ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2270
ตอบกลับ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ปฐมฌาน

[คัดลอกลิงก์]
ขณิกสมาธิ

           ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปล ว่า ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยว ประด๋าว จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสีย แล้วกว่าจะรู้ตัวว่า จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้ นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์ สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละที่เรียกว่า ขณิกสมาธิท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยัง ไม่เป็นฌานท่านจึงไม่เรียกว่า สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้



อุปจารสมาธิ



            อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌาน ก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึง ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัติ นั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอ สมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้ เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้

วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนด อยู่ได้ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการ เคลื่อนไหวหรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการ เจริญภาวนาอารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความ สว่างปรากฏคล้ายใครนำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏ เป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นานก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ


            ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า

            ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง

            ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น

            ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก

            ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ



            อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจ ก็เป็นสมาธิแนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไรเข้าสมาธิได้ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้

สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อน เลยในชีวิต จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลาย สมาธิแล้ว ส่วนจิตใจมีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการ กำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอดเวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือ ไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดีมีธรรมปีติชุ่มชื่นผ่องใสความสุขใจมีตลอดเวลาสมาธิตั้งมั่นความ สว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง ปฐมฌาน อยู่แล้ว ห่างปฐมฌาน เพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง เพราะอารมณ์ ยังไม่ครบองค์ฌานท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน
ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ



            ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้


ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่างดังต่อไปนี้..

วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพ กสิณอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้เรียกว่าวิตก
วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือ หายใจออก หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบา หรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนด ลมสามฐานคือ หายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจ ออกลมกระทบศูนย์ กระทบอกกระทบจมูกหรือริมฝีปาก
            ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่าเราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการ ใด

            ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสัน วรรณะเป็นอย่างไร ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไป หรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณที่เราต้องการ หรือ ภาพหลอนสอด แทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า วิจาร

ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาใน กาลก่อน
เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้น ไม่คลาดเคลื่อน


            ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้น หูยังได้ยินเสียงภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยินแต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญ ในเสียงทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับ จิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อย แล้วตามปกติจิตย่อมสนใจในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับปฐมฌาน กลับเฉยเมย ต่อเสียงคิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติที่ท่านเรียกว่า ปฐมสมาบัติ ก็ เพราะ อารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌานที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อย แล้วนั่นเอง..



อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ


            เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์- ปฐมฌานโดยย่อมีดังนี้..


วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา

วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด

ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา

สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุข อย่างประณีต

เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์ อื่นเข้ามาแทรกแซง



            องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อม ๆ กันไปคือ นึกคิดถึงองค์ภาวนาใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่า ครบถ้วนถูกต้องหรือ ไม่ประการใด มีความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุข สันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยิน สอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคง อยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ


เสี้ยนหนามของปฐมฌาน

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-24 06:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่...


เสียง เสียงเป็นศัตรูที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึง ปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชน คนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย หากจิตใจของ ท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าแม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไรท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้น แก่จิตใจของท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏจิตว่าง จากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่ง แทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์ศัตรูร้ายผู้คอยทำลาย ฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน..


นิวรณ์ ๕

            อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่างคือ..



กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสอันเป็นวิสัยของ กามารมณ์

พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ

ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม

อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ

วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิด ไว้หรือไม่เพียงใด


            อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูด ว่า จิตใจของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนม กับอารมณ์ของนิวรณ์มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับ นิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้าม กับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกัน มานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคมกันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้า- ประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌานนั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกัน มานาน..



            ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการอย่างนี้เป็นกฎธรรมดา ของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่ต่อเมื่อไร ได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้นเข้ม แข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติ จงเข้าใจไว้ด้วยว่า จิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้า ยังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌานออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌาน ย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจหมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนด เวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลาเท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลาจนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อนจากฌาน มีความรู้สึก ตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ ๑ ชั่วโมง ไป หา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเองโดย ไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็ อย่าประมาทเพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มา รบกวนนั้นไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้ โลกุตตรฌาน คือ บรรลุพระอริยะ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัว ได้ว่าท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุต- ตรฌานคือ ได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณจนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริย- บุคคล แล้วอกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนักสำหรับพระอริยะต้น พอจะ กวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่างเช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจ นิดหน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของ อุทธัจจะ คือความคิดฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะ เลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว..


            อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อย ให้ใจระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ ในอารมณ์ของฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่นเอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่าเป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบเกิด เป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหม ชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของ ปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลส ได้เด็ดขาดจนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่ฌานที่ ๑ มีอานุภาพ มากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์จนเสียผลฌาน

ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
ขอบคุณมากๆครับ
สาธุ ขอบคุณครับ
เหมือนง่าย แต่ทำไมปฏิบัติยากจัง
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้