ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1850
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ทางให้เกิดปัญญา

[คัดลอกลิงก์]
ทางให้เกิดปัญญา



พระเณรทุกคนที่เข้ามามาเพื่อที่จะรับฟังเพื่อจะเรียนรู้สิ่งต่างๆคงจะไม่แบกทิฏฐิเข้ามาในวัดแบกมาแล้วก็คงจะไม่เอามาใช้ในสถานที่เช่นนี้เช่นว่ามาอยู่ที่นี่กิจบางอย่างเช่นกรรม การกระทำบางอย่างผมยกไว้ก่อนเพื่อจะดูว่าควรหรือไม่วัตรของอาคันตุกะหรืออาจริยวัตรก็ต้องดูก่อนเราตั้งใจจะขอนิสสัยเพื่ออยู่เสมออาจริยวัตรอย่าให้ทันทีก็ต้องรอดูกันก่อนต้องให้รู้เรื่องกันก่อนแจกอาหาร บิณฑบาตฉันกันธรรมดาแยกไว้เพื่อให้รู้จักท่านกำชับวัตรของเจ้าอาวาสอย่ารีบให้นิสสัยอาคันตุกะเร็วต้องรู้เรื่องกันก่อนว่าเราตั้งใจอยู่ปฏิบัติต่างพอใจซึ่งกันและกันต่างคนต่างดูว่าควรหรือไม่?ชอบไหม?มีความเห็นพ้องกันหรือไม่จึงค่อยให้นิสสัยและขอนิสสัยเป็นธรรมดาอย่างนั้น
พยายามถอนสิ่งที่จะขัดข้องในการปฏิบัติเป็นเหตุปฏิบัติดำเนินไปช้าเราควรเสียสละสิ่งไม่จำเป็นเช่นของใช้สอยการเสพติดบางอย่างในวัดไม่ทำถ้าเรามาทำกันก็ลักหลั่นกันการกินหมากในสมัยก่อนผมพิจารณาดูแล้วไม่มีอะไรไม่ติดกัน ถ้ามีมาก็ใช้เล็กๆน้อยๆแล้วเลิกเสียก็ดีสิ่งที่ดีเป็นวินัยเรารักษาได้ก็จะทำให้เราแปลกออกไปในสิ่งที่ควรผู้ที่เป็นหัวหน้าควรจะทำเพื่อชักจูงศรัทธาญาติโยมอะไรที่ไม่มีก็พยายามทำให้น้อยให้ง่าย การขบฉันนี้ก็เหมือนกันถ้ามีพระมากก็ตัดภาระลงไปให้ง่ายเข้า
เป็นเรื่องจำเป็นจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ คิลานะเภสัชเราต้องอาศัยถ้าเรายังไม่ตายปัจจัยสี่เราต้องอาศัยปัจจัยสี่นี้ไม่เฉพาะพระเรานะทางฆราวาสก็มีเช่นกันถ้ายังมีชีวิตอยู่ก็ต้องอาศัย
พระเราจะออกจากความวุ่นวายมันก็แปลกกันอย่างจีวรก็แปลกเขาท่านให้ใช้ผ้าสามผืนย้อมผ้าฝาดแก่นขนุนสีเดียวจะไปไหนก็เท่านี้นี่เรียกว่าผู้มักน้อยจริงๆไม่เหมือนฆราวาสเขามีหลากสีหลายอย่างบิณฑบาตก้อนข้าวที่เป็นอาหารที่บริโภคเพื่อยังชีวิตให้เป็นอยู่อันนี้ก็ต่างกับโยมก้อนข้าวที่เราฉันเข้าไปต้องเป็นกาลเวลาโยมเขาวันหนึ่งไม่รู้จักกี่มื้อทุกอิริยาบถก็ได้ไปไหนก็ได้ ไม่ว่ากลางคืนกลางวันได้ทั้งนั้น
เราเป็นคนมักน้อยย่อเข้ามาเพราะอะไรเพราะเครื่องปัจจัยเหล่านี้พวกเราอาศัยผู้อื่นเลี้ยงถ้าเลี้ยงยากก็ลำบากผู้อื่นทำให้หมดศรัทธาเสนาสนะก็ใช้หลังเล็กๆยาบำบัดโรคพิสดารท่านให้ใช้น้ำมูตรเน่าดองสมอ
เราเพื่อจะถอนตัวออกจากความวุ่นวายจะต้องทิ้งการสนุกสนานเขานั้นชอบสนุกสงบแล้วไม่สบายเขาจึงหาเรื่องสนุกสนานวุ่นวาย จึงต่างกันในทางที่ดีแล้วให้รู้จักตนของตนดีกว่าว่านี่เราเป็นพระเราจะเดิน พูดกิน อย่างฆราวาสไม่ได้จะต้องพิจารณาว่าบัดนี้เราเป็นอะไร?คิดอะไรอยู่ไหม?อยู่ทีเดียว
ต้องมีสติสติเป็นหัวหน้าที่จะจูงผู้ประพฤติปฏิบัติให้รู้จักทางมันแลดูซับซ้อนตรงที่คนมาทำกันเรื่องความจริงนั้นมันไม่มีเรื่องอะไรซับซ้อนมากมายนักตรงไปตรงมาอย่างง่ายๆ
พูดง่ายๆมันก็ง่ายพูดให้ยากมันก็ยากขึ้นเช่นว่า ลักษณะอาการที่จะต้องปฏิบัติมันครบแล้วพวกเรามีรูปมีนามมาครบแล้วเช่นอายตนะสังวรสำรวมหูตาจมูกลิ้นกายใจเท่านั้นไม่ให้ยินดียินร้ายเวลาสัมผัสอินทรียสังวรอินทรีย์คือผู้เป็นใหญ่ในการนั้นๆเช่นตาก็เป็นผู้ใหญ่ในการเห็นปฏิบัติจนอินทรีย์แก่กล้าจนรู้จักรับอารมณ์รู้อารมณ์รู้เรื่องของอารมณ์นั้นเท่าถึงกันเป็นอินทรีย์กล้าละกิเลสได้ หายไปเรียกว่าอินทรีย์ตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ
จิตแต่ละอย่างๆนั้นมันเกิดขึ้นมาแล้วเป็นใหญ่ไม่ให้ยินดียินร้ายในสิ่งนั้นเพราะว่าถ้ายินดียินร้ายเราก็หลงเราทำไปอย่างนี้จนกว่าเราจะรู้จักตาหู จมูก ลิ้นกาย ใจ นั่นมันมียินดีไหม?ยินร้ายไหม?ถ้ายินดียินร้ายมันก็หลงถ้าสภาวะอันนี้เป็นอารมณ์อย่างนี้ก็เข้าใจว่าหลงอยู่หลง
อย่าเพลินอย่าเมาไปตามมันเลยทำไมถึงจะรู้?รู้ซิ เพราะมันเป็นใหญ่ปฏิบัติต้องรู้อย่างนี้ไม่ใช่ว่าปฏิบัติไม่รู้ตาเป็นใหญ่ในการเห็นรูปหูไม่ได้เห็นในสิ่งที่จะเห็นรูปและรู้สึกมันยินดีไหม?ยินร้ายไหม?มันส่งถึงใจมีความรู้สึกเป็นตัวอุปาทานทำให้เกิดอะไรขึ้นมานั่นเราก็ต้องรู้อย่างนี้ท่านจึงบอกว่าอปัณณกะหลักที่สำคัญคือข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดถ้าเรากระทบทั้งตาหู จมูก ลิ้นกาย ใจ
มันไม่ยินดียินร้ายนั่นแหละคือเราไม่เป็นทาสอารมณ์นั่นแหละคือเราไม่หลงอารมณ์ไม่ต้องหลงรูปเรามีการสังวรสำรวมอยู่อย่างนี้เรียกว่ามีการสอบอารมณ์ของเราไม่ต้องให้ใครสอบเพราะของเหล่านี้มีอยู่ในเราหมดแล้วของที่เรามีอยู่แล้วนี้ไม่จำเป็นจะต้องให้ผู้อื่นลำบากแก่เราเราควรสอบเอาเองซิที่มันกระทบมาแล้วมันยินดีไหม?เออ...มันยังยินดีอยู่มันยังยินร้ายอยู่เพราะอะไร? หาเอาเองซิเรารู้มาแล้วว่าอารมณ์นี้มันเป็นอย่างนี้เราหลงอารมณ์แล้วนี่เราจะสอบอารมณ์ของเราแก้ซิทำไมมันยินดี?เพราะอะไร? ต้องดูซิเพราะเราทำความเข้าใจว่าอันนั้นเราชอบอุปาทานมันเกิดเราก็เข้าใจอันนั้นดีเพราะเราปรุงแต่งขึ้นมาเราชอบจึงดีอันนั้นเราไม่ชอบปรุงแต่งไปก็ไม่ยินดีเป็นของร้ายมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นที่ดีหรือร้ายเราเอาเข้าไปใส่ในตรงนั้นแต่ความจริงอารมณ์มันไม่อะไรมันเป็นกับบุคคลที่ไปหมายมั่นยึดมั่นมันถ้าดีก็ยึดว่ามันดีร้ายก็ยึดว่ามันร้ายเหมือนโลกนี้โลโกนี้ มันเป็นปกติของมันอยู่อย่างนี้เราว่ามันไม่ดีหรือว่าเราว่ามันดีสารพัดอย่างโลกมันก็เฉยมันเป็นปกติของมันอยู่ตัวเราเองนี่ซิไม่เป็นปกติเดี๋ยวชอบอันนี้เดี๋ยวชอบอันนั้นเดี๋ยวนินทาอันนี้อย่างนี้นะเราเองเสือกไสไปยึดมั่นถือมั่นอย่างนั้น
ฉะนั้นจะปฏิบัติในที่สงบให้รู้จักว่าอันนี้คือสอบอารมณ์จนกว่าที่ตาหู จมูก ลิ้นกาย ใจ มันสัมผัสอารมณ์มาแล้วทุกอย่างมันจะวางตัวเป็นกลางๆไม่ยินดียินร้ายนี่ เพราะอะไร?ถ้ายินดีก็ไม่ถูกมันจะนำทุกข์มาให้เราถ้ายินร้ายก็ไม่ถูกมันจะนำทุกข์มาให้เราเมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็เป็นทาสของอารมณ์อยู่เป็นทาสของตัณหาเป็นทาสของความอยากอยู่ตลอดเวลาไม่ใช่ทางที่จะพ้นทุกข์เมื่อมันติดอารมณ์อยู่อย่างนั้นเราก็รู้จักว่าอารมณ์เป็นอย่างนี้เราก็เรียกว่าสอบอารมณ์เรารู้จักมันอยู่เราก็แก้ไปเรื่อยๆนี่ปฏิบัติไม่ผิดจนกว่าจะเห็นโทษมันเห็นโทษในการยึดมั่นถือมั่นในความร้ายเห็นโทษมันอย่างแท้จริงมันก็วาง และมองเห็นประโยชน์จากการปล่อยวางนี้ก็มีประโยชน์เห็นประโยชน์อย่างสัมมาทิฏฐิเห็นโทษอย่างสัมมาทิฏฐิแล้วมันก็วางเท่านั้นแหละมันจะไปตรงไหนล่ะ?จะปฏิบัติขนาดไหน?ถ้าไม่เห็นโทษแล้วมันเป็นไปไม่ได้ถ้าไม่เห็นประโยชน์แน่นอนก็หมดศรัทธาเมื่อเราดูอารมณ์แล้วเห็นโทษก็ละเมื่อเห็นประโยชน์ลำบากก็ทำได้เท่านี้เอง!


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-24 09:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เราจะรู้อารมณ์ก็เป็นสัมมาปฏิปทาถ้าเป็นเช่นนี้เป็นอปัณณกปฏิปทา*ไม่ผิด เป็นข้อปฏิบัติอย่างนี้เป็นข้อพิจารณาอย่างนี้ไม่ผิดคือไม่ยินดียินร้ายเกิดแล้วดับไปวางมันอย่างนั้นตลอดไปเป็นอุเบกขา
การปฏิบัติท่านให้ดูอายตนะตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ มันสัมพันธ์ติดต่อกันอยู่นี่จะโกรธ จะเกลียดมันก็รู้จักกันอยู่ตรงนี้มันไม่รู้ที่อื่นถ้าอารมณ์ยินดีก็ยินดีจนหลงเมาอารมณ์ดีก็เมาดีอารมณ์ร้ายก็เมาร้ายทำไมจะไม่รู้จักว่าเราปฏิบัติผิดปราชญ์ท่านพูดไว้ถูกแล้ว
อินทรียสังวรให้สำรวมในอินทรีย์หกตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูปฟังเสียงสัมผัสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ ไม่สัมผัสถูกต้องแต่มันเกิดขึ้นในจิตหรือถูกต้องแต่ขาดระยะไปผลมันจะเกิดขึ้นในจิตถ้าเราดูกายกับจิตของเราอย่างนี้ทำไมจะไม่รู้มีอะไรเกิดขึ้นเรารู้ทันไหม?ไม่รู้ขนาดนี้ก็เป็นคนตายพระตายเณรตายเท่านั้นเองจะให้ใครสอนแนะนำอยู่เสมอจะให้ใครสอบอารมณ์เราเล่า?เราก็ต้องช่วยตัวเองเท่านั้นแหละหูกระทบกับเสียงมันเกิดความรู้สึกเป็นอย่างไรตากระทบกับรูปเกิดความรู้สึกขึ้นมาอย่างไรมันโกรธ เกลียดชอบไหม? อะไรไหม?ลิ้นลิ้มรสถูกขึ้นมามันชอบไหม? รังเกียจไหม?ทำไมไม่รู้จัก?ถ้าเรารู้อยู่พิจารณาอยู่ภาวนาอยู่ไปไหนก็เอาไปด้วยทำไมจะไม่รู้มันถ้าเรามีสติอยู่ต้องรู้ทั้งนั้นแหละฉะนั้นทำอย่างไรให้สติมันดีการปฏิบัตินี้มีสติและสัมปชัญญะปัญญามันจะเกิดอายตนะนั้นมันก็บอกอยู่อย่างนั้น
โภชเนมัตตัญญุตาคือรู้จักประมาณในการบริโภคอาหารไม่มากไม่น้อยมันถูกแล้วนี่เรียกว่าปฏิบัติไม่ผิดรู้จักประมาณอาหารของเราพอควรโดยมากไม่รู้จักพอควรมันจึงเกิดโทษไม่รู้จักพอควรก็ไม่รู้จักปฏิปทาไม่รู้จักมรรคไม่รู้จักปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ไม่สร้างมรรคขึ้นมา
ชาคริยานุโยคการประกอบความเพียรเกิดขึ้นทางจิตของเรารู้จักความเห็นชอบเสมอๆไม่นิ่งนอนใจไม่อาศัยความประมาทเป็นอยู่เรานอนก็จริงแต่ให้ลึกซึ้งไปอีกให้รู้รอบสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นถ้าเราตั้งใจทำจริงๆมันไม่นานไม่ใช่ว่าท่านไม่ให้ทำอะไรทำได้ แต่ให้รู้เรื่องของเราเช่น เราพูดอย่างนี้มีความหมายอย่างไรไหม?ที่จะพูดนี่ที่จะทำนี่มีความหมายไหม?ให้รู้เรื่องของตัวเองคนเรามาปฏิบัติกรรมฐานก็เรื่องสมาธิเท่านั้นแหละอยากจะให้เป็นอย่างไรก็ไม่รู้ไม่รู้เรื่องกันมันนาน ไม่รู้เรื่องถ้าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้รู้เรื่องมันสงบเท่านั้นแหละไม่มักมากไม่อยากมากไม่มีความประมาทในความเป็นอยู่
นอกจากนั้นไปถอยกรรมฐานพิจารณาความเกิดหรือความตายทั้งหลายเหล่านี้ท่านให้ยกมาเพื่ออะไรเพื่อให้มันทำลายความโลภมากอยากมากพอดีนี่เรียกว่าการปฏิบัติไม่ผิดเรารู้จักมีแต่ปฏิบัติทั้งนั้นไม่ต้องสงสัยผมปฏิบัติอย่างนี้ผิดไหมหนอ?ถูกไหมหนอ? ไม่ต้องไปถามใครแล้วมันรู้จักแล้วไม่ยินดีเกินไปไม่ยินร้ายเกินไปถ้ายินดีก็รู้จักความยินดีแล้วก็วางลงไปเสียยินร้ายก็วางเสียมันไม่เที่ยงไม่แน่นอนเขี่ยมันออกเสียอารมณ์เกิดขึ้นมามันจะเป็นอุปาทานอันนี้ไม่แน่นอนที่ไม่แน่นอนเขี่ยออกเสียเรื่อยๆวางเสีย ที่หมายมั่นเป็นทุกข์
ฉะนั้น กรรมฐานนี้มีอารมณ์หลายอย่างเป็นต้นว่าอนุสติสิบเป็นกรรมฐานให้ใจสงบวิปัสสนากรรมฐานเป็นกรรมฐานให้เกิดปัญญามันไม่มาก มีอนิจจังทุกขัง อนัตตาให้ว่าไปเถอะเขี่ยมันออกไปเสียเรื่องมันไม่เที่ยงอะไรเกิดขึ้นมาก็สอบอารมณ์เจ้าของดีนี่ก็ไม่แน่ชั่วนี้ก็ไม่แน่นะได้มานี่ก็ไม่แน่นะเสียไปนี่ก็ไม่แน่นะเขี่ยไปเขี่ยมาอย่างนี้สักวันหนึ่งมันจะเกิดความแน่ขึ้นมานี่แหละทำให้ปัญญาเกิดแหละไม่ต้องไปเรียนอภิธรรมความเป็นจริงรู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันก็รู้เรื่องแล้วเราไม่ยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเท่านี้จิตมันก็สงบเห็นชัดเข้าไปท่านจึงว่าปฏิบัติไม่ผิดถ้ารู้หลักเอาสองอย่างนี้เท่านั้นมีสติสัมปชัญญะปัญญาเกิดเพราะว่าเราใช้คำบริกรรมว่าอนิจจังทุกขังอนัตตาว่ามันไม่แน่
ถ้าคุณทั้งหลายเห็นว่าไม่แน่เกิดขึ้นคุณจะสงบคุณจะสบาย แล้วความโกรธเกิดขึ้นมาคุณจะทิ้งเดี๋ยวนั้นความรัก ชังเกิดขึ้น ก็จะทิ้งเดี๋ยวนั้นแหละเพราะมันไม่แน่!จิตของคุณก็สงบเท่านั้นจะสะพายบาตรไปเขาลูกไหน?จะสะพายบาตรไปทะเลไหนล่ะ?จะไปอยู่ป่าไหนล่ะ?ดูซิ ต้องพิจารณาอย่างนี้สมแล้วที่จะปฏิบัติในสถานที่เช่นนี้เรื่องจะไปโน่นไปนี่มันเรื่องของตัณหาเรื่องของความอยากไปแล้วก็เป็นทุกข์กลับมาแล้วก็เป็นทุกข์ไปแล้วก็สบายหน่อยกลับมานี่มันไม่เต็มส่วนมันต้องไปก็สบายอยู่ก็สบายมันแน่นอนของมันอยู่อย่างนั้นนี่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ
หาความสงบอยู่ตรงไหนล่ะ?ไม่ใช่อยู่ภูเขาป่าชัฏ ทุ่งนาไม่ใช่อยู่ทะเลสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบนี่คือสร้างมรรคขึ้นมาสัมมามรรคในอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงนั่นแหละ!ความสงบอยู่ตรงนั้น
ถ้าไม่เห็นชอบจะไปอยู่ในถ้ำในป่าก็ไปเถอะไม่มีประโยชน์ถ้าเห็นชอบก็เกิดประโยชน์เพราะไปหาประโยชน์อยู่ก็สร้างประโยชน์ไปตรงไหนก็จะละให้หมดไปทั้งนั้นผมเห็นว่าคนไม่รู้เรื่องคือคนไม่ปฏิบัติไม่รู้เรื่องปฏิบัติไม่ค่อยจะเดินจงกรมไม่ค่อยจะนั่งสมาธิอันนี้มันจะเกิดอะไรเล่า...ไม่มีเรื่องการประพฤติปฏิบัติเป็นเรื่องให้สัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นรู้เรื่อง อย่าเอาอะไรมันมากเลยอยู่เป็นพระผมคิดว่าไม่มีอะไรยิ่งไปกว่านี้ถึงรู้หลายอย่างก็จบตรงนี้ท่านทั้งหลายจำไว้เถอะพิจารณาเถอะมันจะไม่พ้นตรงนี้
มันจะเปรียบกับมนุษย์คนหนึ่งเกิดมามันจะสวยมันจะสดมันจะร้องรำทำเพลงอย่างไรก็ตามเรื่องของมันเถอะผลที่สุดมันก็แก่ตายมันมาลงตรงนั้นถ้าเราไปเห็นชัดอย่างนั้นก็หมดสงสัยให้พิจารณาให้ดีนี่คือเรื่องการประพฤติปฏิบัติไม่ผิด
เราทำอะไรให้ทำด้วยปัญญาของเราอย่าเข้าใจว่าหย่อมหญ้าเล็กๆนั้นไม่มีประโยชน์เช่นว่าการปฏิบัติของเรานี้โดยมากคนเรามันชอบรุนแรงมีความเห็นว่านักปฏิบัติไม่ต้องทำอะไรมากการสวดโน่นสวดนี่กิจนั้นนี้มันไม่จำเป็นอะไรผมเคยขึ้นสมองเหมือนกันแต่แล้วมันก็เป็นของจำเป็นกุฏิผุพังจำเป็นจะต้องซ่อมแซมรักษามัน เราคิดง่ายๆเกื้อกูลกันต้นไม้ใหญ่มันก็มีความชุ่มชื้นจากต้นไม้น้อยๆฝนตกก็เก็บความเย็นเกื้อกูลกันการสวดนี่ก็เป็นธรรมะอันหนึ่งดีกว่าแช่งกันไหมการแช่งกันนี้ก็เกิดประโยชน์ในทางเลวร้ายมันมีอำนาจการสวดพระสูตรนี้ไม่ใช่เราสวดเพื่อหากินเมื่อเราทำกรรมฐานเหน็ดเหนื่อยเหนื่อยไปก็ยกสวดอันใดอันหนึ่งขึ้นมาสวดอย่างนี้มันเป็นเหตุกันถีนมิทธะความง่วงเหงาหาวนอนได้เหมือนกันไม่มีอะไรเลยมันก็ไม่ได้อย่างการนั่งสมาธิเราจะนั่งท่าเดียวมันก็ง่วงต้องยืน ต้องเคลื่อนไหวเป็นธรรมดาสมาธิมันเกิดจากการยืนเดินนั่งก็มีมันช่วยกันทั้งนั้น
ธรรมวินัยธรรมะทั้งปวงนั้นมันก็เหมือนกับร่างกายเรานี่เราจะเห็นแต่ร่างกายส่วนใหญ่ส่วนเล็กไม่เกิดประโยชน์อย่าไปว่ามันเลยถ้าหากว่าร่างกายเรามีสัดส่วนแม้ของน้อยนิดก็มีประโยชน์ทั้งนั้นแม้ขนเส้นหนึ่งชิ้นเล็กน้อยรวมกันเข้าก็มีประโยชน์อย่าคิดว่าต้นไม้จะมีเฉพาะกิ่งใหญ่ๆเท่านั้นอย่าคิดเลยไปเพราะเป็นความคิดที่ไม่รอบคอบนอกพรรษาพระเณรในสมัยก่อนท่านหลีกเร้นอยู่ท่านไม่คลุกคลีกับใครหลีกเร้นอยู่คนเดียวทำเช่นนั้นคือหลีกเร้นจากการอยู่หลายคนนั่นเองล่ะ!แต่ถ้ารู้จักเก็บเอาสิ่งที่มันสงบไม่ฟุ้งซ่านวุ่นวายกับใครเช่น พระเณรชอบคุยมากพระที่ฉลาดก็หลีกเสียอย่าส่งเสริมหลีกเร้นอยู่คนเดียว
ภายในยิ่งกว่านั้นอารมณ์ต่างๆที่มันเกิดขึ้นมานั้นท่านให้มีอารมณ์เดียวอารมณ์เดียวอย่างไร?อารมณ์พอใจไม่พอใจ มีสุขมีทุกข์ ท่านก็พิจารณาว่าสุขนี้ก็สักว่าสุขไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เรียกว่าสุขเวทนานั่น! ทุกข์เกิดขึ้นมาทุกข์นี้ท่านเรียกว่าทุกขเวทนาเท่านั้นมีอารมณ์เดียวอย่างนี้ไม่วิ่งไปกับมันให้เรารู้เท่านี้นี่เรียกว่าอารมณ์เดียวเป็นสมาธิ

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-24 09:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมาธิ แปลว่าความตั้งมั่นไม่ใช่ที่ว่าไม่มีเสียงอะไรไม่มีรูปอะไรไม่มีอารมณ์อะไรมันมีอยู่แต่ว่าสมาธิคือความตั้งใจมั่นแต่อารมณ์อันเดียวสังวร สำรวมรวมเข้ามาที่เรียกว่าสุขนี้พบแล้วก็ไม่ลืมไปตามสุขนี้เรียกว่าสุขเวทนาไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เรียกว่าเวทนามันก็หมดเรื่องมันเป็นเรื่องเวทนาเท่านั้นเมื่อเห็นชัดเจนจิตเราก็ถอนกลับเท่านั้นจะไปยึดอะไรเล่าอันนี้เรียกว่ามันมั่นจิตมันมั่นมีอารมณ์หลายอารมณ์ทุกอย่างแต่เราก็ยึดมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวมันมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวให้เข้าใจอย่างนี้เสียงก็รู้อย่างหนึ่งกลิ่นก็รู้อย่างหนึ่งรสก็รู้อย่างหนึ่งหลายอย่าง แต่ว่าต้องสังวรสำรวม และก็รู้ว่ามันเป็นอันเดียวสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันเป็นอันเดียวเรียกว่าเวทนาถ้าสุขก็สุขเวทนาถ้าทุกข์ก็ทุกขเวทนาไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขาถ้าเราเข้าใจว่าเป็นตัวตนบุคคลเราเขาก็เกิดอุปาทานขึ้นมามันก็ทุกข์อย่างนั้น ท่านจึงหลีกอยู่องค์เดียวพระพุทธองค์ท่านก็ตรัสรู้ในโลกนี้แหละบรรลุในโลกไม่หลีกไปไหน
ถ้าหากสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้วอยู่ตรงไหนก็สบายมันก็สงบถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิก็ไม่สบายทั้งนั้นอันนี้ให้พิจารณาให้ดีที่สุดมันจะพบธรรมะจริงๆเมื่อมันถอนจากสิ่งเหล่านี้ทั้งหลายแล้วมันจะสงบ การประชุมมีประโยชน์พระองค์สอนว่าอย่าเชื่อความเห็นของเราให้มากเราจะไปอยู่ตรงไหนกัน?อย่าไปเชื่อมั่นในความเห็นของผู้อื่นให้มากอยู่ตรงนี้มันจะเกิดปัญญาเราจะอยู่ตรงไหนกัน?คือท่านไม่ให้ยึดมั่นตัวเองและยึดมั่นในบุคคลอื่นเกินขอบเขตอยู่ตรงนี้มันจะเกิดปัญญาดูซิ! ให้เอาไปภาวนามีประโยชน์นั่น!ถ้าเราเชื่อมั่นตนเองมากที่สุดก็โง่เกินไปในผู้อื่นก็เช่นกัน
ดึกๆดื่นๆขึ้นมาตีสองตีสามเอาเวลาที่เพื่อนมันได้กำหนดดีวันหนึ่งคืนหนึ่ง๒๔ ชั่วโมง จะเป็นเวลาทำความเพียรเสีย๒๐ ชั่วโมง เป็นเวลาพักผ่อนเสีย๔ ชั่วโมง นี่คือการกำหนดทำเพียรของเราอย่างดีแล้วแต่เราจะเอาจะเดิน นั่ง หรือจะใฝ่ธรรมะใส่ในจิตใจเจ้าของก็ดีอย่าให้ประมาทการทำเพียรนั้นไม่ใช่ให้มันขี้เกียจทำเพียรนะ...ไม่ใช่...คนขี้เกียจทำเพียรนี้ไม่บรรลุธรรมะการทำเพียรนี้ไม่ขี้เกียจลักษณะจิตผู้ปฏิบัติกรรมฐานนี้นะครับมันจะขยันมากที่สุดกว่าคนธรรมดาเราถึงแม้ท่านไม่ได้เดินแต่ท่านก็รู้เรื่องจิตในเรื่องเดินของท่านอยู่มีสติสัมปชัญญะอยู่เต็มที่ของท่านเมื่อมีกิจส่วนรวมท่านก็ออกจากกิจส่วนตัวมารวมกิจทำวัตรแต่จิตของท่านมุ่งมั่นอยู่ตลอดเวลาไม่มีเสียหายอะไรนักเราผู้ประพฤติปฏิบัติใหม่ๆไม่ค่อยจะรู้เรื่องจะเห็นนั่งหลับตาหรือเห็นเดินจงกรมจงเข้าใจว่าทำเพียรปฏิบัติคือทำเพียรทางจิต
พุทธศาสนาเป็นเรื่องของจิตเราจะทำกิจบางอย่างอยู่เราก็จะต้องปฏิบัติเราเย็บผ้าเราก็ทำกรรมฐานไปด้วยแต่เราไม่รู้เรื่องเย็บผ้าก็เย็บไปอยากให้แล้วเสร็จวันนี้ไม่เปลืองเวลาทั้งกลางวันกลางคืนท่านอาจารย์เดินมาเห็นก็ถามว่าจะรีบไปไหนกันนี่?เย็บผ้าตอนกลางวันไม่รู้ว่าแดดมาส่องหัวตอนนั้นคืออยากจะให้มันเสร็จแล้วจะไปทำอะไร?จะรีบไปไหน? เท่านี้ให้สติเราเท่านี้เราก็รู้จักแล้วเย็บผ้าก็ให้ภาวนาเย็บตรงนี้ให้ภาวนาตรงนี้ไม่ให้รำคาญไม่ไปยึดหมายของมันทั้งหลายเหล่านี้จะยืนจะเดินก็ให้ภาวนาอยู่ในจิตเพราะเรื่องจิตเป็นเรื่องที่สำคัญมากเรานั่งอยู่เฉยก็ไม่รู้เรื่องว่าจิตมันไปปรุงแต่งไม่บังคับบัญชานี่เรียกว่าเราไม่ฉลาดในการทำความเพียรถึงจะทำไปเท่าไรมันก็ไม่ฉลาดจะต้องฉลาด การทำเพียรของเราไม่มีเวลาที่จะไม่ได้ทำเพียรคือตลอดเวลานั่นเอง
วันนี้ตีระฆังออกจากสมาธิเราก็คิดว่าเลิกแล้วความจริงจิตมุ่งมั่นอยู่ไม่ใช่ออกจิตของท่านปฏิบัติอยู่ไม่ออกเลิกไปจากนี่ไปกุฏิท่านก็ไม่ออกมีอยู่ในจิตของท่านเสมอเราตีระฆังเม้งหยุดแล้ว หาเรื่องอื่นมาคุยแทนเสียเลยกลบเกลื่อนไปหมดเลยไม่มีเหลือเป็นอารมณ์หมดเมื่อมาทำอีกดึงจิตมันให้เข้ามามันไม่เข้ามาเพราะมันไปเล่นอารมณ์อยู่มากที่สุดแล้วคือเราไม่รู้จักการทำความเพียรทางจิตการทำเพียรนี้ถึงเวลาฉันข้าวเวลาบิณฑบาตหรือทำการงานบางอย่างอยู่ท่านที่ทำแต่ว่าท่านไม่เสียจิตมันเป็นอกาลิโกรู้ไม่เลือกกาลเวลาครั้งแรกนี้ต้องทำเป็นกาลิโกต้องทำเป็นกาลเวลาทำไปขยันไปจนชำนาญจนเป็นอกาลิโกจะยืนเดินนั่งนอนมีสติสำรวมสังวรอยู่ตลอดเวลานั่นเรียกว่าทำเพียรทางจิต
เมื่อเรามีสติอยู่ตลอดเวลาแล้วอะไรมันจะไม่รู้มันต้องรู้ซิ!คล้ายๆลานกุฏิเมื่อกวาดให้สะอาดเสียเราก็อยู่ตรงนั้นอะไรมาตกตรงนั้นเราก็รู้เพราะเราดูอยู่เมื่อมีสติอยู่อะไรมากระทบเราก็ต้องรู้จักมันจะคิดไปทางไหนพอรู้จักปุ๊บมันก็ยกขึ้นมาพิจารณาเห็นปัญญาเกิดถึงแม้เราจะไม่ว่างการกระทำเพียรนี้ไม่ว่าไม่ว่างมันจะเกิดตรงที่ว่างมันก็เหมือนกับที่ว่าอนิจจังมันไม่แน่เรื่องนิจจังความแน่มันก็เกิดขึ้นในอนิจจังนั้นเรื่องความว่างของจิตมันก็เกิดขึ้นขณะที่มันไม่ว่างมันจึงเห็นช่องว่างในที่มันไม่ว่าง
อนิจจังไม่เที่ยงก็พิจารณาไปจนกว่าเห็นของเที่ยงอยู่ในสิ่งที่ว่ามันไม่เที่ยงก็ใช้ได้แล้วมันจะต้องเป็นอย่างนี้เรื่องของมันเป็นอย่างนี้เมื่อหากว่าจิตเราไม่เป็นไปแล้วนะเมื่อเราจะดับกายวายชนม์ตรงไหนเราก็ลืมตรงนั้นถ้าจิตเราไม่เป็นทำจิตให้มันเป็นให้มันเห็นชัดจะไปอยู่ตรงไหนก็ให้มันชัดมันรู้มันตื่นอยู่อย่างนั้นมันจะไปตรงไหนมันทำของมันเรื่อยๆอยู่ตลอดเวลาเหมือนน้ำเราเอามาหยดดูตุ๋มๆห่างๆเราก็เร่งเทน้ำเร็วๆมันก็หยดถี่เข้าไปเร่งไปอีก จนกว่าหยดน้ำติดกันจนเป็นสายน้ำสายน้ำเกิดขึ้นเพราะหยดน้ำถี่ขึ้นนั่นเอง
การประพฤติปฏิบัติสติสัมปชัญญะนี่ก็เหมือนกันสติจำกาล คำพูดแม้นานได้ดูจิตก็เห็นสติดูสติก็เห็นจิตมันก็เป็นอันเดียวกันเลยจะเดิน ยืน นั่งนอน จะไปไหนมันก็ไม่ลืมไม่หลง มันมีสติอยู่แล้วทีนี้จะพูดว่าจนมันเป็นอัตโนมัติของมันขนาดนั้นมันจะเกิดปัญญาขึ้นมาดับทุกข์ต้องรู้จักต้องมีสติ สตินี้จึงสำคัญมากศรัทธาวิริยะสติสมาธิปัญญาพลังทั้งห้ารวมกันเข้า
การปฏิบัตินี้มันต้องทำให้รู้เรื่องไม่คาดคะเนเอาทำจนรู้เรื่องว่ามันเป็นจริงอย่างนั้นอย่างที่เรานั่งนั่งไปก็ไม่สงบเดี๋ยวคิดไปโน่นคิดไปนี่เป็นทุกคน เพราะในระยะนั้นมันจะต้องเป็นลักษณะอย่างนั้นเราจะต้องเป็นคนที่ฉลาดในจิตฉลาดในการสอนจิตของเราฉลาดฝึกจิตของตัวเองต้องอาศัยกาลเวลาพอสมควรทั้งการได้ยินได้ฟัง แล้วเอาไปพิจารณา
อาศัยการเดินจงกรมนั่งสมาธิเมื่อนั่งเมื่อยก็เดินทำให้มากเจริญให้มากในเรื่องเหล่านี้จนกระทั่งว่าความเพียรของผู้ปฏิบัติไม่เคยเกียจคร้านขยันมากที่สุดถึงแม้นั่งอยู่เฉยๆท่านก็เดินจงกรมของท่านอยู่เราเคยเห็นไหม?ฟังออกไหม? เราไม่รู้จักนั่งเราจึงเรียกว่านั่งเห็นเดินจึงเรียกว่าเดินท่านเดินจงกรมโดยการนั่งอย่างนี้ฟังไม่ออกถ้าเขามีนิสัยอยู่แล้วได้ทำอยู่ จะฟังได้ง่ายไม่ได้เป็นของยากอะไรนักอย่างความว่างมันก็อยู่ในความไม่ว่างหรือความเที่ยงมันก็เกิดอยู่ในความไม่เที่ยงอย่างนี้อันนี้มันเป็นของจริงแท้แต่เราไม่ค่อยจะหวนกลับมันไปตรงนั้นฉะนั้นเราจึงห่างพระสัจจธรรม
จิตนี้มันปรุงแต่งเป็นสังขารต่อไปเรื่องปรุงแต่งมันจะกลายเป็นปัญญาไปแทนตัวของมันแล้วครั้งแรกเราต้องไปจับสังขารเป็นตัวปัญญามันปรุงแต่งสารพัดอย่างฉะนั้นมันจึงหลงใหลเราทำทำไปจนตัวสังขารนี้ทับตัวปัญญาปัญญานั้นไปแทนตัวสังขารก็เป็นปัญญาสังขารไม่มีอำนาจที่จะปรุงแต่งมันเป็นไปทำนองนั้นใหม่ๆนี้สังขารมันปรุงแต่งทั้งนั้นเราก็คิดว่ามันเป็นปัญญาเหมือนกับวิปัสสนา-วิปัสสนูคือแรงๆเหมือนกันเหมือนสัมมาทิฏฐิกับมิจฉาทิฏฐิมันแรงเท่ากันให้เราคิดดูมีอำนาจเหมือนกัน
ทำอะไรน้อยๆทำไมถึงว่าให้มันน้อยล่ะ?มันจะไม่ผิดหรือ?เพื่อการพอดีของคนเราเอาน้อยขนาดไหน?มันก็อยากจะมากกำลังตัณหานี่ฉะนั้นมักน้อยไว้ดีกว่าเราพูดกับคนกิเลสมากก็ต้องพูดอย่างนี้
เคยพบความสงบที่มันบังเอิญขึ้นมาจับปุ๊บเลย ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?ไม่มีเวลาจะทำเพียรคือตัณหามันตะครุบอยู่เรื่อยๆไปอยู่ทางเหนือวันหนึ่งไปบิณฑบาตได้นิดเดียวไม่มีอะไรมากก็เลยมาฉันข้าวกับเกลือคืนนั้นภาวนาดีทุกวันมีอาหารดีภาวนาไม่ดีวันนั้นฉันข้าวกับเกลือไม่อิ่มกลับดีทำไมมันดีล่ะ!มันมานั่งเท่าไรก็ไม่ง่วงสบาย เราก็เลยไปจับเอาตรงนั้นเราก็มาพิจารณาเรื่องฉันอาหารของเราถูกไม่ใช่อย่างนั้นเรานึกว่าฉันพอดีเพราะตัณหามันปิดบังไว้อะไรก็ยังไม่พอนั่งก็ง่วงตัวหนักวันนั้นพอรู้เรื่องบังเอิญอย่างนี้มันหลงไปในทางที่ถูกมันเสียอาหารน้อยวันนั้นพอตกบ่ายก็ว่างถึงตอนเย็นนั่งสมาธิพอขาขวาทับขาซ้ายมันเข้าพับของมันเลยเห็นไหมมันเบาร่างกาย
ทุกวันอาหารมันทับเสียเราไม่รู้เรื่องมันเพราะอะไร เราไม่ได้สังเกตอันนี้เราจับได้เป็นเช่นนี้เองตั้งแต่นั้นมาก็ทำสมาธิถูกต้องดีกว่าเก่าทั้งๆที่เราพยายามหาทางที่จะทำให้ดีขึ้นกว่าเก่าเพราะเราไม่รู้จักแก้ไขเมื่อจับหลักได้ก็ทำเรื่อยๆมาพอเรื่องของมันเป็นเองอย่างนั้นอ้อ! นี่เองวันนั้นจะเป็นเทวดาหรือไรอย่างนั้นจึงหลงผิดมา

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-24 09:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การภาวนาให้ถือว่าทุกเวลาเมื่อเรามีสติอยู่ในอิริยาบถใดๆในเวลานั้นจึงเป็นโอกาสที่เราจะต้องภาวนาเป็นของมันเรื่อยถ้าเป็นอย่างนั้นมันจึงจะต้านทานอะไรได้เป็นวงกลมรอบอยู่มันต้านทานอารมณ์ได้ไม่รู้ว่าต้านทานอารมณ์ที่ไม่เข้าใจว่าไม่ให้มันมีอารมณ์มีอารมณ์แต่มันชนะอารมณ์ไม่ใช่ว่าอารมณ์มันหายอารมณ์มันก็มีแต่มันชนะอารมณ์อารมณ์มาถูกปุ๊บมันทำให้เกิดปัญญาเป็นเหตุให้พิจารณาทับเข้าไปเรื่อยๆดังนี้
มันสงบเพราะรู้จักอารมณ์มันแก้ไขวางไปเรื่องสมถะนี้มันสงบเพราะอารมณ์มันหายไปไม่พูดถึงการรู้จักอารมณ์ว่าอารมณ์มันปราศไปเฉยๆจิตมันสงบวิปัสสนานี้มันสงบเพราะรู้จักอารมณ์นั่งอยู่ก็รู้อารมณ์แต่ว่าอารมณ์มันเข้าไม่ถึงปัญญามันชำระอยู่เสมอการรู้รอบอยู่มันมีฉะนั้นจึงมีความสงบด้วยวิธีหนึ่งคือสงบด้วยวิปัสสนารู้ตามความเป็นจริงรู้เท่านั้นเรียกว่าสงบถึงแก่นมันเห็นชัดว่าเป็นอย่างนั้นก็เลยปล่อยไปให้มันเป็นอย่างนั้นไม่ต้องเข้าไปขัดขวางมันเป็นอย่างนั้นก็ให้มันเป็นอย่างนั้นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอย่างนั้นมองเห็นปัญญารู้เท่าทันตามความเป็นจริงของมันอย่างนั้น
หลักของมันเป็นอย่างนี้เราอยากให้มันเป็นอย่างนั้นมันเป็นอย่างนั้นเราอยากจะให้เป็นอย่างนี้มันจึงไม่สงบเราจะเข้าไปหาตรงที่มันจบมันจะจบอยู่ที่ตรงนั้นที่มันไม่จบเพราะการยึดมั่นถือมั่นของเราตัวอย่างเช่นพระ ก. กับ พระข. เห็นไก่ และพระ ข. เรียกเป็ดจึงไม่ตรงกันแต่ทั้งไก่และเป็ดมันไม่รู้ตัวของมันเองเลยจนทั้งสองได้ทะเลาะกันถ้าเรามาพิจารณาดูแล้วทั้งไก่และเป็ดมันเป็นเรื่องที่สมมุติกันทั้งนั้น



ถ้ามันเกินสมมุติมันไม่มีเป็ดไม่มีไก่ถ้าความเห็นมันสูงขนาดนี้พระ ก. กับ พระข. ก็จะไม่ทะเลาะกัน
ถ้าสมมุติมันต่างกันแต่ถ้าวิมุตติมันอันเดียวกันเสมอความสงบมีอยู่ตรงนั้นตรงที่เรียกว่ามันไม่มีอะไรแล้วไม่มีเป็ด ไม่มีไก่ถ้ามีก็ทะเลาะวิปัสสนาเกิดขึ้นก็ไปทำนองนั้นแล้วก็อย่าคิดมากๆฟังธรรมแล้วรักษากาย วาจาให้ห่างจากฆราวาสค่อยๆทำไป อะไรที่เคยสงสัยมันจะหายตรงในที่การกระทำของเราไม่หายสงสัยเพราะไปดูหนังสือหรือดูอะไรจะหายเมื่อทำความรู้ที่เรียกว่าพุทโธจะเกิดคือ ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอาศัยกาลเวลาอย่าไปนัดมันเราทำเรื่อยๆแต่ทำยากสักหน่อยเรื่องจิตนี้รู้มันเลิศเขาเรื่องมันรู้มันก็เลิศเขาทั้งนั้นไม่ใช่รู้อย่างอื่นมันรู้ที่นี่ฯ


********************

*ธรรมบรรยายแก่พระ-เณร*

ที่มา http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/ ... e_Wisdom_Arise.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้