การอวตารของพระวิษณุ การอวตารของพระวิษณุนั้นทรงอวตารเป็นทั้งมนุษย์และสัตว์ และการอวตารของพระองค์จะเป็นไปตามศิวะโองการ (คำสั่งของพระศิวะ) และการอัญเชิญขอร้องของหมู่เทวดา การอวตารของพระวิษณุบ้างก็ว่ามีมากจนนับได้ยาก แต่ปางที่มีจุดประสงค์เพื่อมาช่วยเทวดา และมนุษย์โลกนี้มีทั้งหมด 25 ปาง แต่ปางที่ถือเป็นปางที่สำคัญที่สุดมี 10 ปาง ปางที่ 1 มัตสยาวตาร (อวตารเป็นปลา)เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์และสัตว์ให้พ้นจากน้ำท่วมโลก ปางที่ 2 กูรมาวตาร (อวตารเป็นเต่า)เพื่อช่วยเหล่าเทวะและอสูรกวนเกษียรสมุทร ปางที่ 3 วราหาวตาร (อวตารเป็นหมูป่า)มีสองตำนานหลักๆคือ 1)เพื่อปราบอสูรนาม”หิรัณยากษะ”ซึ่งลักเอาแผ่นธรณีไปโดยการม้วนแล้วเหน็บไว้ที่ข้างกาย และ 2)เพื่อยุติการประลองพลังอำนาจกันระหว่าง พระศิวะ และ พระพรหม ปางที่ 4 นรสิงหาวตาร (อวตารเป็นครึ่งสิงห์)เพื่อปราบอสูรนาม “หิรัณยกศิปุ” ผู้เป็นน้องชายของ “หิรัณยากษะ” ปางที่ 5 วามนาวตาร (อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ย)เพื่อปราบอสูรนาม “พาลี” ผู้เป็นเหลนของ “หิรัณยกศิปุ” ปางที่ 6 ปรศุรามาวตาร (อวตารเป็นพราหม์ผู้ใช้ขวานเป็นอาวุธ)เพื่อปราบกษัตริย์(ผู้เป็นมนุษย์)นาม “พระเจ้าอรชุน” หรือ “พระเจ้าสหัสอรชุน” ผู้มีใบหน้า 1พันหน้า ผู้ก่อยุคเข็ญและทำลายล้างศาสนา ปางที่ 7 รามาวตาร หรือ รามจันทราวตาร(อวตารเป็นพระราม กษัตริย์แห่งอโยธยา)เพื่อปราบอสูรนาม “ราวณะ” หรือ “ราพณ์” หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม “ทศกัณฐ์” กษํตริย์ แห่งกรุงลงกา ? ปางนี้เป็นหลักในการจัด จารีต และ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของสังคมอินเดีย ปางที่ 8 กฤษณาวตาร (อวตารเป็นพระกฤษณะ)เพื่อขับรถม้าให้ “พระอรชุน” และสอนวิถี และวิธีการดำเนินชีวิต ให้แก่พระอรชุน ปางที่ 9 พุทธาวตาร (อวตารเป็นพระพุทธเจ้า)ชาวฮินดูมีความเชื่อว่าพระนารายณ์อวตารในปางนี้เพื่อหลอกลวงให้พวกนอกรีตที่ไม่นับถือวรรณะแยกออกไปจากศาสนาพราหมณ์ ; ในบางแห่งเชื่อว่าปางที่เก้านี้คือ พลรามาวตาร (อวตารเป็นพลราม)หรือพระพลรามซึ่งเป็นพี่ชายของพระกฤษณะ เป็นการอวตารคู่กับพระกฤษณะ ปางที่ 10 กัลกยาวตาร หรือ กัลกิยาวตาร(อวตารเป็นมนุษย์ผู้ขี่ม้าขาว หรือ กัลกี)เป็นอวตารที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่เป็นการทำนายอนาคตไว้ว่า ในยามที่เป็นปลายแห่งกลียุค ที่ที่เมื่อผู้คนไม่รู้จักธรรมะ ไม่รู้ผิดชอบชั่วดีอีกต่อไป โลกทั้งโลกต้องเผชิญกับยุคเข็ญไปทุกหย่อมหญ้า จะมีบุรุษขี่ม้าปรากฏตัวขึ้นเพื่อปัดเป่าความทุกข์ยาก และนำธรรมะกลับมาสู่มวลมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง พระนารายณ์ 10 ปาง ในพระพุทธศาสนา
|