ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3937
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อพระองค์แสน วัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร จ.สกลนคร‏

[คัดลอกลิงก์]

หลวงพ่อพระองค์แสน
พระประธานในพระวิหาร วัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร
ริมหนองหาน ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร‏


วัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ริมหนองหาร ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร‏ เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระองค์แสน” พระประธานในพระวิหาร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน ขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูงจากฐานถึงพระเมาลี ๓.๒๐ เมตร ประทับนั่งบนแท่นสูง ๑.๓๕ เมตร มีลักษณะพิเศษคือพระพักตร์อิ่มเอิบ มีความสวยงาม หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หันพระปฤศฎางค์ (ข้างหลัง) เข้าหาองค์พระธาตุเชิงชุม หลวงพ่อพระองค์แสนเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร เคียงคู่มากับ “พระธาตุเชิงชุม” และเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย

จากตำนานเล่าขาน หลวงพ่อพระองค์แสนสร้างขึ้นในราวปีพุทธศักราช ๑๘๐๐ เพื่อแทนหลวงพ่อสุวรรณแสนองค์จริงที่เป็นทองคำทั้งองค์มีน้ำหนังหนึ่งแสนตำลึงทอง (สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๓) คือในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เมืองหนองหารหลวงเกิดแห้งแล้วต่อกัน ๗ ปี และเกิดศึกสงครามหลายครั้ง จึงย้ายเมืองไปอยู่ที่นครธม ก่อนย้ายได้นำพระสุวรรณแสน ทองคำไปซ่อนไว้ในน้ำ ไม่สามารถนำไปได้ด้วยเหตุว่ากลัวข้าศึกจะมาแย่งชิงในระหว่างทาง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จึงได้สร้างหลวงพ่อพระองค์แสน (องค์ปัจจุบัน) แทนไว้ให้ ทำด้วยหินเหล็กเส้นชนิดสี่เหลี่ยมเป็นโครง (ผูกลวด) แล้วฉาบด้วยทรายผสมปูนขาวแช่น้ำเปลือกไม้ (ยางบง) น้ำแช่หนัง-มะขาม-น้ำอ้อย และเถา ฝักกรูด ลงรักปิดทอง มีพุทธลักษณะเท่าเดิม ภายในก็บรรจุเครื่องรางของขลังสมัยก่อนไว้มาก ให้นามว่า “หลวงพ่อพระองค์แสน” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มาก ซึ่งต่อมามีการบูรณะซ่อมแซมอยู่หลายครั้ง (ครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๕๔ โดยกรมศิลปากร)

ในอดีตเมื่อราวปี ๒๔๙๙ องค์หลวงพ่อเดิมนั้นเกิดชำรุดหนักเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่ก่ออิฐถือปูน พอโดนน้ำหรือความชื้นมากๆ เข้า ก็ทำให้องค์พระชำรุดไปตามกาลเวลา เมื่อมีการเฉลิมฉลองสมโพธิ์ราชธานีครบ ๒๐๐ ปีตามประกาศรัฐบาล จะมีการบูรณปฎิสังขรณ์ขยายพระอุโบสถ และองค์หลวงพ่อเกิดการชำรุด ก็เลยมีการจะสร้างหลวงพ่อองค์ใหม่มาแทนที่ เมื่อการบูรณะเริ่มขึ้นช่างชาวญวนพยามทุบองค์พระ และพยามลอกทองที่หุ้มออกแต่พอทุบไปครั้งใด ก็ได้ยินแต่เสียงหัวเราะดังกังวานออกมา จนภายหลังถึงกลับต้องล้มป่วยไป (ผู้รับเหมาคนที่จะรื้อพระคือ นายชุน ศรีดามา นักธุระกิจชาวเวียดนามรุ่นบุกเบิกสกลนคร หลังจากคนงานชาวญวนทุบพระจนแขนขวาร้าวหลวงพ่อยิ้มให้คนงานโดดหนีร้องตระโกนตลอดทางว่า ฝะหยิ้ม (ออกสำเนียงแบบไม่ชัด) ต่อมาองค์ชุน ก็รถคว่ำแขนหัก คนสกลรุ่นเก่าๆจึงเรียกองค์ชุนว่า องค์ชุนฝะหยิ้ม) ด้วยเหตุนี้จึงต้องล้มเลิกการบูรณะเอาหลวงพ่อออก  จากเหตุดังกล่าวเมื่อท่านมาสักการะหลวงพ่อพระองค์แสน จะเห็นมีหลวงพ่อซ้อนกันอยู่ ๒ องค์ องค์หน้าคือหลวงพ่อองค์เดิม ส่วนองค์หลังเป็นองค์ใหม่ที่จะสร้างขึ้นมาแทนนั่นเอง

จากประวัติหลวงพ่อหลายอย่าง ในสมัยก่อนเคยมีพระมอญ ที่เคยมาบำเพ็ญศีลภาวนาที่วัด แล้วพอจะกลับก็บอกพระที่วัดไว้ว่า หลวงพ่อองค์นี้เป็นองค์ปลอม แต่เป็นองค์ปลอมที่ศักดิ์ศิทธิ์มาก ปู่ย่าตายายชาวสกลนครและหลายๆคน คงเคยได้ยินตำนานเล่าต่อกันมาว่า บริเวณกลางหนองหารนั้น จะมีจุดที่ลึกมากกว่าปกติ อยู่หลายแห่ง ซึ่งชาวประมงหนองหารจะเรียกว่า ขุม หรือหลุมนั้นเอง และจะมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ขุมใหญ่ ขุมเต่าฮาง ขุมก้านเหลือง ซึ่งขุมนี้จะลึกประมาณ ๑๕-๒๐ เมตรทีเดียว เชื่อกันว่าในสมัยก่อนเมื่อพระยาขอม (พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) จะย้ายเมืองอพยพผู้คนไปอยู่เขมรนั้น พระองค์ได้เอาหลวงพ่อพระสุวรรณแสนองค์เดิมมาซ่อนไว้ที่ขุมลึกกลางหนองหารชาวประมงจะเรียกจุดนี้ว่า ขุมใหญ่ ซึ่งเป็นขุมที่ลึกที่สุด

ชาวบ้านที่อยู่โดยรอบหนองหาร ส่วนใหญ่เป็นชาวนาและมีอาชีพเสริมคือชาวประมง บ่อยครั้งที่ชาวบ้าน (เชื่อว่าต้องเป็นผู้มีบุญ) บังเอิญไปหาปลาแถวนั้น และแหหรืออวนไปติดกับอะไรบางอย่างใต้น้ำ เมื่อดำลงไปก็เห็นองค์พระสีทององค์ใหญ่จมอยู่บริเวณนั้น แต่เมื่อทางราชการมาสำรวจนำนักประดาน้ำมาค้นหา ก็ไม่พบแต่อย่างใด ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่าเป็นปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อที่จะอยู่ ณ ตรงนั้น เพื่อรอวันที่ผู้มีบุญวาสนามากพอมาเชิญหลวงพ่อขึ้นมา หรือจนกว่าจะมีพระพุทธเจ้าองค์ที่ห้า หรือพระศรีอาริยะเมตไตรมาประทับรอยพระพุทธบาทที่พระธาตุเชิงชุมนั้นเอง

ในปัจจุบันเวลาผ่านมาหลายปี อาจจะเป็นเพราะสาหร่าย วัชพืชน้ำ ตะกอนต่างๆ ทับถมกันสูงขึ้นทุกวัน จึงไม่มีคนพบเห็นอีก ด้วยเหตุนี้ชาวสกลนครจึงถือว่า หนองหาร เป็นหนองน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดด้วย
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-20 09:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้






หลวงพ่อพระองค์แสน วัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-20 09:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้










พระอุโบสถ พระวิหาร และพระธาตุเชิงชุม
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-20 09:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ภายในพระธาตุเชิงชุม มีพระธาตุองค์เดิมสร้างด้วยศิลาแลง
ที่เห็นเป็นสีขาวภายนอกนั้นคือมีการสร้างองค์พระธาตุใหม่ครอบไว้อีกที
เพราะพระธาตุองค์เดิมเก่าแก่ทรุดโทรมมาก




ศิลาจารึกเกี่ยวกับการก่อสร้างพระธาตุเชิงชุม
มีคำแปลด้านหน้า ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าพระธาตุเชิงชุม




พระอุโบสถ วัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร



ทางเข้าพระอุโบสถ ซึ่งเชื่อมต่อกับพระธาตุเชิงชุม

ขอขอบคุณที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ
facebook วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร หลวงพ่อพระองค์แสน

http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=21725
http://www.skyscrapercity.com/showthrea ... 2&page=283                                                                                       
.....................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=32729

สาธุ สวยงามจิงจิง
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้