ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
พระพุทธรูปศิลาขาว วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 14083
ตอบกลับ: 7
พระพุทธรูปศิลาขาว วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-4-24 02:14
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
พระพุทธรูปศิลาขาว
หรือ “หลวงพ่อประทานพร”
พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
ถนนขวาพระ ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม
“พระพุทธรูปศิลาขาว” หรือ “หลวงพ่อประทานพร”
เป็นพระพุทธรูปปางประทานปฐมเทศนา หรือปางประทานเอหิภิกขุ
(วิตรรก-มุทรา) โดยประดิษฐานเป็น พระประธานในพระอุโบสถ
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม
สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (ระหว่างปีพุทธศักราช ๑๑๐๐-๑๖๐๐)
ชาวบ้านมักจะเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อประทานพร”
พระพุทธรูปศิลาขาว ทำจากศิลาสีขาวขนาดใหญ่
มีพุทธลักษณะทั่วไปเป็นพระพุทธรูปศิลปะทวารวดี
ประทับนั่งบนบัลลังก์ห้อยพระบาททั้งสอง (ปรลัมพปาทาสนะ)
ลงบนฐานทำเป็นกลีบบัวบานรองรับ
ซึ่งมีศัพท์เฉพาะเรียกว่า “ภัทรอาสน์” หรือ “ภัทราสนะ”
พระหัตถ์ซ้ายของพระพุทธรูปวางหงายอยู่เหนือพระเพลาซ้าย
ส่วนพระหัตถ์ขวายกอยู่ในระดับพระอุระ หันฝ่าพระหัตถ์ออกปลาย
พระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) กับพระดัชนี (นิ้วชี้) งอโค้งจรดกันเป็นวงกลม
ส่วนอีกสามนิ้วพระหัตถ์กางออก พระพุทธรูปในรูปท่าแบบนี้
เรียกว่า “ปางประทานปฐมเทศนา” หรือ “ปางประทานเอหิภิกขุ”
(วิตรรก-มุทรา) ขนาดความสูงจากพระเกตุถึงพระบาท ๓.๓๖ เมตร
พระพุทธรูปศิลาขาว องค์ที่ประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ พระอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกันกับ
พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร
หรือพระพุทธนรเชษฐ์ฯ หรือ “หลวงพ่อขาว”
องค์ที่ประดิษฐาน ณ ลานชั้นลด (กะเปาะ) ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติจากบันทึกของ
พระธรรมวโรดม (โชติ ธมฺมปฺปโชติกเถระ)
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร กล่าวเอาไว้ว่า
“...ท่านพระปลัดทอง พระอธิการวัดกลางบางแก้ว (วัดคงคา)
ได้มาเห็นวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ซึ่งเวลานั้นว่างจากเจ้าอาวาส
กุฏิเสนาสนะชำรุดมาก ท่านจึงพร้อมกันกับ “สามเณรบุญ”
(ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระพุทธวิถีนายก
ตำแหน่งพระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสวัดบางแก้ว) ผู้เป็นศิษย์
ได้มาช่วยบอกบุญขอแรงพระเณรและชาวบ้าน ต.พระปฐมเจดีย์
ไปช่วยกันขนอิฐจากวัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง
(ครั้นมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ได้ทรงพระราชทานนามวัดทุ่งพระเมรุ จ.นครปฐม ใหม่ว่า สวนนันทอุทยาน)
เพื่อนำมาใช้ในการบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
ปรากฏว่าพบเห็นจอมปลวกขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่นั้น
โดยมีพระเกตุมาลา (ยอดเศียร) ขององค์พระพุทธรูปโผล่พ้นยอดจอมปลวกขึ้นมา
คณะของท่านพระปลัดทองจึงได้ช่วยกันทำลายจอมปลวกนั้นออก
ก็พบ พระพุทธรูปศิลาขาวขนาดใหญ่ องค์นี้ มีรอยต่อเป็นท่อนๆ
จึงถอดรอยตามรอยต่อนั้นออก แล้วนำมาประดิษฐานเป็นพระประธาน
ในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔
(ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔)
ก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ครองราชสมบัติ ๗ ปี...”
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-24 02:16
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สำหรับประวัติความเป็นมาของ
พระพุทธรูปศิลาขาวทั้ง ๔ องค์
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะและขนาดอย่างเดียวกันนั้น
นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร
ได้กล่าวไว้ในหนังสือ
“พระพุทธรูปศิลาขาว สมัยทวารวดี” ว่าพระพุทธรูปศิลาเนื้อหินขาว ๔ องค์
แต่เดิมเคยประดิษฐานอยู่ ณ
วัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุ จ.นครปฐม
โดยพบสถูปโบราณ สมัยทวารวดีองค์ใหญ่ มีร่องรอยว่ามีมุขประจำ ๔ ทิศ
และในแต่ละมุขทิศเคยมีีพระพุทธรูปขนาดใหญ่นั่งห้อยพระบาทประจำอยู่นั้น
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑
หรือรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ได้ขนย้ายพระพุทธรูปศิลาขาวมาประดิษฐาน
ไว้ใน
วัดพระยากง
ต.สำเภาล่ม จ.พระนครศรีอยุธยา เกือบครบ ๓ องค์
คงทิ้งไว้ที่เดิม (วัดทุ่งพระเมรุ) ๑ องค์ กับชิ้นส่วนขององค์พระบางท่อน
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ได้นำองค์พระพุทธรูปศิลาขาวที่คงอยู่ ณ ที่เดิม (วัดทุ่งพระเมรุ) นั้น
ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
กับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ได้นำชิ้นส่วนที่เหลือไปจัดตั้งไว้ ณ พระระเบียงคด ด้านนอกองค์พระปฐมเจดีย์
ส่วนที่นำไปไว้ที่
วัดพระยากง
เกือบครบ ๓ องค์นั้น ต่อมาราวกว่า ๒๐ ปีมานี้
ได้มีผู้ศรัทธานำบางส่วนมาประกอบเป็นองค์ไว้ที่
วัดขุนพรหม
จ.พระนครศรีอยุธยา
ส่วนที่ยังคงอยู่ที่
วัดพระยากง
ก็มีคนใจร้ายทุบทำลายพระเศียร ๒ พระเศียร
ให้แตกแยกจากกันเพื่อสะดวกแก่การขนย้าย แล้วนำมาขายไว้ ณ
ร้านค้าของเก่าในเวิ้งนครเกษม ๒ ร้า่น ซึ่งกรมศิลปากรก็ได้ติดตามคืนมาได้
ครั้นต่อมา กรมศิลปากรด้วยความร่วมมือของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ได้นำพระพุทธรูปองค์ที่อยู่
วัดขุนพรหม
กับชิ้นส่วนที่มีอยู่ทั้งหมดที่
วัดพระยากง
และชิ้นส่วนขององค์พระที่มีอยู่ ณ พระระเบียงคด ด้านนอกองค์พระปฐมเจดีย์
รวมทั้งพระเศียรองค์พระ ๒ พระเศียรที่ติดตามคืนมาได้จากร้านค้าของเก่าดังกล่าว
แล้วจึงนำมาประกอบกันขึ้นเต็มองค์และปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม
โดยถูกลดส่วนสัดได้ ๓ องค์
ประดิษฐานไว้ใน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
หนึ่งองค์
ประดิษฐานไว้ใน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา
หนึ่งองค์
และได้นำมาประดิษฐานไว้เป็นที่บูชาสักการะของสาธุชน ณ
ลานชั้นลด (กะเปาะ)
ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
อีกหนึ่งองค์
ซึ่งได้รับขนานนามโดยเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ในขณะนั้น (พ.ศ. ๒๕๑๐)
ว่า
“พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร”
เมื่อรวมกับพระพุทธรูปศิลาขาวองค์ที่รัชกาลที่ ๔ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็น
พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
ด้วยกันก็เป็นครบ
๔ องค์
ทั้งนี้ พระพุทธรูปศิลาขาวองค์ที่พบอยู่ในจอมปลวกที่วัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุ
แล้วนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหารนั้น
เป็นองค์ที่สมบูรณ์ที่สุดในกระบวนพระพุทธรูปศิลาขาวทั้งหมด ๔ องค์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-24 02:18
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธรูปศิลาขาว หรือหลวงพ่อประทานพร พระประธานในพระอุโบสถ
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม
รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลมาจาก
http://www.reocities.com/TheTropics/sho ... buddha.htm
http://www.mcu.ac.th/site/bud07.php
http://www.devboxs.com/data/indonesia-art/
ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ
น้ายักษ์
http://www.naryak.com/forum/
พระคันธารราฐ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=46471
.....................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=39910
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-24 02:18
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ที่มาของรูปภาพ : facebook สุรีย์ ฉิมรุ่งเรือง
ที่มาของรูปภาพ : คุณเปรม นครปฐม
“พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร”
หรือ “หลวงพ่อขาว”
ประดิษฐาน ณ ลานชั้นลด (กะเปาะ)
ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-24 02:19
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธรูปศิลาขาว
ประดิษฐาน ณ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-24 02:20
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธรูปศิลาขาว
ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-24 02:21
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธรูปศิลา สมัยทวารวดี
พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาท
ศิลปะแบบทวารวดี ปางปฐมเทศนา ปรากฏในโลกเพียง ๖ องค์เท่านั้น
(ในประเทศไทยพบ ๕ องค์) ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยอย่างยิ่ง ดังนี้
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม มี ๒ องค์
คือ พระพุทธรูปศิลาขาว หรือ “หลวงพ่อประทานพร” พระประธานในพระอุโบสถ
และพระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร หรือ “หลวงพ่อขาว”
ประดิษฐาน ณ ลานชั้นลด (กะเปาะ) ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
ประดิษฐาน ณ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ มี ๑ องค์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา มี ๑ องค์
วัดหน้าพระเมรุราชิการาม หรือวัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา
มี ๑ องค์ คือ พระคันธารราฐ พระพุทธรูปศิลาเขียว
พระประธานในพระวิหารสรรเพชญ์หรือพระวิหารน้อย
ประเทศอินโดนีเซีย มี ๑ องค์ คือ พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาท
วางฝ่าพระบาทบนดอกบัว ปางประทานปฐมเทศนา ภายในพระวิหารเมนดุต
ณ จันทิเมนดุต (Candi Mendut) หรือวัดเมนดุต พุทธสถานขนาดเล็กที่เก่าแก่ที่สุด
ในเมืองยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) ประเทศอินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นอาคารทรงปราสาทยอดสถูปที่สร้างครอบศาสนสถานเดิมที่ก่อด้วยอิฐ
มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำจากหินภูเขาไฟเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓
ตั้งอยู่ห่างจากบุโรพุทโธ (borobodur) ไปประมาณ ๓ กิโลเมตร
พระพุทธรูปศิลาในประเทศอินโดนีเซียองค์นี้ มีขนาดใหญ่กว่าตัวคนจริง
คือ มีขนาดสูง ๓ เมตร แกะสลักจากหินลาวาจากภูเขาไฟ อายุ ๑,๒๐๐ กว่าปี
หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก นับว่าแปลกกว่าพระพุทธรูปในจันทิ (วัด) อื่นๆ
ที่ล้วนหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
และเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๓
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จฯ ทรงทอดพระเนตรพระวิหารบุโรพุทโธ และพระวิหารเมนดุต
โดยสมาคมพุทธศาสนาแห่งอินโดนีเซียได้น้อมเกล้าฯ
ถวายพระพุทธรูปองค์หนึ่งพร้อมด้วยธงฉัพพรรณรังสี
ซึ่งเป็นธงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา
ในจำนวนพระพุทธรูปศิลา ๖ องค์นี้ มีเพียงองค์เดียวที่สร้างขึ้นจาก
ศิลาเขียว
อยู่ที่วัดหน้าพระเมรุราชิการาม หรือวัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา
ส่วนที่เหลือทั้งหมดสร้างขึ้นจาก
ศิลาขาว
ทั้งสิ้น ถึงกระนั้นก็ยังก่อให้เกิดความสับสนกันอยู่เนืองๆ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
8
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-4-24 02:22
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๏ พระคันธารราฐ พระพุทธรูปศิลาเขียว ๏
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=46471
พระพุทธรูปศิลาประทับนั่งห้อยพระบาท ปางประทานปฐมเทศนา
ภายในพระวิหารเมนดุต ณ จันทิเมนดุต (Candi Mendut)
เมืองยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) ประเทศอินโดนีเซีย
.....................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=39910
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...