ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
ปกิณณะธรรม (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1660
ตอบกลับ: 2
ปกิณณะธรรม (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-5-3 12:15
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ปกิณณะธรรม
โดย
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
หอบทุกข์
การฝึกจิตให้เข้าถึงความสงบนี้ เป็นสิ่งจำเป็นจริงๆ ให้ถือเป็นเรื่องจำเป็น ถ้าปล่อยจิตให้เลื่อนลอยไปตามอำนาจของกิเลสก็มีแต่ทุกข์ อยู่ในปัจจุบันนี้ก็ทุกข์ใจหนักใจมาก ละโลกนี้ไปสู่โลกหน้าก็ทุกข์ หอบเอากองทุกข์เหล่านี้ไปด้วย มันเป็นอย่างนั้น มันทุกข์หลาย บางคนก็ถึงฆ่าตัวตาย ไม่มีทางออก ผู้ไม่เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสอน ให้ไหว้พระ นั่งสมาธิภาวนา ขี้คร้านไม่เอา ไม่นั่งแล้วเพราะใจมันลอย ใจมันไปยึดถือแต่เรื่องภายนอก แล้วจะมีแก่ใจมาไหว้พระ นั่งภาวนาสำรวมใจให้สงบอยู่ภายในจะได้อย่างไร
การที่ภาวนาจิตใจให้มันสงบลงไปได้ ก็เพราะมันเตือนใจของตนให้ละเรื่องภายนอกอยู่เสมอ ในเวลาที่ไม่ได้นั่งสมาธิภาวนา ก็ต้องเตือนใจให้ละอารมณ์ที่มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มันกระทบมาเวลาใด เราก็พิจารณากำหนดละมันในเวลานั้นไปเรื่อยๆ ให้จิตนี้เป็นปกติอยู่เสมอ ไม่ให้จิตนี้มันเปลี่ยนแปลงหวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่มากระทบ เช่น "ตา" เป็นต้นนั้นก็ต้องระมัดระวังอยู่อย่างนี้เสมอไป
พรหมของลูก
ไม่ลำเอียงเพราะความรัก ก็หมายความว่า อย่างว่ามีลูกหลายคน รักคนใดมากๆ ก็แบ่งสมบัติให้ลูกคนนั้นมากกว่าคนอื่นๆ นี่เรียกว่าลุอำนาจแก่ความรัก ถ้าไม่ลำเอียงเพราะรักแล้ว ก็หมายความว่า มีเมตตากรุณาเหมือนกันหมด ลูกทุกคนบางคนก็มีนิสัยไม่ดีๆ เราก็เมตตามัน เพราะมันได้มาเกิดกับเราแล้ว อย่างนี้แหละ ก็สงเคราะห์ไปตามกำลังที่สงเคราะห์ได้ ถ้าคนที่เสียจริงๆ ทำดีไม่ได้จริงๆ มันเหลือวิสัย ก็วางอุเบกขาลง
ไม่ต้องไปโกรธไปเกลียดอะไร ก็กรรมของเขาสร้างมาอย่างนั้น เราจะทำอย่างไรได้ ฝึกอย่างไรจะให้มันดี มันก็ดีไม่ได้อย่างนี้ ถ้าขืนโกรธไป โมโหโทโสไป เสียใจกับลูกคนนั้นอยู่ ก็เป็นทุกข์เปล่าๆ เสียใจอย่างไรลูกก็ทำดีไม่ได้ เพราะว่านิสัยไม่ดีแต่ก่อน แต่ชาติก่อนโน้นแหละ ถ้าหากว่าผู้เป็นพ่อแม่ไม่รู้จักวางอุเบกขาลง ไม่นึกถึงกรรมของสัตว์แล้ว มันก็เป็นทุกข์
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-3 12:16
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เกินพอดี
คู่ครองเรือนก็สร้างสมความรักเอาจนเกินพอดี อันเป็นเหตุให้ประพฤตินอกใจกันและกันทางประเวณี พูดตรงๆ ก็ว่าไปเล่นชู้กับผัวเล่นชู้กับเมียนั่นเอง นี่เรียกว่าความรักมันเกินพอดี ถ้าเป็นภิกษุสามเณรก็ความรักเกินขอบเขต ก็เป็นเหตุให้ล่วงสิกขาบทวินัยน้อยใหญ่ทั้งหลาย พรหมจรรย์ก็อับเฉาลงเหมือนพระจันทร์ในข้างแรม เจริญไปไม่ได้
เกิดจากตม
สาเหตุที่จะมีศาสนาบังเกิดขึ้นในโลก มีผู้สร้างบารมีปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในโลก ก็เนื่องมาจากคนทั้งหลายไม่รู้จักหนทางออกจากทุกข์ เมื่อได้ประสบกับความทุกข์แล้วก็ร้องไห้ รำไร ตีอกชกหัวต่างๆ นานาตายไปพร้อมด้วยกับความทุกข์ หอบเอาความทุกข์ติดตัวไปด้วยอย่างนี้แหละ บุคคลยังไม่รู้แจ้งในโลกนี้ตามเป็นจริงอย่างนั้น บัดนั้นให้พากันเข้าใจ เหตุจะมีศาสนาขึ้นมานี่ก็เพราะมันมีทุกข์นี่แหละ
จรจัด
แต่คนส่วนมากแย่จริงๆ ไม่ยอมที่จะข่มจิต เพ่งจิตให้เข้าถึงความสงบ มีแต่ยอมตกเป็นทาสของตัณหา ปล่อยจิตให้ฟุ้งไปภายนอกอยู่อย่างนั้น และจะไม่ให้มันเกิดอีกทำอย่างไร แล้วผู้ที่ยึดอารมณ์แต่ภายนอกจนตลอดถึงวันตายอย่างนี้ ตายก็เอาไปไหนไม่ได้ แล้วจิตก็วกเวียนอยู่กับสิ่งที่ตนรักตนชอบใจ เมื่อบุคคลไปมีจิตเลื่อนลอยฟุ้งซ่านอย่างนั้นก็ไม่ได้ทำบุญ เมื่อไม่ได้ทำบุญแล้วจิตใจก็เร่ร่อนพเนจรเหมือนคนไม่มีหลักไม่มีแหล่ง
ไม่มีบ้านอยู่เป็นของตัว เป็นคนจรจัด อาศัยบ้านคนนั้น อาศัยบ้านคนนี้ อาศัยศาลาวัด อาศัยสถานที่สาธารณะเป็นที่หลับที่นอน ไปขอทานเขากินอยู่อย่างนั้น จิตใจที่ไม่ได้ฝึกฝนให้เข้าถึงความสงบ ไม่ทำบุญกุศล ไม่ทำความดีให้เป็นประโยชน์ตนและผู้อื่น หรือทำก็นิดๆ หน่อยๆ อย่างนี้มันก็สู้อำนาจกิเลสไม่ได้ เมื่อตายลงอย่างนี้ กิเลสมันก็จูงไปตามประสงค์แล้ว ถ้าทำบาปมาก มันก็ไม่ได้มาล่องลอยอยู่กับโลกมนุษย์นี้แล้ว บาปกรรมฉุดคร่าไปสู่อบายภูมิ พิจารณาให้เห็นด้วยตนเอง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-5-3 12:17
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สุขชั่วคราว
ชีวิตนี้อย่าไปหลงความสุขชั่วคราว อย่าไปติดอยู่กับความสุขชั่วคราวนี้ แล้วจะไม่ได้พบความสุขอันไพบูลย์เลย ผู้ใดติดอยู่ในความสุขชั่วคราว ติดอยู่ในการกิน ไม่ได้กินอาหารอันอร่อย ไม่ได้ฆ่าสัตว์มาทำอาหารกินมันไม่อร่อย นั่นเรียกว่าติดในการกิน อันเป็นเหตุให้ทำบาป ติดในการนอน ได้นอนมากก็ถือว่าดี ร่างกายจะได้สมบูรณ์ ถ้านอนน้อยกลัวร่างกายจะซูบผอม ไม่ได้ ต้องนอนให้มากๆ เรียกว่าติดในการนอน ไม่แบ่งเวลาประกอบความเพียรทางจิตเลย ก็เลยไม่ได้ผลในจิตใจ ไม่ได้ชำระกิเลสออกจากจิตใจนี้ ลองสังเกตดู
คลื่นซัด
บุคคลผู้ไม่มีสมาธิจิต ไม่ทำจิตให้สงบแล้ว อะไรกระทบกระทั่งมัน มันก็ไม่รู้สึกตัว ท่านว่าจิตมากระทบเข้ามีแต่ว่าเจ็บอย่างเดียวเท่านั้น แทนที่จะวินิจวิฉัยว่ามันเจ็บเพราะอะไรๆ มันถึงเจ็บอย่างนี้ มันคิดไม่ได้เลย เมื่อมันเจ็บหนักๆ เข้า มีแต่ร้องครวญครางไป ดิ้นรนกระสับกระส่ายไปเนั้นเอง อันนี้ท่านจึงเรียกว่า คนเราอันดวงจิตนี้มันตกไปตามกระแสของกิเลสตัณหา เหมือนกับบุคคลที่เดินทางโดยเรือกระแสของกิเลสตัณหา เหมือนกับบุคคลที่เดินทางโดยเรือเดินมหาสมุทรลงสู่ทะเล คลื่นซัดไปท้องมหาสมุทรทะเลนั้นนะ สุดแล้วแต่คลื่นมันจะซัดไปไหนก็ตามมัน
ธรรมะหลวงปู่
จิตดวงนี้เมื่อมันถูกอวิชชาครอบงำ ย่ำยีเอา มันก็หลงไป ทำดีไปบ้าง ทำชั่วไปบ้าง พูดดีบ้าง พูดชั่วบ้าง เวลาใดมันรู้ตัว มันก็พูดดี เวลาใดมันลืมตัว มันก็พูดชั่ว-ทำชั่ว (โทษแห่งความรัก)
นี่แหละเรื่องวิปัสสานานะมันต้องเห็นแจ้งจริงๆ เห็นแจ้งในใจว่าขันธ์ห้านี้ไม่ควรยึด ไม่ควรถือ เพราะว่ามันไม่เที่ยง ขืนยึดถือไว้มันก็เป็นทุกข์ เพราะมันแปรปรวนไปอยู่เสมอ มันไม่อยู่ในบังคับบัญชาของผู้ใด อันนี้นะ ความรู้ความเห็นอย่างว่านี้มันจะเป็นไปได้ มันก็ต้องอาศัยปัญญา อาศัยสมาธิเป็นฐานที่ตั้งของปัญญา (ผลเป็นสุขจริงด้วยปัญญา)
ร่างกายมันก็ไม่ว่ามันเป็นทุกข์ แต่ว่ามันหากมีลักษณะของทุกข์ ปรากฏให้จิตรู้อยู่ คือ ความไม่เที่ยงของร่างกายนั้น ไม่มีจิตนี้มาครองอาศัยอยู่แล้ว มันจะไม่มีใครรับรู้ความทุกข์ของร่างกายอันนี้เลย ก็เพราะจิตนี้มาครองอยู่นี่ จิตจึงเป็นผู้รับรู้ ความทุกข์ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายนี้ (ความไม่เที่ยงแท้)
พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้คนเราจำเอาคำสอนของพระองค์ไว้เฉยๆ เมื่อจำได้แล้วให้ลงมือดัดแปลงกาย วาจา ใจ ของตนให้เป็นไปตามคำสั่งสอนนั้น ถ้าตนดัดแปลงกาย วาจา ใจ ให้ตรงไปตามคำสอนแล้ว ก็พยายามรักษาความรู้ ความเห็นที่เป็นศีลเป็นธรรมนั้นไว้ (ความดับทุกข์)
ที่มา :
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8543
................................................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=47563
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...