แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-2-7 11:53
chakpetch ตอบกลับเมื่อ 2014-2-6 20:04
“ชยฏฎะกะ”
สระอโนดาตเครื่องเสริมพระราชอิสสริยยศของพระเจ้าศรีชัยวรมัน
“พระเจ้าชัยวรมันที่ 7” โปรดให้ขุดสระน้ำขนาด กว้าง 0.9 กิโลเมตร ยาว 3.5 กิโลเมตร ขึ้นทางเหนือของบารายตะวันออก เรียกชื่อตามจารึกว่า “ชยฏฎะกะ” ตามชื่อเมืองพระนครหลวงที่สถาปนาขึ้นใหม่ “นครชยศรี” ที่ล้อมรอบด้วย คูน้ำชื่อ “ชยสินธุ” มีกำแพงชื่อ “ชยคีรี” และมี “มหาปราสาทไพชยนต์" (ที่ประทับแห่งผู้ครองสวรรค์) 54 ยอดปราสาท เป็นศูนย์กลางแห่ง “จักรวรรดิ (Empire)”
ที่กลางบารายชยฏฎะกะ สร้างเป็นเกาะแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีสระน้ำขนาดเล็กบนเกาะ 13 แห่ง ประกอบด้วยสระใหญ่ตรงกลาง ขนาบข้างด้วยสระขนาดเล็กกว่าทั้ง 4 ด้าน ด้านนอกมีสระ 8 สระแทนความหมาย "ดอกบัวแปดกลีบ” ล้อมรอบอยู่ชั้นนอก บารายและสระน้ำทั้งหมดไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่แล้วในในยุคปัจจุบันครับ
ปราสาทนาคพัน
ที่ตรงกลางสระใหญ่มีชื่อว่า “ราชยศรี” มีปราสาทตั้งอยู่บนฐานรูปวงกลมทำเป็นรูปกลีบบัว ฐานล่างทำเป็นรูปนาคสองตัวพันหางล้อมรอบฐาน ก็เพราะที่มีนาคพันล้อมรอบนี่แหละ ปราสาทกลางบารายแห่งนี้จึงได้ชื่อใหม่ในยุคหลังว่า “ปราสาทเนียคเปรียง” หรือ “ปราสาทนาคพัน” ไงครับ !!!
ด้านหน้าปราสาทในสระน้ำ มีรูปของม้า “พลาหะ” ซึ่งเป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่กำลังช่วยเหลือมวลมนุษย์จากเรือล่ม (หรือจากกิเลส) หันหน้าเข้าสู่นิพพาน (ปราสาท)
ปราสาทกลางบารายในยุคนี้ เปลี่ยนแปลงคติความเชื่อจากที่เคยเป็นเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับแห่งองค์พระศิวะ หรือ “ไวยกูณฐ์” ที่ประทับแห่งองค์พระนารายณ์ กลายมาเป็น “สระอโนดาต” สระน้ำศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขาหิมาลัยในคัมภีร์พุทธศาสนาสายวัชรยาน อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่อันได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำสินธุและแม่น้ำพรหมบุตร
เมื่อน้ำเต็มในสระใหญ่ น้ำอันศักดิ์สิทธิ์ก็จะไหลผ่านออกมายังสระเล็กทั้ง 4 ทิศ ผ่านศีรษะของรูปสลักช้าง สิงห์ เทพเจ้าและม้า เชื่อกันว่าแทนความหมายของธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ หากผู้ต้องการน้ำเพื่อการรักษาโรค ก็ต้องเลือกช่องซุ้มน้ำให้ถูกโฉลกกับ ”ธาตุ” ของตน
http://www.oknation.net/blog/voranai/2011/04/30/entry-1 |