อราวต้นปี พ.ศ. 2492

        ก่อตั้งสามัคคีวิสุทธิ

         เนื่องจากผู้มาร่วมการบุญกับท่านที่บ้านนี้มากมาย มีผู้เจ็บป่วยที่มาขอให้ท่านรักษา จนหายจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นจำนวนมาก คนจำนวนมาก จึงมายอมตัวเป็นศิษย์ เป็นลูก เป็นหลาน ฟังธรรมคำสั่งสอนจากท่าน เมื่อปฏิบัติตามก็ปรากฏว่า ได้รับความสุขทางใจอย่างประหลาด ผู้คนที่มาหาจึงคับคั่งขึ้นตามลำดับ และเพื่อให้ผู้ร่วมการบุและสานุศิษย์ มีความเป็นปึกแผ่น มีชื่อเรียกที่เหมาะสม คุณแม่บุญเรือนจึงขนานนามคณะของท่านว่า “ สามัคคีสุทธิ” และเรียกบ้านที่ท่านอยู่ว่า บ้านสามัคคีวิสุทธิ แต่คนที่คุ้นเคยบางคนจะเรียกว่า”บ้านวิสุทธิกษัตริย์” ก็มี

         วัตรปฏิบัติทั่วไปที่บ้านสามัคคีวิสุทธิ วันธรรมดา คุณแม่ จะสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ทำกัมมัฏฐาน และรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ผู้ป่วยที่มาหา

         วันเสาร์ จะอธิษฐานด้วยสัจจวาจา และสิ่งของให้ผู้ป่วย เช่น ปูน ไพล ผลไม้ พริกไทย หลังจากนั้น 14.00 น.ท่านจะนำสานุศิษย์สวดมนต์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นทำ กัมมัฏฐานเป็นเวลา 15 นาที กว่าจะเสร็จก้ประมาณ 15.00 น. เป็นเช่นนี้ทุกวันเสาร์ ตลอดช่วงเวลาที่คุณแม่มีชีวิตอยู่

งานบุญสำคัญที่บ้านสามัคคีวิสุทธิ

         คุณแม่อยู่ที่บ้านสามัคคีวืสุทธิ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ.2489 เป็นเวลา 7 ปี นอกจากการบำเพ็ญการบุญธรรมดาแล้ว ท่านยังได้อธิษฐานธรรมประกอบงานบุญสำคัญ ๆ อีกมากมายหลายครั้ง เช่น

         1.ก่อนวันขึ้นปีใหม่ทุกปี คุณแม่จะอธิษฐานธรรมอวยพรให้บรรดา สานุศิษย์ ผู้ร่วมประกอบการบุญกับท่าน

         2. ท่านได้อธิษฐานธรรมประจุพระพุทธรูป และ พระเครื่องสำคัญรวมทั้งร่วมสร้างด้วย คือ

         ก. พระพุทโธองค์ใหญ่ ซึ่งได้จัดทำพิธีหล่อสร้างที่วัดสัมพันธวงศ์ จนถวายพระประธานสำเร็จ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 แล้วสมโภช ต่อมาได้สมโภชที่วัดสัมพันธวงศ์อีก เมื่อวันที่ 4 ถึง 13 มีนาคม พ.ศ. 2499 อัญเชิญไปวัดสารนาถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พงศ. 2499 เคลื่อนกระบวนเวลา 06.09 น. ถึงวัดสารนาถธรรมารามเวลา 16.00 น.ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดสารนาถธรรมารามจนถึงปัจจุบัน คุณแม่ได้อธิษฐานธรรมในการก่อสร้างรวมทั้งการนำไปประดิษฐานโดยตลอด

         ข.พระพุทโธองค์เล็ก ซึ่งได้แก่พระเครื่องที่สร้างขึ้นที่วัดอาวุธกสิตาราม บางพลัดนอก ธนบุรี คุณแม่ได้ร่วมสร้าง และทำพิธีอธิษฐาน เมื่อ 11-12-13 กันยายน พ.ศ. 2494 รวมจำนวน 100,000.องค์

         พระทั้งสองอย่างนี้ปรากฏว่าได้กลายเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ ในระยะต่อมาเป็นอันมาก ทั้งด้านเมตตามหานิยม ป้องกันภัย แคล้วคลาด เจริญโภคสมบัติ กำจัดโรคร้าย ( นอกจากโรคกรรมโรคเวร )

         3. อธิษฐานถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์ แก่ลูก ๆ และ สานุศิษย์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2498
นอกจากนี้ก็ยังมีการสรงน้ำพระพุทโธที่บ้านในวันสงกรานต์ทุกปี

         การช่วยรักษาโรคร้ายสำคัญ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ แผลปวดบวมต่าง ๆ อัมพาต ในทุกภาคของประเทศไทย จนชื่อเสียงของท่านกระจายไปอย่างกว้างขวาง

        ไปอยู่บ้านนาซาจังหวัดระยอง

         ราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2498 คุรแม่ได้พาพวกลูก ๆ ไปพักอยู่ที่บ้านพักของนางสาววาย วิทยานุกรณ์ ตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อปฏิบัติธรรมและอธิษฐานธรรมบางประการ ได้ห้ามสานุศิษย์จากกรุงเทพฯตามไปจนกว่าจะครบเวลา 1 ปี

         และเมื่อวันที่ 8 มียาคม พ.ศ. 2499ลูกหลานและศิษย์ได้ไปรับท่านกลับ โดยไปที่วัดสารนาถธรรมาราม ได้เช่ารถยนต์โดยสารขนาดใหญ่จำนวน 2 คันไปกันประมาณ 80 คน ได้ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์ที่นั่น ค้างที่วัด 1 คืน รุ่งเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2499 เวลา 06.00 น . จึงได้เดินทางกลับกรุงเทพฯ

         อยู่บ้านพระโขนง

         หลวงแจ่มวิชาสอน เจ้าของบริษัทยาสีฟันวิเศษนิยม ได้สร้างบ้านใหม่ เป็นอาคารไม้หลังใหญ่ มีบริเวณกว้างขวาง เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมให้คุณแม่ที่บ้านพระโขนง หลังกลับจากบ้านนาซา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง คุณแม่ก็ได้เข้าอยู่ที่บ้านหลังใหม่ในวันที่ 10 มีนาคม และทำพิธีเปิดป้ายเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2499 หลังจากนั้น คุณแม่ท่านก็ได้อาศัยอยู่ที่บ้านหลังนี้จนกระทั่งถึงวันวายชนม์

         ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญอย่างมากมายที่บ้านหลังนี้ เช่น อธิษฐานธรรมบรรจุที่พระพุทโธองค์กลาง ให้ลูก ๆ และศิษย์ร่วมกันสร้าง พระพุทธรูปทองเหลืองหน้าตักกว้าง 6 นิ้ว

         และยังมีพิธีเก็บศิลาน้ำ เมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2499 อธิษฐานศิลาน้ำศักดิ์สิทธืเพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ซึ่งในวันดังกล่าวมีผู้ไปร่วมงานประมาณ 400 คน
กิจกรรมต่าง ๆ เช่นการอธิษฐาน การรักษาโรค ท่านทำให้โดยที่ไม่เคยเรียกร้องใด ๆ และกระทำอย่างนี้เรื่อยมาเป็นเวลา 20 กว่าปี บรรดาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ก็ได้บรรดาเหล่าสานุศิษย์และลูก ๆ ช่วยกันถวายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

ช่วงท้ายของชีวิต

         ในปี พ.ศ. 2501 ท่านเริ่มปฏิญาณไม่รับรักษาโรคด้วยวิธีการนวดให้แก่ผู้ชาย เว้นไว้แต่ธรรมจะบันดาล การรักษาโรคในระยะนี้จะเป็นการรักษาโดยอธิษฐานเพียงอย่างเดียว ส่วนการสั่งสอนและอบรมธรรมะยังคงปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันก่อนที่ท่านวายชนม์ 1 วัน

         ประมาณปี พ.ศ. 2506 ท่านเริ่มมีอาการป่วยบ้าง หายบ้าง แต่ก็ยังคงบำเพ็ญการบุญอย่างต่อเนื่อง

         การวางสังขารทิ้งร่างวายชนม์

         นับแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา คุณแม่มีอาการป่วยเป็นโรคไต หัวใจอ่อน โลหิตจาง และความดันโลหิตสูง ติดต่อกันมาเป็นลำดับ อาการมีแต่ทรงกับทรุด ท่านไม่ยอมรับการรักษาจากแพทย์ แม้ว่านายแพทย์ปรีดา ล้วนปรีดา กับ แพทย์หญิงวัฒนา ดวงจันทร์ ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดได้อ้อนวอนขอให้รับการรักษาจากแพทย์ โดยวีฉีดยา ให้น้ำเกลือ และกลูโคส และให้รับประทานยาแผนปัจจุบันบ้างเป็นครั้งคราว ท่านก็ไม่ยอม จะพาไปโรงพยาบาลท่านก็ไม่ไป ท่านต้องนอนป่วยลุกนั่งไม่ได้เป็นเวลา 9 เดือน

         บรรดาศิษย์ได้พากันอ้อนวอนว่า “ คุณแม่ได้อธิษฐานธรรมด้วยสัจจวาจา รักษาโรคร้ายของลูก ๆ หลาน ๆ และคนอื่นให้หายได้ ทำไมเล่าคุณแม่จึงไม่อธิษฐานเพื่อตนเองบ้าง”

         ท่านตอบว่า “ ถ้าแม่อธิษฐานเพื่อตนเอง ก็เท่ากับว่าแม่ยากมีชีวิตอยู่ อยากมีความสุข อยากพบสิ่งใหม่ ๆ บนพื้นพิภพล้วนเป็นกิเลส แม่ทำเช่นนั้นไม่ได้”
บรรดาบุคคลในคณะสามัคคีวิสุทธิ์ เมื่อได้ยินคำพูดของท่านแล้ว เต็มไปด้วยความเศร้าใจ สะเทือนใจอย่างคาดไม่ถึง นี่ละคือผู้สิ้นอาสวะกิเลศ ผู้บรรลุ อาขยญาณโดยแท้ สมแล้วที่ท่านเป็นนักบุญ เป็นผู้นำในงานบุญของชาวคณะ สามัคคีวิสุทธิ์ที่ท่านก่อตั้งขึ้นมา

         เมื่อวันที่ 3-4-5 กันยายน พ.ศ. 2507 ท่านมีอาการอ่อนเพลียมาก เหนื่อยในเวลาพูด เบื่ออาหาร มีเสมหะเหนียว ๆ ในลำคอ รับประทานอาหารได้เพียง 2-3 คำเท่านั้น

         ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2507 คุณแม่ก็ยังคงทักทายทุกคนอย่างแจ่มใส การสวดมนต์ก็ยังคงปฏิบัติกันเป็นปกติ ไม่เคยมีใครรู้สึกสงสัย และเอะใจเลย ก่อนหน้านี้ประมาณ 1 สัปดาห์คุณแม่ได้สั่งให้หยุดนาฬิกาเรือนใหญ่ไว้ในเวลา 11 นาฬิกาเศษทั้งสองเรือน โดยท่านให้เหตุผลว่า “หนวกหู”

         แล้ววันสำคัญที่ชาวคณะสามัคคีสุทธิ ได้ประสบความเศร้าโศกรันทดใจ อย่างใหญ่หลวงก็มาถึง เพราะในเวลา 11.20 นาฬิกา ของวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2507 คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ได้วางสังขารทิ้งร่างจากไปอย่างไม่มีวันกลับ

         คุณบุญเนื่อง ชิตะโสภณ ได้บันทึกเหตุการณ์ดังกล่าว ไว้ด้วยความเศร้าสลดดังนี้

         “ เช้าวันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2507 ก่อนเวลา 11.00 น.คุณแม่ยังพูดคุยกับคุณอุไรและหลานนิดาอย่างเคย แต่อาหารไม่ยอมรับประทาน เวลาประมาณ 10.00 น.พี่ละมัย มาเยี่ยมพบว่าอาการอ่อนเพลียมาก หายใจตื้น ไม่คุยหลับตา เอามือขวากุมศีรษะ หายใจช้าลง ชีพจรอ่อนคลำไม่พบ หายใจออกกว่าเข้าระยะสั้น หยุดหายใจสนิทเมื่อเวลา 11.20 นาฬิกา โดยปราศจากอาการทุรนทุรายแต่ประการใด นับว่าท่านไปอย่างสงบจิง ๆ ไม่มีการสั่งเสียใด ๆ”

         เมื่อคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม วายชนม์แล้ว บรรดาคณะสามัคคีวิสุทธิรับแจ้งข่าว ทราบข่าว ต่างหลั่งไหลมากราบศพ เคารพศพ สวดอภิธรรมบำเพ็ญกุศลที่บ้านพระโขนงทุกคืน ได้ร่วมแห่ขบวนศพไปวัดธาตุทอง วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2507 เวลา 13.00 น. และร่วมบำเพ็ญกุศลศพถึงวันที่ 13 กันยายน และต่อมาทุกวันอาทิตย์อย่างคับคั่งตลอดมาจนกระทั่ง วันที่ 23-24และวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2507 อันเป็นวันประชุมเพลิง

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้