ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
สติ สมาธิ ปัญญา
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1758
ตอบกลับ: 4
สติ สมาธิ ปัญญา
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-3-29 11:50
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
...
เรานั่งอยู่มันละเอียดมันสงบ สงบในองค์ของฌานแม้ว่าเราเดินไปเดินมาเราก็มีสติอยู่มันสงบได้เพราะว่ามันมีสติอยู่อันนั้นมันเป็นองค์ทำให้เกิดปัญญา
เราจะต้องบำเพ็ญมันอยู่อย่างนี้
ถ้าหากว่าเรามีสติสัมปชัญญะอยู่คล้ายๆว่าเราหยุดเหมือนไม่หยุดเราเลิกเหมือนไม่เลิก
เหมือนกับสายบัวนั้นจับสายบัวขึ้นมาแล้วหักพั๊บมันก็ขาดจากกันนะแต่ส่วนละเอียดของใยบัวนั้นมันยังติดต่อกันนะนั่นมันติดต่อกันอยู่อย่างนั้น
เมื่อเราออกจากสมาธิแล้วแต่สำนึกว่ายังไม่ออกมันออกแต่การพูดส่วนความสำนึกความรู้สึกของเราก็เหมือนกับสายบัวที่หักออกจากกันอย่างนี้มันก็ขาดจากกันแต่ส่วนละเอียดของสายบัวใยบัวนั้นยังติดต่อกันอยู่อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้นที่เราเรียกว่าเราเลิกจากสมาธิมันไม่เลิกเป็นคำพูดโดยปริยายความเป็นจริงความรู้สึกนึกคิดของเรานั้นนะความรู้สึกของเราในการกระทำเพียรนั้นมันยังติดต่อกันอยู่เมื่อติดต่อกันอยู่เมื่อไร"สติ"ก็ยังมีอยู่เมื่อสติมันมีอยู่"สมาธิ" มันก็ยังมีอยู่ประสบกับทุกข์เราก็รู้จักประสบสุขเราก็รู้จักพอประสบอารมณ์ทุกข์ก็นำอารมณ์นั้นกลับมาบ้าน
พอจิตของเรากระทบอารมณ์รู้สึกมีอารมณ์แล้วนะมันก็กลับมาสู่ที่ของมันอยู่กับที่นั่นแหละเมื่อมีอารมณ์มากระทบอีกก็รู้อีกเมื่อรู้แล้วมันก็จัด"สมาธิ" ของมันอยู่ในความสงบอย่างนี้ตลอดวันตลอดกลางวันกลางคืนมันจะเป็นอยู่อย่างนี้ทำไมมันจะไม่เกิดปัญญาล่ะ
มันก็เกิดซิอาตมาเชื่อแน่ว่าคนเราปฏิบัติพรรษาสองพรรษานี้การปฏิบัติอย่างแท้จริงอาจจะไม่ถึง๑๕ วันเลย อยู่ไปสองพรรษาสามพรรษา...อยู่ไปอย่างนั้นแหละแต่การปฏิบัติจริงๆอาจไม่ถึงสิบห้าวันเลยมั้งมันขาดมันจะไม่ติดต่ออาการของจิตที่มันติดต่อกันอย่างนี้ปีหนึ่งจะมีกี่วันละถ้าเราไม่รู้จักอันนี้โดยมากออกจากสมาธิแล้วนึกว่าออกก็ออกเลยจิตมันก็ไม่ติดต่อกันมันไม่เกิดเป็นวงกลม
อาตมาเคยไปนั่งฟังพักเดียวเท่านั้นพระอาจารย์มั่นท่านพูดให้ฟังว่า
"ขณะปฏิบัตินั้นจะต้องให้เป็นวงกลมนะท่านนะ"
อาตมาได้ยินเสียงนั้นมากระทบท่านพูดว่า
"เป็นวงกลม"
เท่านั้นเกิดความรู้สึกหลายอย่างวงกลมนี้กว้างไม่ถึง๒ เมตร แต่ว่าวงกลมนั้นอาจจะยาวมากที่สุดเหมือนวงล้อของเกวียนนั้นแหละโคมันจะลากไปยาวจนกว่าเกวียนจะพังหรือโคจะตายนั่นแหละมันไปสิ้นสุดตรงนั้น
ถ้าโคยังไม่ตายเกวียนนั้นไม่พังรอยเกวียนมันยาวไปไม่มีจบสักทีเลย
ฉะนั้นวงกลมเป็นอย่างนี้มันยาวมันก็ออกจากวงกลมวงกลมนี้มันก็กลายเป็นความยาวความยาวนั้นเมื่อเราพิจารณาแล้วมันจะเป็นวงกลม
การภาวนาที่ท่านว่าให้เป็นวงกลมนั้นน่ะคือให้มี "สติ"ติดต่อกันไม่มีเสร็จสักทีเลย
คนเราหากว่าขาดสติแล้วก็เป็นบ้าเลยขาดสติ ๕ นาทีก็เป็นบ้า ๕นาที เอ้า!...ลองดูซิผู้มีสติคืนมานั้นจะหายบ้าเมื่อใครไม่มีสติควบคุมอยู่จะเป็นบ้าเลยขาดไปชั่วโมงหนึ่งหรือสองวันสามวันก็เป็นบ้าชั่วโมงหนึ่งหรือสองวันสามวันทั้งนั้นแหละ
"สติ"นี้เป็นของสำคัญมากกว่าเขามากที่สุดละ
ดังนั้นอาตมาพิจารณาว่าการภาวนาเป็นวงกลมนี้ลึกซึ้งที่สุดที่พระอาจารย์มั่นท่านสอนแต่คนเราก็ไม่ฉลาดไม่มีปัญญาถึงขนาดนั้นเมื่อเราเข้าใจในธรรมะของท่านข้อเดียว
"มันเป็นวงกลม"วงกลมมันจะจบตรงไหนล่ะมันติดต่อกันทั้งนั้นแหละ...วงกลมนี้วงกลมมันยาวที่สุดนั่นแหละมันกว้างที่สุดนั่นแหละแล้วมันก็แคบที่สุดอีกแหละมันรู้ทั่วถึงทำไมปัญญามันจะไม่เกิด
ถ้าพิจารณาอยู่ไม่หยุดวงกลมมันจะยาวปัญญามันจะเกิดทุกแง่ทุกมุมเมื่อเราเห็นสภาพอย่างนี้อยู่ในจิตของเราแล้วก็ไม่มีอะไรมันรู้จักอารมณ์ทุกๆอย่างเมื่อเราตามรักษาอยู่อย่างตรงนี้...ลานวัดของเราตรงแคบๆนี้เราพยายามกวาดมันอยู่เสมอพยายามกวาดมันอยู่ใบไม้ใบไร่มันก็ไม่มี
เมื่อเรากวาดไปแล้วก็ดูอยู่ใบไม้ที่มันปลิวมาตกเมื่อไรเราก็รู้จัก
เราก็หยิบมันออกเสียก็เพราะเรารักษาอยู่
อาการเช่นนี้ลานวัดที่เรารักษานั้นมันก็จะไม่รกรุงรังเพราะเรารักษาตามรักษาอยู่
จิตใจเรานั้นมันจะสว่างมันจะสงบ ไม่ฟุ้งซ่านก็เพราะว่าเรารักษามันอยู่
ไม่มีความประมาทอยู่
...คนประมาทแล้วก็เหมือนคนตาย
คนไม่ประมาทนั้นก็เหมือนคนไม่ตายโอวาทครั้งสุดท้ายนั้นท่านกล่าวว่า
"ภิกษุทั้งหลายท่านจงยังความไม่ประมาทให้เกิดขึ้น"
ก็เนื่องจากการภาวนามีความรู้สึกว่ามันเป็นวงกลม...
ไม่หลงอารมณ์ถ้าไม่หลงอารมณ์มันก็ต้องรู้อารมณ์ถ้าเราไม่รู้อารมณ์เราก็หลงอารมณ์
ถ้าเราเป็นวงกลมอยู่แล้วนะมันก็รู้อารมณ์เมื่อรู้อารมณ์มันก็ไม่หลงอารมณ์ในเวลานั้นเราอยู่ด้วย"สติสัมปชัญญะ"ตลอดกาล ตลอดเวลา
ถึงแม้ว่าเราจะจำวัดหลับไป...ตื่นขึ้นมาอันนี้มันก็เป็นอยู่อย่างนี้จะเดินเหินไปทางไหนมองดูจิตของเจ้าของว่ามันมีความรู้สึกเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลาทำไมปัญญามันจะไม่เกิดทำไมมันจะไม่รู้ทำไมมันจะไม่เห็นที่เราภาวนาว่าไม่รู้ไม่เห็นก็เพราะว่าเราหนีจากที่นี่เราดูที่ความจริงมันเป็นอยู่อย่างนี้สารพัดอารมณ์ทั้งหลายมันก็ไหลเข้ามาโดยไม่รู้สึกตัว
รู้ก็รู้ไม่จริงรู้แต่อารมณ์ไม่รู้จักแยกอารมณ์กับจิตของเราออก
กรณีความรู้สึกอย่างนี้มันจะรู้อารมณ์รู้จิตของเราอันนี้เป็นจิตอันนี้เป็นอารมณ์อารมณ์มันเป็นอย่างนี้จิตมันเป็นอย่างนี้เราก็แยกออกจากกันได้อันนี้มันเป็นกิเลสอันนี้มันไม่ใช่กิเลสอันนี้มันเป็นอารมณ์อันนี้มันไม่ใช่อารมณ์อันนี้เป็นความรู้อันนี้เป็นจิตอันนี้เป็นอารมณ์มันก็แยกออกเป็นส่วนๆ
ถึงแม้เราจะทำอะไรก็ช่างมันเถอะถ้ามีอารมณ์เรารู้อารมณ์แล้วพูดไปพอพูดจบพั๊บมันก็กลับมาสู่บ้านเดิมของมันมันไม่ส่งออกไปข้างนอก
มันไม่วิ่งตามอารมณ์ไปทั่วทิศ
ประโยชน์อันนี้ก็คือกลับมาอยู่ที่ของมันเหมือนกับแมงมุมน่ะแมงมุมมันจะทำบ้านของมันเป็นตาข่ายใหญ่ๆสำหรับจับสัตว์ไว้กินเมื่อมันทำเสร็จแล้วแมงมุมมันก็มาจับอยู่กลางบ้านเฉยอยู่ เหมือนกับเศษอะไรอันหนึ่งที่มันทิ้งไว้อยู่พอสัตว์แมลงต่างๆมันบินมาถูกเครื่องจับสัตว์ของมันถูกบ้านของมันมันจะมีความกระเทือนแมงมุมก็ตื่นตัววิ่งออกไปจับเอาสัตว์ฆ่าแล้วเก็บไว้เสร็จแล้วก็กลับมาอยู่ที่เก่าของมันอีกอยู่ไปๆ เมื่อแมลงบินมากระทบอีกมันก็รู้สึกอีกมันก็วิ่งออกไปจับเอาสัตว์นั้นมาอีกพอจับสัตว์ไว้ดีแล้วมันก็กลับมาอยู่ที่เก่าของมันอีก
สติของเราก็เป็นอย่างนั้นพอมีสติอยู่มันรู้จักอารมณ์ธรรมชาติที่ว่าไม่ชอบใจก็รู้จักรู้แล้วก็กลับมาอยู่ที่ของเราอารมณ์ที่ไม่ชอบใจที่ชอบใจ มันก็รู้จักรู้แล้วมันก็กลับมาอยู่ที่ของเราเสมออย่างนี้ตลอดเวลาอันนั้นธรรมชาติสัตว์มันเป็นอย่างนั้นมันจับอาหาร...มันจับสัตว์เป็นอาหารอันนี้ก็เหมือนกันเรารู้จักอารมณ์แล้วก็ต้องอยู่อย่างนี้เมื่อพูดแล้วทำแล้วก็กลับมาอยู่ที่ของเราอย่างเราที่ทำงานอะไรต่างๆเมื่อเราทำไปความรู้สึกเราก็รู้จักเพราะรู้อยู่เสมอมันก็เป็นคนไม่ประมาทเท่านั้นแหละมันก็เป็นเรื่องที่ว่าภาวนาอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืนติดต่อกันเป็นวงกลมอย่างนั้นที่มันจะพร่องอยู่ก็เรียกว่ามันไม่เอาจิตจดจ่อมันวันนี้หนึ่งภาวนาให้เป็นวงกลมสองให้คัดเอาอันดีๆไป
อะไรที่มากระทบก็ให้โยมคิดว่า...อันนี้มันไม่เที่ยงเอาอนิจจัง ทุกขังอนัตตาขึ้นเป็นกัมมัฏฐานอยู่ในความรู้ของเจ้าของตรงนี้แหละ ตรงที่จะให้เกิดปัญญาปัญญามันก็เกิดไปจากนี้นอกเหนือนี้ไปเป็น"วิปัสสนา"
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-3-29 11:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมมุติ กับ วิมุตติ
"วิปัสสนา"นั้น มันจะรู้ถึงไม่ใช่ไม่รู้ถึง
ที่เรารู้กันทุกวันนี้มันรู้ไม่ถึงมันถึงเหลืออยู่รู้ให้ถึง อันนี้เรารู้กันไม่ถึงอย่างกระโถนใบนี้หรือถ้วยใบนี้เรารู้กันทุกคนหรือ "ดอกไม้"อันนั้นรู้กันทุกคนถ้าหากมีคนหนึ่งมาแกล้งพูดว่าอันนี้ "ผลไม้"เราก็จะไม่พอใจนะนี่เพราะว่ามันเป็น"ดอกไม้" คนอื่นมาแจ้งว่าอันนี้"ผลไม้"ก็จะโต้เถียงกันนะอันนี้โต้เถียงกันคนที่เข้าใจว่าดอกไม้ก็ดีคนที่เข้าใจว่าผลไม้ก็ดี...เหมือนกันคนสองคนนี้รู้ไม่ถึงจึงเถียงกันถ้ารู้ถึง "ดอกไม้"รู้ถึง "ผลไม้"คนทั้งสองมันจะไม่เถียงกันไม่เถียงยังไง?ถ้าเรารู้ว่าอันนี้มันดอกไม้ถ้ารู้ถึงมันนะใครจะมาว่าอันนี้ผลไม้เราก็สบาย หรือมีคนอื่นมาว่าใบไม้เราก็สบายมีคนหนึ่งพูดว่าดอกไม้...เราก็สบายเพราะเรารู้ถึงมันทุกอย่าง
"ดอกไม้" นี้มันเกิดมาจากความสมมุติ
คนสมมุติมาครั้งแรกสมมุติว่าชนิดนี้เป็นดอกไม้แล้วก็ถือกันมาเรื่อยๆมาใครจะมาว่าผลไม้ไม่ได้ต้องทะเลาะกันถ้าคนแรกเขาสมมุติว่าดอกไม้นี้เป็นผลไม้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาชนิดนี้เขาเรียกว่าผลไม้ไม่ใช่ดอกไม้เราก็จะเรียกผลไม้เป็นดอกไม้ตลอดจนเดี๋ยวนี้อันนี้ดอกไม้มันก็ไม่ใช่ผลไม้มันก็ไม่ใช่มันจะเป็นดอกไม้เพราะเราสมมุติขึ้นเดี๋ยวนี้ถ้าสมมุติดอกไม้มันเป็นดอกไม้ถ้าคนอื่นมาสมมุติว่าเป็นผลไม้ก็เป็นขึ้นเดี๋ยวนี้อันนี้เราสมมุติในปัจจุบันเรียกว่าดอกไม้คนอื่นเขาเรียกว่าผลไม้มันก็ขัดแย้งกับเราคนหนึ่งว่าดอกไม้คนหนึ่งว่าผลไม้มันก็ทะเลาะกัน
ทะเลาะกันเพราะคนสองคนไม่รู้ตามความเป็นจริงของมัน
ถ้ารู้ตามความเป็นจริงว่าดอกไม้ผลไม้นี้เป็นของสมมุติขึ้นมาเป็นของสมมุติขึ้นมาเท่านั้น
ถ้ารู้ถึงที่สุดแล้วดอกไม้นี้แหละผลไม้นี้มันไม่เป็นอะไร
คนที่สมมุติว่าเป็นดอกไม้มันก็เพิ่งเป็นขึ้นเดี๋ยวนี้แหละแต่ตัวดอกไม้มันก็ไม่เป็นอะไรอีกแหละมันเป็นเพราะคนสมมุติขึ้นมาถ้าเรารู้จักเช่นนี้ใครจะว่าผลไม้เราก็สบายเพราะเรารู้วัตถุอันนี้ถึงที่ของมันรู้ใบไม้ถึงใบไม้รู้ผลไม้ถึงผลไม้ใครเขาว่าผลไม้เราก็สบายเขาจะบอกว่าอะไรเราก็สบายเขาจะว่าดอกมันก็สบายทำไมมันถึงสบายเพราะรู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว
อันนี้เราติด"สมมุติ" ติด "อุปาทาน"ยึดมั่นถือมั่นตั้งแต่ไหนแต่ไรมา
เอาซิ...ดอกไม้อันนี้ถ้ามีคนหนึ่งเขาพูดว่าผลไม้ก็มัวแต่เถียงกันตลอดเวลาจนจะลงเอาเงินเอาทองกันเสียด้วยนะความเป็นจริงนั้นน่ะอันนี้มันไม่เป็นอะไรมันถูกสมมุติขึ้นมาเป็นอะไรหรือไม่เป็นอะไรมันก็ไม่รู้เรื่องมันเป็นภาพอันหนึ่งต่างหากถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงมันแล้วใครจะว่าดอกไม้มันก็เหมือนกับผลไม้เรียกว่าผลไม้ก็เหมือนดอกไม้เพราะรู้ถึงที่สุดของมันเหตุมันก็ไม่เกิดขึ้นมาถ้าเรารู้จักกันทุกคนเช่นนี้
ถ้าเป็น"สมมุติ" มันก็ขัดกันถ้าพูดถึง "วิมุตติ"นั้นมันไม่เป็นอะไร
มันตรงเป็นอันเดียวกันเอโกธัมโม เป็นอันเดียวกันเท่านั้นไม่แย้งกันละพระอริยบุคคลเจ้าทั้งหลายนั้นน่ะอยู่สักพันองค์ก็ช่างเถอะพูดขึ้นคำเดียวองค์เดียวก็รู้จักกันหมดไม่ต้องแก่งแย่งกันไม่ต้องเถียงกันไม่ต้องขัดข้องอะไรกันแล้วท่านรู้จักเหมือนเรียกดอกไม้ท่านก็รู้จักกันตามความเป็นจริงของมันจะมาเรียกเป็นผลไม้ท่านก็รู้จักตามความเป็นจริงของมันแล้วใครจะมาเรียกใบไม้ท่านก็รู้จักตามความเป็นจริงของมันแล้วไม่ต่อล้อต่อเถียงกับใครแล้วมันลงกันอย่างนี้มันพ้นจากอันนี้ไปแล้ว
อันนี้มันเป็นเรื่องสมมุติกันถ้าเรารู้อย่างนี้กันทุกคนเราก็พยายามให้เข้าใจกันอย่างนี้มันถึงจะเห็นมันถึงจะถูกต้องอย่างตาของเรานี้นะ...ตาเขาสมมุติว่าอันนี้เรียกว่าตาก็เรียกตากันมาตลอดเวลาทุกวันนี้ใครจะมาเรียกตาว่าเป็นหูมันก็ทะเลาะกันแล้วอันตัวได้ยินนี้เพราะฉันยึดมั่นถือมั่นว่าอันนี้เป็นตานะท่านจะมาเรียกว่าหูหรือจะมาเรียกว่าจมูกนี่บ้าๆบอๆมันก็ต้องเถียงกันละความเป็นจริงนั้นถ้าคนเดิมเขาสมมุติว่าหูนี้เป็นตาเสียก็จะเรียกหูเป็นตามาจนทุกวันนี้ก็ไม่มีใครขัดกันแล้ว
เรียกตาเป็นหูเสียก็ไม่มีใครขัดกันแล้วอันนี้มันเกิดจากสมมุติเท่านั้นแหละถ้าพ้น "สมมุติ"แล้ว มันก็เป็น"วิมุตติ" ก็ลงรอยอันเดียวกันเท่านั้นแหละไม่มีปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาหรอกเท่านี้แหละมันเป็นอุปาทานมันก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าตาจริงๆแหละหูจริงๆ จมูกจริงๆถ้าไปถามจมูกมันจะรู้ว่ามันเป็นจมูกไหม?ไปถามตาดูซิ...ว่ามันจะเป็นตาไหม?ไปถามหูดูซิ...ว่ามันเป็นหูไหม?เราก็เป็นบ้าเรียกกันเท่านั้นแหละก็ทะเลาะกันเท่านั้นแหละทีนี้ถ้าเข้าใจอย่างนี้มันก็สงบแหละเขาจะเรียกอะไรฉันก็สบายใจ
มนุษย์เป็นผู้มีใจสูง
บุคคลที่มีความทุกข์เกิดขึ้นได้กิเลสมันชอบเป็นอย่างนั้นมันยังไม่ยอมตัวมันไม่ยอมมันยังมีอยู่ฉะนั้นเราจะต้องสอนกันไปเรื่อยๆบางคนก็ติดว่าเราเป็นครูแล้วนะเป็นครูแล้วไม่ต้องสอนกันหรอก...อย่างนี้ก็มีแต่ว่ามันยังไม่โตใจมันไม่โตใจมันไม่สูงใจมันยังเป็นเด็กเล็กๆอยู่ที่เราเห็นโตๆเพราะร่างกายมันโตไม่ใช่ว่าร่างกายมันโตแล้วมันดีถ้าใจมันไม่ดีแล้วมันก็โตไปไม่ได้ถ้าร่างกายโตมันดีมันก็ดีกว่าหมูเท่านั้นแหละฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงว่าคนเยาว์เยาวชน...คนยังเยาว์ท่านพูดถึงเรื่อง
"จิตใจ"
ทำไมมันจึงเยาว์เพราะมันชอบทะเลาะกันอยู่เช่น บางโรงเรียนเอานักเรียนมาอบรมว่านักเรียนมันสอนยากมันชอบทะเลาะกันแล้วก็ถามเรื่อยๆไปว่ามีครูกี่คนมีครูสัก ๔๐คน เคยสามัคคีกันไหม?เคยขัดแย้งกันไหม?ไม่พูด อาตมาก็เลยว่า
"เด็กนักเรียนมันสอนยากมันทะเลาะกันก็ควรให้อภัยมันเพราะมันเป็นเด็กนักเรียนแต่ครูทะเลาะกันไม่สามัคคีกันไม่ควรให้อภัยเพราะเป็นครูแล้วนี่"
ฉะนั้น เราจึงควรสอนเรื่อยไปจิตใจยังไม่ถึง
"โสดาปัตติมรรค"
เสียแล้วหรือเป็น
"โสดาบันบุคคล"
แล้วน่ะมันยังตกนรกอยู่เรื่อยชอบกระทำความผิดอยู่เรื่อยในใจนั่นน่ะ
เห็นอยู่ว่ามันผิดก็อดไม่ได้ไปทำจนได้ละ
มันอยากทำอยู่นั่นแหละมันไม่อยากหนีมีแต่อยากทำอยู่นั่นแหละกลัวอย่างเดียวกลัวคนจะมาเห็นถ้าจะทำอะไรก็มองหน้ามองหลังกลัวคนจะเห็นเราถ้าคนไม่เห็นก็เลยทำอันนี้ก็ดูถูกเจ้าของคนที่ทำไม่ใช่คนหรือ?ไปดูแต่คนข้างนอกว่าเป็นคนตัวที่เราทำผิดนี้ก็เป็นคนไม่รู้เรื่องกลัวแต่คนจะเห็นเราอันนี้ก็ดูถูกเราเห็นเราไม่เป็นคนเลยทำความชั่วได้
ฉะนั้น พวกเราทั้งหลายก็ยังมีโอกาสที่จะฟังธรรมต่อไปมีโอกาสที่จะทำการปฏิบัติให้ดีขึ้นไปมองดูทุกคนที่มาที่นี่นะคงรู้จักในใจเรามันมีอยู่บางทีก็ทำอยู่แต่ไม่พูดเท่านั้นแหละให้รู้เอาเองนะถ้าบอกตามเป็นจริงแล้วมันครึ่งต่อครึ่งแล้วที่มานั่งอยู่นี่หรือจะมากกว่านั้นมันถึงเป็นอย่างนี้ถึงเนื้อแท้จริงๆมันนะพระพุทธเจ้าท่านว่าคนน้อยมนุษย์มันน้อยที่ใจสูงๆ...มันน้อยมันยังมีอยู่เป็นธรรมดาฉะนั้นเราจะบอกอะไรหรืออบรม...ความอบรมนั้นมันดี...เราได้ฟัง
พระพุทธเจ้าท่านไม่สรรเสริญว่าร่างกายนี้ตัวมันใหญ่
ท่านสรรเสริญที่"ใจมันสูงขึ้น"ใจมันมีคุณธรรมสูงขึ้นใจมีความละอายยิ่งขึ้นมีความกลัวยิ่งขึ้นมีความเห็นว่ามันผิดยิ่งขึ้น
ให้เห็นชัดเจนท่านจึงเรียกว่าเป็นคนโต...คนใหญ่...คนสูง
พูดถึงพระพุทธศาสนาแล้วก็ต้องเป็นโสดาบันบุคคลโสดาบันบุคคลแล้วอยู่ในบ้านก็ได้ความคิดมันแตกต่างจากคนแล้วคนนั้นไม่ต้องแนะนำคือมันมีอะไรจะแนะนำตนเองอยู่เสมอแล้วรู้จักผิด รู้จักถูกรู้จักการละการวางอันนั้นไม่ต้องสอนค่อยๆไป เรายังเห็นผิดมากหลายความเห็นถูกมันยังน้อยฉะนั้นการมาอบรมหลายวันรำคาญใจอยากจะกลับบ้านการอบรมมันมีตั้งแต่ไหนแต่ไรมาหรอกคือทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมันเปลี่ยน...สถานการณ์มันเปลี่ยนไป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-3-29 11:52
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การปฏิบัติที่กระทัดรัด
เทวทูตส่งข่าวทุกอิริยาบถการยืน การเดินการนั่ง การนอนทุกอย่างท่านคอยตักเตือนเราอยู่เสมอๆเลยทีเดียววันหนึ่งจะเจ็บหัวปวดท้อง ไม่สบายกายไม่สบายใจ เกิดทุกวันแก่ทุกวัน เจ็บทุกวันตายทุกวัน แต่ก็ยังไม่เห็นกันคือมันมืด เป็น
"ปุถุชน"คนมืด มืดเพราะ"อวิชชา" "ตัณหา""อุปาทาน" ปิดบังไว้
ฉะนั้นพระบรมศาสดาท่านจึงสอนให้รู้จักความเกิดแก่ เจ็บ ตายให้รู้จัก
"เทวทูต"
ไม่ใช่มารู้จักเหตุมันแล้วผลมันก็เกิดขึ้นไม่ได้อย่างพระบรมศาสดาท่านสอนไว้ตามหลักธรรมะท่านว่า
"เยธัมมาเหตุปัปพวา...ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด"
เมื่อเหตุมันดับผลมันก็ดับไปเมื่อเหตุมันเกิดขึ้นผลมันก็เกิดขึ้นมาฉันใดก็ฉันนั้นเมื่อเรามาพิจารณาสกลร่างกายเรานี้เราจะเห็นเทวทูตผู้ส่งข่าวเราอยู่ทุกๆวันการเคลื่อนไหวไปมาเช่นว่าวันนี้มันก็ผ่านมาถึงกลางคืนพรุ่งนี้มันก็เข้าไปถึงมันผ่านไปเรื่อยๆอันนี้ก็เป็นลักษณะของเทวทูตเปลี่ยนแปลงไม่คงเส้นคงวาอายุสังขารของเราเปลี่ยนไปๆ
อันนี้ก็เป็นเทวทูต
แต่เราไม่ค่อยจะเห็นกันปฏิบัติให้มันเร็วเข้าให้มันตรงๆเข้าไปให้มันเห็นง่ายๆไม่ให้มันยาก
ไม่ให้มันยืดยาวอย่างนี้ปรากฏว่าคณะทูตเมื่อวันแรกอยากจะรู้ธรรมะปฏิบัติให้เร็วเข้าไม่อยากให้เนิ่นช้าอันนี้หลักที่ปฏิบัติธรรมะนี้เป็นของไม่ยืดยาวเป็นของสั้นอยู่แล้วเป็นของกระทัดรัดและตรงไปตรงมาอยู่แล้วที่เราทั้งหลายปฏิบัติกันให้มันยืดยาวไปนั้นก็เพราะเรื่องของเราจับไม่ถูกนั่น...จับไม่ถูกไปอ่านตำราบ้างไปดูตำราบ้างไปสนใจในอะไรต่างๆบ้างเรื่องตำรานั้นมันเป็นเรื่องปราชญ์อาจารย์เขียนขึ้นมาแล้วก็เขียนตามความเข้าใจของบุคคลเมื่อเราไปอ่านแล้วผู้เขียนหนังสือนั้นบางคนก็เขียนอย่างหนึ่งบางท่านก็เขียนไปอีกอย่างหนึ่งคนละแบบ คนละแนวถึงแม้การปฏิบัติธรรมะเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นแต่ละลัทธิ...หลายลัทธิหลายศาสนา ความเป็นจริงนั้น...ความจริงสัจจธรรมนั้นไม่มากอย่าง
"สัจจธรรม" นั้นคือความจริงอันเดียวเท่านั้นแต่ว่ามีหลายลัทธิมีหลายวิธี
การมีหลายลัทธินั่นน่ะมีหลายวิธีนั้นเพราะคนรุ่นหลังปรับปรุงขึ้นเสียโดยมากส่วนแท้จริงนั้นปรับปรุงหลายๆอย่างก็เพื่อให้มันง่ายขึ้นกระทัดรัดขึ้นแต่ก็ยิ่งขยายกว้างออกไปจนพวกเราทั้งหลายจับไม่ถูกปฏิบัติไม่ถูกเมื่อไปวัดหนึ่งก็ทำอย่างหนึ่งเมื่อไปหาอาจารย์หนึ่งก็เทศน์ไปอย่างหนึ่งเลยเกิดความวุ่นวายกันตลอดเวลา
พวกชาวพุทธทั้งหลายก็เลยสงสัยสงสัยใจการประพฤติในการปฏิบัตินี้มันก็เลยเป็นของยืดเยื้อยืดยาวไปความเป็นจริงนั้นหลักปฏิบัตินั้นมันอยู่ที่ตัวของเราแล้วทุกคนทุกๆภาษา ทุกๆชาติทุกๆคน เยอรมันอังกฤษ อเมริกาไทยแลนด์ ทุกๆชาตินั่นแหละมันก็ต้องมีกายกับใจสองอย่างเท่านี้
สติ สมาธิ ปัญญา
แม้ว่าจะขมก็ขมอร่อยนะโยมผู้หญิงขมผักสะเดาอย่างนั้นแหละ
ขมมะเขือพวง...ขมไปอย่างนั้นแหละมันก็ขมอยู่แต่ว่ามันอร่อยถ้าเปรี้ยวก็เปรี้ยวอยู่แต่เปรี้ยวอร่อยมันไม่ทิ้งกันหรอกความอร่อยนี้แหละมันเข้าเป็นอันเดียวกันมันเป็นเหตุให้คนได้กินได้ดื่มมันจะเป็นคนละรสก็ช่างมันรสขมก็ช่างมันรสเปรี้ยวก็ช่างมันรสหวานก็ช่างมันแต่ว่าความอร่อยนั้นมันอยู่กับทุกรสขมก็อร่อย อร่อยไปคนละอย่างแต่มันก็มารวมอร่อยอย่างเดียวนี่ข้อปฏิบัติเป็นอย่างนั้น
ศีลก็ดี สมาธิก็ดีปัญญาก็ดี นี่ท่านตัดทางให้เป็นแก่นของศาสนาของเรา
เป็นแก่นของศาสนาของเราเมื่อศีลหนึ่งสมาธิหนึ่ง ปัญญาหนึ่งขยายออกไป ก็เหมือนกับสิ่งที่มันเปรี้ยวสิ่งที่มันหวานสิ่งที่มันขมแต่เมื่อความเอร็ดอร่อยเหมือนกันขมก็ดี...มันอร่อยอย่างขมมันดีอย่างขมเปรี้ยวมันก็เปรี้ยวอยู่แต่มันดีอย่างเปรี้ยวหวานมันก็หวานแต่มันก็ดีอย่างหวานศีลก็ช่าง สมาธิก็ช่างปัญญาก็ช่าง
"ศีล"
ก็คือความรักษากายวาจา
"สมาธิ"
ความตั้งใจมั่น
"ปัญญา"
ความรอบรู้เป็นคนละอย่างชื่อมันศีลสมาธิ ปัญญาแต่ว่าสิ่งทั้ง๓ นี้ ไม่เคยทิ้งกันสักครั้งมันเกาะเกี่ยวกันอยู่เสมอเหมือนกับรสมันเฝื่อนมันขมมันขื่นนั่นแหละแต่ว่าความเอร็ดอร่อยมันกลมเกลียวกันอยู่มันไม่ได้ไปไหนศีลก็ดี สมาธิก็ดีปัญญาก็ดี "
ศีล"มันก็เรื่องกายกับวาจา"สมาธิ" กับ "ปัญญา"มันก็เรื่องจิตมันก็มี "กาย"กับ "จิต" นั่นแหละคนเรา
รูปเวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณก็ว่าไปเฉยๆหรอกสิ่งเหล่านี้มันก็ออกมาจากกายกับจิตเท่านั้นฉะนั้นเมื่อรวมแล้วคนเรานั้นก็มีกายกับจิตอย่าไปคิดอะไรให้มันมากมายเกินไปกว่านี้
กายมันก็เรื่องกายกับวาจา...มันเรื่องศีลนี่เรื่องจิตมันก็เรื่องสมาธิเรื่องปัญญามีสองอย่างเท่านี้นั่งอยู่ที่นี่ก็มีเท่านี้มันจะฉลาดหรือโง่ก็มีเท่านี้แล้วเราก็มาดูเรื่องกายกับจิตนี้เรื่องศีล สมาธิปัญญาก็ดี...ก็เหมือนกันเรามีปัญญาก็รู้จักรักษาศีลคือกาย วาจากายวาจาเรียบร้อยไม่มีโทษ ใจมันก็มั่นเข้าสงบเข้านี่มันก็เป็นสมาธิเมื่อจิตสงบแล้วปัญญามันก็เกิดมันก็คล่องแคล่วในความสงบนั้นมันก็เกิดเป็นตัวปัญญาเมื่อเพิ่มปัญญาสักนิดหนึ่งปัญญาจะแบ่งมาหาศีลนิดหนึ่งเมื่อแบ่งมาหาศีลนิดหนึ่งศีลมันก็แบ่งไปหาสมาธิสักนิดหนึ่งเหมือนกันกับมะม่วงถ้ามันเป็นดอกมันก็มาเพิ่มเป็นลูกอ่อนสักนิดหนึ่งพอลูกอ่อนเกิดขึ้นมันก็เพิ่มเป็นลูกแก่ขึ้นมาอีกสักนิดหนึ่งลูกมันแก่สักนิดหนึ่งมันก็จะเพิ่มความห่ามของมันมันก็จะเพิ่มกันไปจนกว่ามะม่วงใบนั้นมันจะสุกทำไมมันถึงสุกเพราะมันเพิ่มมาตั้งแต่ดอกมันโน้นตั้งแต่เป็นลูกเล็กๆโน้นจนถึงมันห่ามจนถึงมันสุกมันจะไม่ทิ้งกันแม้แต่ครั้งเดียวมันจะไม่ทิ้งกันสักครั้งเดียวสภาวะทั้งหลายเหล่านี้มันจะทำให้มะม่วงใบนั้นใหญ่แต่มันจะใหญ่วันเดียวไม่ได้มันจึงเป็นดอกเป็นลูกเล็กๆจนเป็นผลใหญ่แก่มาก็สุกจนถึงว่ามันสุกมันก็มะม่วงใบเดียวนั่นแหละไม่ใช่ว่ามะม่วงเกิดมาแล้วมันจะสุกทันทีมันเป็นดอกแล้วก็เป็นผลเล็กๆก่อนต่อมาก็ห่ามมันแบ่งทีละน้อยๆไปจนกว่ามะม่วงมันสุกมีทั้งดอกมะม่วงมีทั้งรสมะม่วงสารพัดอย่าง...มันเปลี่ยนถ้าอ่อนมันก็ฝาดนั่นรสของมันแก่ขึ้นมาสักหน่อยหนึ่งมันก็เปรี้ยวแก่ขึ้นมาอีกหน่อยหนึ่งมันก็มีรสหวานมาแทรกแต่จนถึงที่สุกมันก็หวาน
ความเปรี้ยวก็ดีความฝาดก็ดีความหวานก็ดีคือมันเป็นอันเดียวกันไม่ได้เป็นหลายอย่างแต่ว่ามันเปลี่ยนลักษณะมันนั้นมันเป็นลักษณะเฉยๆมันอยู่ที่มะม่วงใบเดียวกันแม้ตลอดสีมะม่วงมันก็เปลี่ยนครั้งแรกมันก็เขียวแล้วมันก็เปลี่ยนเป็นเหลืองรสมันก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนตามมะม่วงใบเดียวไม่ใช่หลายใบแม้จะเป็นลูกเล็กๆก็ช่างมันก็มะม่วงลูกนั้นแม้จะลูกใหญ่มันก็คือมะม่วงลูกนั้นแม้มันจะแก่ก็มะม่วงลูกนั้นแม้ว่ามันจะสุกมันก็มะม่วงลูกนั้นไม่มีมะม่วงลูกอื่นจะมาให้ผลในมะม่วงลูกนั้นเป็นลูกเดียวศีลก็ดี สมาธิก็ดีปัญญาก็ดี นั้นชื่อมันต่างกันเหมือนกับมะม่วงถ้ามันแก่...มันรวมเข้ามาแล้วจะเกิดเป็นปัญญาก้อนเดียวมีอันเดียวเอโกธัมโม ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า
เอโกธัมโม...ธรรมมีอันเดียวเท่านั้นไม่มีหลายอัน
เรื่องศีลมันแก่ขึ้นมันก็ไปอบรมสมาธิสมาธิแก่ขึ้นไปก็อบรมปัญญาก็เหมือนกับดอกมะม่วงรสมะม่วง สีมะม่วงมันก็มาลงมะม่วงลูกเดียวทำให้มันหวานเท่านั้นมันเปลี่ยนไปก็มะม่วงลูกเดียวกันนั่นแหละไม่ใช่อื่นไกลครูบาอาจารย์บอกว่า...เอโกธัมโม...ธรรมอันเดียวไม่มีหลายอันที่เรานั่งอยู่เดี๋ยวนี้ก็เหมือนกันการทำสมาธิการปฏิบัตินี่มาอบรมให้กายวาจาเรานี้บริสุทธิ์แล้วจิตมันก็สงบเมื่อจิตสงบแล้วความคิดอ่านมันเกิดขึ้นมาจากความสงบนั้นมันจะละเอียดมาก...มันเป็นปัญญาเมื่อปัญญาเกิดจะอบรมศีลเมื่อศีลเกิดจะอบรมสมาธิสมาธิก็อบรมปัญญาเวียนไปจนกว่ามะม่วงลูกนั้นมันจะสุกเมื่อมันสุกแล้วมันก็ทิ้งรสฝาดของมันทิ้งสีเขียวของมันทิ้งอาการของมันคือลูกมันเล็กทิ้งมาจนเป็นลูกโตทั้งรสฝาดก็ดีรสเปรี้ยวก็ดีเมื่อมาถึงมันสุกแล้วมันจะหวานเหมือนกันหมดมันจัดยังไม่เข้าล็อคกันมันจึงไม่หวาน
อันนี้ก็เหมือนกันยังไม่เข้าล็อคกันก็เป็นศีลแล้วก็เป็นสมาธิผลที่สุดถ้าหากว่ามันเข้าล็อคกันจริงๆก็เหมือนมะม่วงลูกนั้นลูกเล็กๆ แล้วก็โตจนสุกมันก็เข้าล็อคเดียวกันเป็นมะม่วงสุกไม่ใช่มะม่วงลูกอื่นจะมาเพิ่มเติมมะม่วงลูกนั้นแหละที่มันลูกเล็กๆนั่นแหละมันอ่อนนั่นแหละมันแก่ก็มะม่วงลูกนั้นแหละมันสุกก็มะม่วงลูกนั้นแหละนี่ให้เรียนอย่างนี้ทีนี้เรื่องการอบรมมันเกี่ยวแก่กายกับใจ
เอา"กาย" ก้อนนี้แหละมาดูเอา "จิต" อันนี้แหละมาอบรม
ไม่ได้คว้าเอาที่ไหนเรื่องสมาธิของเรานั้นมันจะมีทางสงสัยมากเรื่องทำสมาธินี้ยาก...ยากเพราะมันสงสัยมากพอไปนั่งดูก็ไม่สงบง่ายอันนี้เราก็ไม่สบายใจมันวุ่นๆวายๆมันนึกคิดต่างๆนานาอย่างนี้เราก็อยากเร่งให้มันสงบทำไมมันถึงไม่สงบมันวุ่นวายบางทีก็เลยหยุดทำ
ดังนั้น จึงให้เข้าใจว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของมันคิดดูจิตใจของเราตั้งแต่เราออกจากท้องแม่ของเรามาโน่นอยากได้อะไรก็ร้องไห้เอาอาการอันนี้เราเคยได้รักษามันไหมทีนี้เรามารักษาตอนแก่สักปีสองปีนี้มันไม่ได้เสี้ยวของมันหรอกถ้านับเวลาเทียบกันดูแล้วทำไมจะให้มันสงบเร็วนักละอาตมาคิดว่า๘ พรรษา ที่อาตมาออกไปปฏิบัติปฏิบัติแล้วคิดว่าเออ!...เราบวช๘ พรรษานี้ก็เหมือนได้พรรษาเดียวเราจะทำจิตใจให้มันสงบอีก๒๐ พรรษา อาตมาก็พอใจแล้วตั้งแต่ยังเล็กอยู่ไม่เคยคิดมากขนาดนั้นทำไปๆ เรื่องทำไม่หยุดนั้นแหละอันนั้นแหละมันจะให้ความรู้เราแก้การสงสัยบางสิ่งบางอย่างได้ก็เพราะการกระทำไม่ได้หยุด
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-3-29 11:53
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทำไปเรื่อยๆมันสงบก็ทำไม่สงบก็ทำมันไปขี้เกียจก็ทำขยันก็ทำคนเราขี้เกียจไม่ทำพอขยันมันจึงทำมันจะเข้าข้างตัวเองต้องพยายามทำการกระทำนั้นไม่ใช่นั่งสมาธิเท่านั้นเป็นเรื่องของการกระทำเมื่อหากว่าเราไม่ตายเราไม่หลับเสียแล้วนะให้มีความรู้สึกอยู่เสมอในเวลานั้นส่วนนั้น เป็นส่วนที่เราจะปฏิบัติไปหมดทั้งการยืนการเดิน การนั่งการนอน ๔ อิริยาบถนี่เราจะตรัสรู้ธรรมได้ทั้งหมดฉะนั้นอิริยาบถทั้งสี่นี้ท่านจึงไม่ให้ประมาท...พระพุทธเจ้าของเราเห็นไหมพระอานนท์สอนพระอานนท์นอนทำความเพียรมากจนลืมจำวัดเท่านั้นแหละถ้าวางจิตปั๊บจิตรวมตรงนั้นก็เลยเป็นพระอรหันต์จะประมาทได้หรือการนั่งอย่างนี้ถ้ากำหนดมันนั่งก็ตรัสรู้ได้การเกิดก็ตรัสรู้ได้การนอนก็ตรัสรู้ได้การไปที่ไหนก็ตรัสรู้ได้ทั้งนั้นท่านจึงว่าอย่าประมาทคนที่ไม่ประมาทนั้นคือคนมีสติอยู่
"สติ" คือความระลึกได้อยู่เสมอ"สัมปชัญญะ" คือความรู้ตัวเราระลึกได้ว่าเราทำอะไรเรารู้อะไรเรารู้ตัวไหมเมื่อเราอยู่อย่างนี้เมื่อเราพูดอย่างนี้เมื่อเราเป็นอยู่อย่างนี้เรารู้ตัวไหมเราอยู่ในสภาพอย่างไรก็ให้มันรู้จักตลอดเวลาอันนั้นแหละมันจะพาให้เกิดความรู้ความเห็น...ถ้ามันถูกอารมณ์มาถ้าเปรียบกับคนสองคนหามท่อนไม้มาคนละข้าง...มันหนักมากเราเป็นผู้ใหญ่นั่งดูอยู่โอ้ย!...ท่อนไม้นั่นมันจะทับกันตายนะนั่นเราก็จะเข้าไปช่วยผู้ที่จะเข้าไปช่วยคือ"ปัญญา" "สติ" ระลึกได้อยู่"สัมปชัญญะ" รู้ตัวอยู่หากมันไปไม่ไหวผู้มีปัญญาต้องเข้าไปช่วยมีสติ มีสัมปชัญญะมีปัญญา ทั้ง๓ อย่าง ช่วยกันยกขึ้นมันก็เบา
อันนี้เปรียบให้ฟังเฉยๆนี่เปรียบเป็นบุคลาธิษฐานให้ฟังมันจะเป็นอย่างนั้นแล้วเราทำไปเรื่อยๆไม่ใช่ว่าเรานั่งสมาธิเราจึงตั้งใจจะยืน จะเดิน จะไปจะมาก็ให้มีสติสัมปชัญญะถ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอถ้าเราพูดอะไรก็คงจะรู้จักแม้ตลอดจิตเราคิดดีก็รู้จักคิดชั่วก็รู้จักคิดไปที่ไหนรู้หมดทั้งนั้นนี่เรื่องกายวาจา ใจ ของเรานี่รู้จักอยู่เสมอแต่ว่าจะละมันได้หรือไม่ได้เราก็รู้จักอันนี้ละได้อันนี้ละไม่ได้ก็รู้จักว่ามันผิดคิดอย่างนี้มันผิดทำอย่างนี้มันผิดบางทีมันผิดก็ดื้อคิดอยู่ดื้อทำอยู่ก็มีในบางครั้งก็รู้จักว่าเจ้าของดื้ออยู่ต้องพยายามแก้อยู่เสมอการยืนหนึ่งการนั่งหนึ่งการนอนหนึ่งให้เราภาวนาอยู่หมดทุกอย่างไม่ใช่ว่าจะออกจากสมาธิแล้วฉันจะหยุดทำความเพียรแล้วนั้นมันไม่ถูกต้องจะยังอยู่ไกลมากทีเดียว
ถ้าเรามีสติมีสัมปชัญญะมีปัญญา อยู่เสมอนั้นเมื่อเราออกจากสมาธิ...การนั่งนะมันจะรู้ตัวตลอดเวลาอารมณ์ดีชั่วมามันจะรู้จักรู้จักไปหมดทุกอย่างรับได้หมด สำรวมอาการสำรวมอารมณ์ทั้งหลายรู้จักอยู่เสมออันนี้เป็นศีลมันเป็นศีลอย่างนี้เมื่อศีลมันสังวรสำรวมอยู่อย่างนี้ก็เป็น"ศีล" แล้ว ถ้ามันสำรวมสังวรอยู่สิ่งทั้งหลายรู้เท่ามันรู้เรื่องเหตุผลของมันแล้วมันก็เกิดความสงบก็เป็น "สมาธิ"ตรงนั้น เมื่อความสงบเกิดขึ้นมามันก็วิจัยไปอีกความรู้เกิดในคนมันเป็น"ปัญญา" รวมการเดินการยืน การนั่งการนอนนั่นแหละได้ภาวนาอยู่ทุกอิริยาบถอันนี้ไปง่ายได้ภาวนาเต็มที่ถ้าหากการนั่งสมาธิอย่างเดียวนั้นว่าเราได้ภาวนาเข้าสมาธิอย่างนั้นต่อจากนั้นไปจะได้เคลื่อนภาวนาอย่างนี้ไม่ถูกต้อง
เรื่องการปฏิบัติของพระนั้นท่านว่าวันหนึ่งกับคืนหนึ่งมี๒๔ ชั่วโมง ท่านให้เข้านอน๔ ชั่วโมงเป็นการพักผ่อนของเราอีก ๒๐ ชั่วโมงนั้นให้เรามีสติสัมปชัญญะมีปัญญาอยู่เสมอยืนเดิน นั่งนอน อิริยาบถใดก็ตามเป็นผู้ที่ไม่ประมาทอยู่แล้วถ้าเรามีทั้งกลางวันทั้งกลางคืนมันก็สว่างหรือก่อนที่เราจะจำวัดกำหนดลมหายใจเข้าออก"พุทโธๆ" มีสตินึกว่าเราจะหลับไปสัก๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมงเราจะตัดสินว่าตอนต้นกับตอนปลายนั้นมันเหมือนกันเหมือนกับมันไม่หลับเพราะว่าจิตมันตื่นอยู่แล้วในเวลาต่อไปนี้ฝันมันก็จะไม่ฝันนะคนฝันมันตื่นมันจะฝันเป็นหรือนี่เราเคยนอนละเมอนอนกัดฟัน นอนกรน....อย่างนี้มันจะกรนไม่ได้หรอกพอจะกรนมันก็ตื่นแล้วเพราะมันตื่นอยู่แล้ว
เมื่อเราตื่นขึ้นมาจริงๆทีนี้รู้เสมอว่าจิตของเรานั้นเหมือนไม่ได้นอนคือมันรู้ตามลมหายใจเข้าออกอยู่เสมอจับลมนั้นเป็นอาจินต์ต่อไปก็จะรู้สึกแปลกตัวเองนอนเหมือนไม่ได้นอนไม่มีการหิวไม่มีการง่วงรู้ได้หมดทุกอย่างและไม่มีการฝันถ้าหากว่ามันจะฝันมันจะเป็น
"สุบิน"แจ้งข่าวยิ่งกว่าฝันเข้าไปอีก
มันใกล้เข้าไปมันจะเริ่มใกล้เข้าไปๆทุกทีๆ เราจะทำอยู่จนกว่ามันไม่ได้นอนมันก็ไม่ง่วงเมื่อเราอยากทำสมาธิพอสมควรแล้วเมื่อมันง่วงนอนมาปั๊บกำหนดเข้าปุ๊บความง่วงนอนหายเลยไม่มีใช้ได้อย่างนั้นความสงบของเราถ้ามันเป็นอย่างนั้นก็จะไม่เป็นอะไรมีสติเต็มเปี่ยมเมื่อนั่งสมาธิที่เรียกว่าอุปจารสมาธิหนึ่งขณิกสมาธิหนึ่งอัปปนาสมาธิหนึ่งมันมีอยู่ ๓อย่าง
"อุปจารสมาธิ"
นี่อย่างน้อยคือเรานั่งแล้วจะมีความปรุงแต่ง
อุปจาร
แปลว่าความเที่ยวไปของจิตมันไปอยู่ตรงนั้นมันไปคิดถึงอันนั้นแต่อยู่ในความสงบมันคิดอยู่ในความสงบมันคิดอยู่ในบ้านมันถ้าเป็นไก่มันก็จะเดินอยู่ในกรงไก่ไม่ได้เดินออกจากกรงไปเป็นอุปจารสงบอยู่ถ้าสงบไปมีความสงบยิ่งขึ้นกว่านั้นอีกถ้าสงบจริงๆนี่ชั่วขณะหนึ่งเป็น
"ขณิกสมาธิ"
อันนั้นเรียกว่าขณิกสมาธิมันสงบจริงๆชั่วขณะหนึ่งไม่นาน ออกจากนั่นก็ถอนออกมาอีกมันก็เที่ยวอุปจารมีขณิกอุปจารสมาธิมันสลับกันอยู่เรื่อยอย่างนี้แหละเป็นอยู่อย่างนั้นแหละแล้วไม่รำคาญมันสงบอยู่ไม่รำคาญ ไม่วุ่นวายเดินไปก็เดินอยู่ในวงรอบอยู่ในกรงของมันไม่ได้เดินออกนอกกรงไปนี่คืออุปจารมันเที่ยวอยู่ถึงเวลาปุ๊บก็เข้าไปอีกเงียบ สงบ สงบจริงๆแต่นิดเดียวเรียกว่าขณิกสมาธิสองอย่างนี้มันจะสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลาก็ช่างมัน เป็นอะไรก็ช่างมันดูมันอยู่นั่นทีนี้มันเที่ยวไปทีนี้มันสงบก็ดูมันอยู่อย่างนั้นแหละมันจะรู้จะเห็นขึ้นมาแล้วมันก็จะวิพากษ์วิจารณ์ของมันในตัว
เมื่อถูกธรรมะถูกจริตมันเข้าเวลาใดเวลาหนึ่งที่ความสงบความสงบเข้าไปในนั้นมันจะต่างจากอุปจารสมาธิมันจะต่างจากขณิกสมาธิต่างจากอุปจารสมาธิคือมันจะไม่เดินไปเที่ยวต่างจากขณิกสมาธิอย่างไรคือมันเข้าไปอยู่นานถ้ามันเข้าไปอยู่ที่นั่นทีนี้จิตมันเข้าไปอันตามที่ว่าจิตเข้าไปนี้ก็สมมุติว่าให้มันเปลี่ยนเสียเปลี่ยนจากอุปจารเสียเปลี่ยนเป็นขณิกสมาธิเสียเปลี่ยนจากขณิกสมาธิเป็นอุปจารสมาธิเสียคือมันเข้าไปนานเข้าไปอยู่นานสงบ เมื่อเรามีความสงบอยู่ในที่นั่นไม่มีเจ็บ ไม่มีปวดไม่มีง่วงเหงาหาวนอนอารมณ์ทางนอกจะส่งเข้าไปไม่ถึงถ้าเป็นแสงเทียนเราแสงตะเกียงเราก็เป็นการจุดแล้วเอาโป๊ะครอบตัวไฟที่อยู่ข้างในจะไม่พัดไปพัดมาไม่แกว่งไปแกว่งมาจะรุ่งโรจน์โชติการอยู่
ในเวลานั้นทำอย่างไรในเวลานั้นเตรียมสติไว้เตรียมสัมปชัญญะไว้ให้ดีแต่มันก็เตรียมของมันเต็มที่ละจึงเกิดเป็นเช่นนั้นได้ถ้ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้นไม่ได้เตรียมตัวมันหรอกอยู่นานไปถึงเวลามันก็จะเปลี่ยนสภาพออกมาเมื่อมันเปลี่ยนสภาพมันจะเกิดรู้เรื่องขึ้นมาเรื่องราวต่างๆรู้จักเรื่องของมันคืออย่างเราไปอยู่ในตู้ลมก็ไม่พัดไม่โบกเรามันเป็นสภาพหนึ่งทีนี้เราเปิดตู้ออกมาจะถูกแดดถูกลมอาการมันต่างกันเช่นนี้อันนี้เรียกว่าอุปจารปัญญามันจะเกิดที่นี่เกิดเพราะรู้จักเรื่องราวมากระทบมันจะได้วิพากษ์วิจารณ์อยู่นี่วิพากษ์วิจารณ์พอสมควรแล้วมันก็สงบเข้าไปอีกเย็นสบาย อันนี้ลืมรุ่งลืมสว่างสงบไปอันนี้ไม่ต้องสงสัยอย่าลืม แต่ว่าผู้ทำสมาธินั้นความเป็นจริงให้มันถึงขั้นนี้เสียก่อนอย่างน้อยอัปปนาสมาธิมันสงบนี่แปลก...หากไปถึงอัปปนาสมาธินั้นเราจะลืมไม่เป็นเพราะมันเกิดด้วยสันดานเจ้าของแล้ว...ลืมไม่ได้แม้จะตายมันก็ไม่ลืมเรื่องมันเข้ามานี่มันไม่ลืมสักทีไปที่ไหนก็ตามไม่ลืมอันนี้เป็นของตายตัวมันอยู่แล้วต่อจากนั้นไปมีแต่เรื่องของปัญญามันจะเกิดเรื่องธรรมะเรื่องอนิจจังเรื่องทุกขังเรื่องอนัตตาเราเห็นตามธรรมชาติความเป็นจริงของมันเสมอ
ทีนี้ต่อไปนี้มันจะเอาอารมณ์เป็นวิปัสสนาอารมณ์ของวิปัสสนาคืออะไร?คือเรื่องของอนิจจังทุกขัง อนัตตาอันนี้มันจะเกิดอยู่กับจิตของเราเช่นว่าวันนี้มันได้ความสุขมากก็พูดว่า "เออ!...อันนี้มันก็ไม่เที่ยงหรอกไม่แน่นอนเลย"แน่ะ...วันนี้มันวุ่นวายเหลือเกินเรื่องวุ่นวายนี้ก็ไม่แน่นอนวันนี้มันสงบเหลือเกินเรื่องสงบนี้ก็ไม่แน่นอนอย่าไปเข้าข้างมันสักอย่างหนึ่งมันจะเอาความสุขมาให้เราก็ดูเอาความทุกข์มาให้ก็ดูเอาความสงบมาให้ก็ดูเราดูแล้วก็รู้รู้ให้เหนือสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นอย่าไปยึดมั่นถือมั่นเมื่อเห็นปุ๊บ...จะชอบใจก็ช่างก็ให้พูดว่า"อันนี้ไม่แน่"อันนี้เป็นของไม่แน่นอนอย่างนี้มันจะเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาตลอดเวลาทั้งที่ไม่แน่นอนนี้นะมันจะเป็นเหตุว่าให้เราไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นด้วยความรู้เท่ามันเป็นอย่างนั้นว่าสุขมันก็แค่นั้นทุกข์มันก็แค่นั้น
"มันเป็นสักแต่ว่า"ไม่แน่นอนสักอย่างหนึ่งเลยจิตใจของเราในเวลานั้นมันจะมีอารมณ์อยู่ก็เพราะว่าวิปัสสนากัมมัฏฐานมันเป็นเรื่องของอนิจจังทุกขัง อนัตตาเมื่อมีเรื่องอนิจจังทุกขัง อนัตตาเต็มพื้นจิตของเราแล้วมันก็ไม่เข้าไปยืดมั่นถือมั่นก็เพราะว่าอันนั้นมันไม่แน่จะไปยึดมันทำไมอันนั้นมันไม่เที่ยงจะยึดมันทำไมความสุขเกิดขึ้นมาก็วางรู้ว่ามันไม่เที่ยงก็ต้องวางทุกข์เกิดขึ้นมารู้แล้วก็ต้องวางมันสงบเกิดขึ้นมารู้แล้วก็ต้องวางมันไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่งเลยนี่ปัญญามันเกิดเป็นวิปัสสนาไม่ใช่เอาที่อื่นหรอกมันเริ่มมาจากนั้นแหละเหมือนกันกับมะม่วงที่อาตมาเล่าให้ฟังมันเริ่มมาจากนั่นแหละมันสุกมันก็เริ่มมาจากผลเล็กๆน่ะแหละอย่าไปคว้าอย่างอื่นเลยอันนี้ให้หาอยู่ตรงนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-3-29 11:54
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทีนี้เมื่อวิปัสสนามันเกิดขึ้นความรู้ตามความเป็นจริงมันเกิดขึ้นทีละน้อยๆความสงสัยนั้นมันก็เริ่มหายไปเริ่มหายไปผลที่สุดความสงสัยนั้นมันก็ไม่มีจะเกิดสุข จะเกิดทุกข์จะเกิดอะไรต่างๆก็ช่างมันเถอะมันมีหลักฐานอยู่แล้วมันมีปัญญาแล้วนั่นนะไม่สงสัยแล้วจะอยู่ไปกี่วันมันก็ไม่สงสัยแล้วดูธรรมะในปัจจุบันที่มันเกิดมันดับเท่านั้นแหละอันนี้มันก็อยู่ด้วยความสงบเรียกว่า"วิปัสสนา" ไม่ใช่ว่าวิปัสสนา...อย่าไปถือว่าบัดนี้เราเป็นโสดาบันแล้วหรือยังเราเป็นอนาคามีแล้วหรือยังเราเป็นอรหันต์อย่าไปว่ามันบัดนี้เราได้ญาณอะไรอย่าไปว่ามันเลยญาณมันไม่มีกำหนดขอบเขตมันหรอก
ถ้าหากว่าเราหมดความสงสัยอยู่ด้วยความวางแล้วมีความสุขมาทุกข์มา ดีมาชั่วมา เราก็วางอาการวางนี้มันจะเป็นญาณอะไรก็ช่างมันเถอะมันสงบแล้วมันพ้นจากความวุ่นวายมันเป็นโลกุตรจิตแล้วมันไม่พัวพันอยู่ในโลกแล้วมันจะเป็นญาณอะไรหรือไม่ใช่ญาณอะไรก็ช่างมันเถอะมันเป็นอยู่อย่างนั้นพอแล้วลักษณะมันพอไม่หวั่นไหวแล้วอยู่ไปเพราะความรู้อยู่ไปเพราะความรู้เท่าตามความเป็นจริงมีความรู้ไม่ยึดความรู้นั่นอีกไม่ยึดอะไรทั้งหลายทั้งปวงความรู้ก็ไม่ยึดว่าไม่รู้ก็ไม่ยึดชั่วก็ไม่ยึดดีก็ไม่ยึดทางพระท่านว่าครั้งแรกเราสร้างความดีครั้งแรกเราสร้างความชั่วต่อมาเห็นความชั่วเป็นโทษก็เลิกมันเสียแล้วมาสร้างความดีขยันสร้างความดีละความชั่วแล้วเมื่อมันติดดีแล้วเมื่อไรแล้วชั่วมันก็ห่างไปๆแล้วเราก็มาสร้างความดีอันนี้อีกให้รู้จักมันถ้าไม่รู้จักดีก็ชั่วอีกเรามาสร้างความรู้สึกอย่างนี้ให้มันเหนือ...เหนือดีเหนือชั่ว ไอ้ดีนั้นมันก็เป็นโรคชั่วมันก็เป็นโรคไอ้ไม่ดีไม่ชั่วนั้นสร้างให้มีขึ้นมา
มันอยู่เหนือดีเหนือชั่วอยู่ด้วยความรู้แล้วเราก็ไม่ยึดมันอันนี้ก็เรียกว่า"มันสงบ"
อยู่ไปได้รับความรู้ขนาดนั้นมันจะไม่สงสัยอะไรแล้วไม่ต้องสงสัย
"อนิจจัง"
เป็นสิ่งที่สำคัญมากอนิจจังไม่มีตัวมีตนแต่มีตัวมีตนของเรานั้นมันมีอยู่ร่างกายอนิจจังมันก็บอกอยู่แล้วตัว
"รูปธรรม"
มันบอกมันไม่แน่นอน
"นามธรรม"
ความรู้สึกมันก็ไม่แน่นอน
อนิจจังเป็นทั้งรูปทั้งนามนั่นแหละรู้อยู่ รู้อยู่อย่างนั้นเมื่อเราเห็นอันนี้เป็นอนิจจังในเวลานั้นเราก็เข้าใกล้ธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว
เริ่มจะเกิดปัญญาแล้วถ้าใครสนใจเรื่องอนิจจัง
พิจารณาเรื่องอนิจจังมันไม่แน่นอนมันไม่เที่ยงไม่แน่นอนเมื่อเราเห็นอนิจจังไม่แน่นอนจริงๆคือว่ามันไม่เที่ยงมันจะกลับตระบัดไปอีกทีหนึ่ง
ความแน่นอนก็อยู่ในอนิจจังนั่นเองความเที่ยงที่สุดมันก็อยู่ในอนิจจังนั่นเอง
ฉะนั้นเรื่องอนิจจังนี้จึงเป็นธรรมะอันหนึ่งที่ช่วยให้เราเกิดปัญญาฉะนั้นจึงว่าผู้ที่เห็นอนิจจังนี้จึงพบพระพุทธเจ้าหรือพูดง่ายๆก็คือว่า
"ตัวอนิจจัง"นี้แหละเป็นตัวพระพุทธเจ้า
เข้าไปถึงอนิจจังแล้วก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นเมื่อถึงการปล่อยวางแล้วมันก็ถึงความสงบเมื่อเป็นเช่นนี้เราก็กราบพระพุทธเจ้าเราก็ใกล้พระพุทธเจ้า
คือเราเข้าใกล้ธรรมะที่เรียกว่าอนิจจังอนิจจังก็เหมือนพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าก็เหมือนอนิจจังเห็นอนิจจังแล้วก็เห็นพระพุทธเจ้าให้มันเป็นวงกลมอาตมาเข้าใจทันทีเลย
วงกลมนั้นคือความรู้สึกความรู้สึกมีอยู่นั่นก็คือความมี"สติ" สตินั้นเป็นวงกลมไม่ขาดสาย
เมื่อมีสติอยู่ก็รู้จักทุกอย่างอาการจิตของเราที่มันจะเกิดขึ้นมานั่นที่สุดของมันมีเวลานะก็เราอยู่อาศัยวงกลมนั่นอยู่มีสติอยู่มีสัมปชัญญะอยู่แล้วมันก็รอบรู้อยู่แล้วมันจะเป็นศีลเป็นสังวรสำรวมอยู่ในเวลานั้น...ถ้าเรามีสติอยู่ถ้าเราไม่มีสติอยู่เราก็ไม่รู้จักรู้มันรู้ข้างนอกไม่รู้ในสติมันรู้ไปอย่างอื่นซะถ้าอยู่ในวงกลมอันนี้มันรู้สติสติรู้ขึ้นมารู้ผิดรู้ถูกอะไรก็ตามถ้าเรารู้จักมันแล้วทำจนเป็นวงกลมอันนี้ความฉลาดมันจะเกิดขึ้นมาเพราะเราสังวรสำรวมอยู่อย่างนี้
เมื่อเราทำความเข้าใจว่าบัดนี้เราทำสมาธินั่งสมาธิ เมื่อไปถึงที่อื่นเราหลุดจากสมาธิพูดง่ายๆ สมาธิมันจะเป็นสองอย่างนะโยมนะ
เรานั่งสมาธิคือความสงบนี่มันจะเป็นสมาธิองค์ของฌาณเพราะมันนิ่งอิริยาบถนี้มันละเอียด.
ที่มา
http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/chahthai/Sati_Samadhi_Pannya.html
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...