ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2097
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ตามดูจิต

[คัดลอกลิงก์]
ตามดูจิต



บัดนี้ เป็นโอกาสที่พวกเราทั้งหลายจะได้มีการอบรมธรรมปฏิบัติกัน พระบรมศาสดาท่านกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ว่าบุคคลที่ยังไม่ได้รับการอบรมปฏิบัติก็จะไม่เข้าใจในธรรมไม่เข้าใจในธรรม-ชาติที่มันเป็นอยู่หรือในสัญชาตญาณที่คู่กับเรามาแต่เกิดธรรมชาติอันนี้หรือสัญชาตญาณอันนี้มันเกี่ยวข้องกันกับชีวิตของเราตลอดเวลาเราจะเรียกว่าของที่มันเป็นอยู่ก็ได้เรียกว่าสัญชาตญาณก็ได้มันมีความเฉลียวฉลาดอยู่ในนั้นซึ่งช่วยป้องกันรักษาตัวมันเองมาตลอดสัตว์ทุกจำพวกเมื่อเกิดมามันต้องรักษามันแหละการรักษาตัวปกป้องชีวิตป้องกันอันตรายทั้งหลายแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตนี้เหมือนกันหมดเช่น สัตว์ดิรัจฉานมันก็กลัวอันตรายแสวงหาความสุขเหมือนกันกับสัญชาตญาณมนุษย์เราอันนี้ท่านเรียกว่าเป็นธรรมชาติหรือสัญชาตญาณจะมารักษาตัวมันตลอดเวลาธรรมชาตินั่นเองธรรมชาติเรื่องกายหรือเรื่องจิตใจ
เราจะต้องมารับการอบรมใหม่เปลี่ยนใหม่
ถ้าหากว่าเรายังไม่ได้อบรมบ่มนิสัยก็คือยังเป็นของที่ไม่สะอาดยังเป็นของที่สกปรกเป็นจิตใจที่เศร้าหมองเหมือนกันกับต้นไม้ในป่าซึ่งมันเกิดมามันก็เป็นธรรมชาติถ้าหากว่ามนุษย์เราต้องการจะเอามาทำประโยชน์ดีกว่านั้นก็ต้องมาดัดแปลงสะสาง ธรรมชาติอันนี้ให้เป็นของที่ใช้ได้เช่น โต๊ะนี้หรือบ้านเรือนของเรานั้นเกิดจากเราสามารถเอาธรรมชาติมาทำเป็นที่อยู่ที่อาศัยเปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติอันนั้นมามนุษยชาตินี้ก็เหมือนกันต้องมาปรับเปลี่ยนใหม่ในทางพุทธศาสนาเรียกว่าพุทธศาสตร์
พุทธศาสตรคือความรู้ในทางพุทธศาสนาสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของพวกเราทั้งหลายซึ่งมันติดแน่นอยู่ในอันใดอันหนึ่งเช่น เราเกิดมามีชื่อเสียงเรียงนามมาตั้งแต่วันเกิดเช่นว่า เรียกว่าตนตัวเรา ของเรานี้สมมุติกันขึ้นมาว่าร่างกายของเราจิตใจของเราซึ่งสมมุติชื่อขึ้นมาจากธรรมชาตินั่นเองพวกเราทั้งหลายก็ติดแน่นอยู่ในตัวเราหรือในของของเราเป็นอุปาทานโดยที่ไม่รู้เนื้อรู้ตัวเป็นอย่างนี้ในทางพุทธศาสนานั้นท่านสอนให้รู้ยิ่งเข้าไปกว่านั้นอีกทำจิตใจให้สงบให้รู้ยิ่งเข้าไปยิ่งกว่าธรรมชาติที่มันเป็นอยู่จนเป็นเหตุให้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตนอันนี้พูดตามชาวโลกเราว่าตัวว่าตนว่าเราว่าเขาทางพุทธศาสนานั้นท่านเรียกว่าตัวตนเราเขาไม่มีนี่คือมันแย้งกันมันแย้งกันอยู่อย่างนี้ตัวเราหรือของเราซึ่งพวกเราเข้าใจกันตั้งแต่เราเกิดมาจนรู้เดียงสาจนเกิดเป็นอุปาทานมาตลอดจนทุกวันนี้อันนี้ก็เป็นเครื่องปกปิดธรรมอันแท้จริงอันพวกเราทั้งหลายไม่รู้เนื้อรู้ตัวฉะนั้นในทางพุทธศาสนาท่านจึงให้มาอบรม
การอบรมในทางพุทธศาสนานั้นเบื้องแรกท่านว่าให้เป็นคนซื่อสัตย์สุจริตตามบัญญัติท่านเรียกว่าให้พากันรักษา.ศีล..เป็นเบื้องแรกเสียก่อนนี่ข้อประพฤติปฏิบัติจนเป็นเหตุไม่ให้เกิดโทษไม่ให้เกิดทุกข์ทางกายและทางวาจาของเราอย่างที่เราทั้งหลายอบรมกันอยู่ให้อายและกลัวทั้งอายทั้งกลัวอายต่อความชั่วทั้งหลายอายต่อความผิดทั้งหลายอายต่อการกระทำบาปทั้งหลายรักษาตัวกลัวบาปเมื่อจิตใจของเราพ้นจากความชั่วทั้งหลายพ้นจากความผิดทั้งหลายใจเราก็เยือกเย็นใจเราก็สบายความสบายหรือความสงบอันเกิดจากการประพฤติปฏิบัติซึ่งไม่มีโทษนั่นก็เป็น..สมาธิ..ขั้นหนึ่ง
ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสว่า...สพฺพปาปสฺสอกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทาสจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธานสาสนํ.ท่านว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา
สพฺพปาปสฺสอกรณํ การไม่ทำบาปทางกายทางวาจา คือการไม่ทำผิดทำชั่วทางกาย ทางวาจาอันนี้เป็นตัวศาสนาเป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายหรือเอตํ พุทธานสาสนํ
กุสลสฺสูปสมฺปทาเมื่อมาทำจิตของตนให้สงบระงับจากบาปแล้วก็เป็นจิตที่มีกุศลเกิดขึ้นมาเอตํ พุทธานสาสนํอันนี้ก็เป็นคำสอนของท่านหรือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาเหมือนกัน
สจิตฺตปริโยทปนํการมาทำจิตใจของตนให้ผ่องใสขาวสะอาดเอตํพุทธานสาสนํอันนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าหรือเป็นหัวใจของพุทธศาสนาอีกประการหนึ่ง
ทั้งสามประการนี้เป็นหัวใจพุทธศาสนาก็ประพฤติปฏิบัติอันนี้ซึ่งมันมีอยู่ในตัวเราแล้วกายก็มีอยู่วาจาก็มีอยู่จิตใจก็มีอยู่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงให้ปฏิบัติให้พิจารณาตัวในตัว ในของตัวซึ่งมันมีอยู่ของทั้งหมดที่เราศึกษาเราเรียนกันนั้นมันจะมารู้ความเป็นจริงอยู่ที่ตัวของเราไม่ไปรู้อยู่ที่อื่น
เบื้องแรกก็รู้จากการได้ฟังที่เรียกว่า.สุตมยปัญญาการได้ฟังการได้ยินอันนี้ก็เป็นเหตุให้รู้เป็นเหตุให้เกิดปัญญาเช่นว่า สมมติว่าวันนี้เราเพิ่งได้ยินว่าสีขาวแต่ก่อนนี้เราไม่เคยได้ยินทีนี้เมื่อเรารู้ว่าสีขาวมันเป็นเช่นนี้เราก็คิดไปอีกสีอื่นจะไม่มีหรือหรือสีขาวจะแปรเป็นสีอื่นจะได้หรือไม่เป็นต้น นี่เรียกว่า..จินตามยปัญญาหรือว่าเราคิดไปก็ไปคิดลองดูเอาสีดำมาปนในสีขาวมันก็เกิดเป็นสีอื่นขึ้นมาอีกเป็นสีเทาอย่างนี้เป็นต้นการที่เราจะได้รู้จักสีเทาต่อไปนั้นก็เพราะว่าเราคิดปัญญาเกิดจากการคิดการวิพากษ์วิจารณ์เราเลยรู้สูงขึ้นไปกว่าสีขาวรู้สีเทาเพิ่มขึ้นไปอีกปัญญาเกิดจากสิ่งทั้งสองนี้
นี้เป็นปัญญาที่เป็นโลกียวิสัย.ซึ่งชาวโลกพากันเรียนอยู่ทั้งเมืองไทย.จะไปเรียนนอกมาก็ตามมันก็คงอยู่ในสุตมยปัญญาจินตามยปัญญาเท่านี้.อันนี้เป็นโลกียวิสัยพ้นทุกข์ไม่ได้พ้นทุกข์ได้ยาก.หรือพ้นไม่ได้เลยทีเดียวเพราะเมื่อรู้สีขาวสีเทาแล้วก็ไปยึดมั่น(อุปาทาน) ในสีขาวสีเทาอันนั้นแล้วจะปล่อยวางไม่ได้เช่นว่าเราเกิดอารมณ์ขึ้นมาได้ยินเขาว่าเราไม่ดีเรียกว่านินทาอดเสียใจไม่ได้อดน้อยใจไม่ได้เข้าไปยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน) ในอารมณ์อันนั้นเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะอุปาทานนี้เรียกว่าการรู้หรือการเห็นจากการได้ฟังมันจะพ้นทุกข์ไม่ได้หรือว่าเขาสรรเสริญเรามันอดดีใจไม่ได้แล้วก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในความดีนั้นอีกไม่ได้ตามปรารถนาแล้วก็ทุกข์อีกสุขแล้วก็ทุกข์ทุกข์แล้วก็สุขดีแล้วก็ชั่วชั่วแล้วก็ดีเป็นตัววัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนแปรไปไม่จบอันนี้เป็นโลกียวิสัยเช่นที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้แหละพวกเราทั้งหลายก็เคยรู้เคยเห็นวิชาในโลกอันนี้เราเคยรู้เคยเห็นจะเรียนไปถึงที่สุดอะไรที่ไหนก็ตามมันก็ยังทุกข์เอาทุกข์ออกจากตัวไม่ได้นั่นเป็นปัญญาโลกีย์ละทุกข์ไม่ได้ไม่พ้นจากทุกข์ความร่ำรวยเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีที่อยู่ในโลกนี้มันก็ไม่พ้นจากความทุกข์เพราะมันเป็นโลกียวิสัยปัญญาทั้งสองประการนี้ท่านยกให้โลกปกครองกันอยู่ในโลกวุ่นวายกันอยู่ในโลกไม่มีทางจบถึงแม้จะจนมันก็ทุกข์ถึงแม้จะรวยแล้วมันก็ยังทุกข์อยู่อีกไม่พ้นไปจากทุกข์


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-27 10:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ปัญญาโลกุตตระที่จะเกิดขึ้นมาต่อไปเป็นความรู้ของพุทธศาสนาซึ่งเป็นโลกุตตระพ้นจากทุกข์พ้นจากวัฏฏสงสารอันนี้ท่านพูดถึงการอบรมจิตใจ(ภาวนา) ไม่ต้องอาศัยการฟังไม่ต้องอาศัยการคิดถึงฟังมาแล้วก็ดีถึงคิดมาแล้วก็ดีเมื่อภาวนาทิ้งมันทิ้งการฟังไว้ทิ้งการคิดเสียเก็บไว้ในตู้แต่มาทำจิต(ภาวนา) อย่างที่พวกเรามาฝึกกันอยู่ทุกวันนี้หรือเรียกว่าทำกรรมฐานที่โบราณาจารย์ทั้งหลายท่านแยกประเภทส่วนแห่งการกระทำแยกข้อประพฤติปฏิบัติเรียกว่า สมถกรรมฐานและ วิปัสสนากรรมฐาน
สมถวิปัสสนาเป็นแนวทางที่ให้พวกเราทั้งหลายปฏิบัติให้เป็นโลกุตตรจิตให้พ้นจากวัฏฏสงสารเช่นว่าเรานั่ง ไม่ต้องฟังและไม่ต้องคิดตัดการฟัง ตัดการคิดออกและยกส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นพิจารณาเช่น เกสา โลมานขา ทันตา ตโจหรือเรายกอานาปา-นสติคือ หายใจเข้านึกว่า.พุทหายใจออกนึกว่า.โธ.ในเวลาที่เราทำกรรมฐานอยู่นั้นในเวลาที่เรากำหนดลมอยู่นั้นท่านไม่ให้ส่งจิตไปทางอื่นให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียวออกไปแล้วเข้ามาเข้ามาแล้วก็ออกไปไม่ต้องอยากรู้อะไรมากไม่ต้องอยากเห็นอะไรต่อไปให้จิตของเรารู้เฉพาะลมที่มันเข้าหรือมันออกเรียกว่าการกำหนดลมเป็น.อานาปานสติ..การกำหนดลมนี้บางคนกำหนดไม่ได้การกำหนดลมเราจะต้องเอาสภาวะที่มันเป็นอยู่หายใจเข้า ยาวหายใจออก สั้นเท่าไร อันนั้นไม่เป็นประมาณเป็นประมาณที่ว่ามันสบายอย่างไรหายใจแรงหรือมันค่อยหรือมันยาวหรือมันสั้นเราจะต้องทดลองหายใจดูมันถูกจริตที่ตรงไหนมันสบายอย่างไรลมไม่ขัดข้องจะกำหนดลมก็สบายสะดวก ตัวอย่างเช่นเราฝึกเย็บผ้าด้วยจักรเราก็ควรเอาจักรมาลองเอาเท้าเราถีบจักรเข้าถีบจักรเปล่ายังไม่ต้องเย็บผ้าให้มันชำนาญเสียก่อนเมื่อเท้าเราชำนาญพอสมควรแล้วค่อยเอาผ้ามาใส่เย็บไปพิจารณาไปการกำหนดลมหายใจนี้เหมือนกันก็หายใจเบาๆเสียก่อนไม่ต้องกำหนดอะไรมันยาว มันสั้นมันหยาบ มันละเอียดมันสบายอย่างไรอันนั้นเป็นจริตของเราความพอดีของมันนั้นไม่ยาว ไม่สั้นพอดี เรากำหนดเอาอันนั้นเป็นประมาณนี้เรียกว่าให้กรรมฐานถูกจริตแล้วค่อยๆ ปล่อยลมออกไปแล้วก็สูดลมเข้ามาเราจะกำหนดว่าเมื่อลมเข้ามาต้นลมอยู่ปลายจมูกกลางลมอยู่หทัยปลายลมอยู่สะดือเมื่อเราหายใจออกต้นลมอยู่สะดือกลางลมอยู่หทัยปลายลมอยู่จมูกให้เรากำหนดอย่างนี้เสียก่อนแล้วก็สูดลมเข้าผ่านปลายจมูกหทัย สะดือ เมื่อออกตั้งต้นสะดือหทัย ปลายจมูกเป็นต้น ทำอยู่แต่อย่างนี้แหละไม่ต้องสนใจอื่น
เมื่อเวลาเราทำ(สมถ) กรรมฐานคือกำหนดลมไม่ต้องพิจารณาอะไรเอาสติประคองจิตของเราให้รู้ตามลมเข้าออกเท่านั้นไม่ต้องสนใจอย่างอื่นไม่ต้องพิจารณาอย่างอื่นลมก็สบายไม่ขัดข้องลมเข้าก็สบายลมออกก็สบายเอาความรู้สึกที่เรียกว่าสติ สติตามลมส่วนสัมปชัญญะก็รู้อยู่ว่าสติเราตามลมขณะที่เรากำลังทำอยู่นั้นมีสติแล้วก็มีลมมีสติตามลมเราจะมองดูในที่อันนั้นเราจะรู้ลมเห็นลม ว่ามันยาวสั้นประการใดเห็นลมและมีสติอยู่ว่าเรารู้ลมแล้วก็เห็นจิตของเราตามลมเห็นทั้งลมเห็นทั้งสติเห็นทั้งจิต๓ ประการรวมกันหายใจเข้าก็รวมหายใจออกก็รวมรู้สึกอยู่อย่างนี้มันจะเป็นอะไรบ้างต่อไปอย่าคิดไป มันจะมีอะไรบ้างต่อไปอย่าคิดไป ทำอย่างนี้มันจะดีจะเป็นอย่างไรต่อไปไม่ต้องคิดเรียกว่ากำหนดลมเข้าออกสบายเมื่อหากว่าจิตของเรากำหนดอารมณ์กับลมหายใจถูกแล้วมันจะไม่ขัดข้องลมก็ไม่ขัดข้องผู้รู้ก็ไม่ขัดข้องทุกอย่างทุกส่วนไม่ขัดข้องเราเพียงแต่รู้อันเดียวเท่านั้นแหละคือรู้แต่เพียงลมหายใจเข้าออกคือกำหนดรู้ว่าต้นลมคือจมูกกลางลมคือหทัยปลายลมคือสะดือเมื่อลมมันถอนออกมาต้นลมอยู่สะดือกลางลมอยู่หทัยปลายลมอยู่จมูก๓ ประการนี้เรานั่งพิจารณากำหนดรู้อยู่เช่นนั้นให้มันรู้ทั้ง๓ นี้เสมอ เรียกว่าเรามีสติเต็มที่ของเรามีผู้รู้ควบคุมสติอันนั้นอยู่เต็มที่เช่นนี้เรียกว่าเราทำ(สมถ) กรรมฐานจนกว่าจิตเรามันสงบ
เมื่อจิตเราสงบกายมันก็เบาใจมันก็เบาลมมันก็ละเอียดเมื่อเรามีลมอันละเอียดแล้วก็ไม่ต้องตามลมเพราะการตามลมเข้าไปมันเป็นอารมณ์หยาบเมื่อไม่อยากจะตามเสียแล้วเอาสติกำหนดที่ปลายจมูกของเรานี้พอแต่รู้ว่ามันเข้าพอแต่รู้ว่ามันออกเท่านี้ก็พอแล้วจิตสบาย กายก็เบาใจสงบ ลมก็ละเอียดอันนี้จิตเป็นสมาธิรู้ตามลมอย่างเดียวเมื่อมันละเอียดเต็มที่เข้าไปนั้นมันจะเกิดความละเอียดขึ้นมาในใจของเราอีกลมที่เรากำหนดอยู่นี้มันจะหายไปมันจะไม่มีลมที่จริงมันมีอยู่หรอกแต่มันละเอียดที่สุดจนกำหนดไม่ได้ก็เลยเกิดเป็นคนไม่มีลมนั่งเฉยๆ อยู่นึกว่าไม่มีลมตอนนี้พระโยคาวจรเจ้ามักจะตกใจกลัวว่าเราไม่มีลมกลัวว่าเราจะเป็นอะไรไปถ้าลมไม่มีแล้วจะเอาอะไรเป็นอารมณ์ต่อไปอีกเราจะต้องเอาความรู้สึกว่าลมไม่มีนั่นแหละเป็นอารมณ์ต่อไปไม่เป็นโทษไม่เป็นอันตรายเราทำจิตของเราให้รู้ว่าไม่มีลมเข้าไปถึงกาลถึงเวลาแล้วเป็นเองอันนี้ไม่ต้องกลัวไม่ต้องสะดุ้งจะเป็นไปอย่างไรก็ตามก็รู้ รู้ใจของเราที่มันเป็นอย่างไรกำหนดจิตเข้าไปว่ารู้อย่างไรจะไม่มีอันตรายแต่อย่างใดอันนี้เป็นอารมณ์ของการกระทำจิตให้สงบ(สมถะ) เบื้องแรก
พูดถึงความสงบ(สมถะ) พอมันสงบแล้วก็มีส่วนที่มันไม่สงบมาปะปนเข้าเช่นว่า เราเพิ่งมาฝึกจิตของเราเดือนหนึ่ง๑๐ วัน ๕ วันโดยมากมันก็ยังไม่สงบถ้ามันไม่สงบนั้นไม่ต้องน้อยใจมันเป็นเรื่องธรรมดาของมันเรื่องจิตอันนี้มันจะอยู่นิ่งๆในที่ของมันไม่ได้หรอกบางทีมันมีอาการคิดอย่างโน้นคิดอย่างนี้ในขณะอยู่ในที่สงบอันนั้นแหละบางคนก็จิตไม่สงบจิตฟุ้งซ่านใจก็ไม่สบายใจเขาก็ไม่ดีเพราะว่าจิตไม่สงบอันนี้เราต้องพิจารณาด้วยปัญญาของเราเรื่องไม่สงบอันนั้นเพราะเราไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันเท่านั้นเองถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้วอันนั้นสักแต่ว่าอาการของจิตจริงๆแล้วจิตมันไม่ฟุ้งไปอย่างนั้นเช่นว่า เรารู้ความคิดแล้วว่าบัดนี้เราคิดอิจฉาคนนี้เป็นอาการของจิตแต่เป็นของไม่จริงมันไม่เป็นความจริงเรียกอาการของจิตมันมีตลอดเวลาถ้าหากว่าคนไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันแล้วก็น้อยใจว่าจิตเราไม่อยู่นิ่งจิตเราไม่สงบอันนี้เราต้องใช้การพิจารณาอีกทีหนึ่งให้มันเข้าใจเรื่องของจิตนั้นนะมันเป็นเรื่องของอาการของมันแต่ที่สำคัญคือมันรู้ รู้ดีมันก็รู้รู้ชั่วมันก็รู้รู้สงบมันก็รู้รู้ไม่สงบมันก็รู้อันนี้คือตัวรู้พระพุทธเจ้าของเราท่านให้ตามรู้ตามดูจิตของเรา
จิตนั้นคืออะไรจิตนั้นอยู่ที่ไหนทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่เราก็คงรู้ตัวของเราความรู้ที่มันรู้นี่มันรู้อยู่ที่ไหนจิตนี้ก็เหมือนกันจิตนี้คืออะไรมันเป็นธรรมชาติหรือเป็นสัญชาตญาณอันหนึ่งที่มันมีอยู่อย่างที่เราได้ยินอยู่เดี๋ยวนี้แหละมันมีความรู้อยู่ความรู้นี้มันอยู่ที่ไหนในจิตนั้นมันเป็นอย่างไรทั้งความรู้ก็ดีทั้งจิตก็ดีเป็นแต่ความรู้สึกผู้ที่รู้สึกดีชั่วเป็นสักแต่ว่าความรู้สึกรู้สึกดีหรือชั่วรู้สึกผิดหรือถูกคนที่รู้สึกนั่นแหละเป็นคนรู้สึกตัวรู้สึกมันคืออะไรมันก็ไม่คืออะไรถ้าพูดตามส่วนแล้วมันเป็นอยู่อย่างนี้ถ้ามันรู้สึกผิดไปก็ไปทำผิดมันรู้สึกถูกก็ไปทำถูกฉะนั้นท่านจึงให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาเรื่องจิตของเรานั้นมันเป็นอาการของจิตเรื่องมันคิดมันคิดไปทั่วแต่ผู้รู้คือปัญญาของเราตามรู้ตามรู้อันนั้นตามเป็นจริง
ถ้าเราเห็นอารมณ์ตามเป็นจริงของเราแล้วมันก็เปลี่ยนไปอีกประเภทหนึ่ง(วิปัสสนากรรมฐาน)เช่นว่า เราได้ยินว่ารถทับคนตายเป็นต้นเราก็เฉยๆ ความรู้ชนิดนี้มันก็มีแต่มันรู้ไม่เห็นรู้ไม่จริงรู้ด้วยสัญญา(ความจำ) ขนาดนี้มันรู้อย่างนี้ทีนี้ถ้าหากว่าเดินไปดูซิรถมันทับคนตายที่ไหนไปเห็นร่างกายคนนั้นมันเละหมดแล้วอันความรู้ครั้งที่สองนี้มันดีขึ้นเพราะมันไปเห็นเห็นอวัยวะที่ถูกรถทับมันเกิดสลดเกิดสังเวชความรู้ที่เห็นด้วยตามันมีราคายิ่งกว่าเขาว่าเมื่อเราไปเห็นทุกสิ่งอันนี้มันเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตาไม่แน่ไม่นอนในร่างกายเรานี้ไม่เป็นแก่นเป็นสารไม่สดไม่สวยความรู้สึกนึกคิดมันค้นในเวลานั้นมันก็เกิดปัญญา(วิปัสสนา) เป็นเหตุให้ถอนอุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)ออกได้ เรียกว่าความรู้สึกอันนี้มันสูงขึ้นสูงขึ้นๆ ต้องพิจารณาเช่นนี้
การทำกรรมฐานถ้าไม่รู้จักแล้วก็จะลำบากบางคนก็ไม่เคยทำเมื่อมาทำวันสองวันสามวันมันก็ไม่สงบมันก็เลยนึกว่าเราทำไม่ได้เราต้องคิดว่าเมื่อเราเกิดมาเคยถูกสอนหรือยังเราเคยทำความสงบหรือเปล่าเราปล่อยมานานแล้วไม่เคยฝึกเคยหัดมันมาฝึกมันชั่วระยะหนึ่งอยากให้มันสงบอย่างนั้นเหตุมันไม่พอผลมันก็ไม่มีเป็นเรื่องของธรรมดาเป็นเรื่องอันตัวเราท่านทั้งหลายจะหลุดพ้นต้องอดทน การอดทนเป็นแม่บทของการประพฤติ
ให้เห็นกายให้เห็นใจ เมื่อรู้จักธรรมตามความเป็นจริงแล้วนั่นความที่เรายึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน) แต่ก่อนๆมันจึงจะผ่อนออกเห็นตามความเป็นจริงของมันอุปาทานมั่นหมายในความดีความชั่วทั้งหลายมันจะคลายออกคลายออก เห็นว่ามันเป็นอนิจจังเป็นทุกขังเป็นอนัตตาเป็นของไม่แน่ไม่นอน"ที่มันเกิดมีในจิตของเราทุกวันนี้นั้นลองดูซิ ความรักมันแน่ไหมความเกลียดมันแน่ไหมมันก็ไม่แน่ความสุขมันแน่ไหมมันก็ไม่แน่ความทุกข์มันแน่ไหมมันก็ไม่แน่.อันไม่แน่นั้นเรียกว่าของไม่จริงเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตาเมื่ออันนี้มันไม่จริงของจริงมันอยู่ที่ไหนของจริงอยู่ที่มันเป็นอยู่อย่างนั้นมันไม่เที่ยงอยู่อย่างนั้นเป็นทุกข์อยู่อย่างนั้นมันจริงแต่สักว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอันนี้คือความจริงความจริงอยู่ตรงที่มันไม่จริงอันความเที่ยงอยู่ตรงที่มันไม่เที่ยง..เหมือนกันกับของสกปรกมันเกิดมีขึ้นความสะอาดอยู่ตรงไหนมันอยู่ตรงที่สกปรกนั่นแหละเอาสกปรกออกก็เห็นความสะอาดฉันใดจิตใจของเรานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น
การประพฤติปฏิบัตินี้บางคนปัญญามันน้อยบางคนปัญญามันมากไม่ทันกัน ไม่เห็นเหมือนกันอย่างเราจะไปพบวัตถุอันหนึ่ง๒ คนหรือ ๓ คนไปพบแก้วใบหนึ่งบางคนก็เห็นว่ามันสวยบางคนจะเห็นว่ามันไม่สวยบางคนจะเห็นว่ามันโตไปบางคนจะเห็นว่ามันเล็กไปนี่ทั้งๆ ที่แก้วใบเดียวกันนั่นเองทำไมไม่เหมือนกันแก้วใบนั้นมันเหมือนของมันอยู่แต่ความเห็นของเรามันไม่เหมือนกันมันเป็นเช่นนี้ฉะนั้นมันจึงไม่เหมือนกันอยู่ที่ตรงนี้การประพฤติปฏิบัติทางพุทธศาสนานี้ก็เหมือนกันพระพุทธเจ้าท่านสอน.อย่าให้มันช้าอย่าให้มันเร็วทำจิตใจให้พอดีการประพฤติปฏิบัตินี่ไม่ต้องเดือดร้อนถ้ามันเดือดร้อนเราก็ต้องพิจารณาเช่นว่าเราจะปลูกต้นไม้ต้นหนึ่งขึ้นมาต้นไม้ที่จะปลูกนั้นก็มีอยู่ก็ขุดหลุม ก็ปลูกเอาต้นไม้มาวางลงหลุมนั้นก็เป็นหน้าที่ของเราจะมูนดิน จะให้ปุ๋ยจะให้น้ำ จะรักษาแมลงต่างๆก็เป็นเรื่องของเราเป็นหน้าที่ของเราคนจะทำสวนต้องทำอย่างนี้ทีนี้เรื่องต้นไม้มันจะโตเร็วโตช้าของมันนั้นน่ะมันไม่ใช่เรื่องของเรามันเป็นเรื่องของต้นไม้ถ้าเราไม่รู้จักหน้าที่การงานของตัวแล้วมันก็ไปทำงานหน้าที่ของต้นไม้มันก็ทุกข์ไม่ทำงานหน้าที่ของเราหน้าที่ของเราก็ให้ปุ๋ยมันไปให้น้ำมันไปรักษาแมลงไม้ไปเท่านี้ ส่วนต้นไม้จะโตเร็วโตช้าเป็นเรื่องของต้นไม้ถ้าเรารู้จักหน้าที่การงานของเราเช่นนี้ภาวนา (ฝึกจิต)ก็สบาย ถ้าเราคิดเช่นนี้การปฏิบัติของเราก็สบายง่าย สะดวก ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-27 10:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นั่งมันสงบก็ดูความสงบไปที่มันไม่สงบก็ดูความไม่สงบไปที่มันสงบนั้นมันก็เป็นเรื่องของจิตมันเป็นอย่างนั้นที่มันไม่สงบมันก็เป็นเรื่องของมันอย่างนั้นไม่ได้เป็นอย่างอื่นมันสงบแล้วมันก็สงบไป ถ้าไม่สงบก็ไม่สงบไปเราจะไปทุกข์เพราะมันไม่สงบไม่ได้เราจะไปดีใจเพราะจิตสงบมันก็ไม่ถูกเราจะไปเสียใจเพราะจิตมันไม่สงบก็ไม่ถูกเหมือนกันเราจะไปทุกข์กับต้นไม้ได้หรือไปทุกข์กับแดดได้หรือไปทุกข์กับฝนได้หรือไปทุกข์กับอย่างอื่นได้หรือมันเป็นเรื่องของมันอยู่อย่างนั้นถ้าเราเข้าใจเช่นนี้แล้วการภาวนาของพระโยคาวจรนั้นก็สบายแล้วเดินทางเรื่อยๆไปปฏิบัติไป ทำธุระหน้าที่ของเราไปเวลาพอสมควรเราก็ทำของเราไปส่วนมันจะได้จะถึงหรือมันสงบนั้นก็เป็นวาสนาบารมีของเราเหมือนกับชาวสวนปลูกต้นไม้หน้าที่ของเราใส่ปุ๋ยก็ใส่มันไปรดน้ำก็รดมันไปรักษาแมลงก็รักษามันไปเรื่องต้นไม้จะโตเร็วโตช้าไม่ใช่เรื่องของเราเป็นเรื่องของต้นไม้ละปล่อยทั้งสองอย่างนี้รู้จักหน้าที่ของเรารู้จักหน้าที่ของต้นไม้มันถึงเป็นชาวสวนที่มีความสดชื่นดีฉันใดผู้มีปัญญาผู้ที่ภาวนาในพุทธศาสนานี้ก็เหมือนกันฉันนั้นพอจิตคิดเช่นนี้ความพอดีมันตั้งขึ้นมาเองพอความพอดีมันตั้งขึ้นมาก็เลยเป็นปฏิปทาปฏิปทาที่พอดีเกิดขึ้นมาความเหมาะสมมันก็เกิดขึ้นมาอารมณ์เหมาะสมมันเกิดขึ้นมาความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้นมาแล้วมันเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้วเป็นสัมมาปฏิปทาปฏิบัติไม่หย่อนปฏิบัติไม่ตึงปฏิบัติไม่เร็วปฏิบัติไม่ช้าจิตใจปล่อยไปตามสภาวะของมันอันนั้นคือภาวนาสงบแล้วสบายแล้ว
ความรู้สึกนึกคิดของเราไปมีอุปาทานมั่นหมายมันขึ้นเมื่อไรมันก็เป็นทุกข์เมื่อนั้นฉะนั้น ในการประพฤติปฏิบัติท่านจึงให้ปล่อยวางเช่นว่าเราอยู่ด้วยกันหลายๆคนนี้นะต่างบ้านต่างตระกูลต่างตำบล ต่างจังหวัดที่มารวมๆกันนี้ถ้าเรารู้คนในนี้ในศาลานี้ให้สบายแล้วภาวนาเราก็สบายเรื่องคนนี้ก็ให้คนนี้เรื่องคนนั้นก็ให้คนนั้นให้คนละคนละคนเรื่อยๆไปเราก็สบาย เรื่องทุกสิ่งทุกอย่างก็ปล่อยไปไม่ต้องไปวิพากษ์วิจัยเรื่องคนอื่นไม่ต้องไปวิพากษ์วิจัยเรื่องนอกกายนอกใจเราแล้วมันก็เกิดความสงบเกิดความสบายขึ้นมาเพราะความรู้ตามเป็นจริงเกิดขึ้นมา
เราต้องการธรรมไปทำไมต้องการธรรมไปเพื่อรู้ตามความเป็นจริงเท่านั้นเองถึงแม้มันจะจนถึงแม้มันจะรวยถึงแม้มันจะเป็นโรคถึงแม้มันจะปราศจากโรคจิตใจก็อยู่อย่างนั้นเองเช่นว่าวันหนึ่งตัวเรามันไม่สบายขึ้นมาจะเห็นชัดในจิตของเราว่ามันก็นึกกลัวตายกลัวมันจะไม่หายใจก็ไม่สบายเกิดขึ้นมาแล้วความไม่สบายเกิดขึ้นมาแล้วคือไม่อยากจะตายอยากให้มันหายอันนี้เห็นแง่เดียวตามธรรมชาติของมันแล้วถ้ามันเกิดป่วยขึ้นมาเกิดอาพาธขึ้นมาเราก็รู้ว่าเป็นก็เป็นตายก็ตาย หายก็หายไม่หายก็ไม่หายถ้าเราคิดได้เช่นนี้มันเป็นธรรมเอาทั้งสองอย่างนั่นแหละหายก็เอามันไม่หายก็เอามันเป็นก็เอามันตายก็เอามันอันนี้ถูก แต่ว่ามันจะมีสักกี่คนนั่งฟังธรรมอยู่นี่มีกี่คนป่วยมาแล้วตายก็ตาย หายก็หายมีกี่คนก็ไม่รู้ที่มันอยากจะหายไม่อยากจะตายอันนี้มันคิดผิดเพราะมันกลัวเพราะมันไม่เห็นธรรมมันจึงทุกข์ถ้าเห็นสังขารร่างกายแล้วไม่ว่ามันละหายก็หาย ตายก็ตายเอาทั้งสองอย่างไม่เอามันก็ต้องได้อะไรสักอย่างจนได้
เมื่อเรารู้จักธรรมเช่นนี้รู้จักสังขารเช่นนี้เราก็พิจารณาตามสังขารว่ามันเป็นอย่างนั้นนี่กรรมฐานมันตั้งขึ้นมาแล้วมันพ้นทุกข์อย่างนี้เองไม่ใช่ว่ามันไม่ตายไม่ใช่ว่ามันไม่เจ็บไม่ใช่ว่ามันไม่ไข้อันเรื่องเจ็บเรื่องไข้มันเรื่องของสังขารเป็นไปตามเรื่องของมันถึงคราวมันจะตายไม่อยากตายเท่าไรมันก็ตาย ถึงคราวมันจะหายไม่อยากจะให้หายมันก็หาย อันนี้มันไม่ใช่ธุระหน้าที่ของเราแล้วมันเป็นธุระหน้าที่ของสังขารถ้าเราภาวนาเห็นเช่นนี้จิตมีอารมณ์เห็นเช่นนี้ทุกขณะจิตก็ปล่อยวางสบาย
การภาวนานั้นไม่ใช่ว่านั่งหลับตาภาวนาอย่างเดียวการภาวนานั้นตลอดเวลาการยืน การเดินการนั่ง การนอนให้มีสติประคับประคองอยู่เสมอเลยทีเดียว
บัดนี้มีความทุกข์เกิดขึ้นมาแล้วก็ทวนดูซิ อันนี้มันก็ไม่แน่นอนหรอกเรื่องมันไม่จริงทั้งนั้นน่ะเราต้องเตือนอยู่เช่นนี้เมื่อมันมีสุขเกิดขึ้นมาแล้วสุขนี้มันก็ไม่แน่เหมือนกันนั่นแหละเคยสุขมาแล้วมันก็เป็นอย่างนั้นแหละเดี๋ยวมันก็ทุกข์เดี๋ยวมันก็สุขเป็นของไม่แน่นอนทั้งนั้นถ้าเราเห็นอารมณ์เมื่อใดถูกอารมณ์ขึ้นมาเมื่อใดมันจะดีใจ เราก็ต้องบอกมันเตือนมัน ว่าความดีใจมันก็ไม่แน่นอนหรอกเป็นแต่ความไม่จริงทั้งนั้นแหละมันหลอกลวงทั้งนั้นเมื่อความทุกข์เกิดขึ้นมาก็ว่ามันไม่แน่นอนเป็นสิ่งที่หลอกลวงทั้งนั้นแหละเป็นความรู้สึกเท่านั้นแหละความเป็นจริงแล้วความสุขหรือความทุกข์นั้นไม่มีมันมีแต่ความรู้สึกรู้สึกว่าสุขรู้สึกว่าทุกข์ถ้ามีความชอบใจก็รู้สึกว่าสุขไม่ชอบใจก็รู้สึกว่าทุกข์ตัวสุขตัวทุกข์จริงๆมันไม่มีมันเป็นแต่เพียงแต่ความรู้สึกถ้าเราคิดได้เช่นนี้เราก็เห็นของปลอมตลอดเวลารู้จักอารมณ์อารมณ์อันนี้ก็ไม่ต้องว่าไปสอบอารมณ์การภาวนาไม่ต้องไปสอบอารมณ์เมื่อเรามีสติตลอดเวลาทุกวันทุกนาทีมันจะรู้จักอารมณ์เมื่อเราทำผู้รู้ให้ตื่นอยู่เสมอแล้วมันจะเห็นสุขหรือทุกข์ชอบไม่ชอบ จะเห็นอยู่ตลอดเวลามันจะทวนลงไปทีเดียวว่ามันไม่แน่..สุขเกิดขึ้นมาอันนี้ก็ไม่แน่นอนเหมือนกันอย่าไปหมายมั่นมันเลยทุกข์เกิดขึ้นมาเราก็ว่าเลยว่าอันนี้มันก็ไม่แน่เหมือนกันนะมันแน่อยู่ตรงไหนเล่ามันแน่อยู่ตรงที่มันไม่แน่มันเป็นอยู่อย่างนั้นเองอันนี้เป็นเหตุให้สุขทุกข์และอารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีกำลังเสื่อม เมื่อสิ่งทั้งหลายนี้มันเสื่อมไปอุปาทาน (ความยึดมั่น)ของเราก็น้อยก็ปล่อยวางนี่เป็นเรื่องของธรรมชาติเรื่องของธรรมดาเช่นนี้
ฉะนั้นจิตใจของเรามันจะได้มาก็เป็นเรื่องธรรมดาของมันมันจะเสียหายไปก็เป็นเรื่องของมันมันจะสุขก็เป็นเรื่องของมันมันจะทุกข์ก็เป็นเรื่องของมันเรื่องของสังขารมันเป็นอยู่อย่างนั้นอันนี้เป็นสักแต่ว่าเรารู้สึกเท่านั้นอื่นนั้นก็ไม่มีฉะนั้นท่านจึงสอนให้โอปนยิโกคือให้น้อมเข้ามาใส่ตัวอย่าน้อมออกไปน้อมเข้ามาให้เห็นด้วยตัวของเรานี้ทางที่ดีสำหรับคนที่อ่านที่ศึกษามามากแล้วจะมาอยู่มาภาวนาเพียงสองสัปดาห์เท่านี้น่ะอาตมาเห็นว่าไม่ต้องดูต้องอ่านหนังสือเอาเข้าตู้เสียถึงเวลาเราทำกรรมฐานนั่งสมาธิของเราเราก็ทำไป อานาปานสติทำไปเรื่อยๆขณะที่เราเดินจงกรมเราก็เดิน ให้รู้จิตของเราเท่านั้นแหละรักษาจิตของเราบางทีความหวาดความสะดุ้งมันเกิดขึ้นมาเราก็ทวนมันอีกอันนี้เป็นของไม่แน่นอนเรื่องความกล้าหาญเกิดขึ้นมาอันนี้มันก็ไม่แน่นอนเหมือนกันไม่แน่ทั้งหมดนั่นแหละไม่รู้จะจับอะไรนี่ทำปัญญาให้เกิดเลยทีเดียวทำปัญญาให้เกิดไม่ใช่รู้ตามสัญญา(ความจำ) รู้จิตของเราที่มันคิดมันนึกอยู่นี้มันคิดนึกทั้งหมดเกิดขึ้นมาในใจของเรานี้แหละจะดีหรือชั่วจะถูกหรือผิดรับรู้มันไว้อย่าไปหมายมั่นมันเออ...ทุกข์มันก็เท่านั้นแหละสุขมันก็เท่านั้นแหละมันเป็นของหลอกลวงทั้งนั้นแหละเรายืนตัวอยู่เช่นนี้เลยยืนตัวอยู่เสมอเช่นนี้ไม่วิ่งไปกับมันไม่วิ่งกับสุขไม่วิ่งกับทุกข์รู้อยู่ รู้แล้วก็วางอันนี้ปัญญาจะเกิดทวนจิตเข้าไปเรื่อยๆ
เวลาเรามีไม่มากเรามาฝึกจิตก็ต้องดูจิตดูอาการของจิตลองดูจิต ให้เห็นจิตเราอย่าไปยึดมั่นถือมั่นถือมั่นก็เห็นสุขเป็นของจริงสุขเป็นเราสุขเป็นของเราทุกข์เป็นเราทุกข์เป็นของเรามันคิดเช่นนี้แต่ความเป็นจริงนี้สุขสักแต่ว่าสุขไม่ใช่เราไม่ใช่เขาไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาทุกข์นี้ก็ไม่ใช่เราไม่ใช่เขาตัวคนที่รู้ทุกข์หรือสุขนี้ก็ไม่ใช่เราไม่ใช่เขาถ้าเราเห็นเช่นนี้ก็ไม่มีอะไรจะเกาะเกิดสุขขึ้นมาสุขก็เกาะเราไม่ได้เกิดทุกข์ขึ้นมาทุกข์ก็เกาะเราไม่ได้ทำไมไม่ได้เพราะว่ามันไม่แน่เป็นของปลอมทั้งนั้นเป็นของไม่แน่นอนถ้าเราคิดเช่นนี้จะภาวนาได้เร็วจะยืนจะเดิน จะนั่งจะนอนจะไปจะมาทุกอย่างจิตกำหนดอยู่เสมอให้รู้มีอารมณ์มันเข้ามาตาเห็นรูป หูได้ยินเสียงจมูกดมกลิ่นลิ้นลิ้มรสอะไรต่างๆนี้มันจะเกิดความชอบไม่ชอบขึ้นมาทันทีมันจะเกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นมาทันทีอันนี้เราเรียกว่าอ่านดูจิตมันจะเห็นจิตเพราะมันเกิดจากจิตดวงเดียวเท่านี้มันจะให้สุขมันให้ทุกข์ทุกอย่างเกิดจากจิตถ้าเราตามดูจิตของเราอยู่เช่นนี้มันจะเห็นกิเลสมันจะเห็นจิตของเราสม่ำเสมอเลยทีเดียวอันนี้แหละคือการภาวนา
บางคนเมื่อมาภาวนาตอนเย็นก็นั่งสมาธิเดินจงกรม ก็นึกว่าเขาได้ภาวนาแล้วยังไม่ใช่เท่านี้ความเป็นจริงการภาวนาคือสติติดต่อกันให้เป็นวงกลมตลอดเวลาให้มีสติอยู่สม่ำเสมอให้รู้ให้เห็นให้เห็นอาการที่มันเกิดขึ้นมาในจิตของเราเห็นเกิดขึ้นมาอย่าไปยึดมั่นอย่าไปหมายมั่นปล่อยมัน วางมันไว้เช่นนี้ปฏิบัติเช่นนี้เร็ว เร็วมากมีแต่เห็นอารมณ์เท่านั้นแหละอารมณ์ที่ชอบอารมณ์ที่ไม่ชอบทุกวันนี้เราทุกคนน่ะไม่รู้จักกิเลสตัณหามีคนๆเดียวนั่นละที่มันหลอกตัวอยู่วันยังค่ำดูซิ เราเกิดมามีอะไรไหมก็คนๆเดียวนั่นแหละมันมาให้เราหัวเราะอยู่ที่นี่ร้องไห้อยู่ที่นี่โศกเศร้าอยู่ที่นี่วุ่นวายอยู่นี่แหละมันก็คือคนๆเดียวกันถ้าเราไม่พิจารณาไม่ตามดูแล้วยิ่งไม่รู้จักมันมันก็เกิดทุกข์อยู่ตลอดเวลาได้มาก็เคยเสียอยู่เสียแล้วก็เคยได้มาอยู่ก็พลอยสุขกับมันทุกข์กับมันยึดมั่นหมายมั่นกับมันตลอดเวลาอยู่เช่นนี้เพราะไม่ดูมันไม่พิจารณาของทั้งหลายนี้ไม่ได้อยู่ที่อื่นมันอยู่ที่ตัวเราถ้าเราพิจารณาที่ตัวเราอยู่เช่นนี้เราจะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าของเรา
ต้นไม้ทุกต้นเปรียบเหมือนมนุษย์ก้อนหินทุกก้อนเปรียบเหมือนมนุษย์สัตว์ทุกสัตว์ในป่าในทุ่งก็ดีมันก็เหมือนกับเราไม่แปลกกับเรามีสภาวะอันนี้อันเดียวกันมีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นแล้วก็มีความแปรในท่ามกลางแล้วก็มีความดับไปในที่สุดเหมือนกันทั้งนั้นฉะนั้นเราไม่ควรยึดมั่นหรือถือมั่นอะไรทั้งหลายแต่ว่าเราต้องใช้มันอยู่เช่น กระติกน้ำใบนี้เขาเรียกว่ากระติกเราก็เรียกว่ากระติกกับเขาเพราะว่าเราจะมีความเกี่ยวข้องกับกระติกน้ำอยู่ตลอดเวลาเขาเรียกกระติกก็เรียกกับเขาเขาเรียกกระโถนก็เรียกกับเขาเขาเรียกจานก็เรียกกับเขาเขาเรียกถ้วยก็เรียกกับเขาแต่เราไม่ติดอยู่กับถ้วยไม่ติดอยู่กับจานไม่ติดอยู่กับกระโถนไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่ในนั้นนี่เรียกว่าเราภาวนารู้จักตัวเราและก็รู้จักของของเรารู้จักตัวเราแล้วก็ไม่ทุกข์เพราะตัวเรารู้จักของของเราแล้วก็ไม่ทุกข์กับของของเราอันนี้เพราะเราทำกรรมฐานปัญญามันจะเกิดขึ้นอย่างนี้มันจะเห็นไปตามสภาวะมันเองทุกๆอย่าง.อันนี้เป็นลกุตตร-ปัญญาปัญญาเกิดจากการภาวนา(ภาวนามยปัญญา)มันพ้นจากโลกียวิสัยเมื่อจิตสงบรวมกำลังจิตตรงที่นั้นเกิดรู้ เกิดเป็นญาณขึ้นมาเป็นความรู้โลกุตตระอันนั้น
ความรู้โลกุตตระอันนี้.พูดให้ก็ไม่รู้เรื่อง.อกฺขาตาโรตถาคตา ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกคือพระพุทธเจ้าบอกให้ได้แต่ว่าทำให้ไม่ได้เรื่องการประพฤติปฏิบัติมันเป็นเช่นนั้นฉะนั้น อดทนแล้วก็เพียรอดทนแล้วก็เพียรสอบอารมณ์เรื่อยๆไปถึงคราวเราทำความเพียรเราก็ทำไป ทำสมาธิเราก็ทำไปออกจากสมาธิก็พิจารณาเห็นมดก็พิจารณาเห็นสัตว์อะไรก็พิจารณาเห็นต้นไม้พิจารณาทุกอย่างเหมือนเราทุกอย่างน้อมเข้ามาหาตัวเราเหมือนเราทั้งนั้นอย่างใบไม้มันจะหล่นลงไปใบไม้มันจะขึ้นมาใหม่ต้นไม้มันจะใหญ่ต้นไม้มันจะเล็กอะไรทั้งหลายเหล่านี้มันล้วนแต่เกิดปัญญาทั้งนั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอะไรมันทั้งนั้นเมื่อจิตเรารู้จักการปล่อยวางเช่นนี้แล้วก็จะเกิดความสงบความสงบไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์มันสงบ เรียกว่าได้ความพอดีเหมาะสมด้วยความรู้สึกนึกคิดของเรานั้นเรียกว่าเป็นธรรม

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-27 10:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ผู้ที่ฝึกแล้วก็จะพอมองเห็นผู้ที่ยังไม่เคยฝึกนี้มันก็เป็นของที่ลำบากสักนิดหนึ่งเราอย่าไปน้อยใจมันอย่าไปตกใจมันมันก็เหมือนนักเรียนนั่นแหละเพิ่งเข้าโรงเรียนจะให้เขียนหนังสือได้อ่านหนังสือได้เขียนหนังสือให้มันสวยงามมันก็ไม่ได้อาศัยการฝึกอาศัยการกระทำอาศัยการประพฤติอาศัยการปฏิบัติแล้วมันก็เป็นไปการตั้งไว้ในใจของผู้ประพฤติปฏิบัตินี้ให้เอาชนะตัวเองไม่ต้องเอาชนะคนอื่นให้สอนตัวเองไม่ต้องพยายามสอนคนอื่นให้มากที่สุดเดินไปก็ให้สอนตัวเองทั้งนั้นนั่งก็ให้สอนตัวเองได้ทุกอย่างให้มีในตัวของเราอยู่เสมอเรียกว่าสติสตินั้นแหละเป็นแม่บทของผู้เจริญกรรมฐานสติอันนั้นเมื่อมันมีความรู้สึกขึ้นปัญญาก็จะวิ่งมาถ้าสติไม่มีปัญญาก็เลิกไม่มี ฉะนั้นจงพากันตั้งใจถึงแม้ว่าเราจะมีเวลาน้อยก็ช่างมันเวลาน้อยก็ยังเป็นอุปนิสัยยังเป็นปัจจัยอย่างอื่นจะหาเป็นที่พึ่งอย่างพุทธศาสนานี่ไม่มีมันจบอยู่ตรงนี้ไปไหนก็ไม่จบแต่พุทธศาสนาทำให้มันจบอยู่ตรงนี้
ถ้าเราไม่เห็นเดี๋ยวนี้ต่อไปก็ต้องเห็นถ้าเราพิจารณาเช่นนี้ต่อๆไปยังเป็นคนใหม่ประพฤติใหม่ปฏิบัติใหม่ก็ยังไม่เห็นก็เหมือนกับเราเป็นเด็กเรายังไม่เห็นสภาพของคนแก่ทำไมไม่เห็นล่ะฟันเราก็ยังดีอยู่ตาเราก็ยังดีอยู่หูเราก็ยังดีอยู่ร่างกายเราก็ยังดีอยู่ไม่รู้จักคนแก่แต่ต่อไปเมื่อเราเป็นคนแก่เราจะรู้จักใครจะบอก สังขารมันจะบอกฟันมันจะโยกนี่แก่แล้วตามันจะไม่สว่างหูมันจะตึง สภาวะร่างกายมันจะเจ็บปวดไปหมดนี่คนแก่มันเป็นอย่างนี้ใครมาบอกสังขารนี้บอกเองถ้าเราพิจารณาอยู่คือ สัญชาตญาณมันมีอยู่เช่นพวกปลวกหรือแม้ผึ้งผึ้งใครไปสอนมันเมื่อมันทำรังมันมีลูกมันทำรังกันสวยๆถ้ามันแก่มันก็ออกไปเป็นรังใหม่ลูกๆผึ้งมันก็ไปทำรังกันใหม่ใครไปสอนมันมันทำรังกันสวยๆนกก็เหมือนกันตามป่านะ โดยเฉพาะนกกระจาบนกกระจอก มันทำรังกันสวยๆใครไปบอกมันเมื่อมันโตมันก็บินจากพ่อแม่มันไปมันก็ไปทำรังเหมือนพ่อแม่มันใครจะไปบอกมันปลวกก็เหมือนกันใครจะไปบอกมันสัญชาตญาณมันมีมันทำเองของมันสัญชาตญาณอันนี้ที่มีอยู่ในใจของเรานี้เราก็ไม่รู้ตัวเราถ้าเราไม่มาเรียนรู้ธรรมก็ไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ความเป็นจริงคนทุกๆคนมันอยากจะมีความสุขและมันอยากจะดีทุกๆคนนั่นแหละแต่มันทำดีไม่เหมือนกันมันตามหาความสุขไม่เหมือนกันมันต่างกันเพราะปัญญา
สัญชาตญาณที่มันมีอยู่ในใจเรานั้นเราไม่รู้จักมันมันปกปิดอย่างสนิทอย่างชนิดไม่รู้ไม่เห็นเมื่อธรรมชี้ไปมันจึงจะเห็นเช่นว่าเรานั่งอยู่นี่ร่างกายของเราทุกส่วนนี่โดยสภาพแล้วพระพุทธเจ้าท่านว่าไม่มีชิ้น ไม่มีอะไรมันจะสวยมันจะสะอาดเลยท่านตรัสอย่างนี้ไม่สวยไม่สะอาด และไม่เป็นแก่นเป็นสารด้วยเราก็ยังไม่เห็นเรานึกว่าอันนี้มันสวยอยู่อันนี้มันสะอาดอยู่อันนี้มันดีอยู่ทำไมมันเป็นอย่างนั้นเล่าของไม่สวยแต่มันเห็นว่าสวยของไม่สะอาดทำไมมันเห็นว่าสะอาดของไม่เป็นแก่นสารทำไมเห็นว่าเป็นแก่นเป็นสารของนี้ไม่ใช่ตัวของเราทำไมมันจึงเข้าใจว่าเป็นตัวของเราอันนี้มันก็มืดอยู่พอแล้วมันน่าจะเห็นนี่ธรรมชาติอันนี้มันก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนเราจริงๆมันจะเจ็บจะไข้เมื่อไรก็เจ็บก็ไข้มันจะตายเมื่อไรมันก็ตายมันไม่ห่วงเราทั้งนั้นแหละอันนี้เราก็ยังไม่เห็นมันมันน่าจะเห็นทำไมไม่เห็นล่ะนี้มันก็มืดพออยู่แล้วที่มันไม่เห็นนี่น่ะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราได้แยกสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ออกมาจนจิตของท่านเห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเห็นจริงๆชัดๆไม่ใช่สัญญา(ความจำ) สังขารร่างกายมันจะเป็นไปอย่างไรก็ให้มันเป็นไปตามเรื่องของมันท่านเห็นเช่นนั้นการกำหนดพิจารณาเรียก .ภาวนากรรมฐาน...เพื่อให้มันเห็นขนาดนั้นมันยังไม่ค่อยจะเห็นอันใดไม่สวยก็เห็นว่ามันสวยอันใดมันไม่เป็นแก่นเป็นสารมันก็เห็นว่าเป็นแก่นเป็นสารนี่จิตมันไม่ยอมมันจึงไม่เห็นท่านก็ว่าเยาว์คือจิตมันเป็นเด็กอยู่จิตมันยังเยาว์อยู่จิตมันยังไม่เติบจิตมันยังไม่โตเช่นนั้นพระพุทธศาสนานี้ท่านสอนส่วนจิตให้จิตเป็นคนเห็นถ้าจิตมันเห็นแล้วจิตมันรู้ของมันแล้วไม่ต้องเป็นห่วงเรียกว่าการภาวนาเป็นฉะนั้นจึงค่อยๆทำค่อยๆประพฤติปฏิบัติไม่ใช่ว่าจะเอาวันสองวันสามวันให้ได้ให้เห็น



เมื่อวานซืนนี่มีนักศึกษาได้มาปรึกษาจะไปนั่งภาวนากรรมฐานนั่งสมาธิ มันไม่สบายมันไม่สงบ มาหาหลวงพ่อชาร์จแบตเตอรี่ให้ไม่ได้หรือนี่อันนี้มันต้องพากันพยายามพยายามทำไปเรื่อยๆคนอื่นบอกมันไม่รู้จักมันจะต้องไปพบด้วยตนเองไม่ต้องเอาทีละมากหรอกเอาน้อยๆ แต่เอาทุกวันนั่งสมาธิทุกวันแล้วก็เดินจงกรมทุกวันมันจะมากหรือน้อยเราก็ทำทุกๆวันแล้วก็เป็นคนที่พูดน้อยแล้วก็ดูจิตของตัวเองตลอดเวลาเมื่อดูจิตของตัวเองอะไรมันจะเกิดขึ้นมาแล้วมันจะสุขหรือมันจะทุกข์อะไรเหล่านี้ก็บอกปัดปฏิเสธมันเสียว่าเป็นของไม่แน่นอนเป็นของหลอกลวงทั้งนั้น
ผู้ที่เรียนศึกษามากๆนั้นนะมันเป็นด้วยสัญญาไม่ใช่ปัญญาสัญญาเป็นความจำปัญญาเป็นความรู้เท่าทันมันไม่เหมือนกันมันต่างกันบางคนจำสัญญาเป็นปัญญาถ้าปัญญาแล้วไม่สุขกับใครไม่ทุกข์กับใครไม่เดือดร้อนกับใครไม่เป็นทุกข์เป็นร้อนกับจิตที่มันสงบหรือไม่สงบถ้าสัญญาไม่ใช่อย่างนั้นนะมันเกิดความยึดมั่นถือมั่นเป็นทุกข์เป็นร้อนไปตามอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น

ที่มา http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/chahthai/Seeing_the_Mind.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้