ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
วัฒนธรรมการกินหมาก
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 6689
ตอบกลับ: 0
วัฒนธรรมการกินหมาก
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-5-5 08:32
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
วัฒนธรรมการกินหมากของไทย
การกินหมาก
ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมของคนไทยอย่างหนึ่ง จากเอกสารของจีนโบราณได้กล่าว ถึงกลุ่มชนฟันดำซึ่งหมายถึงคนกินหมาก เมื่อ 200 ปี อยู่ทางทิศใต้ซึ่งหมายถึงไทย และลาว ในสมัยสุโขทัยมีหลักฐานจากศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงว่า
“ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมัน สิ้น”
ซึ่งมีการปลูกหมากปลูกพลู และมีวัฒนธรรมในการกินหมากสืบต่อเนื่องมาถึงสมัยอยุธยา
จากหลักฐานที่พบที่ชุมชนบ้านเก่า บางกระบือ เต้าปูนทองแดง/สำริด แสดงให้เห็น ว่าคนในชุมชนบ้านเก่ามีการกินหมาก เป็นสำรับเรียกว่า
“เชี่ยนหมาก”
มีอุปกรณ์ประกอบด้วย
ตลับใส่ยาเส้น ใส่หมากแห้ง สีผึ้ง สีเสียด เต้า ปูนใส่ปูนแดง ซองพลูใส่ใบพลู กรรไกรหนีบหมาก ครกหรือตะบันหมาก กระโถนบ้วนน้ำหมาก
เชี่ยนหมาก
เป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมของไทยในสมัย โบราณได้ เช่น
พวกขุนนางและพระเจ้าแผ่นดิน จะพระราชทานเครื่องประดับยศมีหีบหมากทองคำ ดาบ เรือยาว สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ ทาสสำหรับใช้สอย
กินหมาก
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามา ได้แต่งหนังสือไว้เรียกว่า
“จดหมายเหตุของลาลูแบร์”
บันทึกเรื่องราว ในสมัยอยุธยาไว้เป็นอันมากได้กล่าวถึงเรื่อง การกินหมากของคนไทยในสมัยอยุธยาไว้ว่า
“เป็นธรรมเนียมเจ้าของบ้านต้องยอมให้แขก ที่มาสู่เหย้านั่งที่ตนเคยนั่ง และต้องเชื้อเชิญให้ยอมนั่ง ภายหลังก็ยกผลไม้ ของว่างและของหวานมาเลี้ยง บางที่ก็ถึงเลี้ยงข้าวปลาด้วยและข้อสำคัญนั้นเจ้าของบ้าน ต้องส่งเชี่ยนหมากแลทีชาให้แขกรับประทาน ด้วยมือเอง ถ้าเป็นราษฎร์สามัญแล้วไม่ลืมเลี้ยง เหล้า”
จากบันทึกอีกตอนหนึ่งของบาลูแบร์ กล่าวไว้ว่า
“ในพระราชมณเทียรพระมหากษัตริย์นั้น ข้าราชการที่เข้าเฝ้าไม่กล้าไอ จาม หรือบ้วนน้ำหมาก ถ่มเสลด และไม่กล้าสั่งมูลนาสิก หมากที่อมติดปากไว้ นั้นก็กลืนน้ำหมากเอือก ๆ ให้หายเข้าไปในคออย่างแช่มชื่น”
วัฒนธรรมการกินหมาก สืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งไม่ให้มีการค้าขายหมาก ทำให้คนไทยเลิกกินหมาก วัฒนธรรมการกินหมากกับสังคมไทยก็ค่อย ๆ เลือนหาย ไป
ใบยาสูบซอยละเอียดและตากให้แห้งไว้สูบเอง
เชี่ยนหมาก
หลักฐานทางโบราณคดี
บริเวณถ้ำในภาคเหนือของไทยพบร่องรอยการกินหมากพลูมามากกว่า 8000 ปี หมากเป็นเครื่องหมายของความชอบพอ การรับแขกด้วยหมากแสดงให้เห็นซึ่งการยอมรับสถานภาพพิเศษ และฐานะทางสังคมของบุคคลนั้น ในพิธีบุญของไทยล้านนาที่มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ มักมีหมากพลูที่เจียนและม้วนเรียบร้อยแล้วใส่พานไว้ถวายพระสงฆ์ รวมทั้งมีการจัดเตรียมกระโถนไว้ให้ท่านด้วย
วัฒนธรรมการกินหมากเคยมีความหมายต่อวิถีชีวิตผู้คนอย่างมากในอดีต นอกจากนั้นแล้ว ในบางสังคมการกินหมาก เป็นสัญลักษณ์ของความดีความชอบด้วย
ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม
เป็นนายกรัฐมนตรี
ความนิยมในการกินหมากได้สะดุดหยุดลง เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาประเทศแบบตะวันตก
จึงได้สั่งตัดต้นหมากและพลูทิ้งแล้วปลูกพืชอื่นแทน ประกอบด้วยอนุชนรุ่นหลังไม่ชอบกินหมากด้วย ทำให้ต้นหมากลดน้อยลงโดยปริยาย
การกินหมากจะทำให้บางคนเกิดอาการมึนเมา คลื่นเหียน และเวียนศรีษะ
ได้หรือที่เรียกว่า
เกิดอาการยันหมาก
การมีฟันดำจากการกินหมากถือเป็นเรื่องปกติสำหรับคนในอดีตและถือเป็นความงามของคนด้วย ความงามที่มีฟันสีดำ นั้น ถึงขนาดมีคำกล่าวกันว่า
“หมาน่ะซี ที่มีฟันสีขาว”
และมีคำอธิษฐานขอต่อพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงว่า
“ขอให้ฟันดำเหมือนลูกหว้า ขอให้ปัญญาเหมือนพระมโหสถ”
การกินหมากจึงไม่ได้เป็นเพียงเรื่องความอยาก ความหิว ความอิ่มเพียงเท่านั้น หากยังเป็นความพึงพอใจ และเป็นความงามอย่างหนึ่งในทรรศนะของคนในยุคก่อน ตามความเชื่อของคนอินเดีย พระพิฆเนศที่เป็นเทพเจ้าแห่งความรอบรู้จะแปลงร่างเป็นผลหมาก หมากจึงเป็นพืชผลของเทพเจ้า ดังนั้นในพิธีกรรมต่างๆของพราหมณ์จึงขาดหมากไม่ได้
สิ่งอื่นที่ตามมาจากวัฒนธรรมการกินหมากพลู คือ การทำให้เกิดศิลปกรรมชั้นเยี่ยมอันเป็นปราณีตศิลป์หลายอย่าง เช่น
โถพลู เชี่ยนหมาก
และ อุปกรณ์การกินหมากอื่นๆ อย่างหนึ่งคือ ทำให้เกิด เชี่ยนหมาก ซึ่งเป็นเครื่องใช้เกี่ยวกับการกินหมาก ซึ่งมีรูปลักษณ์ต่างๆที่สวยงาม
เชี่ยนหมาก
เป็นภาชนะที่ใช้สำหรับ
ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการกินหมากทั้งสิ้น ด้วยแต่เดิมคนไทยกินหมากกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง เพราะสมัยก่อนนั้นถือว่าการกินหมากเป็นสิ่งดีงาม อีกทั้งยังมีค่านิยมที่ว่าคนสวยจะต้องกินหมากจนปากแดง และ ฟันดำอีกด้วย
เชี่ยนหมากจึงเป็นสิ่งที่แทบทุกครัวเรือนจะต้องมีติดบ้านไว้เสมอ เพราะนอกจากสมาชิกในครอบครัวได้เพลิดเพลินกับการเคี้ยวหมากในยามว่างแล้ว เชี่ยนหมากยังใช้รับแขกที่มาเยี่ยมเยียนถึงเรือนชานได้เป็นอย่างดี ตามปกเชี่ยนหมากทำขึ้นจากไม้ ทอง ทองเหลือง เงิน และเครื่องเขิน โดยมีลักษณ์เป็นทรงกลมหรือหกเหลี่ยม บ้างมีการตกแต่งรวดรายเพื่อเพิ่มคุณค่าความงามตามความนิยมท้องถิ่น
ปัจจุบันวัฒนธรรมการกินหมากค่อยๆ เลื่อนหายไปตามการเวลา มีเพียงคนสูงอายุเท่านั้นที่ยังจีบหมากจีบพูลใส่เชี่ยนหมากไว้ถวายพระในงานบุญงานกุศลต่างๆ เช่น งานบวช และพิธีแต่งงาน เป็นต้น
เครดิต :
http://www.samunpri.com/?p=7452#sthash.55SaLXsb.dpuf
http://www.baanmaha.com/community
และขอบคุณ รูปภาพจากกูเกิ้ล - อินเทอร์เน็ต
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...