ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4173
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ~

[คัดลอกลิงก์]


~ประวัติ~
          เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นเรือพระที่นั่งที่สร้างใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเรือลำแรกนั้นมีนามว่า เรือศรีสุพรรณหงส์ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

~ขนาด~
          นาวาสถาปนิก หรือ ผู้ต่อเรือสุพรรณหงส์คือ พลเรือตรี พระยาราชสงคราม รน.(กร หงสกุล) จัดเป็นเรือพระที่นั่งกีบ มักใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรงของพระเจ้าอยู่หัว โขนเรือเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว ๔๔.๙ เมตร กว้าง ๓.๑๔ เมตร ลึก ๐.๙ เมตร กินน้ำ ลึก ๐.๔๑ เมตร กำลัง ๓.๕ เมตร(พาย ๑ ครั้งลอยไป ๓.๕ เมตร) ใช้ฝีพาย ๕๐ คน นายท้าย ๒ คน นายเรือ ๒ คน คนถือธง ๑ คน พลสัญญาณ ๑ คน และ คนเห่เรือ ๑ คน

~รางวัล~
          ด้วยความสำคัญของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ จึงทำให้ องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร ให้ความสนใจส่งผู้แทนมาพิจารณามอบรางวัลเรือโลกแก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการองค์การ WORLD SHIP TRUST ประกอบด้วยนายอีเวนเซาท์บี-เทลยัวร์ ประธานองค์การเรือโลก นายไมเคล ไทยแนน (MR. MICHAEL TYNAN) นักกฎหมายประจำองค์การฯ และนายเจมส์ ฟอร์ไซธ์ ได้เดินทางมายังประเทศไทย เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญรางวัลเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เหรียญรางวัลมรดกทางทะเลขององค์การเรือโลก ประจำปี พ.ศ. 2535|พ.ศ. ๒๕๓๕ (THE WORLD SHIP TRUST MARITIME HERITAGE AWARD "SUPHANNAHONG ROYAL BARGE") จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเหรียญรางวัลดังกล่าวแก่อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเป็นกรมที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาเรือพระที่นั่ง

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-26 08:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
~ ปาฏิหารย์เกี่ยวกับเรือสุพรรณหงส์~
        เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า "สุวรรณหงส์" ในหนังสือตำนานเรือรบไทยพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ได้ทรงกล่าวไว้ว่า เรือศรีสุพรรณหงส์สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 ในจดหมายเหตุเมื่อ พ.ศ.2370 มีหมายรับสั่งให้จัด "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" เป็นเรือทรงพระบรมธาตุที่ได้มาจากเวียงจันทร์ ในจดหมายเหตุต่าง ๆ ครั้งรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่4 เรียกชื่อเรือนี้ว่า"เรือสุพรรณหงส์" เรือสุพรรณหงส์ได้ชำรุดทรุดโทรมมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ได้ซ่อมแซมมาหลายครั้งจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต่อขึ้นใหม่ เพราะเรือพระที่นั่ง ศรีสุพรรณหงส์ลำเดิมผุพังเกินที่จะซ่อมได้ และเปลี่ยนชื่อ เป็นเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง นายพลตรีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่าง ประกอบพิธีลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454 ลำเรือภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 44.90 เมตร (เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ ครั้งรัชกาลที่ 1 ยาวเพียง 36 เมตร) กว้าง 3.14 เมตร ลึก 0.90 เมตร กินน้ำลึก 0.41 เมตร กำลัง 3.50 เมตร ฝีพาย 50 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน (นายเรือคนที่ 1 บังคับบัญชาฝีพายหน้าบัลลังก์กัญญา นายเรือคนที่ 2 บังคับบัญชา ฝีพายหลังบัลลังก์กัญญา) คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน


        เมื่อพูดถึงเรือสุพรรณหงส์แล้วนับว่าเป็นเรือที่มีที่มาน่าสนใจไม่น้อย โดยประวัติคร่าวๆของเรือลำนี้ คือ เรือที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยใช้ชื่อว่า“เรือศรีสุพรรณหงส์”

        ในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็มีการปรับปรุงเรือศรีสุพรรณหงส์ที่ชำรุดทรุดโทรมครั้งใหญ่ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น“เรือสุพรรณหงส์”จากนั้นก็ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน

        นอกจากความงามและความสำคัญของเรือสุพรรณหงส์ที่มีต่อประวัติศาสตร์ชาติไทยแล้ว เรือลำนี้ยังมีเรื่องราวเล่าขานที่ฟังแล้วแทบไม่น่าเชื่อ เกิดขึ้นเสมอ สำหรับเรื่องเหลือเชื่อที่หลายคนอาจจะทราบเลาๆหรือเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับกระบวนพยุหยาตราชลมารคเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยคุณราตรี บัวประดิษฐ์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ได้เล่าว่า “ในปีนั้น(พ.ศ.2539) นับเป็นปีพิเศษที่กระบวนพยุหยาตราฯ ได้นำเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ มาแล่นเป็นเรือเอกลำแรก ทำให้เรือสุพรรณหงส์ ซึ่งเดิมเคยเป็นเรือเอกมาตลอดกลายเป็นเรือรองแล่นตามหลัง เมื่อนำเรือสุพรรณหงส์แล่นในแม่น้ำเจ้าพระยาออกตามหลังเรือนารายณ์ทรงสุบรรณได้สักพัก จู่ๆก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น คือเกิดมีพายุลมแรงมากโดยที่ไม่มีวี่แววของฝนตั้งเค้าพัดมาที่เรือสุพรรณหงส์ ขณะที่เรือลำอื่นยังแล่นได้ตามปกติ แล้วเรือสุพรรณหงส์ก็เบนหัวเรือทำท่าเหมือนจะกลับอู่อยู่ท่าเดียว ทั้งๆที่เหล่าฝีพายซึ่งล้วนแต่มีฝีมือดี พยายามจะตั้งลำให้แล่นในแม่น้ำเจ้าพระยาแต่ก็ไม่เป็นผล เรือไม่ยอมไปตามจนสุดท้ายเมื่อเรือเกือบจะล่ม เหล่าฝีพายก็ต้องนำเรือกลับเข้าอู่เรือพระราชพิธี”

        เรื่องนี้มีคนที่อยู่ในเหตุการณ์หลายคนต่างรู้ดี ทั้งนี้หากมาดูกันตามประวัติศาสตร์ กระบวนพยุหยาตราฯนั้น เรือสุพรรณหงส์เป็นเรือพระที่นั่งเอกมาตลอด แต่ในวันนั้นได้นำเรือนารายณ์ทรงสุบรรณไปแล่นเป็นเรือเอกแทน ทำให้เรือสุพรรณหงส์ไม่ยอม ซึ่งถ้าดูตามลำดับชั้นแล้วเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเป็นเรือรูปสัตว์ที่มียศรองเรือสุพรรณหงส์อยู่แล้ว ซึ่งในการจัดริ้วกระบวนปี 2539 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงรับสั่งว่า ถ้าจะให้ท่านประทับเรือนารายณ์ทรงสุบรรณก็ไม่ควรที่จะเอาเรือสุพรรณหงส์ลง เพราะกระบวนพยุหยาตราฯจะต้องเป็นเรือลำใดลำหนึ่งเท่านั้น
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-26 08:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นอกจากเรื่องเหลือเชื่อของเรือสุพรรณหงส์ที่หลายคนเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับกระบวนพยุหยาตราฯปี พ.ศ. 2539 แล้ว คุณราตรียังเล่าเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองให้ฟังว่าในอดีตที่นี่(พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี)เป็นเพียงสถานที่เก็บเรืออย่างเดียวเท่านั้น ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี แต่ว่าสถานที่ยังไม่ดีพอ เมื่อดิฉันมาก็ตั้งใจที่จำสถานที่แห่งนี้ให้ดีขึ้นเนื่องจาก เป็นที่เก็บเรือของพระมหากษัตริย์และมีแห่งเดียวในโลก

         จึงได้ทำพิธีเซ่นไหว้แม่ย่านาง เจ้าที่เจ้าทาง พร้อมทั้งบอกท่านว่ามีความปรารถนาที่จะทำที่นี่ให้ดี และก็ต้องการงบประมาณเพื่อมาปรับปรุง ขอดลบันดาลใจให้ท่านผู้ใหญ่ให้งบประมาณในการสนับสนุนในการพัฒนา ซึ่งจากการ ที่ไหว้แล้วก็ได้รับงบประมาณมาโดยตลอด เรื่องนี้เป็นสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ แต่ดิฉันก็มีความเชื่อมาโดยตลอด เมื่อพูดถึงเรื่องแม่ย่านางแล้ว คุณราตรีเล่าด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นว่า ที่เรือสุพรรณหงส์เคยมีผู้เฒ่า ผู้แก่ หลายคน เห็นแม่น่านาง เป็นผู้หญิงผมยาว ผมขาว เดินไปมาอยู่ที่หัวเรือในยามค่ำคืน ซึ่งเรื่องที่เรือมีแม่ย่านางนี้ หลายคนคงจะทราบดีว่าเป็นความเชื่อเกี่ยวกับการต่อเรือ เพราะการที่จะสร้างเรือขึ้นมาหนึ่งลำนั้น จะต้องมีการจัดพิธีบวงสรวง พิธีบอกกล่าวเทพยดาหรือแม่ย่านาง ที่ประจำเรือซึ่งทำจากต้นไม้ ทั้งนี้เป็นพิธีความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ ส่วนแม่ย่านางเรือแต่ละลำนั้นจะเฮี้ยนแค่ไหน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับเรือลำนั้น

        สำหรับพิธีกรรมบวงสรวงเรือสุพรรณหงส์นั้นก็เหมือนกับพิธีกรรมทั่วๆ ไป คือมีของเซ่นไหว้ อย่างหัวหมู เป็ด ไก่ ของคาว ของหวาน ขนมต้มแดงต้มขาว และก็จะมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีกรรมทั้งก่อนที่จะสร้างเรือเพื่อเป็นการขออนุญาต และเมื่อสร้างเรือเสร็จแล้วก่อนที่จะนำเรือลงสู่แม่น้ำก็จะมีการบวงสรวงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการขอพรและความเป็นสิริมงคลให้กับฝีพายและนายทหารต่างๆ ที่อยู่ประจำบนเรือ ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นประเพณีโบราณที่สืบต่อกันมาช้านาน อีกสิ่งหนึ่งที่ถ้าคุณราตรีไม่เล่าออกมาก็จะไม่รู้เลยว่า ที่โขนเรือสุพรรณหงส์นั้นจะมีการนำเหรียญบาทที่ด้านหน้าเป็นรูปในหลวงและด้านหลังเป็นรูปตราแผ่นดินใส่ลงไปในโขนเรือพร้อมทั้งทำพิธี ตามความเชื่อสมัยก่อนที่เชื่อกันว่าเพื่อความเป็นสิริมงคล

        สำหรับเรื่องลี้ลับน่าเหลือเชื่อเกี่ยวกับเรือสุพรรณหงส์ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ คุณราตรี คนเดิม เล่าเพิ่มอีกว่า ที่เรือลำนี้จะมีคนตายเซ่นสังเวยทุกปี โดยคนที่ตายส่วนมากก็มักจะเป็นพวกที่ไปลบหลู่เรือ อย่าง นายทหารคนหนึ่งเมื่อเมาแล้วได้เข้าไปนั่งในเรือแล้วก็ฉี่รดเรือ หลังจากนั้นทหารคนนั้นก็จมน้ำตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งที่เป็นคนว่ายน้ำแข็ง ส่วนอีกคนหนึ่ง ไปพูดจา ดูถูก ลบหลู่ จากนั้นก็เกิดเหตุเป็นไป คือว่ายน้ำอยู่ดีๆ จมน้ำตายไปเฉยเลย โดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ที่นี่(พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี)มีน้ำท่วมมาก ลูกคนงานที่นี่อยู่ดีๆก็ตกน้ำตาย สำหรับที่นี่แล้วคล้ายๆกับว่าทุกปีจะต้องมีคนตายเสมอ อีกเหตุการณ์หนึ่งที่เหลือเชื่อมากๆและมักจะเกิดขึ้นบ่อยก็คือ สำหรับผู้ที่มาถ่ายรูป ไม่ว่าจะเป็นผู้สื่อข่าว นักเรียน นักศึกษา ถ้าไม่มีการไหว้ขอขมาก่อนแล้ว ก็จะเกิดเหตุการณ์แปลกๆเกิดขึ้นกับรูปเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปที่ถ่ายไม่ติด รูปที่ถ่ายมาเสีย ดำหมด ขาวหมด ต้องกลับมาขอขมาเพื่อถ่ายใหม่” คุณรารีเล่าด้วยด้วยความระทึกขวัญ
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-26 08:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สำหรับเรื่องราวอันน่าเหลือเชื่อของเรือสุพรรณหงส์นั้นยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่สำหรับสิ่งที่พิสูจน์ได้แน่ๆเกี่ยวกับเรือสุพรรณหงส์ก็คือ ความสวยงามวิจิตรของโขนเรือ และลำเรือ ที่ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดแห่งนาวาสถาปัตยกรรม ซึ่งคนที่อยากดูความงามและอยากฟังเรื่องราวอันเหลือเชื่อเกี่ยวกับเรือสุพรรณหงส์ก็สามารถเดินทางไปรับชมและรับฟังได้หลังหมดงานเอเปคที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ริมคลองบางกอกน้อย ใต้สะพานอรุณอัมรินทร์ ฝั่งตรงข้ามกับสถานีรถไฟธนบุรี คนไทย 10 บาท ต่างชาติ 30 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2424-0004


--------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
เว็บไซต์กระทรวงคมนาคม
วิกิพิเดียไทย
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

Retrieved from "http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/
ประเภทของหน้า: พระราชพิธี
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้