ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1961
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ธรรมะมีอันเดียว

[คัดลอกลิงก์]
ธรรมะมีอันเดียว



ในเบื้องแรกจะพูดถึงเรื่องกระทำให้จิตใจสงบจะทำอย่างไรต่อไปอธิบายธรรมะธรรมะมีทุกๆศาสนาเพื่อความสงบแต่ก็มีวิธีการต่างๆกันไปบ้างเล็กๆน้อยๆจะพูดถึงเรื่องจะทำให้จิตใจสงบจิตเรานี้มันคืออะไร?อยู่ตรงไหน?อันนี้ตอบยากจิตนี้มันก็ไม่คืออะไรก็เพราะมันไม่เป็นอะไรความรู้สึกในก้อนอันนี้อะไรเป็นคนที่นำไปนำมาเป็นคนที่รับรู้เป็นคนที่รับรู้อารมณ์คนนั้นแหละเจ้าของบ้าน
อย่างโยมมาวันนี้ใครมาต้อนรับก็อาตมานี้แหละเจ้าของบ้านมารับโยมก็เพราะอาตมาอยู่ตรงนี้จิตนี้ก็เหมือนกันฉันนั้นอารมณ์ทุกอย่างมันมากระทบทางตาหู จมูก ลิ้นกาย ใจใครเป็นคนที่รับรู้คนนั้นแหละสมมุติกันเรียกว่าผู้รู้เราต้องการอบรมคนนั้นต้องการอบรมคนที่รับรู้อะไรต่างๆต้องการคนนั้นอันนั้นก็มันคืออะไร?ที่สมมุติเขาเรียกว่าจิตบ้างผู้รู้บ้างสารพัดอย่างจะหาตัวจริงแล้วก็ไม่มีอะไรเหมือนกรุงเทพฯมีหรือไม่มีก็ไม่รู้จักกรุงเทพฯแต่ชื่อกรุงเทพฯเห็นแต่คนบ้านเรือน ไม่รู้ว่ากรุงเทพฯอยู่ตรงไหนจะว่ากรุงเทพฯมีหรือไม่มีก็ไม่รู้ดูเอา จิตใจนี้ก็เหมือนกันจะว่ามันมีใครเป็นผู้รับรู้อะไรต่างๆซึ่งเห็นทางตาได้ยินทางหูใครเป็นคนรับรู้ต้องการอบรมคนนั้นคนนั้นเรียกว่าผู้ที่รับรู้คนรู้นั้นฉลาดไหม?รู้ผิดรู้ถูกแล้วหรือยัง?ต้องการคนนั้น
ที่เราอบรมนี้ไม่พูดถึงศาสนาใดๆพูดถึงคนทุกๆคนมันเป็นอย่างนั้นทุกคนต้องอาศัยอันนั้นในทางพุทธศาสนาต้องการอบรมคนนี้ให้เกิดความฉลาดเกิดปัญญา เกิดความรู้ขึ้นมาทับความรู้สึกอันเก่าซึ่งเป็นความรู้ธรรมดาๆมันชอบตรงไหนมันก็รัดตรงนั้นมันชอบตรงไหนมันก็ติดตรงนั้นมันตะครุบทั้งนั้นเหมือนเด็กปล่อยไปก็จับตะครุบทั้งนั้นคือมันยังไม่รู้เรื่องอันนั้นเรียกว่าผู้รับรู้เฉพาะคนปกติธรรมดาอย่างนั้นจึงมีความผิดความเดือดร้อนไม่รู้จักแก้ละวาง เพราะเป็นธรรมชาติของเด็ก
บัดนี้ผู้ที่ต้องการความสงบท่านไปพบแล้วให้รู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นตามความเป็นจริงและก็สอนคนๆนั้นอันนี้ท่านเรียกว่าจิตผู้รู้ถ้าเรารู้จักคนนี้คือใครอย่างนั้นต้องรู้ด้วยปัญญาจะถามปัญหาว่ากรุงเทพฯอยู่ไหน?อยู่โน่น ไปดูทั้งวันไม่เห็นกรุงเทพฯทั้งหมดเรียกกรุงเทพฯหากรุงเทพฯจริงๆไม่รู้จักจิตเราก็เช่นกันที่เรียกว่าจิตอยู่ตรงไหน?แต่เราก็พอรู้สึกได้ทุกคนท่านอบรมอย่างนั้น
ฉะนั้นเบื้องต้นของการอบรมเรียกว่าคนรู้คนนี้ยังมีจิตสกปรกไม่รู้ความเป็นจริงเหมือนเด็กเปรียบเหมือนผ้าของเราที่มันสกปรกคือไม่สะอาดความสะอาดอยู่ตรงไหนความสะอาดก็อยู่ตรงที่มันสกปรกนั่นเองไม่ได้อยู่ที่ไหนถ้าเราเอาความสกปรกออกก็เห็นความสะอาดไม่ต้องหาไกลอยู่ตรงนั้นเราจะรู้สิ่งทั้งหลายได้เราก็ค้นที่ตรงนั้นเองที่เขาเรียกว่าจิต ที่รู้ตามความจริงความจริงที่เรียกว่าสัจจธรรมทุกๆคนไม่ได้แต่งตั้งบัญญัติขึ้นเองแต่มีอยู่อย่างนั้นแม้แต่ครูอาจารย์ในศาสนาใดๆก็มิได้ตั้งขึ้นมาคือสัจจธรรมพระเจ้าองค์ไหนๆก็ตามรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตามความจริงก็เป็นอยู่อย่างนั้นเราไปเห็นเข้าจะร้องไห้หรือหัวเราะก็ตามทีจะชอบไม่ชอบก็ตามสัจจธรรมก็คงเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้นท่านจึงฝึกให้เรารู้จักสมมุติบัญญัติ
ในทางพระพุทธศาสนานี้มีกายวาจา จิต เป็นพื้นทุกคนเกิดมามีพร้อมเลยทั้งหมดก้อนนี้เรียกว่ากายวาจาคือคำพูดจิตคือผู้รู้ทั้งหลายคุ้มครองอยู่นี่เป็นพื้นฐานจริงๆเมื่อเราจะปฏิบัติธรรมะให้มีความสงบการทำความสงบก็ต้องมาทำพื้นฐานกายธรรมดาของเรากายการเบียดเบียนฆ่าสัตว์การลักทรัพย์การประพฤติผิดในกามก็เนื่องมาจากกายบรรพบุรุษรู้มาก็พยายามละสิ่งที่มันผิดนั้นคือล้างสกปรกให้สะอาดวาจาพูดเท็จ พูดส่อเสียดพูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อที่มีอยู่ในจิตใจของใครให้ละอันนั้นคิดโลภ โกรธ หลงพยาบาท อาฆาตที่มีอยู่ในความรู้สึกของเรานั้นก็พยายามทำให้หมดไปเราจะเห็นจิตที่บริสุทธิ์เช่นว่าน้ำที่มันกระเพื่อมอยู่แต่เราอยากเห็นตัวเราจะทำอย่างไรเรามองลงไปก็ไม่เห็นน้ำกระเพื่อมทำน้ำให้นิ่งก็จะเห็นหน้าตาเพราะมีกำลังอย่างที่เรียกว่ามองเห็นตัวเราเองสัตว์ต่างๆผ่านมาเราก็จะรู้จักหมดเพราะอาศัยความนิ่งใครอยากเห็นตัวเองก็ทำอย่างนั้นเป็นอุบายอันหนึ่งก็ให้อบรมตรงนี้พื้นฐานคือทำกายวาจาจิตให้บริสุทธิ์คือให้มันไม่มีโทษไม่มีความผิดในสามอย่างนี้เป็นพื้นฐานสมกับที่บุคคลนั้นจะบำเพ็ญจิตให้สงบอันนี้เป็นพื้นฐานทีนี้ต่อไปลงมือทำอย่างไร
ความรู้สึกที่เรียกว่าจิตของเรานี้บางคนก็ว่าจิตของฉันมันมากเหลือเกินเดี๋ยวมันไปโน่นไปนี่ สารพัดอย่างจิตนี้มันเป็นของไม่อยู่นิ่งมันชอบคว้าอันนี้ยึดอันนี้วุ่นวายเกิดความไม่สงบฉะนั้นเราต้องการอันนี้ให้สงบวิธีนี้ท่านว่าทำจิตให้มันนิ่งคือทำน้ำให้มันนิ่งเอาอะไรเป็นหลักกาย วาจา ใจ เอาอะไรเป็นหลักที่เราจะต้องทำวันนี้จะพูดว่าเอาลมเป็นหลักลมในทางพุทธศาสนาเรียกว่าอานาปานสติซึ่งเป็นมงกุฎของกรรมฐานทั้งหลายมีในทุกๆคนและเป็นของง่ายเพราะธรรมดาเราก็หายใจเข้าออกอยู่แล้วไม่ต้องจำเป็นที่จะไปกำหนดอันโน้นอันนี้มากๆพอเราหลับตาเข้าไปก็รู้สึกกำหนดลมรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก
ให้ทำความรู้รวมอยู่ในอันนี้ในลมอันนี้ดูซิใครลืมไหม?ลมอันนั้นแหละไม่ต้องไปยึดเอาเสียงอื่นๆเข้ามาเอาตรงนั้นพยายามทำไม่ต้องคิดหรือคิดก็ไม่ต้องเอาใจใส่ว่ามันจะรู้อะไรหรือว่ามันจะเห็นอะไรอย่าให้มันแยกออกไปเราจะกำหนดลมหายใจหายใจเข้า หายใจออกหายใจเข้าไปต้นลมอยู่ที่จมูกกลางลมอยู่ที่หทัยปลายลมอยู่ที่สะดือจบตรงนั้นเมื่อลมจะออกมาก็กำหนดลมอยู่ที่สะดือลมผ่านมาหทัยปลายลมอยู่ที่จมูกอันนี้เป็นที่สังเกตอันนี้จมูกก็มีอยู่แล้วหทัย สะดือก็มีแล้วจมูกก็รู้จักลมก็รู้จักเบื้องต้นท่ามกลางที่สุด สามฐานหายใจเข้าไปปลายจมูกหทัย สะดือ เท่านี้ทำความรู้สึกเท่านี้แล้วก็นั่งในท่าสบายก็ได้คือขัดสมาธิเพราะนั่งอย่างนี้เลือดลมวิ่งสะดวกแล้วทำกายให้ตรงมือขวาทับซ้ายขาขวาทับขาซ้ายตั้งกายตรงกำหนดลม ลมนี้จะผ่านเข้าต้นลมกลางลม ปลายลมออกก็ผ่าน เรารู้จักหายใจเข้าตรงนี้ตรงนี้ ตรงนี้ออกก็กำหนดรู้


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-20 12:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ลมในฐานทั้ง๓ นี้ ให้รู้สึกลมนี้อย่าไปทำให้มันยาวอย่าบังคับให้สั้นอย่าให้แรงปล่อยกายจิตผู้รู้ให้มันสบายแล้วก็สูดลมเข้าไปความรู้สึกตามลมเข้าออกนี้ความรู้สึกในระยะนั้นมันจะเกิดขึ้นหลายอย่างแต่อย่าเอาใจใส่ความรู้สึกจะกำหนดว่ามันจะรู้อะไรไหม?มันจะเป็นอะไรไหม?อย่าตามมันไปให้กำชับเสมอว่าเราจะรู้สึกปลายจมูกหทัย สะดือ ตามกำหนดสั้นก็ไม่เอายาวก็ไม่เอาเอาพอดี ตั้งใจกำหนดลมเสมอเรื่อยๆจนชำนาญแล้วต่อไปมันจับตรงนี้มันหยาบรำคาญก็มากำหนดที่จมูกจุดเดียวลมเข้าออกไม่ต้องตามจนกว่าสติสัมปชัญญะรวมกันเข้ารวมกันก็เห็นลมก็เห็นจิตเห็นจิตก็เห็นสติเห็นสติก็เห็นสัมปชัญญะรู้รอบอยู่เสมอแล้วก็หยุดอยู่ไม่ต้องขวนขวายอย่างอื่นเลยเบื้องแรกทำดังนี้
หลับตาพอมันจรดกันเท่านั้นไม่เกร็ง ทำความรู้สึกกับลมหายใจทำดังนี้เรื่อยไปและก็เดินจงกรมบ้างกำหนดเอาต้นเสาสัก๕-๖ วา โดยทำเช่นนี้เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถทั้ง๔ให้มีสติว่าอะไรเป็นอะไรในตัวเองค่อยๆก้าวไปนึกรู้มีสติทุกเมื่อนี่คือต้นทางกลางทางปลายทางเดินไปมาอยู่อย่างนั้นถ้ามันฟุ้งซ่านก็หยุดกำหนดใหม่แล้วเดินต่อไปเหนื่อยก็พักมีสติอยู่เสมอรู้จักเจ้าของเสมอๆในระยะการถูกบังคับของผู้รู้นี้มีการส่าย ฟุ้งซ่านปรุงแต่งเรื่องราวหลายๆเรื่องเกิดขึ้นมาให้นึกว่าสักแต่ว่าจิตอย่าไปยึดมั่นในความเห็นของเราจนเป็นอุปาทานอย่าไปยึดมั่นในความเห็นของคนอื่นจนเป็นอุปาทานที่มีความรู้สึกเห็นขึ้นมาก็ปล่อยความดีใจเกิดขึ้นมารู้แล้วก็สักว่าดีเฉยๆสุขนี้ก็เรียกว่าสุขเวทนาเราก็ปล่อยทุกข์เกิดขึ้นเมื่อเดินนั่ง นอน ให้รู้จักว่าอันนี้สักว่าทุกขเวทนาไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเรา เขา แล้วก็วางการนอนกำหนดลมในท่าสีหไสยาสน์ตะแคงขวาทำความรู้สึกว่าเราจะไม่เอาความสุขในการนอนการนอนนี้ไม่ใช่จิตมันนอนคือร่างกายเข้าไปพักผ่อนถ้าจิตมันรู้เต็มที่ของมันแล้วจิตไม่นอนอย่างนั้นผู้ที่รู้แล้วเป็นต้นไม่มีฝันฝันไม่ได้คนตื่นจะไม่ฝันไม่มีอะไร อย่างเรากำหนดจะพักสัก๒ ชั่วโมง พอถึง๒ ชั่วโมง มันก็ตื่นขึ้นเมื่อตื่นขึ้นมาก็มีความรู้สึกอย่างแจ่มแจ้งใจสบาย มันตื่นจากจิตนี่ก่อนลืมตาก่อน เมื่อมันจะตื่นที่จิตก่อนแจ้ง สงบอยู่อย่าไปเชื่อมั่นในความคิดของเราจนเกินไปอย่าเข้าใจว่ามันผิดมันถูกอย่าเชื่อ อย่าไม่เชื่อเพราะคนอื่นพูดจนกว่าจะรู้แจ้งแก่ตนจึงให้ยึดหลักอันนี้ไว้ผู้ประพฤติปฏิบัติต้องนึกอย่างนี้
การฝึกธรรมก็คือทำจิตให้สงบเป็นสมาธิอย่าให้สูงนักอย่าให้ต่ำนักวางไว้เฉพาะพอดีอย่าไปบังคับมากเช่นบังคับมากคือบังคับลมมากบังคับกายมากบังคับความคิดมากวางไว้พอดีให้รู้จักว่าหูให้ได้ยินแล้วให้จิตมันรู้เท่านั้นมันจะเก็บเข้าไปเองของมันถ้าเราฟังดีมันจะเกิดปัญญาฟังนี้ไม่ต้องเปรียบเทียบอะไรฟังโดยรู้อยู่ในความสงบเฉยๆอันนี้ความรู้จึงจะเกิดขึ้นในความสงบพูดถึงรากฐานที่เราต้องการจะปฏิบัติเราอาศัยก้อนที่เรานั่งนี้เป็นอยู่ที่เรียกว่าขันธ์๕ รูป เวทนาสัญญา สังขารวิญญาณ
รูปก็ได้แก่สภาวะที่เรามองเห็นด้วยตาเป็นรูปเวทนาคืออย่างที่เรานั่งเกิดร้อนเจ็บปวดเรียกว่าทุกขเวทนาเกิดขึ้นกับรูปนี้จิตเป็นคนที่จะรู้จักสัญญาความจำจำวันนี้พรุ่งนี้สังขารความนึกคิดปรุงแต่งสารพัดอย่างจิตใจของเรานั้นมันจะปรุงแต่งปรุงในสิ่งที่มันเหมาะสมในสิ่งที่ไม่เหมาะสมมันสั้นเราจะปรุงให้ยาวมันยาวเราจะปรุงให้มันสั้นอะไรทั้งหลายเหล่านี้เป็นเรื่องปรุงแต่งวิญญาณผู้รู้ซึ่งนามธรรมซึ่งมันอาศัยในรูปนี้ปัจจุบันมันรู้ทุกอย่างทุกประเภท เรียกว่ามันรู้นี่เรียกว่าวิญญาณ
ย่นย่อทั้ง๕ อย่างนี้ว่ามีกายกับใจเท่านี้เองใจคือสภาวะที่รู้สึกทุกคนอาศัยอยู่กับรูปนามที่เราจะมีความสงบก็เพราะรู้รูป-นามมีความทุกข์มากมายก็ไม่รู้จักรูปนามตามความเป็นจริงคือเราไม่รู้จักทุกข์คือคนเรานี้รู้จักทุกข์ทุกคนแต่รู้แล้วโยนทิ้งไม่ได้รู้แล้วก็แบกไว้เพราะอะไร? ไม่รู้จักทุกข์ถ้าเรารู้จักทุกข์มันก็รู้จักปล่อยมันร้อนก็ต้องโยนทิ้งใครบอกก็ไม่เชื่อนี่เรียกว่ามีตัวอุปาทานยึดไว้ที่ปฏิบัตินี้ก็เพื่อให้รู้จักทุกข์ทุกข์อันนี้เกิดมาแล้วกายก็ไม่สบายเพราะความสบายนั้นคือความที่ว่าไม่มีทุกข์อยู่ด้วยความสงบที่เราจะมีความสงบจะได้ความสงบนั้นมันไม่ใช่ภูเขาแม่น้ำ ป่าชัฏความสงบจะมีขึ้นเพราะความเห็นชอบด้วยปัญญา
เราจะอยู่ตรงไหนก็สงบคือเรารู้จักทุกข์ทุกข์นั้นคือความไม่สบายกายไม่สบายใจ เกิดมาแล้วทุกข์ก็มีรากฐานที่จะเกิดขึ้นมาเหตุให้ทุกข์เกิดถ้าไม่มีเหตุทุกข์ก็ไม่เกิดทุกข์นี้เกิดมาจากเหตุจะเป็นรูปนามที่ไหนก็ตามทุกข์นี้ปรากฏฉะนั้นพุทธศาสนานี้มาแสดงให้รู้จักทุกข์ตามภาษาและตามเป็นจริงนั้นธรรมที่เราติดกันมาทุกรูปทุกนามนี้มันก็เหมือนกันถ้าเราไปรู้ความเป็นจริงมันแล้วมันจะไม่มีอะไรที่โต้แย้งกันเลยไม่มีอะไรเถียงกันเลยมันจะเป็นอันเดียวกันคือธรรมชาติเปรียบได้กับสุนัขมันไม่เปลี่ยนแปลงไปพบที่ไหนๆก็เหมือนกันหมดมันจะเปลี่ยนแปลงเฉพาะมนุษย์เราเท่านั้นของที่ไม่เปลี่ยนแปลงมีอยู่แต่คนเรามันเปลี่ยนแปลงกันหลงสมมุติ เช่นว่าศาสนาทุกศาสนาแสดงถึงความสงบกันแต่ว่าการหาความสงบนั้นมีวิธีการต่างกันแต่ความสงบเป็นอันเดียวกันแต่อาการต่างกัน
ไอ้ความร้อนนี่ต้มน้ำร้อนขึ้นมาให้ฝรั่งจับจะรู้สึกว่าร้อนคนจีนจับก็ร้อนคนไทยจับก็ร้อนเหมือนกันแต่จะพูดคำที่ว่าร้อนไม่เหมือนกันเท่านั้นมีอาการเหมือนกันก็เลยมาแย้งตรงคำพูดของฉันไม่เหมือนคุณคุณไม่เหมือนฉันของฉันถูก ของคุณผิด
ตามธรรมชาติแล้วความจริงคือสัจจธรรมเหมือนกันจะเป็นใครมาเห็นมันก็เหมือนกันเราทุกคนก็เช่นเดียวกันทุกข์เกิดขึ้นมารู้เหมือนกันรู้ว่าทุกข์แต่ว่ารู้แล้วทิ้งทุกข์ไม่ได้พระท่านว่าอย่างนี้ไม่ใช่รู้ทุกข์คนไปประสบทุกข์เฉยๆถ้ารู้ก็ต้องทิ้งได้เมื่อรู้อย่างนี้จริงๆก็ต้องจำที่เกิดมันด้วยว่ามันเกิดจากอะไรทุกข์มีขึ้นเพราะอะไรเมื่อรู้จักทุกข์เรารู้จักชัดแล้วก็ไม่สร้างมันขึ้นมาเช่นเรารู้ว่าไฟมันร้อนจับแล้วเกิดทุกข์ถ้าจับเดี๋ยวนี้จะร้อนเดี๋ยวนี้นั่นเรียกว่าเป็นตัวเหตุเราไม่ทำ รู้จักทุกข์รู้จักเหตุเกิดของทุกข์เช่นว่า ทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะอุปาทานความหมายมั่นเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดเราให้รู้เข้าไปถึงว่ารู้จักทุกข์แล้วรู้จักเหตุทุกข์รู้จักความดับทุกข์รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เช่นเรายกแก้วขึ้นใบหนึ่งแก้วนี้เป็นของมีประโยชน์แต่บุคคลให้รู้จักใช้ใส่น้ำยกขึ้นมาแต่ให้รู้ว่าภาชนะนี้ภายหน้าต้องตกแตกแก้วแตกแล้วเห็นชัดตอนที่ยังไม่แตกหรือรู้ว่าชีวิตข้างหน้านี้มันไม่เที่ยงจะต้องดับในวันใดวันหนึ่งเรารู้สึกเช่นนี้เราเห็นคนเกิดคนตายพร้อมกันมีเกิดมีดับพร้อมกันเรารู้อย่างนั้นแล้วแก้วใบนี้จะพ้นจากพิษภัย...ทำไม?เพราะรู้เหตุทุกข์จะเกิด
บัดนี้เราเรียนรู้แล้วเห็นลึกเข้าไปเกินธรรมชาตินี้เรียกว่าการเห็นธรรมะถ้ามันแตกทุกข์ก็จะไม่เกิดเพราะเรารู้แล้วมันจะเกิดทุกข์เมื่อแก้วแตกเรารู้แตกก่อนแตกส่วนพวกเราขณะนี้รู้แตกทีหลังแตกเมื่อแก้วแตกก็เป็นทุกข์ที่ไม่เสียใจเพราะอะไร?เพราะฉันถอนอุปาทานออกจากตรงนั้นแล้วอุปาทานคือความมั่นหมายว่าเราว่าของเราเราเห็นเหตุเช่นนี้ทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้ธรรมทั้งหลายเกิดมาจากเหตุความสงบจะเกิดขึ้นมาก็เพราะมันมีเหตุเมื่อเรามารู้เหตุธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล้วสิ่งอื่นไม่ต้องรู้มันเลยก็ได้อันนี้เราเรียกว่าเรารู้จักธรรมชาติเพราะเราเห็นทุกข์รู้จักความดับทุกข์รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์คือทำอย่างไร?คือทำความเข้าใจให้รู้ชัดเข้าไปแล้วว่าแก้วใบนี้ก็เหมือนคนคนก็เหมือนแก้วใบนี้ถ้าคนรู้จักเกิดแล้วก็รู้จักตายถ้ารู้จักตายก็รู้จักเกิดความเกิดนั้นเห็นปุ๊บก็รู้จักความตายมันเกิดมาแต่เหตุถ้าไม่มีเหตุผลก็ไม่มีถ้าหากว่าก่อนมันจะดับผลนี้มันต้องดับเหตุก่อน
ฉะนั้นเรื่องการทำภาวนาที่ทำดังนี้เพื่อให้เห็นปรมัตถธรรมตามเป็นจริงจริงจนเมื่อไปเห็นแล้วทุกข์มันเกิดขึ้นไม่ได้เพราะได้เห็นแล้วสุขทุกข์ก็เกิดขึ้นไม่ได้เพราะความรู้สึกของเราอยู่เหนือมันเสียแล้วนี่เป็นทางของพระโยคาวจรเจ้าผู้ปฏิบัติโดยมาก ก็สมกับที่ว่าเป็นนักบวชนักแสวงหาทางพ้นทุกข์อยากจะพ้นภัยด้วยกันทั้งนั้นความเป็นจริงมันมีอันเดียวกันอยู่อย่างนี้ไม่ต้องมีอันอื่นเลยรู้ทาง ๔ อย่างเท่านี้รู้จักทุกข์รู้จักเหตุเกิดของทุกข์รู้จักความดับทุกข์รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์๔ ประการนี้พอแล้วไม่ต้องไปรู้คัมภีร์อะไรมากมายนักฉะนั้นพวกเราทั้งหลายที่มาฝึกจิตจิตที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ให้ตามรู้ของมันเสียตามดูจิตให้รู้จักจิตของตนและรู้จักสั่งสอนจิตของตน
ฉะนั้นที่เราอบรมผ่านมาในวันนี้จึงให้ความเห็นว่าการทำสมาธิคือทำจิตให้มีอารมณ์อันเดียวแล้วมีกำลังการทำจิตนี้ให้มีกำลังจะต้องทำจิตให้หยุดหยุดคิดหยุดนึกหยุดวุ่นวายสารพัดอย่างมีอารมณ์เดียวอยู่อย่างนี้คนทุกคนถ้ายังไม่เห็นอันนี้ก็ยังไม่รู้เรื่องของอันนี้บางคนจะเห็นว่า"การหลับตานี้ฉันไม่เห็นด้วยแม้ฉันลืมตาก็ยังไม่มองเห็นไกลนี้ท่านสอนให้หลับตาจะมองเห็นแค่ไหน"คำพูดเช่นนี้ก็เชื่อความเห็นของเจ้าของมากเกินไปถ้าเราลืมตาจะเห็นได้ไกลแค่ไหนถ้าเราหลับตาแล้วพิจารณาทางจิตล่ะจะเห็นได้ไกลไหม?เคยไปตรงไหนเราจะเห็นตรงนั้นเร็วที่สุดไม่มีอะไรเปรียบนึกเมื่อไรก็เห็นทันทีนี่วิสัยของผู้นั่งหลับตาท่านพูดเฉพาะเรื่องจิตเรื่องจิตเป็นอย่างนี้

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-3-20 12:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
อันหนึ่งมาพูดเรื่องกายกันเช่นมาพูดถึงเรื่องการตายเช่นนี้ก็ไม่รู้เรื่องกันเพราะเห็นตายธรรมดาเช่นนี้คนตายนอนไม่หายใจตายมนุษย์ทั้งหลายเห็นเช่นนี้ตายกันทุกคนแต่ว่าตายทางจิตไม่เคยทำคนตายเด็กๆมันก็รู้แต่ว่าคนตายเมื่อไรทุกข์เมื่อนั้นโศกเศร้า ตรงนั้นปราชญ์ทั้งหลายสอนไว้ตายนั้น คนเห็นว่าตายแต่ท่านเห็นคนตายยิ่งไปกว่านั้นคนตายเดินได้คนตายพูดได้คนตายหายใจได้เคยเห็นไหม?ใครเคยนึกไหม?เราจะเห็นว่าคนเช่นนี้ไม่ใช่คนตายเมื่อไม่เห็นตายก็ไกลมากจากความจริงเราก็จะเห็นแต่ว่าคนนอนไม่หายใจคือคนตายคนที่เดินได้ไม่รู้เรื่องคือไม่รู้จักตายเป็นเรื่องจะต้องพิจารณาให้แยบคายไปอีกทีพระพุทธองค์ท่านสอนให้รู้จักตายหมายถึงความประมาทความรู้จักว่าสิ่งนี้ผิดแล้วแต่ทำอยู่เห็นแล้วว่าอันนี้มันจริงอยู่มันดีอยู่แต่ไม่ทำคนนี้อาศัยความประมาทเป็นอยู่เรียกว่าคนตาย
ฉะนั้นจะทำจิตให้มีกำลังนี้จะต้องทำจิตใจให้มันหยุดนิ่งเหมือนกับมีดลับไว้ให้คมไม่ฟันทุกสิ่งเรื่องการสำรวมทางจิตไม่รับหลายอารมณ์บางคนนั่งคิดไปไหนก็ไม่รู้ไปเหลือแต่ซากเหมือนคนตายบางทีคิดถึงเรื่องในอดีตเรื่องต่างๆนี่ตายแล้วเหลือแต่ซากฉะนั้นท่านจึงทำจิตให้มีกำลังมีกำลังเพื่ออะไร?เพื่อต่อสู้ให้มันรู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เมื่ออายตนะที่มันพบกับอารมณ์ต่างๆเช่นตาหูจมูกลิ้นกายใจมากระทบกับรูปรสกลิ่นเสียงเข้าให้มีกำลังแกร่งแข็งนี่เรียกว่าฝึกจิตให้มีกำลัง
กายกับจิตมันอยู่ที่อันเดียวกันอาศัยกันอยู่แต่กำลังไม่เหมือนกันการออกกำลังทางจิตอย่างหนึ่งออกกำลังทางกายอย่างหนึ่งถ้าหากเรากำหนดจิตให้มีอารมณ์อันเดียวอยู่ได้ประมาณ๑ ชั่วโมง สงบเราจะรู้ว่าสภาวะผู้รู้ที่มีอยู่ในตัวเราจะแปรเปลี่ยนไปทีเดียวมันจะชัดทุกอย่างปัญญาจะเกิดขึ้นตรงนี้เมื่อสิ่งเหล่านี้หยุดมันจะรู้จักทุกข์ที่เราทำทุกวันนี้ก็เพื่อให้เรารู้จักทุกข์รู้เหตุทุกข์ความดับทุกข์และข้อปฏิบัติทางดับทุกข์เป็นทางออกเป็นของแต่ละคนปุถุชนอันธพาลชนอริยชนมันเปลี่ยนตรงนี้เองเปลี่ยนตรงความรู้สึกอย่างนี้เพราะปัญญาอันนี้เพราะความสงบมันมีปัญญาก็เกิดเกิดแล้วขึ้นมาเห็นสภาวะทั้งหลายแปรเปลี่ยนเพราะว่าเห็นชัดในสัจจธรรมอย่างตรงไปตรงมาเห็นสภาวะทั้งหลายไม่มีทุกข์เพราะเรารู้จักทุกข์บางคนกลัวทุกข์อันที่จริงเราก็ปฏิบัติทุกข์เกิดขึ้นมาไม่ต้องกลัวรู้มันเสียถ้าไม่รู้เมื่อไรพบกันข้างหน้าก็ทะเลาะกันอีกถ้าได้รู้จักทุกข์ในที่นี้เสียแล้วไปที่ไหนก็รู้จักทุกข์ชนะตรงนี้ไปที่ไหนก็ชนะ
การอบรมจิตมีมากอย่างเอาเป็นว่าเรานั่งอยู่นี่มันมีอะไรมากเราจะกำหนดเอาง่ายๆนี่คือกายความรู้คือจิตผู้รู้สุขทุกข์นี้คือกายกับจิตเท่านั้นไม่มีอะไรอีกเราก็อบรมกายกับจิตเท่านี้เป็นพอเมื่อรู้กายกับจิตก็รู้จักทุกข์
เราฝึกสมาธิอันนี้เพื่อให้ปัญญามันเกิดให้จิตสงบลงไปให้กลัวจิตของเรากลัวว่าเมื่อพบความสุขแล้วจะอดไม่ได้แต่คนเรากลับไปกลัวอย่างอื่นเรื่องจิตที่ฝึกแล้วที่สงบจะไปถามใครไหม?ไม่ต้อง อันนี้เป็นปัจจัตตังรู้เฉพาะตัวเองตนนี้ท่านให้ทำลายมันไม่ให้มีตนถ้ามีตนแล้วเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดถ้ามีตนก็มีเราถ้ามีเราก็มีของๆเราอะไรทำให้มีเรามีของเราก็คืออุปาทานอุปาทานทำให้เกิดภพเช่นกระติกน้ำนี้ของเราเมื่อแตกหรือหายก็ทุกข์ทุกข์เกิดเพราะมีอุปาทานเรียกว่าภพ
เรานั่งภาวนาเพื่อให้จิตสงบเกิดปัญญาเมื่อเห็นสิ่งต่างๆแยบคายแล้วก็เห็นโลกอันนี้ตามความจริงที่เราทำเราคิดอยู่นี่มันไม่ใช่โลกุตตระยัง! ท่านไม่ให้คิดในเรื่องของอนาคตมันไม่แน่ ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในความเห็นของเราและของคนอื่นให้พิจารณาเอาไว้เพียงแต่ว่าอันนี้มันก็ไม่เที่ยงเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาเมื่อปัญญาเกิดขึ้นมาแล้วคือความสงบมันจะเป็นอย่างนี้ทุกอย่างผลอันนี้ความสงบมีแล้วปัญญาจะเกิดเกิดตรงที่มันได้แก้ทุกข์ทุกข์ตรงไหนแก้ตรงนั้นทุกข์มันจึงเกิดไม่ได้เพราะมันรู้จักทุกข์เรียกว่าเป็นผู้รู้ผลคือเราเกิดมาเพราะทุกข์มันมีทุกข์กวนเราอยู่แต่เรารู้สึกว่าทุกข์กวนเราก็ไม่พอใจไม่ชอบใจ แต่ก็ทิ้งวางไม่ได้รู้ว่าทุกข์แต่ละทิ้งไม่ได้เรียกว่ารู้ไม่จริงรู้ไม่ถึง
การฝึกหัดรู้ลมนี่ความรู้สึกกับลมนี้ไม่พร้อมกันในระยะแรกๆจะเป็นเช่นนี้ความรู้สึกตามไม่ทันลมบางทีลมออกความรู้สึกมาไม่ทันค่อยๆสังเกตผ่อนหายใจอย่าบังคับให้สั้นให้ยาว อย่าให้ช้าเอาสบายๆเดินก็ดีจะเกิดปัญญาถ้านั่งเกิดมีนิวรณ์ง่วงนอนง่ายไม่ต้องไปตามอะไรมากดูลมเท่านั้นเมื่อเห็นปุ๊บปรากฏก็หยุดไม่ต้องการอะไรมากดูลมอย่างเดียว
การเดินก็กำหนดที่เท้าต้นทางก็รู้กลางทางก็รู้ปลายทางก็รู้ถ้านั่งง่วงก็เดินเปลี่ยนอิริยาบถเสียถ้าง่วงมากก็นอนเสียแล้วนึกว่าข้าพเจ้าจะไม่เอาความสุขกับการนอนพอตื่นขึ้นก็ประกอบความเพียรทันทีเมื่อนอนก็นอนท่าสีหไสยาสน์กำหนดลมมีสติอยู่เสมอ
สติจำกาลคือทั้งยืนเดินนั่งนอนให้มีสติเสมอมิใช่จะทำเฉพาะนั่งเท่านั้นนะให้พร้อมทำความรู้สึกตัวว่าเดี๋ยวนี้เป็นปกติใครเป็นคนรู้คนนั้นเป็นผู้รู้คือจิต ถ้าหากเรามองเห็นส่วนเดียวเราจะเห็นสติด้วยเราจะเห็นสัมปชัญญะด้วยเราจะเห็นจิตด้วยคำที่ว่าเห็นนี้คือเห็นด้วยความรู้สึกเห็นภายในจิตไม่ใช่เห็นข้างนอกเห็นข้างในเช่นรู้ว่าเรามีสติคือระลึกได้ว่าเราจะทำอะไรเดี๋ยวนี้แล้วก็ลงมือทำเช่นลมหายใจเข้าออกรู้เป็นสติแล้วก็ลงมือทำรู้ว่าเราทำอยู่เดี๋ยวนี้เป็นสัมปชัญญะความรู้ก่อนจะทำก็ดีความรู้ว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่เดี๋ยวนี้ก็ดีอันนั้นเรียกว่าจิตเป็นผู้รู้ฉะนั้นเมื่อเราอยู่อย่างนี้เรารู้ทางสติเรามีทั้งสติและสัมปชัญญะเรามีทั้งจิตรู้จิตประกอบทั้ง๓ ประการนี้ลมหายใจเข้า-ออกและก็ให้นึกว่าในระยะนี้ธุระปัจจุบันคือให้มีสติกำหนดรู้ลมเข้าออกอย่างเดียวความสงบพร้อมมันจะเกิดขึ้นมาเราจะมองดูเห็นลมเห็นผู้รู้ลมด้วยเห็นสติด้วยเห็นสัมปชัญญะด้วยสบายโปร่ง อย่างนี้ก็ตั้งจิตให้มันรู้กับลมเรื่อยไป
อาการที่เราจะรู้ว่าจิตเป็นหนึ่งรู้ได้โดยวิธีว่าเรารู้ลมอยู่ตลอดเวลาเมื่อมันรู้ถนัดแล้วมันจะได้ปล่อยครั้งแรกก็ประคับประคองบ้างพอสมควรเมื่อมันได้ที่แล้วมันจะปล่อยของมันมันจะมีลมที่ไม่สั้นไม่ยาวมันค่อยๆละเอียดมันเองที่หยาบก็ค่อยละเอียดตามเรื่องของมันเมื่อมันละเอียดแล้วจิตก็เบากายก็เบาจิตเบาก็คือจิตควรแก่การงานแล้วกายเบาเป็นกายมุทุตาก็เป็นกายที่ควรการงานแล้วเมื่อมันรู้อย่างนั้นจิตของเราก็กำลังรวบรวมเป็นสมาธิแต่ทำสติให้มันติดต่อกันสมาธิมันจะเปลี่ยนจากปกติธรรมดาของเราจะมีการรู้หวิววาบลงไปอันใดอันหนึ่งที่เปลี่ยนจากปกติธรรมดานี้เมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็มีสติให้ดีไม่เป็นอะไรไม่มีอะไร รู้ติดต่อกันเรื่อยอย่างนั้นไม่ต้องตกใจไม่มีอะไร
บางคนนั่งจิตสงบมันเกิดโอภาสแสงสว่างขึ้นสารพัดอย่างอันนั้นก็ให้ดูจิตเจ้าของเรื่อยไปอย่าวิ่งไปตามอาการภายนอกให้สบาย ความสงบเยือกเย็นอยู่ในที่อันเดียวดูลมก็เห็นจิตดูจิตก็เห็นลมดูลมเห็นสติสัมปชัญญะทั้ง๓อย่างนี้เป็นอันเดียวกันเป็นมรรคสามัคคีความพร้อมเพรียงแห่งจิตเกิดขึ้นในขณะนั้นรู้สึกว่ามันจะเบาไปทั้งกายเบาไปทั้งจิตเวทนาที่มันปวดไปตามร่างกายต่างๆนี้เมื่อจิตมันสงบแล้วมันจะไม่ปวดเจ็บปรากฏอะไร มองดูหรือกำหนดลมหายใจเข้า-ออกที่ปลายจมูกของเรานั่นแหละถูกต้องส่วนไหนมันรู้สึกส่วนไหนเอาส่วนนั้นเป็นที่มุ่งหมายของเราถ้าเรามุ่งรู้ตรงนั้นก็เรียกว่าจิตของเรายังไม่สงบมันรู้อยู่ตามสภาพอันนั้นเรื่อยๆไปให้มันรู้เข้าออกอยู่เสมอจิตนั้นก็สงบความรู้สึกกายก็พอดีจิตก็พอดีแล้วก็วางมันปล่อยมันทำความรู้อันเดียวให้รู้ไว้เท่านั้นรู้ลมที่เข้าออกตามสบายไม่ต้องตามลมเข้าออกอยู่ตรงประตูความรู้อันนี้แหละเรียกว่าผู้รู้ผู้ตื่นอยู่เสมอรู้ถึงความสงบรู้แล้วมันเบาไม่รำคาญรู้แล้วสงบเงียบไม่สงสัย อยู่อย่างนี้แปรเปลี่ยนจากปกติเดิมของเรานั่นเองนั่นคือจิตมันเปลี่ยนจากความหยาบมาเป็นจิตที่ละเอียดที่วุ่นวายจะเปลี่ยนเป็นจิตที่สงบการที่มันเปลี่ยนเราต้องรู้จักรู้สึก ในความรู้สึกมันจะมีอาการอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในกำลังจิตของมันนั่นเองอันนั้นก็ไม่ต้องสงสัยมันนั่นจิตเราเริ่มจะสงบเข้าไปแล้วและไม่ต้องส่งความคิดอันหนึ่งเมื่อจิตมันสงบแล้วจิตมันจะกังวลเรื่องข้างนอกบางอย่างเป็นเรื่องธรรมดาว่ามันรักความสงบของมันเมื่อได้ยินเสียงนกร้องหรือได้ยินเสียงอะไรข้างนอกมันก็ไม่สบายทำไมล่ะ? เพราะมันคิดผิดคิดไม่ถูก ทำไมมันคิดผิดอย่างไร?มันคิดว่าเสียงนั้นมากวนมันอันนี้เราต้องแก้ใจเราทันทีเลยไม่ใช่อย่างนั้นไม่ใช่เสียงมากวนเราเราไปกวนเสียงใช่ไหม?เรารู้อย่างนี้ก็สงบเสียงก็เป็นเสียงจิตก็เป็นจิตความสงบก็เป็นความสงบเสียงก็เป็นเสียงไม่เกี่ยวเกาะกันเลยเมื่อรู้อย่างนี้ก็ปล่อยมันสบายอยู่ตลอดเวลา
ถ้าไม่สงบก็หายใจยาวๆจนหมดสุดลมนี้เรียกว่าตั้งลมใหม่อาจจะบีบกำหนดมากไปบังคับมากไปตั้งใหม่มันก็จะรวมตัวเองแก้อย่างนี้เมื่อเป็นแล้วก็เป็นอกาลิโกคือมีสติยืดยาวอยู่อย่างนั้นเหมือนกับหยดน้ำที่เป็นทีละหยดเร่งไปน้ำที่หยดๆนั้นจะหมดไปจนเป็นสายน้ำติดต่อกันนี่พูดถึงสติเราทำครั้งแรกก็ขาดตอนบ้างนานเข้าก็ติดต่อเองเมื่อเราทำไม่เลือกเวลาคืออกาลิโกความรู้คือสติที่มันติดต่อกันแล้วไม่มีกาลไม่มีเวลามีสติจำกาลคือเป็นรอบจำได้อันนี้จะเกิดปัญญาหรือญาณต่างๆตรงนี้สติมันมากขึ้นเราทำไปถึงเวลาที่เราทำเมื่อเรามีชีวิตอยู่เราไม่หลับความรู้สึกที่มันติดต่อกันนี้ตลอดเวลาเมื่อมีความรู้สึกติดต่ออยู่ตลอดเวลาเรียกว่ากระทำเพียรทางจิตไม่ใช่ทางอื่นยืน เดิน นั่งนอน มันก็รู้จักมันคนละอย่างกันทางกายกับจิตมันจะแยกกันเรื่องของจิตเป็นอย่างหนึ่งเรื่องกายเป็นอย่างหนึ่งแม้จะทำการงานก็มีสติอันนี้ทำให้มีปัญญาเกิดมากที่สุดไม่ว่าที่ไหนก็ตามการฝึกจิตฝึกสติต้องเป็นอย่างนี้อันนี้ควรรู้จักไว้การกระทำต้องฝืนธรรมชาติบ้างเพราะความจริงมันเป็นอย่างหนึ่งจิตของเราเป็นอย่างหนึ่งถ้าธรรมดาจิตนั้นนะมันมีเวลาขยันขี้เกียจ ทำเพียรด้วยสัจจะเราทำเรื่อยทั้งขี้เกียจทำทางจิตให้จิตรู้อยู่การรู้ภายในการฉลาดภายในทีนี้จิตจะเป็นอย่างนี้เรื่องทำทุกวันบางทีสงบบางทีไม่สงบเป็นอนิจจังในบางคราวเร็วช้าจะรู้ได้ว่าอ้อ! การทำสมาธิยังเป็นอนิจจังอยู่เป็นเรื่องไม่แน่นอนนะการทำแบบนี้มาทำแบบสงบจิตไม่ใช่สงบกิเลสเราหนีไปหาความสงบในสถานที่ต่างๆแต่ความสงบมีได้ส่วนโลภ โกรธหลง ยังมี เมื่อเราไปถูกอารมณ์ก็จะมีอีกนี่เรียกว่าสงบชั่วคราวเมื่อทำไปมากๆจะมีกำลังมีปัญญาในอุบายสงบอันแรกเป็นสมถะ



ถ้าสงบแล้วมันนิ่งจะสามารถมองเห็นทุกอย่างๆเหมือนน้ำนิ่งจะต้องเห็นรูปหน้าตาหรือเห็นอะไรหลายๆอย่างคือสงบด้วยปัญญามันรู้แล้วถ้าถูกอารมณ์อะไรต่างๆที่จะเป็นเหตุให้โกรธขึ้นมานั้นเพราะรู้ตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นวิปัสสนารู้แจ้งรู้จริงเกิดเป็นปัญญาไม่มีอะไรจะทนต่อมันได้โลภะ โทสะ โมหะจะเบาลงไป น้อยลงไปเช่นเราว่าเสียงกวนเราถ้าได้พิจารณาจนรู้ตามความเป็นจริงแล้วก็สงบการรู้อย่างนี้เรียกว่ายังไม่คงที่ต้องทำไปเรื่อยๆมันจะโตขึ้นมาเราโตขึ้นมาก็จากเด็กจนเป็นผู้ใหญ่ก็คือจากบุคคลคนเดียวกันนั่นเองมิใช่มาจากไหนมันเป็นสัจจธรรมเช่นความทุกข์จริงๆมันไม่มีถ้าเราเห็นจริงที่เราเห็นทุกข์ไม่จริงมันจึงมีทุกข์จริงโดยสมมุติเป็นวิมุตติแล้วไม่มีฉะนั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นถ้าใครยึดอยู่ก็ทุกข์ไม่สิ้นฯ

*******************
*ธรรมบรรยายเมื่อ๒๐พฤษภาคม๒๕๓๓
โปรดSisterโรงเรียนอาเวมารีอา*

ที่มา http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/ ... _of_the_Dhamma.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้