ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3622
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อเสือ วัดไผ่สามกอ ~

[คัดลอกลิงก์]
หลวงพ่อเสือ วัดไผ่สามกอ
จ.ฉะเชิงเทรา



รูปถ่ายขนาดบูชา ปี พ.ศ 2492 สร้างในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่


ท่านเป็นสุดยอดเกจิ แห่งเมืองแปดริ้ว ผู้มี ฌาณสมาบัติขั้นสูง มีพุทธาคมเข้มขลัง แก่กล้า
โด่งดังมากในเรื่อง ของน้ำมนต์ ผ้ายันต์ เสื้อยันต์
สมัยท่านมีชีวิตอยู่ ละแวกนั้นและพื้นที่เขตจังหวัดใกล้เคียง เช่น ชลบุรี ฯลฯ
หากมีพิธี ปลุกเสกใดๆ มักจะนิมนต์ท่านเข้าร่วมเสมอ

สมัยก่อน ใครที่เป็นบ้า เป็นบอ ถูกคุณไสย์ หรือโดนกระทำใดๆ ก็ตามที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด
นำมาล่ามไว้ที่วัดไผ่สามกอ 3 วัน 7 วัน หายเป็นปลิดทิ้ง ทุกรายไป

วัตถุมงคล ของท่านเด่นดัง ด้าน มหาอุต คงกระพันชาตรี อย่างมาก

ท่านเป็น เกจิอาจารย์ ยุคเดียวกับ หลวงพ่อดิ่ง วัด บางวัว หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อจาด วัด บางกระเบา
หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ร่วมปลุกเสกพิธีเดียวกันเสมอๆ พุทธาคมแก่กล้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
และ ท่านยังเป็น พระภิษุสงฆ์รูปเดียวในสมัยนั้น ที่มี ตาลปัตร เป็น รูปเสือ


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-22 22:09 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติสังเขปของท่าน  

ปฐมวัย


หลวงพ่อเสือ เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ที่ จ.ชลบุรี
โยมบิดา ชื่อ นายแสวง โยมมารดาชื่อ นางลำเจียก

ด้วยบารมีที่ได้สร้างสมมาแต่อดีตชาติ ทำให้หลวงพ่อเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันตั้งแต่วัยเด็ก
เมื่อได้มีโอกาสติดตามพ่อแม่ไปวัดตอน๕ - ๖ ขวบ และได้ฝึกหัดทำสมาธิ จึงได้รับรู้ถึงความสงบสุขอันเกิดจากจิตที่เป็นสมาธิ

อายุ ๑๖ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหลวง จ.ชลบุรี และได้ติดตามพระอุปัชฌาย์ออกธุดงค์
หลังจากนั้น ๗ วัน ท่านจึงแยกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ตามลำพัง

ในปีต่อมาหลวงพ่อได้ธุดงค์ไปสกลนคร พระอาจารย์ที่นั่นได้แนะนำให้เดินทางไปพม่า
ซึ่งเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ท่านจึงเริ่มออกเดินทาง ผ่านอุดรธานี ไปจนถึงพม่า
อาศัยพักอยู่ที่วัดโชติการาม โดยมี พระอาจารย์โชติกะธรรมจริยะ คอยแนะนำ และให้ความสะดวกตลอดเวลา ๖ เดือน

เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านก็ธุดงค์กลับไปที่พม่าอีกครั้งหนึ่ง โดยพักอยู่ที่วัดซันคยองวิหาร ถึง ๒ ปี
ณ ที่นี้หลวงพ่อได้พบกับ ท่านเลดี สย่าดอ มหาเถระ ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา
ซึ่งเป็นผู้คอยแนะแนวทางการปฏิบัติธรรม การศึกษาพระไตรปิฏกให้

หลังจากนั้นหลวงพ่อยังได้เดินทางไปที่ลังกา ได้พบและศึกษากับ ท่านญาณโปนิกมหาเถระ

มัชฌิมวัย


กลับจากลังกาแล้ว หลวงพ่อได้พักปฏิบัติธรรมที่ถ้ำเชียงดาว ๓ ปีเศษ
ต่อจากนั้นได้มาพักอยู่ที่หมู่บ้านชาวเขา บนดอยปุย สอนธรรมะ และรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้กับชาวเขา เป็นเวลาถึง ๙ ปี
จึงเดินทางกลับมาบ้านเกิด ที่ชลบุรี โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมาช่วยเหลือชาวบ้านทั้งการให้ธรรมะ และช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ซึ่งขณะนั้นท่านอายุได้ ๔๕ ปี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแถบจังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา

ต่อมามีชาวบ้าน ต.สิบเอ็ดศอก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิเล็กๆ และนิมนต์ให้ท่านอาศัยอยู่
จนในที่สุด สร้างเป็นวัดขึ้น ให้ชื่อว่า “วัดไผ่สามกอ” ตามสัญญลักษณ์
ที่มีต้นไผ่เหลืองที่ขึ้นอยู่ ๓ กอ หน้ากุฏิของท่านที่ชาวบ้านปลูกถวายนั่นเอง

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-3-22 22:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
มีเรื่องเล่าว่า…

หลวงพ่อไม่เคยสรงน้ำเลย แต่ทุกวันเวลาท่านอยู่ในห้องผู้ที่อยู่ใกล้เคียงจะได้ยินเสียน้ำเหมือนไหลจากฝักบัว
และร่างกายของหลวงพ่อก็เปียกเอง ทั้งยังมีกลิ่นหอมเหมือนดอกลำเจียก
เมื่อถึงวันเกิดของท่าน ผู้คนจะหลั่งไหลมาสรงน้ำท่าน เวลาท่านเดินลงจากกุฏิ
ฝนจะตกลงมาพอดีทุกครั้ง ท่านจึงได้ฉายาว่า “พระวิรุฬหผล”

เมื่อตอนอายุได้ ๕๕ ปี ท่านได้ธุดงค์ไปประเทศลังกาเป็นเวลานาน เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาในรายละเอียดเพิ่มเติม

ปัจฉิมวัย


ก่อนมรณภาพ หลวงพ่อรู้ล่วงหน้า ท่านจึงได้เตรียมตัวพร้อม โดยเรียกลูกศิษย์มาถ่ายรูปของท่านไว้
ให้ทำความสะอาดศาลา และเรียกมาประชุมฟังธรรม

หลังจากนั้นท่านก็เริ่มป่วย มีไข้ทวีขึ้นทั้งวันทั้งคืน เมื่อถึงวันโกนท่านก็ลุกขึ้นจากที่นอน สั่งให่ช่วยกันปลงผม
ซึ่งชาวบ้านก็พูดเตือนว่าคนเป็นไข้เขาห้ามตัดผม แต่ท่านก็พูดให้คติว่า
“คนเราถ้าถึงเวลาตายแล้ว ถึงจะปล่อยให้ผมยาวเพียงไหน ชีวิตก็ยาวต่อไปไม่ได้”

ก่อนมรณภาพ ๔ วัน หลวงพ่อได้สั่งว่า ท่านจะทำสมาธิ เจริญวิปัสสนาอยู่ในห้อง ๔ วัน ห้ามไม่ให้ใครมารบกวน

ครั้นครบ ๔ วันตามที่ท่านสั่งแล้ว ลูกศิษย์ (คือ หลวงตาเผย) ได้เคาะประตูห้อง เมื่อไม่ได้ยินเสียงตอบ ลูกศิษย์จึงเข้าไปดู
พบว่า หลวงพ่อครองผ้าไตรจีวรครบถ้วนเหมือนเวลาที่มีพิธีกรรมทางศาสนา มีตาลปัตรตั้งไว้ด้านขวา

มีข้อความเขียนไว้ที่ผ้าสังฆาฏิว่า “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา”
ท่านนอนตะแคงขวาเหมือนหลับ สีหน้าสงบ ปราศจากความเศร้าหมอง ทุกคนก็ทราบทันทีว่า ท่านได้มรณภาพแล้ว
วันนั้นตรงกับวันศุกร์ที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘


ขอบคุณที่มา...http://forum.ampoljane.com/index ... topic=25&st=140



กราบนมัสการ

ขอบคุณข้อมมูลครับ
กราบนมัสการหลวงพ่อเสือ ขอรับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้