ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ภาพเก่าๆของครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น (หาดูยาก)

[คัดลอกลิงก์]
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-2 13:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และสานุศิษย์บรรพชิต
บันทึกภาพร่วมกัน ณ สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ
บ้านข่าโคม ต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
เมื่อออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
สานุศิษย์บรรพชิตขององค์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
ที่แยกย้ายกันไปอยู่จำพรรษาในบริเวณใกล้ๆ
ต่างองค์ต่างมารวมกันที่สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ
เพื่อเตรียมต้อนรับผ้าป่าของทางพระราชวังซึ่งจัดมาทอดถวายเป็นครั้งแรก
โดยมี “เจ้าจอมมารดาทับทิม” นำคณะมาทอดถวายผ้าป่า ๗๐ กอง

๑. พระอาจารย์อุย บ้านหนองดินดำ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
(พระอุปัฎฐากหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ในช่วงนั้น)
๒. พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส
๓. สามเณรหงส์ทอง ธนกัญญา
(พระหงส์ทอง สหธมฺโม หลานพระอาจารย์ดี ฉนฺโน)
๔. สามเณรผาย ๕. สามเณรคำดี
๖. พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ๗. พระอาจารย์ทอง อโสโก
๘. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ๙. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
๑๐. พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-2 13:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

                                                                                       

14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-5 17:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กราบหลวงปู่ทุกองค์ครับ สาธุ
16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-12 00:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่ผาด
ประวัติ หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
    วัดบ้านกรวด เป็นวัดเก่าแก่ประจำ อำเภอบ้านกรวดตั้งขึ้นในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี มีอายุนับถึงปัจจุบันไม่น้อยกว่า120 ปีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่10 เมษายน พุทธศักราช 2469 มีประพุทธรูปศิลา อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นประธานในพระอุโบสถ มีเจ้าอาวาสครอง วัดติดต่อกันมานับถึงปัจจุบันรวม 4 รูปด้วยกัน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ พระครูวิบูลย์ปัญญาวัฒน์ หรือ หลวงปู่ผาด ฐิติปัญโญ ซึ่งได้บวชเรียนมาตั้งแต่อายุได้ 22 ปี เป็นต้นมานับถึงปัจจุบัน 97 ปี นับพรรษา ได้ 76 พรรษา
     เมื่อครั้งอดีตสมัยท่านเป็นพระหนุ่มๆท่านได้ออกจาริกแสวงบุญไปยังที่ต่างๆเพื่อศึกษาหาความรู้ทั้งทางพระเวทย์ วิชาแพทย์แผนโบราณต่างๆ ตามความเชื่อและความนิยมของชาวพื้นบ้าน ในสมัยนั้น ได้ไปศึกษาเล่าเรียนเวทวิทยาอาคมที่จังหวัดอุดรมีชัยถึง 3 ปี (ในสมัยนั้นจังหวัดอุดรมีชัยยังเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย)จากนั้นท่านได้จาริกไปศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่างๆ แทบจะทุกภาคของไทยและประเทศใกล้เคียง เคยธุดงค์ไปศึกษาวิชาอาคมที่นครวัต ที่ประเทศเขมรเป็นเวลา 8 ปี จนมีความรู้เจนจบในไสยเวททุกแขนงแตกฉานในวิปัสสนากรรมฐาน อย่างแจ่มแจ้ง

    ต่อมาเมื่อท่านมีอายุมากขึ้น ท่านได้รับถวายที่ดินจากชาวบ้าน จากนั้นท่านก็ได้บูรณะจากพื้นดินที่ว่างเปล่า จนเป็น “วัดตาอี” ให้เห็นเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน  สืบต่อมาหลวงปู่หริ่ง เจ้าอาวาส วัดบ้านกรวด ได้มรณภาพลง ชาวอำเภอบ้านกรวด จึงได้นิมนต์ หลวงปู่ผาด มาเป็นเจ้าอาวาส แต่หลวงปู่ได้ปฏิเสธการเป็นเจ้าอาวาส วัดบ้านกรวด มาโดยตลอดแต่ในที่สุดท่านก็ทนแรงศรัทธาของญาติโยมไม่ไหวจึงต้องยอมรับเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรวดและดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

    หลวงปู่ผาด ท่านได้พัฒนา วัดสาขาของท่านถึง 4 แห่ง ก็คือ วัดตาอี,วัดบ้านปราสาท,วัดบ้านบึงเก่า และวัดบ้านกรวด เป็นรูปเป็นร่างมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลวงปู่ผาด ท่านเป็นพระที่รักสันโดษ ไม่ยึดติดในลาภยศสรรเสริญ ท่านได้ปฏิเสธในการสร้างวัตถุมงคลมาโดยตลอด แต่บรรดาศิษยานุศิษย์ได้รบเร้าหลวงปู่ว่ามีผู้เลื่อมใสศรัธาในตัวหลวงปู่ประสงค์อยากจะได้วัตถุมงคลของหลวงปู่ผาดไว้บูชา เพื่อเป็นสิริมงคล เป็นขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต หลวงปู่ท่านก็เลยอนุญาต ให้จัดสร้างวัตถุมงคลที่ออกมาภายใต้ชื่อ หลวงปู่ผาด จึงออกมาน้อยมาก ดังนั้นคนที่มีอยู่ต่างหวงแหน ไม่ค่อยหลุดออกมาให้เห็นกัน ทำให้วัตถุมงคลรุ่นเก่าๆ  ของท่าน หายากขึ้นเป็นเงาตามตัว


   หลวงปู่ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นเนื้อนาบุญของพุทธศาสนา โดยแท้ ทุกลมหายใจเข้าออกท่านกำหนดจิตด้วยกรรมฐานมีสติอยู่เสมอ วัตถุมงคลที่ผ่านการอธิฐานจิตจากท่านจึงทรงความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งบุญญาฤทธิ์ และอิทธิฤทธิ์ ดุจมีแก้วสารพัดนึก ใครมีโอกาส ได้ครอบครอง ขอให้เก็บไว้บูชาดีๆ เพราะท่านเคยพูดกับศิษย์บ่อยๆ ว่า “อีกหน่อยพระของเราจะเป็นเพชร” จากอมตะวาจาของหลวงปู่อนาคตจึงไม่ต้องพูดถึงเพราะต่างทราบกันดีว่า หลวงปู่ท่าน “วาจาสิทธิ์” เป็นยิ่งนัก เอาเป็นว่าอนาคตอันใกล้คงต้องได้เห็นอย่างแน่นอนเดี๋ยวนี้ไม่ต้องรอนานเหมือนอดีต “ของดี” มีประการณ์ประเดี๋ยวก็มีคนถามหากันเอง! หลวงปู่ผาด ท่านเป็นพระแท้ที่กราบไหว้ได้สนิทใจสมกับ “พุทธบุตร” โดยแท้ ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือลับหลังพระภิกษุอย่างหลวงปู่ผาด ไม่ควรจะเป็นของอำเภอบ้านกรวด เพียงอย่างเดียวควรเป็นของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป เปรียบดังช้างเผือกในป่า น่าจะมาเป็นช้างคู่บ้านคู่เมือง จึงจะถูกต้อง สมกับพระบารมีของท่านเป็นอย่างยิ่ง

    กิตติคุณความเป็นผู้ทรงวิทยาพุทธาคม แม้แต่ “นักบุญแห่งภาคอีสาน” จ้าวตำรับ “กูมึง” ขนานแท้ (แม้แต่พระองค์อื่นจะใช้บ้างก็ไม่น่าพิสมัยเท่าท่าน) ยังกล่าวยกย่องเชิดชู กับคณะศรัทธาบุญจากอำเภอบ้านกรวดที่ได้เดินทางไปกราบนมัสการท่านที่วัด เมื่อท่านสอบถามรู้ความว่าเดินทางมาจากอำเภอบ้านกรวด ท่านถึงกับออกปากพูดว่า “มึงจะมากราบมาเอาของกูทำไม มึงไปไหว้หลวงพ่อใหญ่วัดบ้านกรวดโน่นของท่านศักดิ์สิทธิ์กว่าของกูตั้งเยอะพวกมึงไม่จำเป็นต้องมาใช้ของกูเลยของดีอยู่กับท่านยังไม่รู้ค่าอีก” สำหรับประโยคคำพูดจากปากยอดพระเกจิอาจารย์ที่ประชาชนเคารพกราบไหว้ ทั้ง ประเทศคงยืนยัน คุณวิเศษ ในองค์หลวงปู่ผาดได้อย่างดี

17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-12 00:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่หงษ์

หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ
(พระครูปราสาทพรหมคุณ)
สุสานทุ่งมน (วัดเพชรบุรี) อ.ปราสาท จ.สุรินทร์

ประวัติหลวงปู่หงษ์
    เด็กชายสุวรรณหงษ์ จะมัวดี เป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียร มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา ได้ช่วยกิจการงานทุกอย่าง ทำนา หว่านกล้า เก็บเกี่ยวข้าว ด้วยความวิริยะอดทน จนอายุได้ 18 ปี มารดาขอร้องให้บวชเณร สุดท้ายเห็นแก่มารดาจึงตัดสินใจบวชให้แค่เพียง 7 วัน ครั้นบรรพชาแล้วพระอุปัชฌาย์ได้ตั้งนามให้ใหม่ว่า"สามเณรพรหมศร" ลุมาได้ 3 วัน ขณะนั่งบนแคร่ไม้ใต้โคนต้นมะขามใหญ่ได้มีบุรุษหญิงชายแปลกหน้า ทั้งมีอายุแก่ และหนุ่ม แต่งกายแบบชาวบ้านมาขอร้องให้เทศน์โปรดทีเถิด สามเณรพรหมศรกล่าวว่า “ฉันพึ่งบวชได้ไม่ถึงวันยังเทศน์ไม่เป็นหรอก” ชายหญิงผู้แปลกหน้าทั้งหลายต่างให้ข้อแนะนำว่า  “ท่านเจ้าคะท่านเทศน์ไม่เป็นก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ท่านทดลอง ว่านะโม 3 จบ ประเดี๋ยวท่านก็จะเทศน์ได้เองนั่นแหละ” สามเณรพรหมศรนั่งนิ่งแลสงสัยว่า บุคคลทั้งหลายเหล่านี้เป็นใคร? มาจากไหน?  อยู่ๆก็มาขอร้องให้หลวงพ่อเทศน์ แต่เมื่อลองคิดแล้วเขาบอกให้ว่านะโม 3 จบ จากนั้นก็เป็นเรื่องที่ปากพูดไปได้เองเป็นเรื่องเป็นราว ชายหญิง ทั้งหลายต่างนั่งพนมมือ อมยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ครั้นเทศน์จบก็กราบขอบคุณขอลากลับ หันไปอีกทาง ปรากฏว่าหายไปทางไหนก็ไม่รู้ ผู้เขียนกราบเรียนถามหลวงปู่ว่าทำไมสามเณรพรหมศรจึงเทศน์ได้ ท่านกล่าวว่า มันเป็นของเก่าหรือที่เรียกว่า “ธรรมบันดาล” ที่พาให้พูดกล่าวไปได้เอง  ความตั้งใจที่จะบวชเพียง 7 วัน ก็อยู่เลยเรื่อยมาจนอายุครบ 20 ปี พระอุปัชฌาย์จึงอุปสมบทให้ ณ วัดเพชรบุรี ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ โดยตั้งนามฉายาให้ใหม่ว่า  “พรหมปัญโญ” แปลว่า ผู้มีปัญญาดุจพรหมเมื่ออุปสมบทแล้ว  หลวงปู่เป็นผู้มีความวิริยะสูง จดท่องจำแม่นยำยิ่งนัก ทั้งฝักใฝ่หาความรู้ เพียรหาครูบาอาจารย์อย่างไม่ลดละแม้จะไกลไปยากก็อุตส่าห์ดั้นด้นเดินทางไป เพื่อให้ได้ความรู้กลับคืนมาเป็นรางวัลด้วยปณิธานมั่นที่จะโปรดลูกหลานญาติโยมภายหน้า สืบไป

    ครั้นอุปสมบทได้แล้ว 3 พรรษา จึงกราบลาพระอุปัชฌาย์จาริกธุดงควัตรตามแบบฉบับแห่งพระบรมครู อาศัยอยู่ตามโคนไม้ นุ่งห่มใช้ผ้าเพียงสามผืน ทั้งถือที่สงบสัปปายะ เช่น ป่าช้าเป็นที่เจริญภาวนาเช้าค่ำ ขบฉันภัตตราหารเพียงมื้อเดียว ได้ท่องเที่ยวสู่เมืองขุขัน จ.ศรีสะเกษ เพราะเป็นเขตแห่งสรรพศาสตร์มนตรา จึงได้เข้าขอศึกษากับครูอาจารย์ที่เป็นทั้งฆราวาสก็ดีเป็นผู้ทรงศีลสมณะก็ตาม จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงขออนุญาตลากลับเพื่อจาริกธุดงค์สู่พรมเปญ กัมพูชาสืบไป

    เมื่อธุดงค์ข้ามเขาเข้าเขตกัมพูชาคงเป็นด้วยบุญบารมีเก่าหนุนนำ พาให้ได้พบกับครูบาอาจารย์เก่า เมื่อพบเห็นแล้วทุกครูอาจารย์ ต่างพึงพอใจในพระภิกษุหงษ์ พรหมปัญโญ ผู้สันโดษอ่อนน้อมถ่อมตนยิ่งนักได้บังเกิดความเมตตาประสิทธิประสาทสรรพวิชา จนลุเลยข้ามดงสู่จังหวัดสารพัดไต่เขาและภูผา อาศัยหุบเขาข้างห้วยเอนกายาตกค่ำภาวนาตลอดไปยามสองจิตผ่องใส บังเกิดธรรมบันดาลพาพบไปกับพระอาจารย์ใหญ่องค์เทพเทวาได้ประสิทธิ์ประสาทวิชากว่าพันประการ ประทานเสร็จสอนจบครบตำรา พระพรหมปัญโญ ให้ปิติทั้งศรัทธา ตั้งจิตกราบครูบาแล้วเงยหน้าขอชมบารมี ทันทีที่ลืมตารูปท่านอาจารย์ใหญ่ก็จางหายทันที พระพรหมปัญโญ สุดที่จะเสียดายเพราะมิได้กล่าวคำว่าขอบคุณ แก่ท่านผู้กรุณาประสาทวิชา ครั้นล่องไพรในพนากลางป่าใหญ่ อัศจรรย์ใจเป็นนักหนาเห็นเด็กร่างดำใหญ่ดุจศิลา พลางผลักทักทายมาแต่ใด กุมารดินล้มหงายหลัง แล้วตั้งตรงทดลองใหม่ ทดลองถึงสองครั้งให้ระอาจึงแสดงกายาสูงใหญ่ได้ห้าเมตร แสดงเสร็จให้เกิดศรัทธาแล้วสั่งสอนถึงวิธีการสร้างกุมารทองให้ถูกต้องตาม ตำรับฉบับครู ครั้นธุดงค์อยู่ได้เกือบขวบปี แวะผ่านที่หมู่บ้านชื่อ“บ้านกรู” ณ หมู่บ้านนี้เองที่ชาวบ้านต่างกล่าวขานคุณงามความดีในวีรกรรมหลายๆสิ่งที่ไม่ อาจลืมเลือนได้จากหัวใจของทุกคน


    ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำไมชาวบ้านเขาจึงพร้อมใจกันยอมนอนคว่ำให้หลวงปู่ ท่านเดินบนหลังของพวกเขาชาวบ้านทุกคนเคารพรักหลวงปู่เสมือนเป็นเทพของพวกเขาทีเดียว เพราะมิใช่ว่าหลวงปู่ จะป้องกันภัยให้พวกเขาได้อย่างเดียว แต่หลวงปู่ได้แผ่เมตตาปล่อยสัตว์ ขุดบ่อ ขุดสระ สร้างฝายน้ำล้น ปลูกป่า ปล่อยช้าง วัว ควาย เต่า งู ตะขาบ สัตว์ทุกชนิดและสั่งห้ามมิให้ชาวบ้านทำลายป่าไม้ โดยอบรมสั่งสอนให้เห็นคุณและโทษของการไม่มีป่าไม้ไม่มีน้ำ จะเกิดความเดือนร้อนนานาประการ พร้อมทั้งสอนให้ชาวบ้านทุกคนถือศีลห้า ห้ามดื่มเหล้าเมายา แล้วครูอาจารย์ของหลวงปู่ท่านจะคุ้มครอง ทุกคนเคารพศรัทธาในหลวงปู่ได้ประพฤติปฏิบัติตาม จึงมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข

    หลวงปู่หงษ์ เป็นพระธุดงค์ ถือสันโดษ โปรดสัตว์ จึงไม่ติดกับที่อยู่ หรืออมิสลาภ จึงได้ลาญาติโยม เพื่อจาริกแสวงบุญต่อเรื่อยมา

18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-12 00:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อฟู

    ประวัติหลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา  

เมืองแปดริ้ว แห่งลุ่มน้ำบางปะกง ประตูสู่ภาคตะวันออกดินแดน เศษรฐกิจของประเทศอันเป็นรากฐานของประเทศ ดินแดนแห่งนี้อุดมไปด้วยทรัพยากรณ์ ทั้งแร่ธาตุ และแหล่งท่องเที่ยว  รวมทั้งในแง่ศาสนาและความเชื่อ ดินแดนนี้มากมายไปด้วยเกจิอาจารย์เก่งกล้าวิทยาคม มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย หนึ่งในนั้นมีนามของ พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณ พระมงคลสุทธิคุณ หรือ หลวงพ่อฟู อติภทฺโท เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร อ.บางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ศิษยานุศิษย์ต่างขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำบางปะกง
        หลวงพ่อฟู เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบางวัว เป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันอายุ ๙๐ ปี ๗๐ พรรษา  หลวงพ่อฟูเป็นพระสุปฏิปันโน พระนักปฏิบัติ ผู้เปี่ยมด้วยเมตตา อาคมขลัง สืบทอดพุทธาคมจากครูบาอาจารย์ที่โด่งดังหลายรูป เช่น สายหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว พระอุปัชฌาย์ ที่เมตตาและถ่ายทอดวิชาให้ทั้งหมด หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ศึกษาต่อจากหลวงพ่อจอม หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี ทั้งวิชาเสืออาคม เสือสมิง ปลัดขิก หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ ซึ่งถ่ายทอดวิชาหน้าผากเสือ และปลัดขิก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ อันลือลั่น และยังถือได้ว่าเป็นศิษย์องค์สุดท้ายของหลวงพ่อดิ่ง ที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคม ในการสร้างวัตถุมงคล ลิงหรือหนุมานอันลือเลื่อง และสุดยอดวิชาของหลวงพ่อดิ่งคือวิชา “สูญผีไล่ผี คาถาพระเจ้าสิบหกพระองค์”


หลวงพ่อฟู เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ในวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ที่วัดบางสมัคร โดยมีพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว) ผู้เป็นพระอาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อชื่น วัดทองนพคุณ เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูเมธีธรรมโฆสิต (พระมหาจอม) วัดบางสมัคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า “อติภัทโท” หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาด้านคันถธุระ ที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ จนสามารถสอบได้นักธรรมโท และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดอุทยานที จ.ชลบุรี เพื่อเรียนนักธรรมเอก

จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านก็สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค ต่อมาพรรษาที่ ๑๖ พ.ศ.๒๕๐๑ หลวงพ่อฟูได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอู่ตะเภา จ.ชลบุรี เลื่อนอันดับเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหนองไม้แดง จ.ชลบุรี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา ว่างเว้นลง ชาวบ้านและญาติโยมจึงนิมนต์ท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางสมัครจวบจนปัจจุบัน     
ทั้งชีวิตท่านอุทิศเพื่อพระศาสนา ได้พัฒนาวัดบางสมัครจนเจริญรุ่งเรืองเป็นวัดที่ใหญ่โตและกว้างขวาง วันนี้มีพระอุโบสถ ที่ใหญ่ที่สุดในเขต อ.บางปะกง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านได้รับรางวัลพระราชทานเสมาธรรมจักรทองคำ สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความปลื้มปีติให้แก่ศิษยานุศิษย์ทั่วทุกหย่อมหญ้า ในด้านการศึกษา หลวงพ่อฟู ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมให้พระภิกษุสามเณรรุ่นใหม่อีกด้วย   

หลวงพ่อฟู ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบสานวิทยาคมสายตรงจาก หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว โดยแท้ เนื่องจากเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านและยังเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมขลังยิ่ง วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมและกล่าวขานกันมากคือ เหรียญรูปไข่ รุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๘๑ ตะกรุดเสือเสื้อยันต์  ลิงจับหลักแกะจากรากพุดซ้อน ว่ากันว่า หลวงพ่อดิ่ง ได้ถ่ายทอดวิชา “สูญผีไล่ผี คาถาพระเจ้าสิบหกพระองค์” อันเป็นวิชาชั้นสูงสุดของท่านและวิชาการสร้างลิงจับหลักที่แกะจากรากต้นพุดซ้อนให้หลวงพ่อฟูจนหมดสิ้น






หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี ก็ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาทำเครื่องรางของขลัง “ตะกรุด ผ้ายันต์ ปลัดขิก เสืออาคม เสือสมิง การเขียน และลบผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห และการสร้างพระปิดตา” ให้แก่หลวงพ่อฟูเช่นกัน
นอกจากนี้ หลวงพ่อบุญมี วัดบึงกระจับ จ.ฉะเชิงเทรา พระอาจารย์ผู้โด่งดังทางด้านการสร้างลูกอม ก็ได้ถ่ายทอดวิชากรรมฐานในการออกธุดงค์  คาถาที่ใช้ภาวนา คือ “อะระหัง” กับ “นะ ขัตติยะ” ให้กับหลวงพ่อฟูด้วย
หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี ก็เป็นอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่หลวงพ่อฟูให้ความเคารพ หลวงพ่อเริ่มนั้นไม่ธรรมดาสืบสานวิชา “ฝนแสนห่า” และ “สีผึ้งเจ็ดจันทร์” จากหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก วิชาทำปลัดขิก วิชาหน้าผากหนังเสือ จากหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ โดยตรง  วิชาทำผง ๑๒ นักษัตรของหลวงปู่เทียนวัดโบสถ์ วิชาการสร้างพระปิดตา และวิชาโหราศาสตร์จากสมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ วิชาเหล่านี้หลวงพ่อเริ่มได้ถ่ายทอดให้หลวงพ่อฟูในฐานะศิษย์เอกจนครบถ้วนด้วย
   
ส่วน หลวงพ่อบุญมา วัดอุทยานที จ.ชลบุรี ก็ได้สอนตำราพระเวทสายเกจิอาจารย์ชายฝั่งทะเลตะวันออก และสูตรการผสมผงสร้างพระปิดตาสายวัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี ให้แก่หลวงพ่อฟู และวิชาการทำยาหอม ยาหม่อง น้ำมันใส่แผล จากสมุนไพรต่าง ๆ ซึ่งทุกวันนี้หลวงพ่อฟูได้นำมาใช้และแจกจ่ายประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่าใด ๆ ทั้งสิ้น



19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-4-12 01:17 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อประทวน  จารุธัมโม

26ม.ค.55 พระครูวินัยธร  ชัยประเมศร์ หรือ หลวงพ่อประทวน  จารุธัมโม เจ้าอาวาสวัดสบกเขียว  ต.ศรีนาวา  อ.เมือง จ.นครนายก  เป็นประธานจัดพิธีไหว้ครู-อาจารย์และเจ้าของโบสถ์เก่าอายุกว่า300 ปี ภายในวัดสบกเขียว โดยมีคณะศิษยานุศิษย์จากทั่วทุกสาระทิศ ผู้ประกาศข่าวทีวี  รวมทั้งเหล่าดาราศิลปินและนักร้องจำนวนมากเดินทางมาร่วมพิธี จากนั้นหลวงพ่อทวนได้นำเอาเศียรพญานาคมาครอบศีรษะผู้ที่มาร่วมงาน เพื่อเสริมบารมีและเสริมมงคลชีวิต ก่อนร่วมกันแจกผ้าห่มให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดสบกเขียวอีกด้วย

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขอบใจ จร้า
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้