ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2081
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร

[คัดลอกลิงก์]
แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร




2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-30 18:19 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร จังหวัดสุพรรณบุรี
แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 ตำบลหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ถูกค้นพบโดย นายวิมล  อุบล เจ้าของที่ดิน จากการขุดปรับหน้าดินเพื่อทำการเกษตรกรรม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2546 และได้แจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองราชวัตรทราบ  จากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองราชวัตรได้แจ้งให้สำนักงานศิลปากรที่ 2  สุพรรณบุรีทราบ เพื่อตรวจสอบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
  จากการดำเนินการตรวจสอบแหล่งโบราณคดีดังกล่าวในเบื้องต้น โดยนายเขมชาติ เทพไชย  ผู้อำนวยสำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี  (ขณะนั้น) และนางสาวสุภมาศ ดวงสกุล นักโบราณคดี ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก ได้แก่ ชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ขวานหินขัด ชิ้นส่วนภาชนะดินเผารูปทรงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้พบชิ้นส่วนขาภาชนะดินเผาที่มีรูปแบบเฉพาะที่เรียกว่า หม้อสามขา อย่างที่เคยพบในแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และแหล่งโบราณคดีแจงงาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
   ผลจากการขุดค้นแสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มคนเข้ามาอยู่อาศัยใช้ประโยชน์ที่เนินดินนี้ 2 สมัยใหญ่ๆ ที่มีความแตกต่างกันในเรื่องทิศทางฝังศพ เมื่อพิจารณาโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในชั้นดินของแต่ละสมัย ทำให้สามารถกำหนดอายุสมัยแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ในเบื้องต้นได้ดังนี้ สมัยแรก พบโบราณวัตถุที่ฝังร่วมกับศพและในพื้นที่อยู่อาศัยหลายชนิด เช่น ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด กำไลหิน และภาชนะดินเผา โดยเฉพาะการพบขาหม้อสามขาทำให้สามารถกำหนดอายุโดยเทียบเคียงได้กับที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี ที่เคยมีการกำหนดอายุไว้แล้วว่าอยู่ใน สมัยหินใหม่ อายุราว 4,000 - 3,500 ปีมาแล้ว โดยชุมชนที่เข้ามาอยู่อาศัยที่นี่นั้นเริ่มทำการเพาะปลูกมาตั้งแต่แรกเนื่องจากได้พบแกลบข้าวปะปนในเศษภาชนะดินเผาของสมัยนี้ด้วย สมัยที่สอง โบราณวัตถุจำพวกข้าวของเครื่องใช้ส่วนใหญ่ยังคงคล้ายคลึงกับสมัยแรก แต่มีข้อสังเกตคือ สมัยที่สองจะนิยมใช้ขวานหินขัดมากกว่าหินกะเทาะ และเริ่มพบขวานหินขัดแบบมีบ่าด้วย รูปแบบหม้อสามขาก็หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งยังไม่พบโลหะในที่นี้เลย จึงกำหนดอายุสมัยที่สองนี้อยู่ในสมัยหินใหม่ตอนปลาย ราว 3,500-2,500 ปีมาแล้ว รูปแบบหม้อสามขาในสมัยแรกของที่นี่นั้นมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากที่บ้านเก่า และแหล่งอื่นๆ ในไทย โดยมีขาอ้วนป้อมคล้ายคลึงกับที่พบในวัฒนธรรมลุงชานของจีนที่เป็นต้นแบบภาชนะประเภทนี้มากกว่า อีกทั้งในสมัยที่สองยังได้พบว่ามีการพัฒนารูปแบบภาชนะหม้อสามขาให้หลากหลายมากขึ้น โดยที่หม้อรูปแบบเดียวกับที่บ้านเก่าซึ่งเป็นพิมพ์นิยมในไทยนั้นก็ได้พบในสมัยที่สองนี้ด้วย จึงนำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่า แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตรอาจจะเป็นชุมชนเกษตรกรรมยุคหินใหม่ระยะแรกๆ ในลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง ที่มีกลุ่มชนภายนอกจากทางตอนใต้ของจีนเคลื่อนย้ายลงมาผสมผสานแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมโดยมี “หม้อสามขา” เป็นภาชนะแบบพิเศษของคนกลุ่มนี้ จนผสมกลมกลืนกับคนในท้องถิ่นเดิมพัฒนารูปแบบภาชนะให้ส่วนขาเรียวแหลมเหมาะแก่การใช้งานมากขึ้น เราจึงได้พบรูปแบบหม้อสามขาแบบหลังนี้แพร่หลายทั่วไปในแหล่งโบราณคดีในที่ราบลุ่มแม่น้ำแควน้อย-แควใหญ่ และอีกหลายแหล่งในคาบสมุทรภาคใต้
แหล่งโบราณคดีแห่งนี้จัดเป็นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ ที่
เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-30 18:20 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-30 18:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ด้วยความสำคัญของแหล่งโบราณคดีดังกล่าว สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี จึงได้จัดทำโครงการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร เสนอกรมศิลปากร และได้รับอนุมัติเงินกองทุนโบราณคดีเพื่อมาดำเนินงานในช่วงระหว่างเดือนกันยายน 2546-มกราคม 2547

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-30 18:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้