ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1675
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สีลานุสติ : ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

[คัดลอกลิงก์]


โอวาทธรรม
ของ
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

วัดอโศการาม ถนนสุขุมวิท (สายเก่า)
ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๐๓


จากหนังสือ “ท่านพ่อลี ธัมมธโร”
ชมรมพุทธศาสน์ กฟผ. พิมพ์เผยแพร่



  เรื่อง “สีลานุสสติ”  

เครื่องเศร้าหมองของจิต คณะปลิโพธ
วุ่นกับหมู่ วุ่นกับบุคคล วุ่นกับเรื่องราว
นั่นเขาเรียกว่า คณะปลิโพธ จิตไม่สงบ
ถ้าจิตไม่สงบก็ไม่ได้รับความสุข ไม่ได้รับความสะดวกในการนั่งสมาธิ

คือ  สิ่งขัดข้องในการนั่งสมาธิมีอยู่ ๒ อย่าง

๑.) เรารู้อยู่ว่ามันเป็นข้าศึก แต่มันต้านทานไม่ไหว
ด้วยกระแสกิเลสมันมาก อย่างนี้ก็เป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบ

๒.) มันเกิดจากความไม่รู้ ความไม่รู้สึกตัว ปฏิบัติไม่รอบคอบ
เป็นเหตุให้เกิดความเศร้าหมองขึ้น

ความเศร้าหมองเป็นสิ่งที่กั้นมรรคกั้นผล เป็นสิ่งห้ามมรรคผล
เป็น “มัคคาวรณ์” คือเป็นเหตุห้ามไม่ให้บุคคลผู้นั้น
เดินทางไปถูกตามแนวทาง เรียกว่า มัคคาวรณ์

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-21 19:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สัคคาวรณ์-มัคคาวรณ์ อันนี้เกิดจากความไม่รู้
สองอย่างนี้เป็นโทษ จึงจำเป็นอยู่ที่เราจะต้องศึกษา เล่าเรียน ปฏิบัติให้มันรอบคอบ
ฉะนั้น จึงมีการแสดงธรรมสู่กันฟังเสมอ ก็เพื่อจะแก้ปัญหาการไม่รู้นี้ ให้เกิดความรู้ขึ้น
แล้วก็ปฏิบัติให้ถูกต้อง จิตของบุคคลผู้นั้นก็จะเป็นไปเพื่อความสงบ นี่มันมีอยู่ ๒ แนว

แนวที่ ๑  ก็อย่างที่แสดงเมื่อกี้ เรารู้ว่ามันเป็นศัตรู แต่มันทนไม่ไหว
รู้บ้าง เผลอบ้าง ลืมบ้าง ด้วยอำนาจผลักดันของกิเลส นี่ก็เป็นเหตุกั้นมรรคกั้นผล

แนวที่ ๒ ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ไม่รู้ว่ามันเป็นผู้คนเมื่อการกระทำมันผิด
ไม่รู้ นี่เป็นเหตุให้เกิดการเศร้าหมองขึ้น


ทีนี้ส่วนเป็นไปด้วยความไม่รู้นั้น โดยมากมันเป็นเรื่องของ ศีล
ที่เรารู้อยู่ว่า มันเป็นความผิด หรือเป็นความฟุ้งซ่านในดวงจิต เราก็ไม่อยากเป็น
รู้อยู่ แต่มันก็ไม่ไหว อันนั้นมันเป็นเรื่องของสมาธิ ศีลก็เศร้าหมอง สมาธิก็เศร้าหมอง
ก็กลายเป็นสัคคาวรณ์ ห้ามผล มัคคาวรณ์ ห้ามหนทางเดิน คนชนิดนั้นไม่มีทางไป
เรียกว่าตนอยู่ในลักษณะที่เรียกว่าเดินไม่มีท่า มีแต่เขากับเท้าเท่านั้น
มันก็เดินทางไปตามเรื่องของมัน แต่ว่าบุกไป ขึ้นสูง ลงต่ำ
เตียนบ้าง รกบ้าง บางคราวก็เหยียบหนามเหยียบตอ
บางคราวก็เหยียบเลนเหยียบตม มอมแมมไปตามเรื่องของผู้เดินไม่มีท่าทาง
แต่มันก็ไม่ตาย มันก็ไปได้ มันก็ไม่ตาย

แต่มันเป็นเรื่องรำคาญแก่ผู้รู้จักหนทาง เดินทางกับผู้ไม่รู้หนทางมันลำบากนัก
เดินทางกับคนตาบอดมันก็ลำบากนัก คนตาบอดจะให้มานี่ ๆ มันก็ลำบาก
ถึงเราจะใช้มรรยาทชี้มือชี้ไม้ก็ตามเถอะ มันก็ไม่รู้เรื่อง

คนตาบอดถ้าหูหนวกซ้ำไปอีกมันก็เสร็จ ลำบากนัก
เดินทางร่วมกับคนหูหนวกตาบอดมันก็ยาก ฉะนั้น ทำยังไงทีนี้
ไม่ต้องเดินหรอก ต้องหายาหยอดตาเสียก่อนให้มันพอลืมสักนิด มันก็มีอยู่เท่านั้น
แล้วก็ต้องรักษาหูให้มันดีเสียก่อน เมื่อหูมันดีขึ้น ตาก็ดีขึ้น จึงค่อยเดินไป มันก็มีวิธีการอย่างนี้
ฉะนั้น การที่รักษาหู ก็ได้แก่การที่สนใจการฟังคำตักเตือนว่ากล่าว แนะนำพร่ำสอน
เพื่อชี้แนวทางของเศร้าหมอง ว่าทางนั้นเป็นทางไม่ควรเดิน

ถ้าเป็นผู้สนใจ เช่นหูตึง ก็จะค่อยหายไปทีละนิดทีละหน่อย
ถ้าหากว่าเป็นผู้ไม่สนใจ มันก็จะตึงเรื่อยไป ตาก็เหมือนกัน ต้องหยอด
การหยอดน่ะจะให้คนอื่นหยอดให้ไม่ไหวเหมือนกัน
มันต้องมีวิธีการช่วยตัวเอง ช่วยตัวเองยังไง เราต้องตั้งข้อสังเกต
เขาจะพูดให้ฟังก็ตาม ไม่พูดให้ฟังก็ตาม
แม้เราไปเห็นแต่นิดเดียวก็ให้ตั้งข้อสังเกต ว่าเขาทำอย่างนั้นน่ะ เขามีความประสงค์อย่างไร
เขาแสดงมารยาทอย่างนั้น เขาประสงค์อะไร เท่านี้เราก็รู้เรื่อง
ถ้าเรารู้เรื่องอย่างนี้ ก็เท่ากับหยอดตาตัวเองได้

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-21 19:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บางคนละก็เอาไม้แหย่ตา ยังไม่ค่อยจะลืม นั้นเรียกว่าเหลือวิสัยอยู่เหมือนกัน
ถ้าเป็นคนที่ตาไม่มืดมาก ไม่ค่อยไปดูอะไรมากมาย
เห็นครั้งเดียวเท่านั้นละก็เป็นแบบปฏิบัติตนไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องให้มีหลายตัวอย่าง
ถ้ามิฉะนั้นละก็หาเลี้ยงตัวไม่คุ้ม ถ้าใครไม่ฉลาดก็หาเลี้ยงตัวไม่คุ้ม
เหมือนกับพวกตัดรองเท้าก็ดี ตัดเสื้อกางเกงก็ดี เขามีตัวอย่างตัวเดียวเท่านั้น
เขาสามารถจะตัดได้ตั้งร้อยตั้งพัน เป็นอาชีพหาเลี้ยงตัวเขาได้

ผู้มีปัญญาก็เหมือนกัน แม้จะไปดูตัวอย่างเสมอคราวเดียวเท่านั้น
ก็สามารถจะนำไปตักเตือนว่ากล่าวปฏิบัติตนได้เรื่อยไป

อันนี้ค่อยเบาหน่อย เรื่องการที่พวกเราจะให้ตาดีขึ้น และให้หูดีขึ้น
การชำระหูก็เหมือนกัน มัวแต่ให้คนอื่นหยอดมันก็ลำบาก
ตัวของตัวเองก็จะต้องรักษาตัวเอง เป็นแต่เขาให้ยาไปก็เอาไปหยอด
คือหมายความว่า เมื่อได้รับคำตักเตือนว่ากล่าวแล้วก็อย่าไปทอดทิ้ง
นำไปพิจารณาเหตุผลเรื่องราว อย่าทอดธุระ

เราไปอยู่ที่ไหนก็ดี
แม้ครูบาอาจารย์พูดเสมอคราวเดียว
เราสามารถใช้งานได้ตลอดชีวิต นั่นน่ะคนหูดี
คนตาดีก็เหมือนกัน
เห็นตัวอย่างครั้งเดียวก็สามารถนำตัวอย่างไปปฏิบัติตนได้เรื่อยไป


ลักษณะนี้ค่อยยังชั่วหน่อย บางคนละก็ทำแบบให้ร้อยแบบพันแบบ
มันก็ไม่ได้เรื่องสักอย่าง รักษาตัวเองก็ไม่เป็น
พึ่งตนก็ไม่ได้ ความบริสุทธิ์มันก็เกิดยาก

สรุปเรื่องทั้ง ๒ ประการนี้ เมื่อเราไม่รอบคอบในเรื่องทั้งสองประการนี้
ศีลก็เศร้าหมอง  เรียกว่าศีลไม่บริสุทธิ์ ศีลไม่บริสุทธิ์ก็เรียกว่ามัคคาวรณ์
ผลที่จะเกิดขึ้นจากความบริสุทธิ์แห่งศีลไม่มี
ก็เรียกว่าสัคคาวรณ์ คือจิตไม่สงบ จิตไม่เป็นสมาธิ
ที่ไม่เป็นไปนั้นก็คือศีลไม่บริสุทธิ์ เมื่อศีลไม่บริสุทธิ์บำเพ็ญสมาธิก็ยาก


ฉะนั้น กาลต่อไปนี้จึงจะนำเรื่องศีลมากล่าวแสดง
เพื่อเป็นการปรับปรุงให้มีความรู้ความเข้าใจ
แล้วก็จะได้ปฏิบัติชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์
อย่างท่านแสดงในข้อกรรมฐาน ๔๐ เรียกว่าข้อสีลานุสสติ
สีลานุสสตินี้แปลว่าให้ระลึกถึงศีลของตน
                                                                                       
...................................................................

ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=45706

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้