ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3522
ตอบกลับ: 8
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงปู่ใจ อินฺทสุวณฺโณ วัดเสด็จ ~

[คัดลอกลิงก์]


พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ อินฺทสุวณฺโณ)
วัดเสด็จ ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม


ในบรรดาอมตเถราจารย์ผู้เข้มขลังแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง ที่ปรากฎเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จัก และเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาศิษย์ ที่ปรากฎมากมายหลายรูป ตลอดสองฝั่งแห่งลำน้ำนั้น หากเอ่ยถึง หลวงปู่ใจ แห่งวัดเสด็จ ยากนักที่จะหาคนไม่รู้จักได้
ด้วยท่านเป็นพระนักพัฒนา ปรากฎผลงานมากมาย ทั้งในส่วนของวัดวาอารามและสถานที่ศึกษาด้านความเข้มขลังของยุคนั้นรูปหนึ่ง เห็นได้จากวัตถุมงคลที่ท่านสร้างและปลุกเสกเอาไว้ ปรากฎประสบการณ์มากมาย เป็นสิ่งที่ยืนยันให้เห็นถึงกฤษดาภินิหารแห่งพระเวทย์อาคมขลังของท่าน

หลวงปู่ใจ  ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2405 ณ บ้านตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
มีชื่อเดิมว่า ใจ ขำสมชัย
บิดาชื่อ นายขำ ขำสมชัย มารดาชื่อ นางหุ่น ขำสมชัย
หลวงปู่ใจมีพี่น้องด้วยกันถึง 11 คน โดยเป็นหญิง 6 ชาย 5

ต่อมาครอบครัวของท่านได้ย้ายมายังหมู่ที่ 9 ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อันเป็นภูมิลำเนาเดิมของปู่ และบิดา
จึงเมื่ออายุได้ 21 ปีบริบูรณ์ ก็ได้อุปสมบท ณ อุโบสถวัดบางเกาะเทพศักดิ์ เมื่อวันแรม 11 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม โดยมีพระอุปัชฌาย์จุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "อินฺทสุวณฺโณ"

พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ อินฺทสุวณฺโณ) หลังจากบวชแล้วได้จำพรรษายังวัดบางเกาะเทพศักดิ์ เพื่อศึกษาทั้งด้านวินัยและด้านพระปริยัติ จนมีความรู้แตกฉาน ทั้งอักษรไทยและขอม

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-8 11:44 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สำหรับการเรียนหนังสือขอม เป็นที่สำคัญยิ่งสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ด้วยพระไตรปิฎกนั้น แต่เดิมเขียนด้วยอักษรขอม เพิ่งจะเขียนด้วยอักษรไทยในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส นี่เอง

นอกเหนือไปจากการศึกษาด้านพระวินัย พระปริยัติแล้วนั้น หลวงปู่ใจยังให้ความสนใจในเรื่องของคาถาอาคม และได้ขอเล่าเรียนจากครูบาอาจารย์หลายท่าน ต่อเมื่อท่านออกเดินธุดงค์เพื่อฝึกจิตสมาธิในพงไพรกว้าง ตอนใดที่พบพานพระธุดงค์ด้วยกัน ท่านมักขอศึกษาวิชาด้วย

กล่าวว่าท่านมีโอกาสได้เรียนรู้วิชาทางสมาธิจากพระอุปัชฌาย์ยิ้ม วัดหนองบัว จากในป่านั้นเอง ในคราที่ท่านเดินธุดงค์ไปพบกับหลวงปู่ยิ้ม
ต่อมาได้มีนางอิ่มและนายอ่อน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของหลวงปู่ใจ ได้ยกที่ดิน 3 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา ถวายให้พระสมุห์แพ วัดใหม่ยายเงิน (วัดราษฎร์บูรณะ) ฐานานุกรมของพระครูวิมลเกียรติ (เกลี้ยง) วัดบางสะแก แต่ด้วยพระสมุห์แพ อาพาธลงเสียก่อน จึงได้มอบโฉนดที่ดินให้แก่ขุนศรีโยธามาตย์ภักดี (บุตร) กับหมื่นชำนาญ (โพน) เพื่อนำไปมอบให้แก่เจ้าอาวาสวัดใดวัดหนึ่ง เพื่อดำเนินการสร้างวัดขึ้นตามเจตนาของผู้บริจาค

ซึ่งที่ดินเหล่านี้ ได้นำมามอบให้กับพระอุปัชฌาย์จุ้ย วัดบางเกาะ และได้ดำเนินการสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2434 ด้วยเงินสมทบบริจาคจำนวน 260 บาท พร้อมทั้งแต่งตั้งให้หลวงปู่ใจ ซึ่งอุปสมบทมาได้ 8 พรรษาแล้ว เป็นผู้ปกครองสำนักสงฆ์แห่งนี้ มีพระภิกษุจำพรรษาด้วย 4 รูป

วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2434 ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ท่านพระครูวิมลเกียรติ (ป้าน) เจ้าอาวาสวัดเหมืองใหม่ เจ้าคณะแขวงเมืองราชบุรี ได้แต่งตั้งให้พระใจ เป็นเจ้าอาวาส และเป็นพระอธิการปกครองวัด มีชื่อวัดว่า วัดใหม่ยายอิ่ม ตามนามผู้ถวายที่ดิน
เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นวิสุงคามสีมาแล้ว จึงให้ชื่อวัดใหม่ว่า "วัดใหม่ใต้ปากคลองดอน" ครั้นเมื่อปี พ.ศ.2458 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาตรวจการณ์คณะสงฆ์ และได้เสด็จมายังวัดใหม่ใต้ปากคลองดอน ได้ทรงตั้งนามวัดใหม่ว่า "วัดเสด็จ"

หลวงปู่ใจ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือท่านมากมาย ท่านได้เคยสร้างพระไว้หลายอย่าง ทั้งเหรียญและพระหล่อเนื้อเมฆพัด พระปรกใบมะขามเนื้อเมฆพัดของท่านจัดเข้าอยู่ในชุดพระเบญจฯปรกใบมะขาม ซึ่งโด่งดังมาก  นอกจากพระเครื่องแล้วท่านยังได้สร้างตะกรุดไว้หลายแบบ ที่โดดเด่นมากก็คือตะกรุดลูกอม ที่มีทั้งเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนาค ซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดมา
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-8 11:45 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จากหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี  หลวงปู่ใจท่านได้รับสมณศักดิ์ดังต่อไปนี้  พ.ศ. 2458 เป็นผู้รั้งเจ้าคณะแขวงบางคนที  พ.ศ. 2460 เป็นเจ้าคณะแขวงบางคนที และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรมีพระราชทินนามว่า "พระครูสุทธิสาร"  พ.ศ. 2469 เป็นเจ้าคณะแขวงอัมพวา พ.ศ. 2495 เป็นพระสุทธิสารวุฒาจารย์  พ.ศ. 2504 เป็นพระราชมงคลวุฒาจารย์

หลวงปู่ใจท่านมรณภาพวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สิริอายุได้ 100 ปี พรรษาที่ 78  ในสมัยที่หลวงปู่ใจท่านกำลังสร้างวัดเสด็จอยู่นั้นท่านได้เดินทางไปที่จังหวัดกาญจนบุรีอยู่บ่อยๆ เพื่อไปหาซื้อไม้มาสร้างวัด ท่านขึ้นล่องอยู่หลายปีจึงสร้างวัดได้สำเร็จ  และทุกปีท่านจะมาแวะพักที่วัดหนองบัว เอาหมากพลูมาถวายหลวงปู่ยิ้ม ซึ่งท่านเคารพหลวงปู่ยิ้มมาก มีอยู่ปีหนึ่งหลวงปู่ยิ้มพูดเปิดทางให้กับท่านว่าถ้าสนใจในวิทยาคมก็จะถ่ายทอดให้  ท่านจึงรีบขอเป็นศิษย์ทันที หลวงปู่ยิ้มได้มอบบทเรียนบทแรกว่าด้วยการทดสอบพลังจิต โดยจุดเทียนตั้งไว้ที่ขัดน้ำมนต์ แล้วให้ท่านเพ่งกระแสจิตไปที่เทียนให้เทียนขาดกลางให้ได้  ถ้าทำได้เมื่อใดจึงจะมอบวิชาให้ หลวงปู่ใจท่านทำอยู่ 7 คืน เทียนก็ไม่ยอมขาด หลังจากกลับมาพัก ท่านจึงตัดสินใจว่าถ้าหากคืนพรุ่งนี้เทียนยังไม่ขาด ก็จะกลับอัมพวา ปรากฏว่าคืนวันที่ 8 ท่านทำได้สำเร็จ

ท่านสามารถเพ่งกระแสจิตตัดเทียนให้ค่อยๆ ละลายขาดลงตรงกลาง หลวงปู่ยิ้มได้กล่าวชมว่า "เมื่อแรกเรียนท่านก็เก่งกว่าเสียแล้ว" เพราะหลวงปู่ยิ้มเองต้องทำอยู่ถึง 15 วัน  หลวงปู่ยิ้มจึงถ่ายทอดวิชาว่าด้วยการสร้างตะกรุดปราบทาษามหาระงับ ตะกรุดลูกอมอันเลื่องลือของท่านให้แก่หลวงปู่ใจจนหมดสิ้น  ตะกรุดของหลวงปู่ใจท่านจะสร้างด้วยความพิถีพิถันใช้ความประณีตบรรจง ตะกรุดแต่ละดอกจะมีขนาดเท่ากัน ลักษณะการม้วนจะเหมือนกัน การขวั้นไหม 5 สี ร้อยตะกรุดลูกอม ก็ต้องใช้ไหมที่มีขนาดเท่ากันทุกเส้นเวลาขวั้นต้องจัดเกลียวให้เป็นระเบียบ และท่านจะปลุกเสกของๆ ท่านเพียงองค์เดียวเท่านั้น ตะกรุดลูกอมของหลวงปู่ใจจะมีอยู่ 3 เนื้อคือ เนื้อทองคำ เนื้อนาค และเนื้อเงิน ปัจจุบันตะกรุดลูกอมของหลวงปู่ใจนั้นหายาก

หลวงปู่ใจ ท่านเป็นพระเถราจารย์ ประพฤติตนอยู่ในกรอบแห่งพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เสมอต้นเสมอปลาย พูดน้อย และพูดแต่คำที่เป็นประโยชน์ ไม่ยึดติดในลาภยศสรรเสริญ ไม่ยกตนข่มท่าน และไม่โอ้อวดคุณวิเศษแห่งตน
เหตุนี้วัตถุมงคลของท่าน จึงเข้มขลังอย่างยิ่งยวด แต่ก็ใช่เรื่องง่าย ที่ใครสักคนก่อนจะได้รับ ของดีจากมือของท่านโดยตรง ยิ่งใยช่วงที่ท่านมีอายุมากแล้ว ใครได้รับจากมือท่านถือว่าโชคดี บางคนเดินทางมาจากจังหวัดไกลๆ ขอเท่าใดท่านก็ไม่ยอมให้ และหากท่านจะปฏิเสธ ท่านมักจะพูดว่า ยังไม่ว่างที่จะทำ หรือ มันจะไม่ค่อยดีละมั้ง หากท่านพูดเช่นนี้และล่ะก็ อย่าไปง้อเสียให้ยาก ตรงกันข้าม กับบางคนที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมและสมควร ท่านก็จะมอบให้ทันทีทั้งกำชับด้วยว่า “เก็บไว้ให้ดีนะจ๊ะ อย่าไปบอกใคร ของฉันดีทางแคล้วคลาด และเมตตามหานิยมจ๊ะ”
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-8 11:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตำแหน่งหน้าที่และสมณศักดิ์

วันที่ 11 ก.ค. พ.ศ. 2434 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จ
พ.ศ. 2469 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นสัญญาบัตร ที่ พระครูสุทธิสาร ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภออัมพวา
ปีพ.ศ. 2496 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะที่ พระสุทธิสารวุฒาจารย์
วันที่ 5 ธ.ค. พ.ศ. 2504 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชมงคลวุฒาจารย์

หลวงปู่ใจ อินฺทสุวณฺโณ ได้แก่ถึงมรณภาพ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ตรงกับวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 7 รวมสิริอายุ 100 ปี 78 พรรษา และพระราชทานเพลิงศพ เมื่อ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2506

ศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียง

1.        หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ อดีตเจ้าอาวาส (องค์นี้หลวงปู่ใจเป็นพระอุปัชฌาย์)
2.        หลวงพ่อม่วง วัดยางงาม อดีตเจ้าอาวาส
3.        หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี อดีตเจ้าอาวาส (ขอเรียนวิชาบางแขนง ทำตะกรุดลูกอม)
4.        พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ (องค์นี้ถือว่าเป็นศิษย์สายหลวงปู่ใจ โดยท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่หยอด)
5.        หลวงพ่อแดง วัดอินทาราม (องค์นี้ถือว่าเป็นศิษย์สายหลวงปู่ใจ โดยท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่หยอด)

ที่มา
https://www.facebook.com/media/s ... 24778302&type=3

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-8 11:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-5-8 11:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ตะกรุดปราบหงสา

ตะกรุดปราบหงสา ลักษณะเป็นตะกรุดโทน มีความยาวขนาด 7 นิ้ว  คุณเชื้อ รงระสุนทร ไวยาวัจกรของวัดเสด็จ และมีศักดิ์เป็นหลาน เคยรับใช้ใกล้ชิด ได้อธิบายการสร้างตะกรุดชนิดนี้ว่าใช้แผ่นเงินขนาด 6 X 7 นิ้ว มีเพียงขนาดเดียว ซึ่งขนาดความกว้าง - ยาวนี้ ถือเป็นจุดสำคัญ จะใหญ่หรือเล็กกว่านี้ไม่ได้โดยเด็ดขาด ส่วนความหนาบาง แตกต่างกันบ้าง โดยมากการสร้างตะกรุดชนิดนี้ มักมีผู้ไปขอให้ท่านสร้าง และนำแผ่นเงินไปถวายท่านด้วย กรรมวิธีการสร้างแบ่งออกเป็น 6 ระยะด้วยกัน
ระยะแรก ลงอักขระเลขยันต์ตามสูตรบนแผ่นเงิน เมื่อสำเร็จแล้วจึงม้วนเป็นดอกตะกรุด พร้อมภาวนาพระคาถากำกับ
ระยะที่ 2 เอาเชือกด้ายดิบ พันรอบตะกรุดทั้งดอก
ระยะที่ 3 เอายาพอกหุ้มเชือกด้วยด้ายดิบอีกชั้นหนึ่ง (ยาชนิดนี้มีกรรมวิธิการทำโดย เอาหญ้าใต้ใบ , หญ้ากระทืบยอด , ต้นไมยราบ , ผักกะเฉด,ใบชุมเห็ดเทศ,ใบสมี,และผักบุ้งขาว รวม 7 อย่าง มากองสุมจุดไฟเผาให้เป็นเถ้าถ่าน นำมาบดให้ละเอียด คลุกเคล้ากับรัก) เมื่อพอกยาแล้ว ต้องตากให้แห้ง
ระยะที่4 ใช้เชือกถักห่อหุ้มผงยาอีกชั้นหนึ่ง เท่าที่พบมี 2 ลายคือ ลายเกลียว และ ลายละเอียด
ระยะที่ 5 ลงรักปิดทอง บนเชือกที่ถักอีกชั้นหนึ่ง
ระยะที่ 6 บริกรรมพระคาถาปลุกเสกสำทับอีกครั้งหนึ่ง
— ที่ วัดเสด็จ อัมพวา สมุทรสงคราม

........................................................................

ที่มา https://www.facebook.com/1197548 ... ?type=3&theater

กราบหลวงปู่ครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้