ประวัติพระอาจารย์ธรรมโชติ
พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมชื่อ โชติ เมื่อครั้งบวชเป็นพระได้นามว่า "ธรรมโชติรังษี" เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2243 ในสมัยสมเด็จพระเทพราชา ที่เมืองนครพนมเมื่ออายุได้ 9 ขวบ ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านเดิมบาง ท่านเรียนวิชาเวทมนต์คาถาจากบิดา และอาจารย์เขมรชื่อ เขื่อนเพชร มีบุตร 2 คน ท่านออกบวชเมื่ออายุ 22 ปี ใน พ.ศ. 2265 ที่วัดยาง ตำบลแสวงหา แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ฝั่งตรงข้ามกับวัดโพธิ์เก้าต้น จำวัดอยู่ 6 พรรษาจึงย้ายไปตั้งสำนักสงฆ์ ณ ถ้ำยอดเขานางบวช แขวงเมืองสุพรรณบุรี ตอนเกิดศึกบางระจัน พระอาจารย์ธรรมโชติ อายุได้ 66 พรรษา
เมื่อครั้งค่ายบางระจันแตก ท่านได้ไปจำพรรษา ที่วัดนครจำปาศักดิ์อยู่สามปี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กู้ชาติกลับคืนได้ ท่านได้เดินทางกลับมายังสำนักเขาขึ้น และได้รับสมณศักดิพัดยศเป็น พระครูธรรมโชติรังษี จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระอาจารย์ธรรมโชติ มรณะภาพเมื่ออายุ 82 พรรษา หลายคนยังเชื่อว่าท่านหายสาบสูญไปกับค่ายบางระจัน ด้วยเหตุที่ท่านเก็บตัวไม่รับแขก จึงเป็นที่มาว่าท่านถูกข้าศึกฆ่าตาย ประวัติ และที่มาของวัดเขานางบวช
ราวปี 1826 มีหญิงชื่อชบา เป็นสนมแห่งพระร่วงเจ้า กรุงสุโขทัย เกิดเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส จึงออกบวชสละทางโลกเข้าจำพรรษารักษาศีลอยู่ในถ้ำบนยอดเขาแห่งนี้ คนทั้งหลายจึงเรียกเขาแห่งนี้ว่า "เขานางบวช" (ถ้ำอยู่ด้านหลังศาลา) ปัจจุบันปากถ้ำทรุดไม่สามารถเข้าไปได้ เล่ากันว่าภายในถ้ำมีข้าวของ เครื่องประดับจำนวนมาก
สันนิฐานว่าเป็นของพวกที่ติดตามนางสนมชบา แต่ของเหล่านั้นได้สูญหายไปเมื่อปี พ.ศ.2402 และบางช่วงเวลา วัดแห่งนี้ได้เป็นวัดร้างในบางปีด้วยเครื่อประดับชิ้นสุดท้ายที่พบบริเวณปากถ้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นกำไรหยกหัวพญานาค แต่ผู้พบมิได้ถวายเป็นสมบัติวัด
|