ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5951
ตอบกลับ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสหภาพโซเวียต

[คัดลอกลิงก์]
10  เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสหภาพโซเวียต

                                                                                                                        
                                                                                                
                                                                                                


                                สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (อังกฤษ: The Union of Soviet Socialist Republics - USSR) นิยมเรียกสั้นว่า สหภาพโซเวียต (อังกฤษ: Soviet Union) เคยเป็นประเทศขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปยูเรเชีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) อยู่มาจนกระทั่งล่มสลายในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)

                                                                        
                                                 ที่มา : ทีมงาน toptenthailand
                                                                        

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-16 07:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        10.สงครามกับสหภาพโซเวียต
                                                   


                            ขอขอบคุณรูปภาพจาก:wikipedia
สงครามกลางเมืองรัสเซียค.ศ.1918-1922
สงครามโลกครั้งที่สองค.ศ.1941-1945
สงครามเย็นค.ศ.1945-1991
สงครามเกาหลีค.ศ.1950-1953
สงครามเวียดนามค.ศ.1955-1975
สงครามอัฟกานิสถาน(พ.ศ. 2522-2532)ค.ศ.1979-1989

                    

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-16 07:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        9.นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
                                                   


                            ขอขอบคุณรูปภาพจาก:wikipedia
ยุทธศาสตร์โซเวียต
เป็นศิลปที่มุ่งที่จะแสวงหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดแก่โซเวียตเท่าที่ทำได้ในสภาวะจำกัด เพื่อรับใช้อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ จะแปรเปลี่ยนไปตามขั้นตอน อาจจะรุกไปข้างหน้าหรือถอยไปข้างหลังเพื่อรอจังหวะ โดยดำเนินการทั้งยุทธศาสตร์ทางตรง ได้แก่ การใช้กำลัง และยุทธศาสตร์ทางอ้อม เช่นทางจิตวิทยาหรือโฆษณาชวนเชื่อ
ยุทธศาสตร์ของโซเวียตได้ยึดถือแนวความคิดของเลนิน-สตาลิน ในเรื่อง “ความสัมพันธ์กำลังรบ” เป็นแนวในการดำเนินการประกอบกับทางเลือกต่างๆ ในการปฏิบัติซึ่งเรียกว่า ”ยุทธวิธี” (Tactics) บางครั้งยุทธวิธีอาจสวนทางกับอุดมการณ์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าจะเลือกปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์ตอบแทนมากกว่า
หลักการในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เป็นองค์ประกอบตายตัวในนโยบายต่างประเทศ อาจมีการผ่อนปรนในบางครั้ง ถ้าเห็นว่าผลประโยชน์สำคัญของชาติ (Vital National Interest) นั้นมีความสำคัญกว่า บางครั้งอาจจะต้องชะลอเพื่อสร้างฐานที่แข็งแกร่งไปสู่ชัยชนะของการปฏิวัติโลก

ยุทธศาสตร์โซเวียต
ทิศทางปฏิบัติการ เป็นความพยายามเชื่อมต่อปฏิบัติการย่อยๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ยุทธวิธีมีความเป็นเอกภาพ มีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศมากกว่ายุทธศาสตร์ เป้าหมายเพื่อการเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ และบรรลุอุดมการณ์คอมมิวนิสต์
นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตสามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ
นโยบายต่างประเทศก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นับตั้งแต่ปี 1945 -1985 สามารถแบ่งได้ดังนี้
นโยบายต่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
นโยบายต่างประเทศหลังทศวรรษ 1970
นโยบายต่างประเทศของโซเวียตช่วงก่อนการล่มสลาย

                    

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-16 07:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        8.รูปแบบการปกครอง
                                                   


                            ขอขอบคุณรูปภาพจาก:agitclub
พระราชวังเครมลินที่นั่งของศาลฎีกาโซเวียตของสหภาพโซเวียต 1982
อำนาจสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์เป็นคณะกรรมการกลางการเลือกตั้งที่พรรคการประชุมและการประชุมคณะกรรมการกลางในการเปิดลงคะแนนสำหรับกลุ่มโปลิตบูโร(เรียกว่ารัฐสภาระหว่าง 1952-1966)เลขาธิการและเลขาธิการ(เลขานุการเอก 1953-1966)สูงที่สุดในสหภาพโซเวียต ขึ้นอยู่กับระดับของการรวมอำนาจมันเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโปลิตบูโร เป็นตัวส่วนรวมหรือเลขาธิการที่เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกโปลิตบูโร, ที่มีประสิทธิภาพนำพรรคและประเทศ(ยกเว้นช่วงเวลาอำนาจสูงสุดของสตาลินที่ใช้โดยผ่านตำแหน่งในสภารัฐมนตรีมากกว่ากลุ่มโปลิตบูโรหลังจากที่ 1941)พวกเขาไม่ได้ควบคุมการเป็นสมาชิกพรรคทั่วไปเป็นหลักการที่สำคัญขององค์กรเป็นพรรคอำนาจในระบอบประชาธิปไตยต้องการการอยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัดเพื่อหน่วยที่สูงขึ้นและการเลือกตั้งก็ไม่มีใครโต้แย้งรับรองอย่างเป็นทางการของที่ผู้สมัครเสนอจากเบื้องบน
พรรคคอมมิวนิสต์ดูแลการปกครองของตนเหนือรัฐส่วนใหญ่โดยการควบคุมผ่านระบบของการนัดหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับสูงและเจ้าหน้าที่ส่วนศาลฎีกาโซเวียตเป็นสมาชิกของ CPSU ของหัวหน้าพรรคตนเอง สตาลินใน 1941-1953 และครุสชอฟอใน 1958-1964 เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเกษียณอายุบังคับของครุสชอฟหัวหน้าพรรคไม่ได้รับอนุญาตจากการใด ๆจากการเป็นสมาชิกสองครั้งนี้แต่ต่อมารัฐมนตรีทั่วไปเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงตำแหน่งของตนอย่างน้อยในบางที่ถูกครอบครองตำแหน่งพิธีการส่วนมากของประธานรัฐสภาศาลฎีกาโซเวียตหัวหน้าน้อยของรัฐ สถาบันอยู่ในระดับล่างได้รับการดูแลและในบางครั้งแทนที่ด้วยพรรคองค์กรหลัก
ในทางปฏิบัติ แต่ระดับของการควบคุมพรรคก็สามารถที่จะใช้ในช่วงระบบราชการของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการตายของสตาลินก็ยังห่างไกลจากการรวมระบบราชการด้วยการใฝ่หาผลประโยชน์ที่แตกต่างกันที่มีในช่วงเวลาที่อยู่ในความขัดแย้งกับบุคคลที่หรือเป็นพรรคของตัวเองเป็นเสาหินจากบนลงล่างแม้ว่าฝ่ายไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ.

                    

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-16 07:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        7.การปฏิรูปของกอร์บาชอฟ และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1985-1991)
                                                   


                            ขอขอบคุณรูปภาพจาก:wikipedia
เมื่อ มิคาอิล กอร์บาชอฟได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน "เปเรสตรอยกา" (Perestroika) ที่ให้อิสรเสรีแก่ประชาชนมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่มีผู้นำโซเวียตคนใดทำมาก่อน นอกจากนี้ เขาได้ดำเนินโยบายถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ. 1988 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟได้ส่งผลให้เกิดกฎหมาย Law on Cooperatives Law on Cooperatives ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่สมัยเลนิน กฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้ ซึ่งขัดต่อลัทธิมาร์กซ์อย่างสิ้นเชิง
ต่อมา ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือกตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐจำนวน 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 คือ บอริส เยลซิน ได้คะแนนสูงสุดถึง 57.3% (มีการเลือกตั้งในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1991) เนื่องจากกอร์บาชอฟมีความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียตตึงได้มีแผนจะผ่านสนธิสัญญา New Union Treaty ซึ่งจะมาแทน สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ. 1922 ซึ่งมีแผนจะลงนามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991 มีเนื้อหาแปลงสหภาพโซเวียตให้เป็นสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐนั้น ๆ
การปฏิรูปของกอร์บาชอฟส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สมาชิกซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์ และเกิดเป็นความพยายามที่จะยึดอำนาจการบริหารจากกอร์บาชอฟ เรียกการรัฐประหารครั้งนั้นว่า การรัฐประหารเดือนสิงหาคม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเกิดการต่อต้านจากประชาชนส่วนมากในประเทศและเยลต์ซินสามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ ผลคือ คณะรัฐประหารถูกจับกุมและถูกสังหาร สนธิสัญญาถูกเห็นชอบ หลังจากผ่านสนธิสัญญารัฐย่อยต่างๆของสหภาพโซเวียตซึ่งมีความพยายามจะแยกตัวมากก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีการลงประชามติเห็นชอบการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต รัฐย่อยต่างๆจึงได้แยกตัวจากสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์

                    

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-16 07:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        6.ยุคเบรจเนฟ (ค.ศ. 1964-1982)
                                                   


                            ขอขอบคุณรูปภาพจาก:oknation
ในเดือน ตุลาคม ปี ค.ศ. 1964 คณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Committee for State Security หรือ KGB) นำโดย เลโอนิด เบรจเนฟ และ โคชิกิน ได้เข้าทำรัฐประหารยึดอำนาจจากครุสชอฟ โดยครุสชอฟถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่ง
เบรจเนฟ ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคและประธานาธิบดี โดยมีนายโคซิกิน เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเรียกยุคนี้ว่าสมัยผู้นำร่วม เบรจเนฟ-โคชิกิน การดำเนินนโยบายต่างประเทศมีลักษณะผ่อนคลาย มีการดำเนินการเจรจาการจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 (SALT I,SALT II) ในปี ค.ศ.1972และ ค.ศ.1979 ตามลำดับ มีการดำเนินการเจรจาเพื่อความร่วมมือกันในยุโรปที่กรุงเฮลซิงกิ ในปี ค.ศ. 1975 มีการประกาศใช้ หลักการของเบรจเนฟ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1968 เพื่อยืนยันสิทธิและพันธกิจของสหภาพโซเวียต ในการพิทักษ์ความปลอดภัยแก่ลัทธิสังคมนิยม
ในด้านการบริหารของพรรคคอมมิวนิสต์ เบรจเนฟได้ตั้งกฎการเปลี่ยนตัวบุคคลจากภายในโปลิตบูโรขึ้นมาใหม่โดยการจัดให้มีการเปลี่ยนบุคคลต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านสมัชชา แต่ผ่านแค่คณะกรรมการกลางพรรคเท่านั้น ซึ่งตามธรรมนูญของพรรคแล้วถือว่าสมัชชาพรรคเป็นองค์กรสูงสุดของพรรค ที่สามารถดำเนินเป็นอิสระจากฝ่ายผู้นำได้ ที่ประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตประกอบด้วยสมาชิกถาวรทั้ง 14 คน กับสมาชิกสมทบทั้ง 10 คนของโปลิตบูโร
เบรจเนฟ ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ด้วยความสงบ โดยมี แอนโดรปอฟ ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ใน วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ยูริ วี แอนโดรปอฟ นั่งในตำแหน่งเลขาธิการพรรคได้ไม่นานก็ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 กอนสตันติน ยู เชอร์เนนโก (Constantine U. Chernenko) ขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 และเพียงหนึ่งปีก็ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1985

                    

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-16 07:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        5.ยุคครุสชอฟ (ค.ศ. 1953-1964)
                                                   


                            ขอขอบคุณรูปภาพจาก:thaigoodview
สตาลิน ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1953 โดยไม่มีการแต่งตั้งทายาททางการเมือง นิกิตา ครุสชอฟ ได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นเลขานุการคนที่ 1 ของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Communist Party of the Soviet Union) ซึ่งเปรียบเสมือนตำแหน่งผู้นำของประเทศ หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1956 เขาก็ทำให้โลกตะลึงด้วยการด้วยการประณามความเลวร้ายของสตาลิน ผู้ทำการปฏิวัติระบบนารวม (Commune) ให้ทรัพย์สินของทุกคนเป็นของส่วนรวม และนำสหภาพโซเวียตทำ สงครามเย็น กับสหรัฐอเมริกา
ในช่วงปลายของ ค.ศ. 1950 เกิดการแตกแยกระหว่างจีนกับโซเวียต ในเรื่องของอุดมการณ์ของคอมมิวนิสต์ เนื่องจากจีน โดย เหมา เจ๋อตง ไม่เห็นด้วยกับการยอมรับระบบทุนของโซเวียต และเห็นว่าควรรักษาแนวคิดระบบนารวมเอาไว้ การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และ โซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต
ในช่วงเวลานี้ของสหภาพโซเวียตดำเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องในการหาประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเปิดตัวดาวเทียมเทียมดวงแรกของโลก สปุตนิก 1 ส่งสุนัขไลก้าขึ้นสู่อวกาศ มนุษย์คนแรกของโลกที่ขึ้นสู่อวกาศคือ ยูริ กาการิน ในปี ค.ศ. 1963 ส่งผู้หญิงคนแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศคือ วาเลนตีนา เตเรชโควา ในปี ค.ศ.1965 ส่ง อเล็กซี ลีโอนอฟ มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ รวมทั้งส่งโรเวอร์คันแรกไปยังดวงจันทร์ ได้แก่ Lunokhod 1 และ Lunokhod 2
แม้ครุสชอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง อาทิ วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในปี ค.ศ. 1962 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้เขายังส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจในปี ค.ศ. 1964

                    

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-16 07:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        4.ยุคสตาลิน (ค.ศ. 1922-1953)
                                                   


                            ขอขอบคุณรูปภาพจาก:thaigoodview
โจเซฟ สตาลินในปี ค.ศ. 1942
นับตั้งแต่สตาลินได้ถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1922 สตาลินได้ดำเนินนโยบายแบบรวมอำนาจ แข็งกร้าว และรุนแรง เขาได้ริเริ่มแผนปฏิรูป 5 ปี เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการทหารและเศรษฐกิจ โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก นโยบายดังกล่าวได้ทำให้เกิดการก่อตั้งนารวม (Collective farm) ขึ้น ส่งผลให้ชาวนาผู้ถือครองที่ดินอยู่ก่อนเกิดความไม่พอใจ สตาลินจึงสร้างค่ายกักกัน (Gulak) ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ในการคุมขังผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ตลอดการปกครองของสตาลินมีผู้คาดการณ์ว่ามีนักโทษเสียชีวิตในค่ายกักกันถึง 60 ล้านคน สตาลินได้ทำการกวาดล้างผู้ต่อต้านครั้งใหญ่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 ซึ่งบุคคลเหล่านั้นรวมถึงสมาชิกพรรคบอลเชวิคหลายๆคนซึ่งเคยร่วมกับเลนินในการทำการปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1917 ด้วย
ในปี ค.ศ. 1932 สหภาพโซเวียตได้มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อลดอาวุธ ณ กรุงเวียนนา ในปีถัดมาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ
ในปลายทศวรรษที่ 1930 สหภาพโซเวียตได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับนาซีเยอรมนีและในปีเดียวกันความล้มเหลวในการเจรจาให้ฟินแลนด์เลื่อนเขตแดนให้ห่างจากเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (เลนินกราดในสมัยนั้น) ออกไปอีก 25 กิโลเมตร ทำให้สหภาพโซเวียตได้ใช้กำลังบุกฟินแลนด์ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของสหภาพโซเวียต
แม้ว่าสหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนีจะได้ทำข้อตกลงไม่รุกราน แต่นาซีเยอรมนีได้ละเมิดข้อตกลงและรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แม้ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตจะมียุทโธปรณ์ที่ทันสมัยซึ่งเป็นผลมาจากแผนปฏิรูป 5 ปี แต่กองทัพแดง ขาดผู้นำทางการทหารซึ่งเป็นผลมาจากการกวาดล้างครั้งใหญ่ของสตาลิน ทำให้กองทัพแดงขาดบุคลากรไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงแรกของสงครามสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้มาโดยตลอด แต่เมื่อกำลังเสริมจากไซบีเรียมาถึงสงครามจึงเปลี่ยนไป ฝ่ายเยอรมนีประสบกับความพ่ายแพ้มาตลอดจนเสียกรุงเบอร์ลินให้แก่สหภาพโซเวียต และสิ้นสุดสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1945 อย่างไรก็ตาม สงครามดังกล่าวส่งผลให้ชาวรัสเซียเสียชีวิตไปกว่า 10 ล้านคน บ้านเรือน ไร่ นาเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อสิ้นสุดสงครามสหภาพโซเวียตได้สถาปนาการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้นในรัฐต่างๆที่ถูกปลดแอกจากการยึดครองของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น โปแลนด์ โรมาเนีย เป็นต้น

                    

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-16 07:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        3.การปฏิวัติรัสเซีย และการก่อตั้งสหภาพโซเวียต
                                                   


                            ขอขอบคุณรูปภาพจาก:thaireddenmark.blogspot
ดูบทความหลักที่: การปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460 และ สงครามกลางเมืองรัสเซีย
สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งมาจากการยึดอำนาจของพรรคบอลเชวิก นำโดยวลาดิมีร์ เลนิน โดยยึดอำนาจจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เรียกการปฏิวัติครั้งนั้นว่าการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปฏิวัติครั้งนั้นส่งผลให้ รัฐบาลของกษัตริย์ถูกยกเลิก ระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ถูกยกเลิก ก่อเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นมาแทน และเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟในเวลาต่อมา ผลอื่นๆคือ กิจการธนาคารและโรงงานทั้งหมดถูกโอนเป็นของรัฐ และบัญชีส่วนบุคคลทั้งหมดถูกโอนให้แก่รัฐ และสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1

                    

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-16 07:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                        2.ประเทศที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียต
                                                   


                            ขอขอบคุณรูปภาพจาก:webboard.news.sanook
สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายเมื่อปี ค.ศ. 1991 ทำให้สาธารณรัฐต่าง ๆ แบ่งแยกตั้งเป็นประเทศทั้งหมด 15 ประเทศ หลังจากการแยกตัวออกมาปกครองอย่างเอกเทศแล้ว ประเทศเหล่านี้ยังมีการรวมกลุ่มกันเป็นเครือรัฐเอกราช Commonwealth of Independent States (CIS) ยกเว้น เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย
แผนที่สหภาพโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2532
1ประเทศเอสโตเนีย
2ประเทศลัตเวีย
3ประเทศลิทัวเนีย
4ประเทศเบลารุส
5ประเทศยูเครน
6ประเทศรัสเซีย
7ประเทศอาร์มีเนีย
8ประเทศอาเซอร์ไบจาน
9ประเทศคาซัคสถาน
10ประเทศคีร์กีซสถาน
11ประเทศมอลโดวา
12ประเทศทาจิกิสถาน
13ประเทศเติร์กเมนิสถาน
14ประเทศอุซเบกิสถาน
15ประเทศจอร์เจีย

                    

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้